ละอองความรู้ 7: การวิจัยชุมชน (คนหรือหนูทดลอง)


ชาวบ้าน/คนที่อยู่ในชุมชน

 "ไม่ใช่หนูตะเภาในห้องทดลองที่ให้เราไปศึกษา ทดลอง ทดสอบทฤษฎี หรือหาองค์ความรู้"

สิ่งที่เราเข้าไปศึกษา ที่เรียกว่าวิจัยกับชุมชนนั้น "เราทำอยู่บนความเป็นความตายของเขา"

เพราะนั่นคือชีวิตและอนาคต

ทำงานบนชีวิตเขาเพื่อความรู้และผลงานของเรา

เห็นแล้วเศร้าใจจัง

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 35333เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2006 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 12:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ดังนั้น เราจะต้องเตรียมหาความรู้และเตรียมสิ่งต่าง ๆ ให้พร้อมที่สุด ก่อนที่จะเข้าไปทำงานกับชุชน สั่งสมความรู้สรรพวิชา เข้าไปเพื่อทำงานร่วมกันกับเขา กับทุกคนในชุมชนแล้วร่วมกันทำงานเพื่อร่วมกันได้รับประโยชน์
เก็บเกี่ยวเอารอยเท้าและทุกย่างก้าวที่เราทำงานร่วมกันกับเขาออกมาถ่ายทอด ความรู้สึกต่าง ๆ ที่ได้ทำงานร่วมกัน ความรู้และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น จากนั้นส่งต่อองค์ความรู้ให้ผู้เกี่ยวข้อง ผู้ที่มีอำนาจในการออกนโยบายผ่องถ่ายไปยังผู้ปฏิบัติที่ทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นโดยตรง เพื่อให้เขารู้หน้าที่และทำหน้าที่ของตนเองอย่างถูกต้องครับ
เข้าใจและชื่นชมครับที่มีอีกแรงช่วยปลุกกระแสจริยธรรมในงานวิจัยขึ้นมา นักวิจัยก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆล่ะครับ มีทั้งคนดีคนเลวปะปนระคนกัน ไม่อยากเห็นคุณเศร้าเพราะเห็นนักวิจัยที่เห็นแก่ตัวนะครับ ผมอยู่ในวงการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ยังเชื่อมั่นว่าประเทศเรายังมีนักวิจัยที่มีอุดมการณ์อีกจำนวนไม่น้อยครับ แต่พวกนี้ไม่ค่อยดัง อาจเพราะชอบสันโดษหรือไม่อยากเป็นข่าวปะทะกับใคร หรือไม่งั้นก็เป็นนักวิจัยที่ยากจน (นักวิจัยจนๆก็มีนะครับ)หรือไม่ก็ไม่ได้เลียแข้งเลียขาคนมีสีมีศักดิ์ สื่อก็เลยไม่นิยมออกข่าวเพราะกลัวจะไปขัดสปอนเซอร์ คนก็เลยไม่ค่อยรู้จัก แต่เชื่อเหอะครับว่า ยังมีคนดี แล้วคุณจะสบายใจ หลายคนที่เป็นสมาชิก go to know นี่ก็เป็นนักวิจัยนะครับ เชื่อเหอะว่ามีคนที่มี "จิตอาสา" อยู่เป็นจำนวนมากที่นี่ครับ
ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ ตอนแรกผมก็คิดอยู่นานก่อนที่จะเขียนแล้วก็ลงบันทึกเรื่องนี้ กลัวคนอ่านจะไม่เข้าใจน่ะครับ ดีใจมาก ๆ เลยครับ ที่คุณยอดดอยเข้าใจ ผมมุ่งหวังจะให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ๆ จริง ๆ ครับ
ผมเห็นบ่อยครั้งครับ ในการทำวิจัย ที่มองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคล ไม่ต่างจาก หนูทดลองในห้องปฏิบัติการมากนัก

เมื่อก่อนงานศึกษาของผมมักเป็นไปในเชิงวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทำให้ไม่ค่อยได้พบปะผู้คนมากนักครับ

เมื่อประมาณสองปีที่ผ่านมา ผมหันมาสนใจการศึกษาด้านการเกษตรแบบดั้งเดิม คือ การเกตรแบบไร่หมุนเวียน ซึ่งอาจถือว่าเป็นระบบการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้  

นั่นทำให้ผมต้องเข้าไปอยู่ในพื้นที่ศึกษา และได้พูดคุยกับชาวบ้านอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ครับ ผมเองต้องปรับทรรศนะและรูปแบบการทำวิจัยของตัวเองซะใหม่

สิ่งที่ทำให้ผมตระหนักคือ

  •  การเกษตรในระดับท้องถิ่นเหล่านี้ ย่อมมีภูมิปัญญาที่ถูกสะสมถ่ายทอดสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เพียงแต่ถูกซ่อนเก็บอยู่ในรูปขององค์ความรู้ภายในท้องถิ่นนั้นๆ
  • อาจจะเป็นนักวิจัย หรือ เรา เองซะอีกที่ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และเรียนรู้จากผู้คนในชุมชนท้องถิ่นเหล่นนั้น 
  • เราเอง หรือ พวกเขากันแน่ ที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
  • องค์ความรู้ภายในท้องถิ่น ย่อมมีคุณค่าที่ควรเก็บรักษาไว้
  • สำหรับผมคิดว่าสิ่งทีมีคุณค่าเหล่านี้ นักวิจัยสามารถช่วยในด้านการเผยแพร่ และถ้าเป็นไปได้ บางสิ่งบางอย่างอาจจะต้องมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งและการยอมรับในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

ในความเห็นของผม การทำวิจัยที่ต้องสัมผัสกับชุมชน เราควรให้เกียรติแก่ผู้ที่เราเข้าไปทำการศึกษาและขอข้อมูลจากเขา  และที่สำคัญจะต้องแสดงความจริงใจต่อเขา เปิดใจกันอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้พวกเขารู้สึกยินดีที่จะช่วยเหลือนักวิจัยเช่นกันครับ

โดยส่วนตัวนะครับ  ผมรู้สึกยินดีและภูมิใจเป็นอย่างมากกับชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ครับ ที่ได้คนที่มีความตั้งใจจริง อย่างคุณปภังกร พร้อมที่จะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท