ความรู้สึก ความคิด สมอง


ความรู้สึก ความคิด สมอง ปฏิบัติการอยู่ในห้องมืดแห่งกระโหลกศีรษะ

      สมองเป็นวัตถุ ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียกว่านิวโรนนับล้านๆเซลล์

      ความคิดเกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนดังกล่าว

      ความรู้สึก(Conscious)ก็เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนดังกล่าว  แต่ความรู้สึกไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความคิด  คือ  ความคิดไม่ใช่ความรู้สึก  และความรู้สึกก็ไม่ใช่ความคิด  ความคิดเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีความรู้สึก  เช่น  การคิดของเครื่องคอมพิวเตอร์  มันสามารถคิดบวกลบ  คูณหารได้ โดยที่มันไม่มีความรู้สึก   และความรู้สึกก็เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีความคิด  เช่น  การรู้สึกเจ็บ  หรือการรู้สึกสัมผัสภาพที่ปรากฏที่เรตินาหลังลูกตาของเรา  ซึ่งการรู้สึกสัมผัสดังกล่าวไปเกิดที่กลุ่มนิวโรนในสมองที่บริเวณการเห็น(Visual area)

      ดังนั้น  ผู้คิดก็คือสมอง  ความคิดทุกอย่าง นับแต่การคิดบวก ลบ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดเหตุผล  คิดแก้ปัญหา คิดวางแผน คิดโครงการ  คิดสร้างถนน คิดสร้างตึกระฟ้า คิดสร้างยานอวกาศ  คิดสร้างงานศิลปกรรม  คิดสร้างงานวรรณกรรม  คิดสร้างสูตร คิดสร้างทฤษฎี ฯลฯ   ล้วนแต่เกิดจากการคิดของสมองทั้งสิ้น  คือสมองเป็นผู้คิด

       ส่วนความรู้สึกนั้น คิดไม่ได้ ความรู้สึกไม่ใช่ผู้คิด  ความรู้สึกทำหน้าที่เผยตัวของกิจกรรมการคิด  เป็นช่องทางการเผยตัวของการคิด  ถ้าไม่มีความรู้สึกแล้วจะไม่มีการรู้ว่าสมองกำลังคิดอยู่  เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่มันไม่รู้สึกว่ามันกำลังคิดอยู่  เพราะว่ามันไม่มีความรู้สึก

        ความรู้สึก  ความคิด  สมอง  จะปฏิบัติการอยู่ในห้องมืดแห่งกระโหลกศีรษะ  สารต่างๆจากโลกภายนอกจะเข้ามาทางปลายประสาทที่รีเซ็ปเดอร์จะไปปรากฏที่ปลายประสาทอีกด้านหนึ่งที่เชื่อมต่อกับนิวโรนที่เปลือกสมองของแดนนั้นๆ  และจะเกิดการรู้สึกสัมผัสที่แดนนั้นๆ จากนั้นสมองจะรับรู้  และคิดต่อไปด้วยตัวของสมองเอง ภายในห้องมืดแห่งนั้น  สมองจะไม่มีโอกาสสัมผัสกับโลกภายนอกได้เลย  นอกจากสัมผัสกับข้อมูลที่ปลายประสาทดังกล่าวเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 35276เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ คุณ "gaa"

ขอบคุณครับ ที่เข้ามาทักทาย  และขออภัยอย่างยิ่งที่ผมเข้ามาเห็ช้าไปมาก  แต่ถึงแม้ว่าจะเข้ามาเห็นในวันนั้น  ผมก็คงไม่รู้เรื่องข้อคิดเห็นของคุณ gaa อยู่ดี ครับ

วันนั้นดูรายการ จับเข่าคุย  ที่คุณหนูดี ออกรายการ

รู้สึก ทึ่งพี่แกมาก คนเก่งสมองไวขนาดนี้ เวลาพูดจาคนฟังนั่งฟังเพลินไปเลย   จริงหรือที่ว่าคนฉลาดไม่เกี่ยวกับรอยยักของสมอง   ทำไมผู้มีความรู้ก่อน ๆ บอกว่า  รอยยักของสมองมากทำให้คนฉลาดมากขึ้นกว่าคนอื่น   แต่ฟังพี่หนูดี พูดไม่เห็นเกี่ยวเลย  เป็นความรู้ใหม่

คุณน้ำครับ  เคยกล่าวกันว่า  คนที่มีความรู้มากๆจะมีรอยหยักดังกล่าวมาก  และคิดกันต่อไปว่า  เมื่อมีความรู้มากก็มักจะฉลาดมากด้วย  ดังนั้  คนที่มีรอยหยักมากๆก็มักฉลาดด้วยเช่นกัน  นี่เป็นข้อคดเชิงเหตุผลครับ

 ยังมีข้อคิดเชิงเหตุผลต่อไปด้วยว่า  ถ้าลอกเอาเซเรบรัลคอร์เท็กซ์ออกมากางเป็นผืนใหญ่แล้ว  ผืนของคนที่มีรอยหยักมากกว่าจะต้องมีพื้นที่มากกว่าของคนที่มีรอยหยักน้อยกว่า  และเซเรบรัลคอร์เท็กซ์นี้โดยทั่วไปแล้วจะเกี่ยวกับปัญญา  ดังนั้น เมื่อมันมีพื้นที่มากกว่า  มันก็ย่อมจะมีปัญญาสูงกว่านะซีครับ

อีกประการหนึ่ง  นิวโรนจะตายไปวันละนับแสนนิวโรนครับ  ขณะเดียวกัน มันก็ถูกสร้างเพิ่มขึ้นมาด้วย นอกจากนี้เมื่อเราเรียนรู้เรื่องใดมากๆ  ปลายเด็นไดรท์ก็จะงอกแตกแขนงออกไปมากขึ้น  ทำให้มีโอกาสเกิดการไซแน็บส์กันได้มากขึ้น  สิ่งนี้กระมังที่ทำให้พื้นที่ของเซเรบรัลคอร์เท็กซ์เพิ่มมากขึ้น  ส่งผลให้เกิดรอยหยักมากขึ้นกับคนที่เรียนรู้เรื่องใดๆมากๆ ครับ

ขอให้คุณค้นคว้ารายงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ดูจากวารสารต่างๆในห้องสมุดดูนะครับ  พบแล้วนำมาเล่าสู่กันฟังด้วยก็จะดีครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ไม่เหนรู้เรื่องเลยนิงงไปหมดเลยอะคับงง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท