คำราชาศัพท์ตอนที่ 2


การใช้คำราชาศัพท์ (ต่อ)

ลงข้อมูลเพื่อให้นักเรียนสืบค้นทาง Internet 

การใช้คำราชาศัพท์

  การใช้คำ  ทรง

๑.        เมื่อเป็นคำราชาศัพท์  ทรง  มีความหมายตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง  เช่น 

         ทรงเรือ          หมายถึง      นั่งเรือ              

         ทรงซอสามสาย          หมายถึง         เล่นซอสามสาย

ทรงทัพพี       หมายถึง     ถือทัพพี            

ทรงศีล                 หมายถึง         รับศีล

ทรงทราบ     หมายถึง     รู้                         

ทรงราชย์                     หมายถึง          ครองราชย์สมบัติ

ทรงกีฬา        หมายถึง     เล่นกีฬา           

ทรงครรภ์                    หมายถึง          ท้อง

๒.     ใช้คำ  ทรง  นำหน้าคำกริยา  กลุ่มคำกริยา  ให้เป็นคำราชาศัพท์  เช่น

ทรงถาม                         หมายถึง                 ถาม                        

ทรงนิพนธ์                     หมายถึง                แต่งหนังสือหรือแต่งเพลง

ทรงระลึกถึง                 หมายถึง                 ระลึกถึง

ทรงกราบ                      หมายถึง                 กราบ

ทรงเล่าเรียน                 หมายถึง                 เรียน  ศึกษา

๓.     กริยาใดเป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้ว  จะใช้คำ  ทรง  นำหน้าอีกไม่ได้  เช่น

ประชวร        หมายถึง                 ป่วย                       

กริ้ว         หมายถึง                 โกรธ

โปรด              หมายถึง                 ชอบ รัก เอ็นดู     

 เสด็จ       หมายถึง                 ไป  มา

๔.     ใช้คำ  ทรง  นำหน้าราชาศัพท์ที่เป็นนามให้เป็นกริยาราชาศัพท์  เช่น

พระราชนิพนธ์  เป็นนามราชาศัพท์  หมายถึง  หนังสือหรือเพลงที่แต่ง  เมื่อเติม  ทรง  เป็น 

       ทรงพระราชนิพนธ์  หมายถึง  แต่งหนังสือหรือแต่งเพลง

พระวินิจฉัย  เป็นนามราชาศัพท์  หมายถึง  คำวินิจฉัย  เติม  ทรง  เป็น  ทรงพระวินิจฉัย   หมายถึง  ตัดสิน 

        พระสุบิน      เป็น  นามราชาศัพท์  หมายถึง  ความฝัน 

       เติม  ทรง          เป็น  ทรงพระสุบิน  หมายถึง  ฝัน

                คำ  ทรง  จะใช้นำหน้าคำกริยาที่มีนามราชาศัพท์ต่อท้ายไม่ได้  เช่น 

             มีพระราชดำรัส   มีพระราชวินิจฉัย  มีพระราชบัญชา 

         มีพระราชานุเคราะห์  เป็นพระราชโอรส  ลงพระปรมาภิไธย 

        ทราบฝ่าพระบาท  ออกพระโอษฐ์  แย้มพระสรวล  สดับ  พระธรรมเทศนา  ต้องพระราชอาญา  ปลงเส้นพระเจ้า  หายพระทัย  ชำระพระหัตถ์  แปรงพระทนต์การใช้คำ  เสด็จ

                ๑.  ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญบางคำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ทำนองเดียวกับคำ  ทรง  เช่น  เสด็จออก  เสด็จเข้า  เสด็จผ่านพิภพ  เสด็จตรวจพลสวนสนาม

                ๒.  คำว่า  เสด็จพระราชดำเนิน  มีที่ใช้จำกัดเฉพาะพระมหากษัตริย์  พระบรมราชินีนาถ  พระยุพราช  และพระบรมวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น  จะให้แก่เจ้านายชั้นรองลงมาไม่ได้  โดยความหมายน่าจะหมายถึง  เดิน  หรือ เดินทาง  (ที่ใช้พาหนะด้วย)  จะไป  จะมา  จะกลับ  จะแปรพระราชฐาน  ต้องเติมคำอันเป็นใจความสำคัญไว้ข้างท้าย  เช่น  เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนรถพระที่นั่งไปยังพระบรมมหาราชวัง   เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกช่อฟ้า  เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม  เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ

                หมายเหตุ  เสด็จพระดำเนิน  ไม่มีใช้ในราชาศัพท์  มีแต่ ทรงพระดำเนิน  หมายถึง  เดิน

                ๓.  ในสมัยก่อน  คำ  เสด็จ   ใช้หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน  เจ้านาย  หรือพระราชวงศ์ได้ด้วย  เช่น คำที่ว่า  รับเสด็จ  ส่งเสด็จ  ตามความหมายเดิมในภาษาเขมร  ปัจจุบันถ้าจะส่งหรือรับพระเจ้าแผ่นดิน  เจ้านาย  และพระบรมวงศ์ชั้นสูงอย่างเป็นทางการ  จะใช้ว่า  ส่งเสด็จพระราชดำเนิน  รับเสด็จพระราชดำเนิน  พระราชวงศ์ชั้นรองลงมาจึงใช้  ส่งเสด็จ  รับเสด็จ  สำนวนใหม่นี้  หมายถึง  รับหรือส่งการเดินทางไปมา  มิได้หมายถึงรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายดังแต่ก่อน

                ๔.  คำ  เสด็จ  อีกนัยหนึ่งในภาษาที่ไม่เป็นทางการใช้เป็นคำแทนพระองค์  พระองค์เจ้าที่เป็นพระราชโอรส  พระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน  เช่น  เสด็จกรมขุน  เสด็จพระองค์กลาง

 

การใช้คำ  พระบรม

                คำบรม  มาจากคำ  ปรม  ในภาษาบาลี  แปลว่า ยิ่งใหญ่  ใช้แก่สิ่งที่สำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น  เช่น พระบรมเดชานุภาพ  พระบรมราชโองการ  พระบรมราชูปถัมภ์  พระบรม

ราชานุสาวรีย์

 

  การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามแบบแผนของสำนวนไทย

                ๑.  เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไป   ที่ใดก็ตาม  เราอาจกล่าวได้ว่า  มีพสกนิกรมาเฝ้าฯ  รับเสด็จ  (หรือ  รับเสด็จ)  อย่างเนืองแน่น  (คำ เฝ้าฯ  รับเสด็จ  อ่านว่า  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ)  ไม่ควรใช้คำว่า  ถวายการต้อนรับ  เพราะเป็นสำนวนต่างประเทศ

                ๒.  เราอาจกล่าวได้ว่า  ราษฏรไทยมีความจงรักภักดีและใคร่แสดงความจงรักภักดี  ไม่ใช่ว่า ถวายความจงรักภักดี

   การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล

๑.       คำ  ราชอาคันตุกะ  กับ  อาคันตุกะ  แปลว่าแขกที่มาเยือน  ถ้าเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ใช้  ราช  นำหน้า  ตัวอย่าง

                                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชอาคันตุกะของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบท  หรือ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นอาคันตุกะของประธานาธิบดี  เป็นต้น

                ๒.  ในการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินี  ถ้าเป็นของเล็กใช้  ทูลเกล้าฯ  (อ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย)  ถ้าเป็นของใหญ่ใช้  น้อมเกล้าฯ  (อ่านว่า  น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย)

 การใช้คำราชาศัพท์สำหรับผู้ที่ควรแก่การเคารพอื่น ๆ นอกเหนือจากพระราชวงศ์

                การใช้ราชาศัพท์สำหรับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องใช้ให้ถูกต้องตามแบบแผนโดยคำนึงถึงความเคารพอย่างสูง  เช่น  ต้องเรียกขานพระนามให้ถูกต้อง  อาทิ  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  สมเด็จพระบรมศาสดา  สมเด็จพระผู้มีพระภาค  ตามความเหมาะสมแก่บริบท  คำที่ใช้เรียกกิริยาอาการของพระพุทธเจ้า  เช่น  พระดำรัส  ตรัส  เสด็จพระพุทธดำเนิน  เสด็จกลับ หลับพระเนตร   สิ้นพระสุรเสียง  ก็ต้องใช้ให้เหมาะสม

                การใช้ราชาศัพท์สำหรับพระศาสดาของศาสนาอื่น  ควรใช้คำแสดงคารวะให้ถูกต้องตามแบบแผนขนบนิยม  หรือตามที่ทางการกำหนด  เช่น  พระศาสดา  เสด็จสูสวรรค์  ทรงสั่งสอน  ทรงประกาศศาสนา

 

  การใช้คำราชาศัพท์ในงานประพันธ์

                งานประพันธ์อาจเป็นงานที่ตัวละครมีจริงในประวัติศาสตร์หรือเป็นงานที่ผู้ประพันธ์สร้างตัวละครขึ้น  ถ้าเป็นประการแรก  การใช้คำราชาศัพท์ค่อนข้างเคร่งครัดตรงตามความเป็นจริง  เช่น  นิราศลอนดอน

                อย่างไรก็ดี  การใช้ราชาศัพท์ในงานประพันธ์ทั้งสองประเภทแตกต่างกับการใช้ราชาศัพท์ในสถานการณ์จริง  กล่าวคือ  ไม่จำเป็นต้องใช้ให้คงที่ตลอดไปทั้งเรื่อง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ประพันธ์

                ตัวอย่าง

                ท่านผู้เจริญทั้งหลาย!  แม้เจดีย์นี้จะหักพัง  ส่วนเจดีย์ด้านเทวทหะโน้นจะยังสมบูรณ์ดี  แต่ถ้าเราทราบประวัติอันรุ่งโรจน์ของท่านพระอานนท์  พระอนุชาเรียงพี่เรียงน้องแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  เราก็จะเห็นว่าความพังแห่งวัตถุที่ก่อสร้างเป็นเจดีย์นี้  มิได้ทำให้เกียรติคุณของท่านพังทลายไปด้วยเลย  ข้าพเจ้าจะขอทำนายไว้ว่า  ตราบใดที่พระพุทธศาสนายังอยู่ในโลก  ตราบนั้นพระคุณของท่านพระอานนท์  พุทธอนุชาผู้ตามเสด็จรับใช้ใกล้ชิดพระตถาคตเจ้าจนถึงวาระสุดท้ายที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานจะยังเป็นประหนึ่งดวงประทีปอันโพลงแสงรุ่งโรจน์ในจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดไป

                                                                                                                                                (เชิงผาหิมพานต์)

                ฝ่ายพระองค์ทรงเดชเกศกษัตริย์                   จึงจบหัตถ์อธิษฐานการกุศล

แล้ววันทาลาศีลพระทศพล                                    เอาเครื่องต้นแต่งองค์อลงการ์

แล้วถือปี่ที่ท่านอาจารย์ให้                                 แข็งพระทัยออกจากชะวากผา

ขึ้นหยุดยั้งนั่งแท่นแผ่นศิลา                                              ภาวนาอาคมเรียกลมปราณ

แล้วทรงเป่าปี่แก้วให้แจ้วเสียง                                   สอดสำเนียงนิ้วเอกวิเวกหวาน

พวกโยธีผีสางทั้งนางมาร                                            ให้เสียวซ่านซับซาบวาบหัวใจ

แต่เพลินฟังนั่งโยกจนโงกหงุบ                                    ลงหมอบซุบซวนซบสลบไสล

พอเสียงปี่ที่แหบหายลงไป                                                ก็ขาดใจยักษ์ร้ายวายชีวา

                                                                                                                                                (พระอภัยมณี)

ชโยชโยโห่ลั่นปฐพิน         ถวายชัยพระจักริน             ธ เสด็จทั่วท้องธรณี   ประเทาทุกข์ประชาชี  เฉลิมห้ารอบพระชนมาน

                ทวยราษฏร์เริงรื่นชื่นบาน   เสนาะสนั่นบรรสาน ทรงฟื้นดินฟื้นน้ำทราย ร้อนแล้งแคลนคลาย  ทรงพระเจริญ  ทรงพระเจริญ

                ขอพระชนม์พรรษากว่าเกิน   ร้อยฉนำดำเนิน               ขอพระเสด็จสถิตเสถียร  เนินฉนำจำเนียร

นำไทยไร้ทุกข์สุขสันต์           เนาในพระราไชสวรรค์

                เพราะพระทศพิธราชธรรม์    ทวยประชาสามัญ

จึงร่มเย็นด้วยพระบารมี

                                        (ท่านผู้หญิงสมโรจน์  สวัสดิกุล   อยุธยา)

อ้างอิง   บริษัทสำนักพิมพ์พัฒนาสื่อการเรียนการสอน  จ. ชัยภูมิ 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #คำราชาศัพท์ต่อ
หมายเลขบันทึก: 35145เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

มีเนื้อหามากดีค่ะ เวลาหาข้อมูลจะได้ไม่ต้องหลายที่

ขอบคุณมากค่ะ < v r 3/4 >

iUkdm6dq8omuj=v[wmp

ขอบคุณมากๆเลยนะคะ

มันคือข้อสอบของหนูทั้งนั้นเลย

^____^

อัมรินทร์ แก้วมณี
ยาวไปไอห่าราก

ราชาศัพท์เกิดในสมัยไหน

ขอบคุนค่ะ ^^ สอบๆๆๆ

ยาวมากกกกกกกกกกกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ กลับคำราชาพท์เขียนว่ารัย (( ทำการบ้าน ))

ขอบคุณครับ อาจารย์ตังเม

ละเอียดมากเลยค้า

ขอบคุนค้า

ถ้ามีแนวข้อสอบด้วยจะดีมากมากเลยคร้า

ถ้าจะบอกว่า กำลังทำบุญวันเกิด เราจะได้ยินคำราชาศัพท์ ยังไงครับ ทรงทำบุญฉลองพระชนน์มายุ   แบบนี้ถูกป่ะ ไม่ค่อยได้ยิน ทำบุญวันเกิด กับ พระมหากษัตริย์

ขอบบคุณณณจ๋าาาาาาาาา

ขรอบครุนมากเลยคร้าบบบบบบบ ~_~

ขอบคุณคลับอาจาน

**** แด่ ความเห็นที่ ห้า

อัมรินทร์ แก้วมณี [IP: 125.26.77.66]

เมื่อ พ. 16 ม.ค. 2551 @ 09:30

#519916 [ ลบ ]

[u]ยาวไปไอห่าราก[/u]

***นิสัย เสีย นะครับ คนเขาเอาความรู้มาให้ เอานิสัย แบบนี้มาจากที่ใหน มีการศึกษารึเปล่า ?

ถ้า มันยาวนัก ทีหลัง ก็ ปิดเว๊บไปเลย นะครับ ไอห่าราก จะทำตัว สันดาร นิสัยเกรียนๆ ไปถึงใหน

นีกัวโซโชจีนตำหรับน่อ

Thank you,too.

ขอบคุณจริงๆน่อ

เสียดายจัง

มีนิดเดียว

แต่อย่างน้อยก้อได้จากนี่ตั้งเยอะแหนะ

ไอพวกที่มันด่าครูบาอาจารย์น่ะไม่เจริญหรอกไตรงความคิดเห็นที่16กับ5น่ะ

ขอบพระคุณมากคับผม -*-

สุกวย...มากครับ ได้ความร้เพียบ

ถ--ฟๆเภ-ภ-ๆฟะภพถำ-ฟๆภ-ฟๆภถพำ-ภพ-ฟๆพภัภถ-ภพถ-ถ-ถภุถุ

น่ารักมากนะ

อยากจะบอกหั้ย

อ่ะ

555

*-*    อิอิ

รรเ้ระำะเีกั้เพำถีี

จะได้มีความรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท