มัลติมีเดีย


มัลติมีเดีย
          ในอดีต เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อประสม
จะหมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกัน เช่น รูปภาพ เครื่องฉายแผ่นโปร่งใส เทปบันทึกเสียง วีดีโอ ฯลฯ เพื่อให้การเสนอผลงาน หรือการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเสนอเนื้อหาในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากการบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้ฟัง หรือผู้เรียนมิได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสื่อนั่นโดยตรง
          ในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผลในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือกและรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่าง ๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
          ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานด้านการศึกษาใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
           1. ด้านการบริหาร
           2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
1.ด้านการบริหาร
          มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในงานบริหารจัดการ ได้แก่ งานทะเบียน งานธุรการปะวัติและข้อมูลการเงินและพัสดุ การจัดตารางสอน การแจ้งผลการเรียน ผลการสอบในแต่ละภาค และเกรดเฉลี่ย เป็นต้น ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้การดำเนินงานมีความสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้เป็นอย่างมาก 
2.ด้านการจัดการเรียนการสอน
          เป็นการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ในการจัดการเรียน การสอน โดยอาจใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การนำเสนอเนื้อหา (Presentation)
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) บทเรียนบนเว็บ (WBI) และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีเครือข่าย เจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในลักษณะของ e-Learning ได้ เป็นต้น
ประเภทของสื่อมัลติมีเดียของการศึกษา
          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบ หรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรม ได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสาร และการให้ประสบการณ์ เพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพนั่นเอง บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามี 2 ประเภทดังนี้
          1. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล
          2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล  นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงที่สุดในกลุ่มนี้คือ สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เชื่อว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก และเชื่อในทฤษฎีการวางเงื่อนไข โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง การให้การเสริมแรง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า และพฤติกรรมการตอบสนองจะเข้มข้นขึ้นหากได้รับการเสริมแรงที่เหมาะสม เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ เพื่อใช้ในการนำเสนอข้อมูลสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา โดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมเป็นฐานในการนำเสนอข้อมูลด้วย เช่น ควบคุมการเสนอภาพสไลด์มัลติวิชั่น ควบคุมการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอเชิงโต้ตอบ (Interactive Video) และเครื่องเล่นซีดี-รอม ให้เสนอภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ตามเนื้อหาบทเรียนที่ปรากฏอยู่บนจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปการสื่อสารทางเดียว
2. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง   เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นนในการผลิตแฟ้มสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และนำเสนอแฟ้มที่ผลิตแล้ว แก่ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาก็เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียน หรือใช้งาน ตามที่โปรแกรมสำเร็จรูปกำหนดไว้ ก็จะได้เนื้อหาลักษณะต่าง ๆ อย่างครบถ้วน โดยการ นำเสนอข้อมูลของสื่อมัลติมีเดียนี้ จะเป็นไปในลักษณะสื่อมัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์ (Interactive)
ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อมัลติมีเดีย
          ข้อดี
          1.เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัย
ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
          2. สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
          3. สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง สามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
          4. ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
          5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่
เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
           6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
            7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
           8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่า
ในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย
          ข้อจำกัด
          1.ถึงแม้ว่าขณะนี้ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะ ลดลงมากแล้วก็ตาม แต่การที่จะนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ในวงการศึกษาในบางสถานที่นั้นจำเป็นต้อง มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย ตลอดจนการดูแลรักษาด้วย
          2.การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมตามหลักทางจิตวิทยา และการเรียนรู้นับว่ายังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการด้านอื่น ๆ ทำให้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้ในการเรียนวิชาต่าง ๆ
          3.ในขณะนี้ยังขาดอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานระดับเดียวกัน เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบกัน
          4.การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
          5.คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน และความซับซ้อนของระบบการทำงานมาก เมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ
          6.มีตัวแปรที่เป็นปัญหานอกเหนือจากการควบคุมมาก เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบ Server เป็นต้น
          7. เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
ทำให้ผู้ผลิตสื่อมัลติมีเดียต้องหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสมอ
          8.ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียนั้นต้องการทีมงานที่มีความชำนาญในแต่ละด้านเป็นอย่างมากอีกทั้งต้องมีการประสานงานกันในการทำงานสูง
ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
          1.ความคุ้มค่า
          2.เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของสื่อ
          3.เลือกใช้ให้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมาย โดยพิจารณาว่าสื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหา และจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอ มีเนื้อหา ถูกต้อง
ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่จะให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด อีกทั้งเป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ศึกษา
          4.เลือกใช้ให้เหมาะกับกระบวนการเรียนการสอน เช่น นำสื่อนั้น
มาใช้เป็น สื่อหลัก หรือ สื่อเสริม เป็นต้น
          5.เลือกใช้ให้เหมาะกับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย
         6.เลือกให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มี (สายโทรศัพท์ จำนวนเครื่อง ความเร็วโมเด็ม และทัศนคติของคน)
          7.เลือกใช้สื่อที่มีอยู่แล้วแทนการสร้างเอง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
          8.จรรยาบรรณเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
ได้จาก
http://www.uni.net.th/~08_2543/chap04/418.htmlแหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
ความรู้ด้านมัลติมีเดีย และเทคโนโลยีสารสนเทศ http://www.ready2e.com รวมลิงก์เว็บด้าน IT ทั้งของไทย และต่างประเทศ ให้เราสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และข้อมูลด้าน IT http://www.iyaa.com สาระบันเทิง สารคดีน่ารู้เกี่ยวกับแวดวงมัลติมีเดีย http://www.marianasgraphix.com เว็บไซต์ของผู้ที่ต้องการจะเป็นผู้ชำนาญทางด้านกราฟิก หรือต้องการเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ http://www.thaiinteractive.com เว็บไซต์ที่รวบรวมความรู้ สาระบทความเกี่ยวกับ IT มีโปรแกรมให้ดาวน์โหลด มีกระทู้ถามตอบเกี่ยวกับการใช้งาน คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่างๆ http://thaidet.hypermart.net เว็บไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับแวดวง IT http://soothi.hypermart.net เว็บไซต์ของคนรักมัลติมีเดีย กล่าวถึงวิธีการทำงานด้วยมัลติมีเดียและมีทั้ง Link ของเว็บไซต์และหนังสือที่เกี่ยวข้อง http://www.softwarepark.co.th/itcenter/ มีความรู้ทั้งด้าน IT ฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ มากมาย คอมพิวเตอร์ รวมบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก ที่เสนอสินค้าใหม่ ๆ และการซื้อขายคอมพิวเตอร์ และ ซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต http://www.amd.com บริษัท Advanced Micro Device, Inc. ผู้ผลิตโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ http://www.packardbell.com บริษัท Packard Bell ผู้ผลิตและจำหน่าย PC พร้อมทั้งแนะนำศูนย์บริการในประเทศต่าง ๆ http://www.sun.com บริษัท Sun Microsystem, Inc. ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ http://www.dell.com บริษัท Dell ผู้ผลิตเซิร์ฟเฟวร์ โน้ตบุ๊ค ปริ้นเตอร์ สแกนเนอร์ และกล้องดิจิตัล http://www.acer.com บริษัท Acer ผู้ผลิต PC โน้ตบุ๊ค และเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งแนะนำสินค้า และบริการของสาขาในประเทศไทย กราฟิก Photoshop และ Plug-Ins http://soothi.hypermart.net Multimedia Learning Center เรียนรู้สร้างมัลติมีเดีย Clip Arts รูปภาพสำหรับแต่งในเว็บไซต์ วิธีทำรูปภาพ http://www.dg.co.th ศูนย์รวมกระบวนการผลิตผลงานมัลติมีเดีย กล้อง ถ่ายภาพ http://www.123posters.com เว็บที่มีการรวมเอารูปภาพในแบบโปสเตอร์ของนักร้อง และนักดนตรีชื่อดัง http://www.photodisc.com เว็บไซต์ที่รวมรูปภาพมากมายหลายหมวดหมู่ ให้ดาวน์โหลดฟรีเมื่อสมัครเป็นสมาชิก ถ้าจะใช้ในเชิงพาณิชย์จะต้องเสียค่าใช้จ่าย http://www.clubphoto.com แหล่งรวมภาพถ่าย แนะนำพร้อมทั้งบอกวิธีการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพ และเก็บภาพ http://www.posternow.com แหล่งรวมภาพโปสเตอร์ และภาพโปสการ์ดสำหรับนักสะสมภาพได้ดาวน์โหลดกัน http://www.fotango.com บริการอัลบั้มเก็บภาพที่สมาชิกสามารถนำภาพมาเก็บ และสามารถแชร์ให้คนอื่นไปใช้ได้ด้วย http://www.photography.com แกลเลอรี่รูปภาพที่ให้ความรู้ และเทคนิคการถ่ายภาพ รวมทั้งการเลือกใช้กล้องถ่ายรูปด้วย http://www.picturetrail.com บริการให้อัลบั้มเก็บภาพสำหรับสมาชิก โดยสมาชิกสามารถนำเอาภาพมาเก็บ และแชร์ให้คนอื่นเอาภาพไปให้ได้ด้วย http://www.starphotographer.com เว็บไซต์แหล่งรวมภาพที่มีภาพอยู่มากกว่า 130 หมวดหมู่ให้เราสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ Flash http://www.flashthai.com เทคนิคใหม่ เกี่ยวกับ Flash และงาน Animation ต่าง ๆ http://www.ahref.com แนะนำการเขียน Flash และการสร้างเว็บไซต์ด้วย Flash http://www.flashcentral.com รวมเทคนิคการใช้งาน พร้อมตัวอย่างสวย ๆ http://www.virtual-fx.net บทเรียน Source code สำหรับผู้ต้องการสร้าง Flash ทุกระดับ http://www.macromedia.com/support/flash สอนการใช้ Flash จากเว็บไซต์ผู้ผลิต
Shockwave http://www.shockwave.com รวบรวมตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี Shockwave ซึ่งสามารถแสดงงานเสียง และมีลูกเล่นที่สามารถโต้ตอบกับผู้เยี่ยมชม รวมทั้งมีเกมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งจะดีกว่าภาพเคลื่อนไหวในเว็บยุคแรก 3D Animation http://www.3dark.com สอนการสร้างภาพ การทำเอ็ฟเฟ็กต์ พร้อมตัวอย่างให้ดาวน์โหลด http://www.3dexpresso.simplenet.com มีผลงานสวย ๆ และปลั๊กอินให้ดาวน์โหลดไปใช้งาน http://www.3d-ring.com รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 3D http://www.the3dstudio.com สอนการใช้งาน 3D Studio เทคนิค และแหล่งข้อมูลต่าง โปรแกรมเล่นเพลง และฟังเพลง http://www.windowsmedia.com โปรแกรม Windows MediaPlayer http://www.winamp.com โปรแกรม Winamp ยอดฮิต http://www.real.com โปรแกรม Real Player สำหรับฟังเพลง และดูภาพยนตร์ผ่านอินเทอร์เน็ต http://www.cowon.com โปรแกรม Cowon Jet-Audio http://www.musiccyber.com รวมข่าวสารทางดนตรี มีเพลงให้ดาวน์โหลด และรวมลิงค์เว็บเพลงไทย http://thaisite.hypermart.net รวมเพลงไทยในแนว MIDI เพื่อคนรักเสียงเพลง ฟังได้ทั้งบนอินเตอร์เน็ต และให้ดาวน์โหลดฟรี http://www.sun.com มี Source code ที่เป็นภาษา Java และโปรแกรมต่าง ๆ สำหรับพัฒนาเว็บ http://www.everyone.net แหล่งรวม Source code และแอพพลิเคชั่นมากมายสำหรับพัฒนาเว็บ http://www.softwaredev.earthweb.com บริการสอนและให้ดาวน์โหลด Source code แอบพลิเคชั่น และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับพัฒนาเว็บ Web Development Dreamweaver http://www.katsueydesignworks.com รวมทิป และเทคนิคการสร้างเว็บด้วย Dreamweaver http://www.idest.com/dreamweaver รวมข่าวสาร และเทคนิคเกี่ยวกับ Dreamweaver http://www.westlake.com สอนวิธีการสร้างเว็บ เช่น เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพเคลื่อนไหว http://www.trainingtools.com มีบทเรียนแบ่งเป็นบท ๆ ให้ดาวน์โหลดไปศึกษา http://www.macromedia.com/support/dreamweaver สอนการใช้ Dreamweaver จากเว็บไซต์ผู้ผลิต
เว็บไซต์สำหรับการค้นหา http://www.altavista.com บริการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูล และสามารถลิงค์ไปเว็บไซต์อื่น ๆ ได้ http://www.yahoo.com Search engine ยอดนิยมมีฐานข้อมูลมากมาย และอัดแน่นด้วยสาระประโยชน์ความรู้ ข่าวสารที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ http://www.google.com เว็บบริการให้ค้นหาข้อมูล และรายชื่อของเว็บต่าง ๆ ได้มากมาย http://www.excite.com แหล่งรวมลิงค์ และใช้ค้นหาข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง มีสาระน่ารู้ บริการดาวน์โหลด และความบันเทิงต่าง ๆ มากมายให้ชม เว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ยอดนิยม http://www.thaiware.com เว็บไซต์ที่รวบรวม และแนะนำโปรแกรมแชร์แวร์ ฟรีแวร์ให้ดาวน์โหลด http://www.download.com แหล่งรวมโปรแกรมแชร์แวร์ ฟรีแวร์ ไดรเวอร์ เกม เพลง MP3 และ Theme หน้าจอของคอมพิวเตอร์ในสไตล์ต่าง ๆ http://www.tucows.com/ แหล่งรวมดาวน์โหลดโปรแกรมที่ครอบคลุมทุกระบบปฏิบัติการ http://www.jumbo.com แหล่งของโปรแกรมแชร์แวร์ ฟรีแวร์ เกม เพลง MP3 และ Theme หน้าจอของคอมพิวเตอร์ในสไตล์ต่าง ๆ http://www.sanook.com/download แหล่งรวมโปรแกรมฟรี ที่ให้เราสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้เร็วทันใจ ด้วยระบบเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บไฟล์โปรแกรมในประเทศไทย http://www.mthai.com/files แนะนำโปรแกรมใหม่ ๆ และให้บริการดาวน์โหลดฟรี
การประเมินสื่อมัลติมีเดีย
          แต่เดิมนั้นเมื่อกล่าวถึงการประเมินสื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึงการประเมินคุณภาพตัวสื่อมัลติมีเดียที่มีต่อการเรียนการสอน การออกแบบหน้าจอ การใช้งาน และประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งการประเมินเพียงตัวสื่อมัลติมีเดีย
อย่างเดียวไม่ช่วยให้เห็นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการใช้สื่อมัลติมีเดียได้มากนัก ด้วยเหตุนี้ การประเมินสื่อมัลติมีเดียในปัจจุบัน ควรจะประเมินสื่อมัลติมีเดียทั้งการประเมินตัวสื่อ และการประเมินการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้สื่อมัลติมีเดีย เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย และเห็นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การประเมิน
          แนวคิดเดิมเกี่ยวกับการวัดผลจะเกี่ยวข้องกับ การวัด (measurement) และการประเมินผล (evaluation) "การวัด" เป็นกระบวนการกำหนดระดับ
ชั้นของลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล คุณภาพ ความสามารถหรือสิ่งต่างๆ ตามกฎเกณฑ์เป็นตัวเลข การวัดประกอบด้วยจุดมุ่งหมายของการวัด เครื่องมือที่ใช้วัด และการแปลผลจากการวัด "การประเมินผล" เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าจากข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัด ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ ปัจจุบันนักการศึกษาและนักวัดผลบางกลุ่มให้ข้อสังเกตว่า การใช้คำว่าการประเมินผลกับบุคคลควรทำอย่างระมัดระวัง เพราะการที่จะตัดสินคุณค่าว่าบุคคลนั้นมีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ ดีหรือเลวอย่างไร ผู้ประเมินผล
มีหลักฐานหรือข้อมูลครอบคลุมเพียงพอที่จะตัดสินเช่นนั้นหรือไม่ การประเมินผลสิ่งที่ไม่ใช่บุคคล เช่น การประเมินผลโครงการ ประเมินผลหลักสูตร หรือ
การประเมินผลเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ สามารถที่จะทำได้ครอบคลุมมากกว่า ด้วยเหตุนี้คำว่าการประเมินผลปัจจุบันจะมีใช้ในหนังสือวัดและประเมินผลน้อยลงมาก และมีคำว่า การประเมิน (assessment) เข้ามาแทนที่ แม้นักการศึกษา และนักวัดผลจะใช้คำว่าการประเมินในความหมายของการวัดอยู่ค่อนข้างมาก แต่ก็มีนักการศึกษาและนักวัดผลอีกส่วนหนึ่ง ที่ใช้การประเมินในความหมายของการประเมินผลเช่นกัน ในที่นี้เมื่อกล่าวถึงคำว่า "การประเมิน" จะหมายถึงกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวัดไปสู่การตัดสินคุณค่า โดยที่การตัดสินคุณค่า
จะใช้ในความหมายคล้ายกับการประเมินผล แต่มีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่า นอกจากนี้ การจะตัดสินคุณค่าสิ่งใดจะต้องเกิดจากการเปรียบเทียบสิ่งนั้นกับเกณฑ์ การวัด การตัดสินคุณค่า และการประเมิน
           1. การวางแผนการประเมิน ผู้ประเมินควรเริ่มต้นวางแผนการประเมินจากการตอบคำถามหลัก 4 คำถามที่ว่า "ประเมินทำไม ประเมินอะไร ประเมินอย่างไร และจะตัดสินด้วยวิธีใด" คำถามหลักดังกล่าวนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวางแผนการประเมินที่มีคุณภาพต่อไปประเมินทำไม การตอบคำถามนี้จะได้มาซึ่งจุดมุ่งหมายของการประเมิน จุดมุ่งหมายที่มีความชัดเจนจะช่วยให้ผู้ประเมินวางแผนการประเมินได้ ตั้งแต่วิธีการวัด การเลือกเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการประเมินค่า ไปจนถึงการตัดสินคุณค่าประเมินอะไร เมื่อมีจุดมุ่งหมายชัดเจน ขั้นตอนต่อไปผู้ประเมินจะต้องระบุสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนว่า สิ่งที่ต้องการประเมินนั้นมีลักษณะสำคัญอะไรบ้าง เพื่อจะได้เลือกวิธีการวัดและเครื่องมือที่จะใช้วัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสิ่งที่จะประเมิน ประเมินอย่างไร เมื่อจุดมุ่งหมายและขอบเขตการประเมินมีความชัดเจน ผู้ประเมินจะต้องเลือกวิธีการวัดและการประเมินให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการประเมิน เช่น ถ้าใช้วิธีการวัดเป็นการสอบ เครื่องมือจะเป็นแบบทดสอบข้อเขียน หรือถ้าเป็นการสอบถาม เครื่องมือก็เป็นแบบสอบถาม ตัดสินผลวิธีใด ผู้ประเมินจะต้องเลือกว่าจะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสิน ในการ
ตีความ ผลการวิเคราะห์ จากนั้นผู้ประเมินนำผลการวิเคราะห์มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่เลือกไว้เพื่อการตัดสินผลในที่สุด
           2. การกำหนดตัวบ่งชี้ เกณฑ์ และมาตรฐาน เมื่อมีกระบวนการประเมินจะมีความชัดเจน และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน ตัวบ่งชี้ (indicator) หมายถึง ลักษณะสำคัญ ที่ใช้แสดงคุณภาพ หรือกระบวนการที่สามารถใช้บ่งสถานภาพ ตัวอย่างของตัวบ่งชี้ เช่น GPA อาจเป็นตัวบ่งชี้ผลการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียน หรือ ตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งของการออกแบบการสอนก็คือ การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ตัวบ่งชี้คุณภาพการออกแบบหน้าจอ เช่น ความเหมาะสมและความน่าสนใจขององค์ประกอบด้านข้อความ ภาพและกราฟิก เสียง
(รายละเอียดของความเหมาะสมในแต่ละด้านดูได้จากหัวข้อการประเมินคุณภาพการออกแบบหน้าจอ) ตัวบ่งชี้มีความสัมพันธ์กับเกณฑ์ หรือมาตรฐานที่ใช้ตัดสินความสำเร็จของการทำงาน การดำเนินการที่ผ่านมา เกณฑ์ (criteria) หมายถึง ระดับที่ถือว่าแสดงคุณภาพและความเหมาะสม โดยผู้สอน หรือคณะของผู้สอน หรือผู้สอนและผู้เรียนเป็นผู้กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับ การตัดสินคุณค่าของสิ่งที่จะประเมินต่อไป เช่น ผู้เรียนต้องสอบได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 65 จึงจะถือว่าสอบผ่าน หรือเกณฑ์ความสำเร็จของการเรียนการสอนคือ ผู้เรียนมากกว่าร้อยละ 90 สอบผ่าน ส่วนเกณฑ์การพิจารณาว่าการออกแบบหน้าจอได้คุณภาพเพียงไร ถ้าใช้แบบบันทึกการสังเกต 4 ระดับ เกณฑ์การมีคุณภาพคือจะต้องได้สูงกว่าระดับ 2 ขึ้นไป มาตรฐาน (standard) หมายถึง ระดับการปฏิบัติที่แสดงถึงคุณภาพ ความเหมาะสมที่ ยอมรับกันทางวิชาชีพหรืออย่างเป็นสากล ตัวอย่างเช่น มาตรฐานการสอบ TOFEL แบบใช้กระดาษคำตอบ (paper-based) คือจะต้องได้คะแนนแต่ละชุดตั้งแต่ 53 ขึ้นไป สำหรับสื่อมัลติมีเดียที่จะได้มาตรฐานจะต้องผ่านการประเมินทุกหัวข้อในระดับดีขึ้นไป หรือจากระดับ 2 ขึ้นไป จากระดับที่กำหนดไว้ 4 ระดับ เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง http://202.143.146.178/~inno/multimedia/mainindex.html
คำสำคัญ (Tags): #นุชนาถ#ศรีสุธร
หมายเลขบันทึก: 35264เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2006 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
รู้อะไรขึ้นเยอะเลย
ดีครับ มีเนื่อหาให้อ่าน สามารถนำไปประกอบการสอนได้ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท