ความหมายของสถิติ ข้อมูลและข่าวสาร


สถิติคืออะไร

สถิติ(statistics)อาจพิจารณาได้ 3 ความหมายคือ

            สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts )ของ   เรื่องต่างๆ ที่เราต้องศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น             สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติในความหมายนี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (statistics)

           สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสนใจรายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้าน แล้วเราสามารถนำรายได้ของทุกคนมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยของรายได้ ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้นี้ถือว่าเป็นค่าพารามิเตอร์ แต่ถ้าเราสุ่มตัวอย่างคนในหมู่บ้านมาจำนานหนึ่งแล้วคำนวณรายได้เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยที่ได้นี้จะเป็นค่าสถิติ

       

                  ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (fatcts) ที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อที่เท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้าน ราคาของพืชผักและผลไม้ต่างๆ ในหมู่บ้าน เป็นต้นหรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การศึกษา หรือ อาชีพของคนในหมู่บ้าน เป็นต้น

                 สารสนเทศหรือข่าวสาร (Information) หมายถึง ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกตและบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตัดสินใจปฏิบัติการต่างๆ

      ขอบข่ายของสถิติ

      ในกรณีที่สถิติ หมายถึง ข้อมูลสถิติ

      ข้อมูลสถิติได้ครอบคลุมไปในแทบทุกแขนงของวิชาการในกิจกรรมต่างๆ ของการดำรงชีวิตประจำวัน การวางแผน การติดตามผล เป็นต้น

      ในวงการสถิติของรัฐบาล ไม่ว่าข้อมูลสถิตินั้นๆ จะอยู่ในลักษณะของผลพลอยได้จากการบริหารงาน หรือจัดทำขึ้นมาเพื่อการสถิติโดยตรง สามารถจำแนกข้อมูลสถิติ ดังกล่าว ออกเป็น 23 สาขาด้วยกัน คือ

        1. สถิติประชากรและการเคหะ
        2. สถิติแรงงาน
        3. สถิติการศึกษา การฝึกอบรม ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงสถิติสื่อสารมวลชน
        4. สถิติด้านสุขภาพ
        5. สถิติสวัสดิการสังคม
        6. สถิติเกี่ยวกับหญิงและชาย
        7. สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
        8. สถิติด้านสังคม ประชากรศาสตร์ และสถิติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
        9. สถิติบัญชีประชาชาติ
        10. สถิติการเกษตร การป่าไม้และการประมง
        11. สถิติอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
        12. สถิติพลังงาน
        13. สถิติการค้าส่ง ค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศ
        14. สถิติการขนส่ง
        15. สถิติการคมนาคม
        16. สถิติการท่องเที่ยว
        17. สถิติการเงิน การธนาคาร การประกันภัย และดุลการชำระเงิน
        18. สถิติการคลัง
        19. สถิติราคา
        20. สถิติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิทธิบัตร
        21. สถิติด้านเศรษฐกิจอื่นๆ
        22. สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        23. สถิติอุตุนิยมวิทยา

       

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3511เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2005 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท