ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพภายใต้ UC


เครือข่ายวิจัย "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" น่าจะได้รู้ ซึ่งเราได้ใช้ช่องทางนี้เป็นเครื่องมือในการสร้าง เก็บเกี่ยว สะสม และนำเสนอองค์ความรู้ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ เรียกว่าทำไป (ได้อะไรมา) ก็แลกเปลี่ยนกับเครือข่าย (เพื่อให้ได้มา) กันอย่างตลอดเวลา (dinamic), ประเด็นที่น่าสนใจ คืองานวิจัยชิ้นนี้บอกอะไรเราบ้าง และเราต้องทบทวนอะไรบ้างกับกลยุทธ์ที่เราได้ร่วมกันเลือกเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชนไปแล้ว
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ
ของประชาชนภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและพฤติกรรมการใช้บริการของประชาชนภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาจากประชาชนในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พังงา ตรัง และยะลา จำนวน 1,200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์ เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และผ่านการทดลองได้ใช้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วง 0.71 – 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายโดยใช้ Multiple regression analysis และ Multiple logistic analysis และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้ One Way ANOVA และ Chi-square
     ผลการศึกษาพบว่า 1.พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนภายใต้การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยู่ในระดับปานกลาง 2. พฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพส่วนใหญ่ไปใช้บริการที่สถานอนามัย รองลงมาคือโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ ส่วนการรักษากับแพทย์พื้นบ้านไปใช้บริการน้อยที่สุด 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพได้แก่ อายุ ค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วย คุณภาพบริการ การรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขภาพและการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม 4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทของการประกันสุขภาพ ค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพการเจ็บป่วย การรับรู้สิทธิของผู้ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า การรับรู้สิทธิของกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ การได้รับข้อมูลข่าวสาร ความต้องการด้านสุขภาพคุณภาพ บริการ และการเข้าถึงบริการสุขภาพ
     สรุปผลการศึกษาได้ว่าพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ จำแนกตามประเภทการประกันสุขภาพ พบว่า กลุ่มที่มีบัตรประกันสุขภาพต่างกัน มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกัน รวมทั้งพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพด้วย
     ผู้วิจัย : อติญาณ์ ศรเกษตริน, เพ็ญศรี ทองเพชร , สมหมาย คชนาม, อัจริยา วัชราวิวัฒน์, จรัสพงษ์ สุขกรี, งามนิตย์ รัตนานุกูล และสมศักดิ์ ชอบตรง
     แหล่งทุน : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่พิมพ์ 2547 ที่มา : ห้องสมุดดิจิทัล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)
     หมายเหตุ : ผมได้นำบทคัดย่อนี้มาไว้ ด้วยพิจารณาว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องที่เครือข่ายวิจัย "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" น่าจะได้รู้ ซึ่งเราได้ใช้ช่องทางนี้เป็นเครื่องมือในการสร้าง เก็บเกี่ยว สะสม และนำเสนอองค์ความรู้ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ เรียกว่าทำไป (ได้อะไรมา) ก็แลกเปลี่ยนกับเครือข่าย (เพื่อให้ได้มา) กันอย่างตลอดเวลา (dinamic)
     ประเด็นที่น่าสนใจ คืองานวิจัยชิ้นนี้บอกอะไรเราบ้าง และเราต้องทบทวนอะไรบ้างกับกลยุทธ์ที่เราได้ร่วมกันเลือกเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชนไปแล้ว นั้นก็คือ
          อย่างด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งพบว่ามีอย่างน้อยก็ 4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ฉะนั้นทีมงานคงต้องมานั่งขบคิด และถกกันว่า ปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขชุมชน เช่น
         - กลุ่มอายุของประชาชนในแต่ละกลุ่มก็เป็นสิ่งที่จะต้องถูกนำมาพิจารณาว่ากลุ่มไหนเหมาะไม่เหมาะอย่างไรกับบริการเพื่อการพัฒนาสุขภาพ
         - บริบทของชุมชนที่ดำเนินงาน มีค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วยอย่างไรบ้าง และส่งผลต่อพฤติกรรมในลักษณะใด
         - หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ มีคุณภาพบริการตามที่ประชาชนคาดหวังแค่ไหน และ
         - ประชาชนในชุมชนนั้นมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการดูแลสุขภาพอย่างไร และการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม ไปในลักษณะไหนอย่างไร
     ขณะที่ด้านปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพซึ่งได้แก่
         - เพศ
         - ระดับการศึกษา
         - ประเภทของการประกันสุขภาพ
         - ค่านิยมเกี่ยวกับสุขภาพการเจ็บป่วย
         - การรับรู้สิทธิของผู้ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า
         - การรับรู้สิทธิของกลุ่มข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
         - การได้รับข้อมูลข่าวสาร
         - ความต้องการด้านสุขภาพคุณภาพบริการ และ
         - การเข้าถึงบริการสุขภาพ
     ปัจจัยทั้ง 8 ปัจจัยข้างต้น ทำให้เราต้องทบทวนและวิเคราะห์ชุมชนดูว่า ในแต่ละลักษณะเราจะต้องใส่แรงเสริมอะไรเข้าไปอีกบ้าง ตามสภาพของชุมชนที่ยังขาดอยู่ อยากจะนัดทีมได้มาพูดคุยกันเร็ว ๆ นี้ครับ และที่สำคัญจากการถอดบทเรียนโครงการ PCU ในฝัน (ที่เราได้นำมาเป็นพื้นฐานและต่อยอดโครงการด้วย "ไตรภาคีพัฒนาสุขภาพชุมชน") นั้นก็พบว่ามีหลาย ๆ อย่างที่พร้อมแล้วสำหรับการลุยต่อครับ
                                                          อนุชา  หนูนุ่น
                                   บันทึกไว้เมื่อ 6 กันยายน 2549 เวลา 14.59 น.
หมายเลขบันทึก: 3516เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2005 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สัสพ่อมึงต...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท