บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ


บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ

 

 

 

"บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้าง

ของลูกจ้างประจำ"

 

                ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว 38 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553 เรื่อง  บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ นั้น

                กระทรวงการคลัง พิจารณาแล้ว เพื่อให้กระบวนการบริหารงานบุคคลลูกจ้างประจำของส่วนราชการเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ - ขั้นสูง มีความสะดวก รวดเร็ว คล่องตัว มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งสอดคล้องกับการจัดระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่กำหนดขึ้นใหม่ดังกล่าว จึงอาศัยอำนาจตามข้อ 7 และข้อ 8 แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิกหนังสือ ดังต่อไปนี้

                1. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0415/ว 160 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2548

                2. หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0415/ว 18 ลงวันที่ 17 มกราคม 2549

                3. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0415/ว 22 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2549

                4. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0415/ว 43 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2550

และกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ - ขั้นสูง รวมทั้งกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 1 - กลุ่มที่ 4 ที่ใช้เป็นขั้นวิ่งในการเลื่อนขั้นค่าจ้างขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553

 

     สำหรับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง  อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ - ขั้นสูง

และกลุ่มบัญชีขั้นวิ่งกลุ่มที่ 1 -  กลุ่มที่ 4 ของลูกจ้างประจำ

ของส่วนราชการดูได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

 

หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว 38

ลงวันที่ 1 เมษายน 2553  เรื่อง  บัญชีกำหนดคุณสมบัติ

เฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/aaa38.pdf

 

 บัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

กลุ่มที่ 1 - 4

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/group1.pdf

 

 กลุ่มงานบริการพื้นฐาน

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/service.pdf

 

 กลุ่มงานสนับสนุน 

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

 

 กลุ่มงานเทคนิคพิเศษ

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/technic.pdf

 

 กลุ่มงานช่าง

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb1.pdf

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb2.pdf

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb3.pdf

 

                 สำหรับผู้เขียน ขอฝากลูกจ้างประจำทุกท่าน ในเมื่อสำนักงาน ก.พ. ได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขกลุ่มตำแหน่งให้กับท่านแล้ว ขอให้ท่านได้พัฒนาตนเอง หมั่นฝึกฝนความรู้ความสามารถของตนเองรวมทั้งประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อผลงานและความก้าวหน้าของตัวท่าน ต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ ตลอดจนถึงอนาคตของท่านและครอบครัวจะได้รับความมั่นคงในบั้นปลายที่ท่านได้เกษียณอายุราชการแล้วค่ะ...

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ได้จัดประชุมชี้แจง

การจัดตำแหน่งลูกจ้างประจำเข้าสู่ระบบใหม่ให้กับลูกจ้างประจำ ฯ

ในวันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/358093

 

ท่านสามารถดูตัวอย่างการอนุมัติบัญชีการจัดตำแหน่งลูกจ้างประจำ

เข้าสู่ระบบใหม่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 

ได้จากเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

 http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/359370

 

ท่านสามารถดูรายชื่อตำแหน่งลูกจ้างประจำจำแนกตามกลุ่มงาน

ซึ่ง สำนักงาน ก.พ. ได้แก้ไขใหม่ ตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/359391

 

 หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0428/ว 296

ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2553  เรื่องแก้ไขข้อคลาดเคลื่อน...

ศึกษาได้ตามไฟล์ด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390658

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/doc20100904101201.pdf

 

หมายเลขบันทึก: 350704เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2010 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (221)

ในที่สุดฟ้าก็มีตา

ภารโรงที่ทำการปกครองประจำอำเภอ

เรียน คุณบุษยมาศ ที่นับถือ

1.ผมขอทราบการปรับตำแหน่งของลูกจ้างประจำของกรมการครอง(ภารโรงที่ว่าการอำเภอ)ผมเห็นกระทรวงอื่นๆเขาปรับกันมา

หลายปีแล้วเช่น ศึกษาภารโรงเป็นระดับช่างและโรงพยาบาลภารโรงปรับเป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้เป็นต้นแต่ภารโรงประจำที่ทำ

ปกครองของอำเภอไม่เห็นได้ปรับกับเขาเลยเพราะอะไรครับ(ค่าจ้างตันแล้วที่12440)

2.จะได้ปรับตำแหน่งเหมือนกับกระทรวงอื่นๆหรือเปล่าถ้าปรับแล้วจะอยู่ในกลุ่มใดครับ3.

3.ผมขอให้ท่านช่วยให้คำตอบหน่อยครับ

4.ผมจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ

5.ผมถามอำเภอและทางจังหวัดได้คำตอบว่าไม่มีหนังสือจากกรมแจ้งมา

6.ขอบคุณครับ

ช่วยหน่อยค่ะ ดาวน์โหลดไฟล์กลุ่มงานช่างไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร เพราะกลุ่มงานอื่นดาวน์โหลดไฟล์ได้ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...หมายเลข 2...

1. ให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่หรือหัวหน้างานของคุณนะค่ะ ว่าเพราะเหตุใด แต่

    การปรับก็ขึ้นอยู่กับภาระงานด้วยนะค่ะว่าคุณปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน

    กำหนดตำแหน่งใหม่หรือไม่...ถ้าทำแบบเดิม ก็ไม่สามารถทำได้ค่ะ...

2. ถ้าคุณยังปรับตามมาตรฐานเก่าไม่ได้ ถ้าเข้าสู่กล่มงานใหม่ คุณจะมีตำแหน่ง

    เป็นพนักงานสถานที่  รหัส 1103  กลุ่มงาน บริการพื้นฐาน ระดับ 1 ค่ะ

3. - 4. การปรับสู่ตำแหน่งใหม่ ต้องรอหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. แจ้งตอบ

   กลับมาก่อนนะค่ะว่า ตำแหน่งใหม่คุณ คืออะไร  เมื่อทราบแล้ว ให้คุณตรวจ

   สอบดูว่า ภาระงานของคุณทำงานอะไรนอกเหนือจากนักการภารโรง เช่น

   ถ่ายเอกสาร  พิมพ์ดีด ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ ถ้าเป็นลักษณะงานดังกล่าว คุณ

   สามารถปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งใหม่ได้ค่ะ  และให้ปรึกษาหัวหน้างานของคุณ

   ว่าจะดำเนินการให้อย่างไรค่ะ

5. จริง ๆ แล้ว ปัจจุบัน เจ้าหน้าที่หรือหัวหน้างานของเราที่รับผิดชอบ ต้องเป็น

    ผู้ที่ขวนขวายแล้วนะค่ะ ปัจจุบันรัฐบริหารจัดการในรูปแบบรัฐบาล

    อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งข้าราชการทุกคนต้องมีการพัฒนาตนเอง โดยการเสาะหา

    ข่าวสาร หนังสือเวียนตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องพร้อมกันกับประสานเกี่ยวกับ

    หนังสือเวียนของสำนักงาน ก.พ. กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ไปพร้อม

    กันค่ะ

6. ถ้าคุณสามารถปรับตำแหน่งได้ ทำให้คุณเสียสิทธิ์ไปตั้งแต่แรกค่ะ...

    ลองปรึกษาหัวหน้างานคุณนะค่ะ...ถ้าทำได้ นั่นคือ ความมั่นคงของคุณและ

    ครอบครัวค่ะ แต่คุณก็ต้องมีการพัฒนาตนเองของคุณด้วยนะค่ะ ถ้าทำแบบ

    เดิม เจ้าหน้าที่จะไม่แต่งตั้งหรอกค่ะ...โชคดีนะค่ะ...

 

ตอบ...คุณรุ่ง...

ผู้เขียนได้ตรวจสอบใน Internet จากมหาวิทยาลัยแล้วนะค่ะ ก็สามารถ download File  ได้นี่ค่ะ...อาจเป็นเพราะ net ของคุณหรือเปล่าค่ะ...ลองดูอีกครั้งนะค่ะ...

ต่อไปนี้ลูกจ้างประจำจะได้สิ่งที่ดีขึ้น

ตอบ...หมายเลข 6...

เป็นเพราะรัฐปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้า มั่นคงและเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันค่ะ...แต่ลูกจ้างประจำก็ต้องมีการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ ให้มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นด้วยนะค่ะ...เพื่ออนาคตและความมั่นคงในอาชีพของท่านด้วยค่ะ...

ตอนนี้ดิฉันตำแหน่งพนักงานพิมพ์ระดับ 1 จบปริญญาตรีบริหารธุรกิจ อยู่ในสถานะหัวหน้างานเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ฝ่ายบัญชี โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่อยากทราบว่าสามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นพนักงานการเงินและบัญชีได้หรือไม่ค๊ะ

ตอบ...หมายเลข 8...

ขอให้คุณดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ของตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชีให้ดีนะค่ะ ว่าจะสามารถเติบโตได้ถึงระดับไหน กับเปรียบเทียบว่าถ้าเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 1 ต่อไป ก็เป็น ระดับ 2,3,4 ซึ่งผู้เขียนขอให้ดูว่าเพดานของค่าจ้าง ตำแหน่งไหนสูงกว่ากันค่ะ ถ้าพอ ๆ กัน ก็ขึ้นอยู่กับคุณตัดสินใจว่าจะไปอยู่ในตำแหน่งไหนค่ะ...แต่พนักงานพิมพ์ เป็นงานที่กว้างกว่าพนักงานการเงินและบัญชีนะค่ะ...ลองศึกษารายละเอียดดูนะค่ะ...

ด้วยความขอบคุณข้อมูลความรู้ครับ

ตอบ...คุณวอญ่า...

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...เป็นการแบ่งปันความรู้ค่ะ...

เรียนท่านอาจารย์ ที่นับถือ 1.อยู่ในตำแหน่งพนักงานสถานที่เมื่อเงินค่าจ้างเต็มที่15260สามารถปรับไปอยู่ในตำแหน่งผู้ดูแลสถาน

ที่ระดับ 2/หนได้ไมครับเพราะอยู่ในกลุ่มเดียว

2.อยากว่าการปรับตำแหน่งนั้นขึ้นกับแต่กระทรวงหรือแต่ละกรมที่จะขยายตำแหน่งให้ใช่มั้ยครับ

3.อยากว่าตอนนี้กำลังจะไปอยู่ที่กลุ่มบริการแต่ไม่ได้ปรับตอนแรกมีวุฒิการศึกษาทางด้านเกี่ยวกับ

ด้านช่างฝีมือจะขอปรับไปอยู่ที่กลุ่มช่าง(ช่างฝีมือทั่วไป)ที่ระบบใหม่ได้หรือมั้ย

4.ขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง

ตอบ...หมายเลข 12...

1. คุณต้องศึกษาดูที่หน้าที่ของตำแหน่งผู้ดูแสสถานที่ด้วยนะค่ะว่ามีหน้าที่อย่างไร แล้วคุณปัจจุบันทำงานในลักษณะไหน ทำหรือไม่ ถ้าไม่แล้วหัวหน้าหน่วยงานสั่งให้ทำในตำแหน่งผู้ดูแลสถานที่ระดับ 2/หน. หรือไม่ ถ้าเป็นลักษณะงานเหมือนเดิมคงไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าภาระงานใช่ตำแหน่งผู้ดูแลสถานที่ระดับ 2/หน. ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ให้ศึกษาหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 1008/ว 14 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2553 ข้อ 6,7 ก่อนนะค่ะหรือจากไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/letter_14.pdf

2. สำหรับการปรับตำแหน่งนั้น ปัจจุบันให้ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ต้องรอหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.กำหนดก่อนนะค่ะ  อันดับแรกในตอนนี้ ต้องรอการอนุมัติกรอบอัตรากำลังจากสำนักงาน ก.พ. ที่จะแจ้งให้ส่วนราชการทราบภายในเดือนพฤษภาคม 2553 ก่อนค่ะ

3. ต้องรอหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนดและแจ้งมาก่อนนะค่ะ สำหรับรายละเอียดถ้ามีมาเพิ่มเติม ผู้เขียนจะนำมาลงเว็บไซต์ให้เพื่อทราบต่อไปค่ะ ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งก็อย่างที่บอกในข้อ 1 ว่า ถ้าทำหน้าที่ด้านช่างอยู่ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ ก็สามารถทำได้ค่ะ แต่ขณะนี้ต้องรอหลักเกณฑ์ก่อนนะค่ะ (เพราะถ้ามีหน้าที่ด้านช่าง น่าจะปรับเปลี่ยนก่อนที่จะมีการเข้าสู่กลุ่มงานแล้วค่ะ)

4. ขอบคุณค่ะ

เรียน อ.บุษยมาศ

ในการปรับเปลี่ยนชื่อและตำแหน่งของลูกจ้างประจำ ในส่วนของคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ทำไม ของพนักงานพิมพ์ ก.พ. จึงต้องรอให้พนักงานพิมพ์ระดับ 3 เงินเดือนตันในระดับ 3 ก่อนแล้วถึงปรับไปเป็นระดับ 4 ค่ะ ทำไมไม่กำหนดว่าดำรงตำแหน่งพนักงานพิมพ์ในระดับ 3 มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี เหมือนตำแหน่งอื่น ๆ เพื่อที่จะได้ก้าวไปเป็นระดับ 4 ได้ (จะได้ไม่เสียโอกาสในการเลื่อนขั้นโดยใช้โครงสร้างบัญชีระดับ 2 ได้ )

รบกวนให้รายละเอียดด้วยค่ะ (หากเข้าใจผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้) และให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณจิราภรณ์...

สำหรับคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งกระทรวงการคลังจะเป็นผู้กำหนดค่ะ...ทางกระทรวงการคลังคงจะมีเหตุผลในการปรับนะค่ะ...การปรับชั้น 3 เป็น 4 ในตำแหน่งพนักงานพิมพ์นั้น ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. ด้วยค่ะ...สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งต้องศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือสำนักงาน ก.พ. ตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/employee1.pdf

 

เรียนคุณบุษยมาศ ที่เคารพ ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.) ดิฉันอยากทราบว่า ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 38 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553 ต้องนำมาใช้กับลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเปล่าค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้า ส่งที่เมล [email protected]

ตอบ...หมายเลข 16...

น่าจะไม่ได้นะค่ะ...เพราะที่แจ้งเกี่ยวกับลูกจ้างประจำทั้งหมดนี้ จะเป็นลูกจ้างประจำที่ใช้ระเบียบของกระทรวงการคลังค่ะ...

อยากสอบถามว่า

ความหมายของคำว่า ขั้นวิ่งในการเลื่อนขั้นค่าจ้างขึ้น มันคืออะไรอะครับ

อยากทราบด่วนเลยครับ

ใครรู้ช่วยตอบที

ตอบ...คุณบอล....ค่ะ...

ขั้นวิ่งของค่าจ้าง  เป็นภาษาพูดค่ะ...ความจริงแล้วเป็นขั้นของค่าจ้างในแต่ละขั้น  เช่น  0.5 ขั้น, 1 ขั้น, 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น (การได้ขั้นดังกล่าว  ขึ้นอยู่การพิจารณาความดีความชอบ + ผลการปฏิบัติงานของบุคคลคนนั้นค่ะ) โดยในแต่ละกลุ่มงานจะมีขั้นของแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกันค่ะ...โดยแต่ละกลุ่มจะมี เขาเรียกว่า "ขั้นต่ำ - ขั้นสูง" (ขั้นสูง คือ เพดานสูงสุดของค่าจ้างในกลุ่มงานนั้นค่ะ)...คือ ค่าจ้างของคุณในกลุ่มงานนี้จะไม่สูงไปกว่านี้ค่ะ  เรียกว่า  เต็มขั้นค่ะ...

-เงินเดือนของพนักงานขับรถ จะได้รับสูงสุดเท่าไหร่

-ถ้าพนักงานขับรถกลุ่ม1เมื่อได้รับเงินจาดเงินเดือนสูงสุดแล้วสามารถปรับเปลี่ยน จากพนักงานในกลุ่ม1เป็นกลุ่ม2ได้รึเปล่าครับ แล้วถ้าได้จะเปลี่ยนเปลี่ยนเองโดยอัตโนมัติรึเปล่าครับ

ตอบ...คุณบอล...

ค่าจ้างของพนักงานขับรถยนต์  อยู่ใน กลุ่ม ส 1 - 2 ค่ะ  สำหรับกลุ่ม 1 ค่าจ้างสูงสุด = 18,190 บาท  แต่ถ้าเต็มขั้นแล้ว สามารถปรับไปที่ ระดับ 2 ได้เลยค่ะ...โดยเทียบค่าจ้าง สูงกว่า 18,190 บาท เล็กน้อย  คาดว่าจะ = 18,380 บาท (ถ้าจำไม่ผิดนะค่ะ)...แล้วค่าจ้างจะค่อย ๆ ขึ้นตามครั้งของความดีความชอบ+ผลงานค่ะ...สำหรับพนักงานขับรถยนต์  เงินค่าจ้างจากกลุ่ม 1 - 2 สามารถเลื่อนไหลอัตโนมัติค่ะ...จะเต็มขั้นที่ = 22,220 บาท ค่ะ...

พนักงานพิมพ์ 2 เงินเดือน 13,870 (ปัจจุบัน) ถ้าปรับเข้ากลุ่มใหม่แล้ว เงินเดือนจะปรับอย่างไร

1. ปรับจากกลุ่มที่ 1 เป็น 2 ได้เลย หรือ

2. อยู่กลุ่มที่ 1 และรอเงินเดือนเพิ่มให้ถึงเพดานแล้วค่อยปรับไปกลุ่มที่ 2

ทั้งนี้ เพื่อน ๆ ในกลุ่มงานเกิดข้อข้องใจและต้องการหาคำตอบที่ชัดเจน จึงต้องขอรบกวนอาจารย์กรุณาตอบเพื่อ

เป็นวิทยาทานกับเหล่าลูกจ้างประจำด้วย ......ขอบพระคุณยิ่ง

ตอบ...หมายเลข  22...

ตำแหน่งพนักงานพิมพ์  ระดับ 2 อยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 1 ค่ะ...อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ  5,080 - 18,190 บาท ค่ะ...ปัจจุบันค่าจ้าง = 13,870 บาท ถ้าปรับใหม่ ค่าจ้าง ก็เท่าเดิมค่ะ...(ปัจจุบันสำนักงาน ก.พ. เปิดเพดานค่าจ้างให้กับคุณแล้วค่ะ...ภาษาพูด คือ "ตันที่ 18,190 บาท ค่ะ"...เนื่องจาก...

1. พนักงานพิมพ์  ระดับ 1 จัดอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 1 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ = 5,080 - ขั้นสูง = 15,260 บาท

2. พนักงานพิมพ์  ระดับ 2 จัดอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 1 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ = 5,080 - ขั้นสูง = 18,190 บาท

3. พนักงานพิมพ์  ระดับ 3 จัดอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 1-2 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ = 7,100 - ขั้นสูง = 22,220 บาท

4. พนักงานพิมพ์  ระดับ 4 จัดอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้างกลุ่มที่ 3 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ = 16,440 - ขั้นสูง = 29,320 บาท

ถ้าจะไปอยู่กลุ่มที่ 2 ได้ คุณต้องมีการปรับเป็นพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 ก่อนค่ะ  อาจโดยการสอบคัดเลือก ซึ่งส่วนราชการจะเป็นผู้จัดสอบเกณฑ์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานพิมพ์  ระดับ 3  นะค่ะ...เมื่อสอบได้และได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานพิมพ์  ระดับ 3 แล้ว จึงจะสามารถไปยังกลุ่มที่ 2 ได้ค่ะ...(ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดค่ะ)...

ให้ดูค่าจ้างในแต่ละระดับนะค่ะ...ค่าจ้าง รัฐเปิดเพดานให้แล้วค่ะ...

ทำงานอยู่ อบจ. ตำแหน่งนักการภารโรง ไม่ทราบว่าเงินเดือนจะได้กับเขาหรือป่าว ขั้นสูงสุดเท่าไร

ทำงานอยู่ อบจ. ตำแหน่งนักการภารโรง ไม่ทราบว่าเงินเดือนจะได้กับเขาหรือป่าว ขั้นสูงสุดเท่าไร

อยากทราบว่า

ทำงานอยู่ อบจ. ตำแหน่งนักการภาคโรง เงินเดือน 12,440 เติมขั้นมา 4 ปีแล้ว

ไม่ทราบว่าเงินเดือนจะปรับขั้นกับเขาหรือป่าว

และขั้นสูงสุดเท่าไร

ตอบ...หมายเลข 24 - 26

ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการก็สามารถตอบได้ค่ะ...แต่คุณเป็น ของสังกัด อบจ. ต้องสอบถามที่ อบจ. งานการเจ้าหน้าที่ ดูนะค่ะ...เพราะกฎหมายจะใช้คนละฉบับหรือเปล่า ไม่แน่ใจค่ะ...แต่ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ก็ใช้ที่บล็อกนี้ค่ะ...

เรียน ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

สำหรับการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำในตอนนี้...เช่นการเปลี่ยตำแหน่ง เปลี่ยนระดับชั้นให้สูงขึ้น นั้น...เมื่อวานผู้เขียนได้คุยทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลาง  ท่านแจ้งมาว่า ตามที่สำนักงาน ก.พ. ให้เปลี่ยนตำแหน่งได้นั้น...ขอให้ทุกท่านรอหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องวิธีการ หลักเกณฑ์ การเข้าสู่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำก่อนนะค่ะ...ส่วนราชการต้องชะลอไปก่อน จนกว่าจะมีหนังสือจากกระทรวงการคลัง แจ้งมาให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

หมายเหตุ  :  ถ้ามีหนังสือจากกระทรวงการคลังแจ้งมา  ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

เรียน  ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เรื่อง "การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่" ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/390373

ตำแหน่งพนักงานโทรศัพท์จะเปลี่ยนไปตำแหน่งพิมพ์ดีด3มีขั้นตอนอะไรบ้างคะเห็นตำแหน่ง นี้ทางกรมบัญชีกลางเขาเปลี่ยนกันแล้วคะช่วยบอกด้วยคะ ขอขอบพระคุณอย่างสูง

ไม่คิดว่าจะมีเจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญกับตำแหน่งลูกจ้างประจำขนาดนี้ ได้รับความรู้มาก ๆ เลยค่ะ แต่ไฟล์งานโหลดช้ามาก จึงขอสอบถามน่ะค่ะ ว่า พนักงานพิมพ์ 3 เป็น 4 ต้องรอเงินเดือนตันก่อนหรือเปล่าค่ะ จึงปรับเป็นจาก 3 ไป4 เห็นว่ามีระเบียบใหม่ออกมาว่าไม่ต้อง จริงหรือเปล่าค่ะ ดูได้จากไหนค่ะ

ตอบ...คุณรัชนีกร...

ให้ดูองค์ประกอบในตำแหน่งของพนักงานพิมพ์ ชั้น 1 - 4 ด้วยนะค่ะว่า...ถ้าเราเปลี่ยนเป็นชั้น 3 แล้ว ต้องเป็นพนักงานพิมพ์ ชั้น 1 ก่อนหรือเปล่า แล้วเราอายุมากหรือไม่ ถ้ายังอายุไม่มาก ควรเปลี่ยนค่ะ เพราะจะเป็นการขยายเพดาน แต่เราต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง คือ พิมพ์คอมฯ เป็นด้วยนะค่ะ...พัฒนาตนเองให้หัวหน้าส่วนราชการเห็นว่าเรามีการพัฒนาตนเอง สามารถทำงานที่ยากขึ้นได้ มีน้ำใจต่อเพื่อน ต่อหัวหน้างาน ทำงานได้ไม่แพ้ข้าราชการ...

ตอบ...คุณโศรยา...

ค่ะ เป็นเพราะว่าการบริหารงานบุคคล สมัยก่อน ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับข้าราชการมากกว่าค่ะ...จนลืมนึกถึงระบบลูกจ้างประจำ ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน + มีส่วนในการพัฒนาประเทศเหมือนกัน  แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของลูกจ้างประจำด้วยนะค่ะว่า ต้องมีการปรับตัว พัฒนาตนเอง ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น สมกับที่สามารถปรับตำแหน่งของตนเองให้สูงขึ้นค่ะ...สำหรับการ download File นั้น อาจเป็นเพราะ Internet หรือเปล่าค่ะ  ของพี่ก็ปกติดีนี่ค่ะ...การปรับเปลี่ยนระดับ 3 เป็น 4 นั้น ให้ศึกษาคุณสมบัติที่ กระทรวงการคลังกำหนดนะค่ะ...เคยถามกรมบัญชีกลางแล้ว แจ้งว่าให้ค่าจ้างตันก่อนค่ะ แล้วค่อยปรับ (ต้องดูด้วยค่ะว่า ระดับ 3 กับ 4 อยู่ในกลุ่มการจ่ายค่าจ้าง กลุ่มที่ 2 หรือ เปล่าด้วยค่ะ...ลองศึกษาในบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...เพราะช่วงนี้ ตอบปัญหาเยอะมาก ๆ เลยค่ะ...ลองศึกษาแล้วถ้าสงสัยค่อยถามมาใหม่นะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

กิตติศักดิ์ ผิวสุวรรณ

ผมขอเรียนถามอาจารยย์บุษยมาศดังนี้ครับ

1.ผมเป็นลูกจ้างประจำสังกัดสพฐ.ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ ชั้น 3 อยากทราบว่าตามบัญชีค่าจ้างลูกจ้างประจำแบบใหม่(1 เม.ย.53)ตำแหน่งของผมจัดอยู่ในกลุ่มใด ( กลุ่ม 1, 2, 3 ,4 ) ค่าจ้างขั้นสูงเท่าไหร่

2.อยากทราบว่าตารางเปรียนเทียบค่าจ้างแบบเก่า และใหม่มีหริอยัง หรือปัจจุบันผมค่าจ้าง 14,410 บาท (1 ต.ค.52 )ถ้าเทียบกับบัญชีค่าจ้างแบบใหม่ (1 เม.ย.53)ค่าจ้างผมจะเป็นเท่าไร

3.บัญชีค่าจ้างแบบใหม่ ( 1 เม.ย.53 ) มีผลบังคับใช้หรือยัง หรือมติ ครม.รับรองหรือยัง

4.แท่งเงินเดือนลูกจ้างประจำ(1 เม.ย.54 )ออกหรือยัง หาดูได้ที่ไหน

ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณกิตติศักดิ์...

1. ตำแหน่งของคุณ จัดอยู่ในกลุ่ม 1-2 ค่ะ ค่าจ้างขั้นสูง 22,220 บาท

2. ตารางเปรียบเทียบค่าจ้างแบบเก่า - ใหม่ มีแล้วค่ะ...ตามบล็อกด้านล่าง

    นี้ค่ะ คลิกศึกษาในแต่ละหัวข้อได้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704

การเทียบค่าจ้างได้เท่าเดิมค่ะ...จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จนถึงเพดานสูงสุดของกลุ่ม 1 ก่อนแล้วจึงปรับเข้าสู่กลุ่ม 2 ค่ะ...

3. บัญชีค่าจ้างแบบใหม่ (1 เม.ย. 2553) มีผลบังคับใช้แล้วค่ะ...ศึกษาได้ตามบล็อกดังกล่าวที่แจ้งไว้ค่ะ...ค่อย ๆ ศึกษาไปนะค่ะ...

4. แท่งค่าจ้างของลูกจ้างประจำ (1 เม.ย.54) ยังไม่มีค่ะ...ถ้ามีแล้ว จะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

กิตติศักดิ์ ผิวสุวรรณ

เรียน อาจารย์บุษยมาศ ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ในWebsites ของอาจารย์เป็นประจำ และได้ถามคำถามกับอาจารย์ไปหลายข้อ และได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์แก่ผมและลูกจ้างประจำหลายท่าน จนมีลูกจ้างประจำบางท่านได้ฝากคำถามมาถามอารย์ ผมก็จะทยอยถามอาจารย์ก็แล้วกันเพื่อเปืดโอกาสให้ท่านอื่นได้ปรึกษาหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน วันนี้ผมขอถามอาจารย์ดังนี้ครับ

1.ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3 เป็นตำแหน่งสูงสุดในตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ ใช่ไหมครับ

2.ถ้าผมอยากเปลี่ยนตำแหน่งจากกลุ่มช่างไปเป็นกลุ่มช่าง เช่นช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3 ไปเป็นช่างไม้ ระดับ 3 จะทำได้ไหมครับ

3.จากข้อ 2.ถ้าได้ ผมจะส่งเรื่องขอเปลี่ยนตำแหน่งไปที่สพป.( สพท.เดิม ) หรือสำนักงาน กพ.ครับ

4.อยากให้อาจารย์อธิบายความหมายของคำว่า" เป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะงานในหน้าที่ " (คำนี้เป็นคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งในการขอเปลี่ยนตำแหน่ง )

ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณกิตติศักดิ์...

1. ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3  เป็นตำแหน่งสูงสุดของตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ค่ะ...เพราะอัตราค่าจ้างขั้นสูง = 22,220 บาท ค่ะ

2. ถ้าต้องการเปลี่ยนจากตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3 ไปเป็นตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 3...นั้น ถ้าปัจจุบันเราทำงานด้านช่างไม้ด้วย ก็สามารถทำได้ค่ะ...อยู่ที่ว่าคำสั่งของเราทางต้นสังกัดให้เราทำเกี่ยวกับเรื่องช่างไม้ด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็สามารถทำได้ค่ะ...

คุณสมบัติของช่างไม้ ระดับ 3 ขอให้คุณศึกษาจากคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของช่างไม้ ระดับ 3 นะค่ะ...เช่น

ข้อ 1 แต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 2 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี

ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 3 มีจำนวน 5 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อใช้คำว่า หรือ คั่นในระหว่างข้อ ก็แสดงว่าถ้าเรามีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ก็สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ค่ะ...แต่อย่าลืม ต้องมีคำสั่งที่เราได้ปฏิบัติเกี่ยวกับตำแหน่งของช่างไม้ นะค่ะ...

3. จากข้อ 2 สามารถทำเรื่องไปที่ กลุ่มงานบุคคลของ สพท. ก่อนนะค่ะ...เพราะเขาเป็นส่วนราชการที่ต้องดูแลกลุ่มลูกจ้างประจำอยู่...ปรึกษาเขาก่อนก็ได้ว่าเรามีคุณสมบัติครบ และเพื่อความก้าวหน้าของเราเอง...(เขาจะทำเรื่องไปที่ สพฐ. แล้ว สพฐ.จะนำเรื่องคุณเสนอให้ สำนักงาน ก.พ. เองค่ะ)...

4. สำหรับข้อที่ว่า "เป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบ" นั้น...หมายถึง เราเคยได้รับการผ่านการทดสอบมาตรฐานจากกรมฝีมือแรงงานไงค่ะ...ที่กรมฝีมือแรงงาน เขาจะมีการทดสอบเกี่ยวกับ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างยนต์ เขาจะมีใบรับรองว่าเราได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานการทำงาน เช่น ช่างไม้ เมื่อเทียบกับตำแหน่งช่างไม้ของการทำงาน จะอยู่ในระดับชั้นใด ระบุไว้ค่ะ...เช่น การรับรองคนที่ไม่ได้จบการศึกษา ม.6 ปวช. ปวส. หรือปริญญาตรี...เรียกว่าไม่ได้เรียนในระบบ... แต่เขามีความชำนาญในการทำงานด้านช่างไม้ ช่างปูน คนกลุ่มนี้ ก็ไปให้กรมฝีมือแรงงานรับรองการมีความชำนาญการของเขา...เพื่อรับรองคนกลุ่มนี้ไปทำงานด้านการก่อสร้างในต่างประเทศไงค่ะ...กรมฝีมือแรงงาน เป็นสถาบันอีกสถาบันหนึ่งที่รับรองความสามารถ ความชำนาญการ ของคนที่ไม่ได้เรียนในระบบ (เรียนโรงเรียนประถม มัธยม มหาวิทยาลัยค่ะ...)...เป็นการให้โอกาสผู้ที่ไม่สามารถเรียนในระบบได้ค่ะ...

แต่ถ้าเราเคยเป็นช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3 มาแล้ว + มีคำสั่งให้เราทำเกี่ยวกับเรื่อง ช่างไม้ ก็สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้แล้วค่ะ...

สวัสดี...ลูกจ้างประจำทุกท่านค่ะ...

ผู้เขียนได้เขียนเรื่อง "การคิดเชิงบวก" (Positive Thinking)  ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต + การทำงาน อาจมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน...ศึกษารายละเอียดได้ตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/401783

ท่านสามารถศึกษา เรื่อง "การต่อยอดความคิดเชิงบวก" ได้จากบล็อกด้านล่างนี้...

http://gotoknow.org/blog/bussaya9/401867

เป้นลูกจ้างของกรมส่งเสริมฯ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สายงานสนับสนุนโรงเรียนฯ สังกัดของเทศบาล อยากทราบว่าจะมีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งสูงกว่าเดิมเดิมไหม เนื่องจากวุฒิเดิมแค่ระดับ ปวช. เงินเดือนก็ได้รับแค่ ปวช. โอกาสข้างหน้าจะปรับเป็นวุฒิ ป.ตรีบ้างไหมค่ะ หรือมีโอกาสได้บรรจุเป้นข้าราชการบ้างไหมคะ รบกวนช่วยหาคำตอบหน่อยนะค่ะ หรือจะสามารถสอบถามหรือไขข้อข้องใจหรือสามารถหาคำตอบจากใหนได้บ้างคะ ขอบพระคุณค่ะ

ตอบ...คุณวรรณ...

ไม่ทราบว่าเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือไม่ ...เนื่องจากข้อมูลไม่ละเอียดพอ...ใช้ระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือไม่ ถ้าเป็นเทศบาล ต้องสอบถามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนะค่ะ...เพราะไม่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำของส่วนราชการนะค่ะ...ที่พี่เขียนนี้จะเกี่ยวกับระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษยมาศ มีข้อสงสัยอยากทราบ

1. ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง พนักงานพิมพ์ ส.3 (กลุ่มที่ 1) 1 ตุลาคม 2553 เงินเต็มขั้นคือ 18,190 บาท มีความประสงค์จะขอเลื่อนให้ไปอยู่กลุ่มที่ 2 เราควรจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง อาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

2. ณ ปัจจุบันปฏิบัติงานในด้านของเจ้าหน้าที่การเงิน งานบริหารงานทั่วไป และด้านการฝึกอบรม แต่ในสายงานที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กรมอาชีวศึกษา) ออกมาพร้อมกับตำแหน่งที่เปลี่ยนใหม่ไม่มีตำแหน่งของพนักงานการเงินและบัญชี และในสำนักงาน กพ. นั้นมีตำแหน่งดังกล่าว ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด ถ้าจะขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานพัสดุ หรือพนักงานธุรการ จะได้หรือไม่

ตอบ...คุณตะวัน...

1. ถ้าปัจจุบันดำรงตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส. ระดับ 3 ในกลุ่มค่าจ้างจะอยู่ในกลุ่มที่ 1 - 2 แล้วค่ะ ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น เมื่อค่าจ้างเต็มขั้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะปรับให้คุณโดยเทียบค่าจ้างที่สูงกว่า 18,190 บาท โดยสามารถเลื่อนเป็นค่าจ้างที่สูงขึ้น ได้เลยค่ะ ถ้าจำไม่ผิด 18,380 บาท ค่ะ เพราะที่ ม. ก็ดำเนินการไปให้กับลูกจ้างแล้วค่ะ...เป็นเพราะกรมบัญชีกลาง กำหนดให้แล้วนี่ค่ะ ว่าตำแหน่งพนักงานพิมพ์ อยู่ในกลุ่มการรับค่าจ้างที่กลุ่ม 1-2 ค่ะ (ไม่ต้องทำอะไรแล้วค่ะ) งานการเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้เลยค่ะ...จนกว่าจะไปตันที่ค่าจ้างขั้นสูงของกลุ่มที่ 2 ค่อยดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งให้ใหม่ค่ะ...

2. ของกรมอาชีวศึกษา ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ที่พี่ว่านี้นะค่ะ...ถ้าใช้ระเบียบฉบับเดียวกัน ทำไมถึงไปเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำตำแหน่งเดิมเขาละค่ะ...ตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชี ที่ ก.พ. กำหนดก็มีนี่ค่ะ...แสดงว่าอยู่ที่ต้นสังกัดดำเนินการให้กับลูกจ้างประจำแล้วนะค่ะ...ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ คือ งานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ ว่าเปลี่ยนเพราะเหตุใด แล้วตำแหน่งใหม่ที่เปลี่ยนคือ ตำแหน่งใด เพราะไม่ได้แจ้งให้พี่ทราบ จึงไม่ทราบว่าคุณตำแหน่งใดในปัจจุบัน...ตำแหน่งใหม่ที่เปลี่ยน ก็ต้องมีในตำแหน่งที่สำนักงาน ก.พ. ระบุ เป็นมาตรฐานกำหนดตำแหน่งด้วยนะค่ะ ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว จะมีปัญหาในภายหน้าค่ะ...สำหรับการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่อีก ต้องดูด้วยนะค่ะ ว่าเราสามารถที่จะก้าวหน้าไปได้อีกหรือไม่...และปัจจุบันทำอยู่หรือไม่ ถ้าตำแหน่งเดิมดีอยู่แล้วก็ไม่ควรเปลี่ยนนะค่ะ...

ถ้าสงสัยก็สอบถามมาใหม่นะค่ะ...แต่ต้องบอกรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ พี่ถึงจะตอบได้ค่ะ...

บรรจุลูกจ้างประจตั้งแต่ปี 2532 ได้สองขั้น 2 ครั้ง และทิ้งช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2537 จนถึงปัจจุบัน 16 ปี ยังไม่ได้อีกเลย ทำเหมือนว่าเราไม่มีผลงานอะไร ทำให้หมดกำลังใจ จึงอยากทราบว่าจะเป็นกระบอกเสียงเรียกร้องอย่างไรได้บ้างจึงจะมีโอกาสได้ 2 ขั้น พนักงานพิมพ์ดีด อีก 10 ปี เกษียณเงินเดือนยัง หนึ่งหมื่นต้น ๆ ประเทศไทยมีอะไรให้หวังอีก พนักงานขับรถ 2 ขั้น บรรจุงานทีหลังแต่ขับรถให้นายนั่งได้ 2 ขั้นบ่อย ๆๆๆๆๆ เราทำงาน 08.00 - 17.00 น. ทุกวันไม่เคยได้เลย ช่วยด้วยประเทศไทย

ตอบ...คุณใหม่...

ไม่ทราบว่าคุณอยู่ที่สังกัดใดค่ะ...เพราะการเลื่อนขั้นความดีความชอบ  อยู่ที่หัวหน้าส่วนราชการค่ะ...ผู้เขียนเข้าใจในสิ่งที่คุณบอกนะค่ะ...ก็มีบางส่วนราชการที่เป็นเหมือนที่คุณว่าค่ะ...ถึงเข้าใจในความรู้สึกของคุณค่ะ...แสดงว่าหัวหน้าส่วนราชการของคุณ ไม่ได้มองที่ผลงาน + ความยุติธรรม การให้ความเป็นธรรมในการเป็นลูกน้อง (ไม่อยากพูดถึงว่า...ชอบคนเอาใจมากว่าผลงาน)...การเป็นหัวหน้าคน พูดยากค่ะ...เพราะสมัยก่อนอำนาจจะอยู่ที่คนเป็นนาย...แต่ปัจจุบันรัฐพยายามวัดที่ผลงาน แต่ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าเวลาทำจริง ๆ แล้ว จะเป็นอย่างที่รัฐต้องการหรือไม่ค่ะ...ทำงานเป็น ผอ.กองบริหารงานบุคคลมา  ทราบมาตลอดนะค่ะว่า การพิจารณาความดีความชอบเป็นอย่างไร...แต่โชคดีค่ะที่ผู้บริหารที่ ม. ดูผลของการทำงานของลูกน้องค่ะ...เลยมีความสบายใจ และเป็นเสียงให้กับบุคลากรใน ม. ว่า ให้เน้นการทำงานเป็นหลัก...คุณโชคไม่ดีจังที่หัวหน้าไม่มองถึงผลงาน...แต่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะว่า ในเมื่อเราทำดีมาตลอด ขอให้ทำความดีนั้นต่อค่ะ...สักวันคงเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของเราบ้าง...ใครจะได้อย่างไรก็ช่างเขาเถอะค่ะ...ฟ้ามีตาค่ะ เชื่อในกฎแห่งกรรมบ้างหรือไม่?...ใครทำสิ่งใดก็มักได้สิ่งนั้น...ตั้งแต่รับราชการมา ผู้เขียนยึดถือไว้ในใจอยู่เสมอ...แม้ว่า  ไม่ได้ดั่งสิ่งที่เราหวัง...แต่เราจะได้อีกเรื่องหนึ่ง เช่น มีครอบครัวที่มีความสุข  ลูก ๆ เรียนดี  ไม่เป็นเด็กเกเร  มีฐานะพอปานกลาง ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว...นี่คือ องค์ประกอบในการที่เราตั้งใจในการทำงานไงค่ะ...แต่ลองนึกดูถึงคนที่คุณพูดถึงสิค่ะ...ว่าเขามีสิ่งนี้หรือไม่...ถ้าไม่มี นั่นแสดงว่า คุณได้ทำหน้าที่ของคุณสมบูรณ์แบบแล้วค่ะ...ตั้งใจทำงานเถอะค่ะ...ความดีความชอบ ใคร ๆ ก็อยากได้...แต่มันอยู่เหนืออำนาจของเราที่จะสั่ง...เราควรพอใจในสิ่งที่เขาให้...ถ้าไม่ได้  บอกแล้วไงค่ะ  ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรม...คนที่ให้ หรือ คนที่รับ เขาก็จะรู้อยู่แก่ใจตนเองค่ะ...นี่คือ  ของนอกกายนะค่ะ...สิ่งที่ได้  คือ  ความสุขใจมากกว่าค่ะ...เป็นกำลังให้ในการทำงานนะค่ะ...

ไม่ว่าลูกจ้างประจำหรอกค่ะ  ข้าราชการก็มีเยอะไป ที่เป็นเช่นคุณ  ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอก...แต่บอกแล้วไง ขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการ ถ้าเขามีจิตสำนึกที่ดี ไม่ลำเอียงจนเกินไป รักลูกน้องเท่ากันทุก ๆ คน...คงไม่มีปัญหามาถึงปัจจุบันหรอกค่ะ...

ผู้เขียนก็เคยเป็นเช่นที่คุณว่า เมื่อประมาณ  10 กว่าปีที่แล้ว (ที่ทำงานเก่า) ...เรียกว่าทำงาน มีผลงาน...เวียนจนคนอื่นได้ รอบ 2 รอบ 3 แต่ผู้เขียนไม่เคยได้สักครั้ง...แต่เชื่อไหมค่ะ ว่า เวลาจะได้มาไม่รู้เท่าไหร่ เพราะก็ยังเชื่อในกฎแห่งกรรมไงค่ะ  ทำดี มีผลงาน  ใคร ๆ ก็รู้ ก็เห็น  คนไม่รู้  สิ่งที่เรามองไม่เห็นเขารับรู้ รับทราบค่ะ...สบายใจกว่ากันเยอะเลย...เป็นกำลังใจให้ในการทำงานนะค่ะ...ไม่ใช่เป็นเราคนเดียวหรอกค่ะ...คิดไปมากเสียสุขภาพจิตเราด้วย...เก็บแรง เก็บความคิดไว้คิดเรื่องที่มีประโยชน์ต่อตัวเองดีกว่าค่ะ...(เอ...บอกให้คุณคิดเชิงบวกหรือเปล่านะค่ะ...แบบนี้...555555555)

ที่ทำงานของดิฉันก็เหมือนกัน พวกที่หาข้าว+หาขนมให้กิน มีเงินให้ยืม ได้ 2 ขั้นทุกคน ส่วนคนที่ทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นไม่ได้ 2 ขั้น ทำให้เกิดการท้อแท้ใจในการทำงาน มองเห็นคะแนนประเมินออกมาแล้วหมดกำหนดลังใจ คนที่ไม่ทำงานเอาแต่รายงานเจ้านายนั้นได้ 2 ขั้น จนคนที่ทำงานนั้นไม่อยากทำงาน ตอนนี้ทำใจอย่างเดียว คิดเสียว่าทำงานเพื่อให้งานเราไปได้ดีก็พอใจแล้ว ไม่สนใจเกี่ยวกับขั้นอีกต่อไป......

ตอบ...คุณตะวัน...

ค่ะ  นี่คือ  ปัญหาของการทำงานในภาครัฐเลยเชียวค่ะ  ขึ้นอยู่กับผู้บริหารและจิตใต้สำนึกในการเป็นผู้บริหารว่ามีมากน้อยเพียงใดที่จะให้ความยุติธรรมต่อลูกน้องได้มากที่สุด...ถ้าตามหลักวิชาการแล้วการพิจารณาความดีความชอบจะให้ตามผลงาน  แต่ในทางปฏิบัติ เป็นไปได้น้อยมาก ๆ ขึ้นอยู่กับองค์กร + ผู้บริหารโดยเฉพาะจิตใต้สำนึกจริง ๆ ค่ะ ว่าจะวัดผลงานกันได้มากน้อยแค่ไหน...เป็นธรรมดา หัวหน้างานจะชอบคนอย่างที่คุณบอก...เขาถือว่าเขาเป็นหัวหน้าคน มีอำนาจไงค่ะ...แต่เขาคิดผิด เพราะเขาใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูก...แต่ใครจะไปว่าเขาได้ ในเมื่อเขาถือว่าเขาเป็นหัวหน้า ฯ เรียกว่า ระบบราชการที่เป็นอยู่แบบนี้ ถึงทำให้คนที่ขยันทำงานท้อแท้ใจไงค่ะ...แต่เราลองมุมกลับว่าเราทำงาน เรามีผลงาน เราไม่ได้ทำเพื่อเขา...แต่เราทำเพื่อบ้านเมือง ประเทศชาติของเรา...เราไม่ใช่ทำเพื่อที่ได้มาซึ่ง 2 ขั้นเพียงเท่านั้น แต่เราทำงาน ได้งานที่มากกว่า 2 ขั้น...ถึงเขาจะไม่ให้ ขอให้จงภูมิใจว่าเราก็มีศักดิ์ศรีในการเป็นตัวของเรา เขามองไม่เห็นเอง...เชื่อไหมค่ะว่า กฎแห่งกรรมมี มันไม่เกิดผลในเรื่องการงาน แต่มันจะไปเกิดผลในสิ่งที่อยู่รอบข้าง เช่น จิตใจ ครอบครัว ญาติพี่น้องค่ะ...2 ขั้น ใคร ๆ ก็อยากได้กันทุกคน แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือจิตใจเราที่จะควบคุมนะค่ะ...ก็ได้แต่เป็นกำลังใจให้สำหรับผู้ที่ทำงานอย่างจริงจัง เพื่อบ้านเมือง ประเทศไทยเรา ยังมีคนที่เป็นแบบคุณอีกมากค่ะ...ไม่ใช่เราคนเดียวหรอก...ขอให้ตั้งใจทำความดีไปเถอะนะค่ะ...อย่างที่บอก ผลกรรมมีจริงค่ะ...วันนี้เราไม่ได้รับผลนั้น แต่สักวันเราอาจจะได้รับผลที่ดีและดีกว่า 2 ขั้น ในวันข้างหน้าค่ะ...ขอให้ทำความดีต่อไปนะค่ะ อย่าท้อแท้...คิดในเชิงบวกไว้...เราจะมีความสุขมากกว่าที่เราจะคิดลบ ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเราจริง ๆ ค่ะ...ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ สำหรับคนทำงานค่ะ...

กิตติศักดิ์ ผิวสุวรรณ

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

มีสมาชิกลูกจ้างประจำฝากมาถามอาจารย์ดังนี้ครับ

1.เรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ปรับระดับชั้นต่างๆของลูกจ้างประจำทาง กพ. ได้ชลอไว้ก่อนใช่ไหมครับ

2.ลูกจ้างประจำที่อยู่ในกลุ่มช่างที่ทาง สพป.ได้แต่งตั้งไปแล้ว ต้องรอหนังสือคำสั่งแต่งตั้งจาก กพ.( ว.60 ) ใช่ไหมครับ และที่อยู่ในระหว่างรอคำสั่งจาก กพ.สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ใช่ไหมครับ

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณกิตติศักดิ์...

  • การปรับระดับชั้นของลูกจ้างประจำ ณ ปัจจุบัน (ก.พ. + กระทรวงการคลังหรือกรมบัญชีกลาง ได้แจ้งเรื่องมาให้ทราบหมดแล้วนี่ค่ะ...)
  • ขึ้นอยู่กับส่วนราชการแล้วค่ะ ว่าจะทำเรื่องเปลี่ยนให้หรือไม่  เพราะปัจจุบันก็สามารถทำได้แล้วค่ะ  อยู่ที่ว่าส่วนราชการของคุณ สำนักงาน ก.พ. แจ้งตำแหน่งที่ได้รับการเปลี่ยนตามหนังสือ ว 60 แล้วหรือยัง
  • เพราะที่ ม. เรียบร้อยหมดแล้วค่ะ แต่ไม่ทราบส่วนราชการของคุณแจ้งมาให้ทราบหรือยัง
  • ลองสอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่นะค่ะ...ถ้ามีแจ้งให้ทราบแล้ว น่าจะแจ้งให้ลูกจ้างประจำทุกท่านทราบนะค่ะ เพราะนานมากแล้ว
  • ของที่ ม. ได้รับเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันก็เลื่อนขั้นค่าจ้างใหม่ให้กับลูกจ้างประจำเรียบร้อยแล้ว
  • เหลือเพียงแต่จะปรับให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ค่ะ  แต่ก็ต้องดูที่การพัฒนาของแต่ละคนด้วยค่ะ ว่าจะได้หรือไม่...
  • ลองสอบถามงานการเจ้าหน้าที่ หรืองานที่ทำเกี่ยวกับเรื่องบุคคลนะค่ะ  เพื่อ ก.พ. แจ้งมาแล้ว เจ้าหน้าที่ยังไม่ได้แจ้งให้เราทราบค่ะ
  • น่าจะได้รับเรื่องแล้ว  เพราะถ้าไม่อย่างนั้นจะทำคำสั่งเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ ณ 1 ตุลาคม 2553 ไม่ได้ค่ะ...
กิตติศักดิ์ ผิวสุวรรณ

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ขอรบกวนถามคำถามอาจารย์ดังนี้ครับ

1.ในตำแหน่งกลุ่มงานช่าง มีตำแหน่งใดบ้างที่ลูกจ้างประจำสังกัด สพป. สพม.(นัการภารโรงเดิม)สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปได้

2.ผมได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาช่างก่ออิฐ ระดับ 1 สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็น ช่างปูน ระดับ 3 หรือระดับ 4 ได้หรือไม่

3.ผมได้รับทราบข่าวมาว่าลูกจ้างประจำกลุ่มงานช่างสามารถทำเรื่องประเมินขอเงินประจำตำแหน่งได้ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ ขอข้อมูล หลักเกณฑ์และวิธีการขอด้วยครับ

4.ขออนุญาติอาจารย์สอบถามข้อมูลลูกจ้างประจำในหน่วยงานของอาจารย์ส่วนมากเปลี่ยนตำแหน่งเป็นตำแหน่งอะไรครับ

ต้องกราบขออภัยอาจารย์เป็นอย่างสูงที่เข้ามารบกวนถามคำถามกับอาจารย์ก็หลายครั้ง คงเป็นเพราะว่าช่วงนี้ในวงการลูกจ้างประจำมีความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งลูกจ้างประจำในจังหวัดผมยังถือว่าล่าช้ากว่าจังหวัดอื่นๆมาก และตอนนี้ผมก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งเป็นช่างครุภัณฑ์ ระดับ 3 แล้ว (แต่งตั้งเมื่อ ต.ค 52 ) แต่ก็รู้สึกว่าตำแหน่งนี้ความก้าวหน้ามีเพียงเท่านี้ ผมจึงอยากจะมองหาตำแหน่งอื่นที่ความก้าวหน้าที่สูงกว่า เช่นตำแหน่งช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ซึ่งผมก็พอมีความรู้อยู่บ้าง แต่ไม่มีใบวุฒิการศึกษารับรองเท่านั้น(ผมจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.6 )ต้องยอมรับว่าปัจจัยหนึ่งที่ผมอยากจะเปลี่ยนตำแหน่งคือเรื่องเพดานเงินเดือนเพราะผมยังเหลืออายุราชการอยู่ประมาณ 16ปี ( บรรจุปี 32 ) อีก 4-5 ปีเงินเดือนในตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ก็จะถึงขั้นสูงสุดแล้ว ซึ่งผมคิดว่าเป็นเหตุผลที่เพียงพอที่ผมจะดิ้นรนแสวงหาเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานที่ผมทำอยู่ และผมก็คิดอยู่เสมอว่าหน้าที่การงานที่เราได้รับมอบหมายรับผิดชอบอยู่ขณะนี้ เราต้องทำให้ได้เต็มที่สมกับที่ผู้บังคับบัญชาได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้เรา และเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสถานศึกษาของเราตลอดไป

ขอแสดงความนับถือ

ตอบ...คุณกิตติศักดิ์...

  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับงานหรือหน้าที่ที่คุณได้ปฏิบัติอยู่ค่ะ
  • ต้องศึกษาตามบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc
  • และให้ดูที่คุณสมบัติที่คุณจะเข้าไปสู่ตำแหน่งนั้น ๆ ค่ะ ว่าได้หรือไม่
  • ถ้าไม่เข้าเลย ก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ
  • การเปลี่ยนเป็นตำแหน่งช่างปูน ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งช่างปูนค่ะ
  • ถ้าเดิมเราอยู่ในระดับ 1 ต้องดูที่คุณสมบัติเป็นช่างปูนระดับ 3 ด้วยว่าได้หรือไม่
  • ไม่มีหรอกค่ะที่ลูกจ้างประจำจะมีระเบียบเรื่องเงินประจำตำแหน่งค่ะ
  • ส่วนใหญ่ที่ ม. ก็เปลี่ยนตำแหน่งจากเดิมที่ใช้แรงงาน ก็เป็น พนักงานพิมพ์  ช่างครุภัณฑ์ แม่บ้าน  ค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งในแต่ละตำแหน่งให้ดูที่คุณสมบัติของแต่ละตำแหน่งนั้นนะค่ะ + คำสั่งหน้าที่ที่ตัวเราได้รับมอบหมายให้ทำงานด้วยค่ะ  ถ้าไม่เป็นไปตามคุณสมบัติ ฯ ก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนได้ค่ะ...

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

ที่ส่วนงาน มีนักการภารโรง ที่มีความสามารถนอกเหนือจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เข้ร การสแกนเอกสารในระบบงานสารบรรณ การพิพม์ซองจดหมาย การใช้งาน excel ในการจัดตารางเวรนักการ การดูแลอุปกรณต่อพ่วงให้กลุ่มนักการ และที่สำคัญ จะได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ออก e-card ซึ่งต้องพิมพ์ชื่อ นามสกุลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อจ่ายให้แก่นิสิต และบุคคลภายนอกที่ต้องการเข้าใช้ห้องสมุด ดังนี้เป็นต้น ส่วนงานสามารถดำเนินการให้นักการภารโรงท่านนั้น มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ในลักษณะใดของบัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งฯ และอัตราค่าจ้างฯ ใหม่นี้คะ ...ด้วยความเคารพอย่างสูงคะ (ส่วนงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ)

ตอบ...คุณปิยวรรณ...

  • น่าจะเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ ก็ได้นะค่ะ...ขึ้นอยู่กับค่าจ้างของเขาด้วยว่า ปัจจุบันได้รับเท่าไร
  • ให้ศึกษาในกลุ่มงานสนับสนุน ตำแหน่งพนักงานธุรการ โดยให้ดูที่ ขั้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ - ขั้นสูงในแต่ละระดับ + ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งพนักงานธุรการด้วยค่ะ + คำสั่งที่ส่วนราชการมอบหมายให้ลูกจ้างประจำได้ทำค่ะ
  • เพราะมีตำแหน่งนี้ตำแหน่งเดียวกระมังที่ลูกจ้างประจำคนนี้จะสามารถมีสายความก้าวหน้าในอาชีพของเขาได้ ถ้าปรับเข้าสู่ ระดับ 3 ได้ ก็ดำเนินการให้เลยค่ะ
  • เพราะตำแหน่งนี้ สามารถไต่ไปถึงค่าจ้างสูงสุด 31,420 และถ้าได้เป็นในลักษณะหัวหน้า ก็จะได้ค่าจ้าง 33,540 บาท ค่ะ...ให้ศึกษาที่คุณสมบัติที่จะเปลี่ยนด้วยนะค่ะว่าเขาเข้าได้หรือไม่ ในคุณสมบัติ ถ้าใช้คำว่า "หรือ"  นั่นคือ ข้อใดข้อหนึ่งนะค่ะ
  • แต่ถ้าใช้คำว่า "และ" นั่นคือ  ต้องรวมกันค่ะ

ขอเรียนสอบถามพี่ว่า ทำไมตอนนี้ทาง สพม.ยังไม่มีหนังสือแจ้งเรื่องการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ตำแหน่งใหม่เลย ตอนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการอะไรได้เลย บัญชีเงินเดือนยังใช้บัญชีเดิมอยู่เลย ทำไมไม่รวดเร็วเหมือนหน่วยงานของ มรภ.เลย ทั้งๆที่อยู่ในกระทรวงเดียวกัน สอบถามทางเจ้าหน้าที่ ได้รับคำตอบว่า ต้องให้ทางหน่วยเหนือสั่งลงมาก่อน ....

ตอบ...คุณ kesorn...

  • อาจจะขึ้นอยู่กับจำนวนของลูกจ้างประจำ กระมังค่ะ เพราะของ มรพส. มีเพียง 35 คนค่ะ
  • ถ้าช้า จนท. ต้องสอบถามต้นเรื่องแล้วละค่ะ ว่าทำไมช้า ช้าเพราะอะไร เพื่อให้ได้คำตอบมาตอบกับบุคลากรค่ะ นี่คือการทำงานแบบใหม่ที่ จนท.จะมัวนิ่งเฉยเหมือนแต่ก่อนไม่ได้แล้ว
  • ต้องบริการให้เร็วขึ้น ถามแล้ว เราจะได้สาเหตุว่าที่ช้า ๆ เพราะเหตุใดค่ะ
  • อาจมีสาเหตุนะค่ะ ลองสอบถามดูค่ะ เพราะหน่วยงานอื่น ก็น่าจะได้เหมือนกันแล้วค่ะ

เรียน...ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

อ่านเรื่อง  "การบริหารจัดการความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน"  ได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/406032

ผมเป้นลูกจ้างประจำ ย้ายมาสังกัด อปท.10 ปีแล้วครับ มีเรื่องรบกวนดังนี้ครับ

- เริ่มตั้งแต่ เม.ย.49 อบต.ไม่เลื่อนขั้นให้(เข้าใจผิดว่าเงินเดือนเต็มขั้น)

- ปีงบประมาณ 54 จึงรู้ว่าค่าจ้างยังไม่ต็มขั้น จึงจะหาทางแก้ไข ควรจะดำเนินการอย่างไรบ้างครับ

อีกทั้งผมหา อัตราค่าจ้าง ปี 48 ที่จะมาใช้ประกอบเลื่อนค่าจ้าง ระยะก่อนถึงปี 50 ไม่เจอเลยครับ ช่วยด้วยครับ

ตอบ...หมายเลข 57...

  • ผู้เขียนสงสัยว่า ถ้าคุณโอนไปเป็นลูกจ้างประจำของส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการหรือค่ะ
  • เมื่อโอนไปแล้ว ก็น่าจะไปใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนท้องถิ่นใช่ไหมค่ะ
  • เพราะที่แจ้งนี้เป็นของลูกจ้างประจำของส่วนราชการตาม ระเบียบว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537  นะค่ะ ไม่น่าใช่นะค่ะ
  • ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ดูก่อน  ถ้าต้องการอัตราค่าจ้างของ ปี 48 ทาง มรพส. มีค่ะ  แต่ขอให้ตรวจสอบดูก่อนว่าใช่หรือไม่  เพราะโอนไป อปท. 10 ปี แล้ว เลยไม่แน่ใจค่ะ
  • สำหรับที่ลูกจ้างประจำเปลี่ยนเพดานค่าจ้างนี้ คือ ทำให้กับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ตามระเบียบดังกล่าวข้างต้นนะค่ะ
  • แต่ถ้ายังต้องการ ก็โพสต์เข้ามาถามใหม่ก็ได้ค่ะ จะได้ส่งให้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ

-ขอเรียนถามดังนี้นะคะ

  ตามโครงสร้างลูกจ้างประจำระบบใหม่ ขณะนี้มีหนังสือจาก สพฐ แจ้งให้เขตพื้นที่ ฯ ดำเนินการแล้วตามหนังสือที่ ศธ 04009/5648 ลงวันที่ 23 กันยายน 2553 แต่มีข้อที่ว่า

"อนึ่งการแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ ให้ดำเนินการได้เมื่อสำนักงาน ก.พ.รับรองการปรับตำแหน่งใหม่แล้ว สำหรับแนวปฏิบัติสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจะแจ้งให้ทราบต่อไป"

1. เมื่อมีข้อความนี้ ทำให้ขณะนี้ผู้มีเงินเดือนตัน ยังไม่ได้การปรับปรุงเงินเดือน ตามข้อความที่กล่าวถึงไม่ทราบท่านพอจะทราบหรือไม่ว่า การปรับเงินเดือนตามระบบใหม่ทำได้เลยหรือไม่

2. ปัจจุบันเป็นพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 4 จะเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 4 ทำได้หรือไม่  รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณ krailop...

  • ต้องปฏิบัติตามที่หนังสือของ สพฐ.สั่งการมาค่ะ...
  • เมื่อมาแล้ว ค่อยดำเนินการ
  • ตามที่เงินค่าจ้างตันแล้ว ก็สามารถดำเนินการ โดยมีผลย้อนหลังได้ค่ะ เพราะต้องรอหนังสือจากสำนักงาน ก.พ. รับรองมาก่อน
  • ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง + หน้าที่ของตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 4 ที่เราต้องปฏิบัติ + คำสั่งมอบหมายงานของเราที่ทำอยู่ ว่าตรงกับตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 4 หรือไม่ ถ้าตรงก็สามารถทำได้ค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งใด ๆ น่าจะต้องรอหนังสือของ สพฐ.แจ้งว่าสำนักงาน ก.พ. รับรองมาแล้วค่ะ...ต้องฟังคำสั่งจาก สพฐ. นะค่ะ เพราะ สพฐ. เป็นต้นสังกัดของเราค่ะ...

ขอเรียนถามว่าในกรณีที่เป็นพนักงานขัยรถยนต์ ขั้นเงินเดือนตอนนี้อยู่ในกลุ่ม 1 เมื่อตันเงินเดือนจะเลื่อนไปขั้น 2 เลยหรือไม่ หรือต้องมีการสอบประเมินอีกหรือเปล่า รบกวนหน่อยนะค่ะ.....

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ให้ดูว่า ลูกจ้างประจำ อยู่ในระดับชั้นใดนะค่ะ ถ้าระดับ 1 จะอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้าง 1 แต่ถ้าอยู่ระดับ 2 จะอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้าง 1-2 ซึ่งค่าจ้างเมื่อเต็มระดับ 1 ก็สามารถไหลไปที่ 2 ได้ค่ะ กรณีหลังไม่ต้องประเมินค่ะ ให้ดูที่บัญชีเงินเดือน + ระดับของลูกจ้างประจำเดิมด้วยนะค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf

ตอบ...คุณ kesorn...(เพิ่มเติม)

  • ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ อยู่ในระหัส 2913 ค่ะ  เราควรทำบัญชีคุมลูกจ้างประจำไว้ด้วยนะค่ะ...ว่าปัจจุบันเขาอยู่ตำแหน่งใด ระดับใด กลุ่มบัญชีค่าจ้างที่ 1 หรือ 1-2 หรือ 3 ค่ะ เพราะจะง่ายต่อการที่เราไม่ทำผิดพลาดในภายหลังค่ะ...

กระผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง พนักงานประสานงานชนบท (อยู่ท้องถิ่นซึ่งตารางค่าจ้างเหมือนกันครับ) ค่าจ้าง ปัจจุบัน 15,260 อบต.บอกว่าเต็มขั้นแล้ว แต่เพือนที่ถ่ายโอนมาพร้อมกัน ตำแหน่งเดียวกัน(คนละ อบต.) เขาได้ ค่าจ้าง 17,020 บาท ใครทำถูกครับ

แล้วค่าจ้าง กลุ่มที่ 1 มี 4 หมวด เขาต้องจ่ายค่าจ้างจำแนกตามหมวดใช่ไหมครับ หรือจะจ่ายค่าจ้างตามกลุ่มครับ เพราะคิดว่า อบต.เพื่อนที่มาพร้อมกัน ตำแหน่งเดียวกัน เขาจ่ายค่าจ้างตามกลุ่มโดยไม่จำแนกตามหมวด รบกวนตอบด้วยนะครับ

ตอบ...หมายเลข 64...

  • ถ้าเป็นลูกจ้างประจำของ อบต. ผู้เขียนจะไม่ทราบนะค่ะ ต้องถาม จนท.ที่รับผิดชอบค่ะ
  • ที่ผู้เขียนนำมาแจ้ง คือ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการค่ะ
  • ลูกจ้างประจำของ อบต. น่าจะใช้ค่าจ้างคนละประเภทกันหรือเปล่าค่ะ ให้ถามเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่คุณสังกัดนะค่ะ
พนักงานบริการโรงเรียน

สัวสดีครับอาจารย์ ผมเห็นคำสั่งจากสพทให้ลูกจ้างประจำส่วนราชการได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งจาก1เป็น2จาก2เป็น3และจาก3เป็น4

ตามตำแหน่งงาน

อาจารย์ครัมผมยังสงสัยอีกว่าที่ท้ายหนึ่งเขียนไว้ว่า อนึ่งการปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำไปอีกตำแหน่งหนึ่ง ให้รอการปรับเงินดือนใหม่เข้าแท่งเสร็จกอ่น

อาจารย์ครัม ผมเป็นพนักบริการเงินเดือยนเต็มขั้นมาตั้งแต่เมษาแล้วผมจะปรับไปสู่ตำแหน่งงานช่างไม้ผมจะต้องรอให้เขาปรับเข้าแท่งก่อนหรือครับถึงจะปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ผมไม่เข้าใจครับ ทั้งๆที่เขาเต็มขั้นช่าง1 ปรับเป็นช่าง2

ตอบ...หมายเลข 66...

  • ใช่ค่ะ จากท้ายคำสั่งที่บอกว่าการปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำไปอีกตำแหน่งหนึ่งนั่นคือ เช่น เดิม ตำแหน่งพนักงานบริการ จะปรับเปลี่ยนไปเป็นตำแหน่งช่างไม้นั้น ต้องรอให้ได้รับคำสั่งการปรับเข้าแท่งใหม่ก่อนค่ะ ค่อยปฏิบัติ
  • เพราะการเข้าแท่งใหม่นั้น จะไม่มีหมวดค่ะ เป็นตำแหน่งและประเภทกลุ่มงานเพียง 4 กลุ่มเท่านั้นค่ะ
  • เหตุที่ยังทำไม่ได้นั้น เพราะปัจจุบันสำนักงาน ก.พ. + กระทรวงการคลัง ออกระเบียบให้ลูกจ้างประจำทั่วประเทศได้ปฏิบัติแล้ว แต่เหตุที่ช้า คงอยู่ที่ สพฐ. เพราะจำนวนลูกจ้างประจำทั้งประเทศ มีจำนวนมาก การที่ทำต้องทำในภาพรวม เลยทำให้ คุณได้รับคำสั่งช้า สพฐ.จึงต้องให้ได้รับคำสั่งที่ถูกต้อง คือ เข้าแท่งก่อน จึงจะดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้ได้ค่ะ
  • ในกรณีที่คุณแจ้งมานั้น อาจเป็นการเปลี่ยนเพียงระดับกระมังค่ะ เช่น ช่างไม้ 1 เป็นช่างไม้ 2 ช่างไม้ 3 ช่างไม้ 4 เหตุที่ได้ น่าจะลูกจ้างประจำท่านนั้น ไม่ได้เปลี่ยนตำแหน่งเช่นอย่างคุณ ส่วนราชการจึงทำให้ค่ะ...
  • เพราะการเปลี่ยนตำแหน่งต้องมีการ อาจสอบคัดเลือก ซึ่งต้องเป็นเรื่องใหญ่ที่ จนท.ต้องทำไงค่ะ เลยต้องให้คำสั่งเข้าแท่งให้เรียบร้อยก่อนค่ะ...

เรียน อาจารย์

เท่าที่ผมได้อ่านตาม Web ต่างๆ แล้ว มีอยู่วรรคหนึ่งในกรณี คำว่าบำนาญพิเศษ เราจะตั้งค่าคำนวนเอาอะไรคูณและหารด้วยอะไร ข้อนี้ผมไม่ทราบจริง ๆ ผมขอความอนุเคราะห์ท่านด้วย ถ้าหากท่านมีคำตอบช่วยตอบด้วยครับ

ตอบ...หมายเลข 68...

  • คุณลองศึกษาในไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...

       http://gotoknow.org/file/bussayamas/011052.pdf

       http://gotoknow.org/blog/bussaya3/313190

จะเรียนสอบถามอาจารย์ว่าในกรณีที่จะขอปรับตำแหน่งไปอยู่กลุ่มสนับสนุน ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ (เดิมอยู่กลุ่มบริการพื้นฐาน ตำแหน่งพนักงานบริการ) แต่ทำงานด้านธุรการเป็นเวลา 10 กว่าปี จะต้องทำอย่างไร หมายถึงมีการเก็บงานอย่างไร อะไรหรือไม่ เพราะจะได้เตรียมเก็บไว้ พอได้รับหนังสือให้ดำเนินการปรับเปลี่ยนได้จะได้ดำเินินการได้เลย ขอขอบคุณล่วงหน้า

นะค่ะ... และขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง อยู่ตอบข้อกังขา สงสัยต่างๆให้กับลูกจ้างต่อไปนานๆนะค่ะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • เดิมที่คุณอยู่ตำแหน่งพนักงานบริการ ไม่ทราบว่าระดับใดค่ะ
  • เพราะพี่จะได้ดูคุณสมบัติให้ถูก แต่ไม่เป็นไร คุณลองศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานธุรการ ที่พี่ Link มาให้ดูนะค่ะ ว่าจะอยู่ในระดับใด
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/350704?page=2
  • เพราะคุณบอกว่าทำงานธุรการ 10 ปีกว่า น่าจะเข้าในระดับ 3 ของตำแหน่งพนักงานธุรการ ได้นะค่ะ ลองดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 3 อีกครั้งนะค่ะ ถ้าได้ ก็เข้าสู่ตรงระดับนั้นได้ค่ะ
  • ในคุณสมบัติที่บอก เพียงแต่แจ้งว่าเคยทำงานธุรการมา 10 ปี
  • สิ่งแรกที่คุณต้องเตรียม คือ คำสั่งมอบหมายงานที่คุณได้รับมอบจากส่วนราชการให้กับคุณได้ปฏิบัติมาค่ะ
  • สำหรับเรื่องอื่น ๆ ก็อยู่ที่ส่วนราชการคุณว่าต้องการหรือไม่  เช่น  แฟ้มสะสมผลงาน ตั้งแต่เริ่มแรก - ปัจจุบัน + ข้อมูลการพัฒนาตนเองของคุณ (การอบรม + การประชุมต่าง ๆ + ความรู้ที่คุณได้รับการพัฒนามา) + รูปภาพกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณได้ปฏิบัติงานมา (ถ้ามี) ค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...เช่นเดียวกันค่ะ ขอให้คำพรที่ให้มาก็ย้อนกลับคืนสู่คุณด้วยเช่นกันค่ะ...

ขอเรียนถามอาจารย์ว่า การจัดกลุ่มลูกจ้างประจำแบบเดิม แล้วเริ่มรับค่าจ้างประจำกลุ่มที่ 1 พอปรับตำแหน่งแล้วฐานเงินเดือนอยู่ในระดับกลุ่มที่ 2 การจัดกลุ่มต้องปรับเปลี่ยนไปหรือไม่คะ (เช่น บรรจุตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ปรับเป็นเจ้าพนักงานธุรการ)

-

ตอบ...ภัครินทร์...

  • การปรับเปลี่ยนกลุ่มนั้น เมื่อปรับไปสู่กลุ่มใหม่ แต่ให้คำนึงถึงระดับเดิมด้วยนะค่ะ กับระดับใหม่ เพราะจะไปเกี่ยวเนื่องกับ กลุ่มบัญชีค่าจ้าง ซึ่งจะมีบอกไว้
  • สำหรับการปรับเปลี่ยนกลุ่ม น่าจะรอให้เงินเดือนในกลุ่มเดิมเต็มขั้นก่อน แล้วจึงจะทำการปรับเปลี่ยนให้ค่ะ...

เรียนอาจารย์บุษมาศ

ขอเรียนถามอาจารย์ว่า ในกรณีขอปรับตำแหน่ง ในวันที่เราบรรจุครั้งแรกเป็นนักการการภารโรง (2527) และเมื่อมีหนังสือมาให้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำในตอนปี 2547 ก็ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นพนักงานงานพิมพ์ดีดชั้น 2 และเลื่อนเป็นชั้น 3 แต่ในหน้าที่เราปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบันทำเกี่ยวกับการเงิน โดยทำควบคู่ไปกับงานเอกสารการพิมพ์ โดยทำงานในด้านนี้มาเป็นเวลาประมาณ 26 ปีแล้ว ถ้าจะขอเปลี่ยนเป็นพนักงานการเงินและบัญชีจะได้หรือไม่ แต่ถ้าเป็นพนักงานพิมพ์เราจะเสียเปรียบในด้านค่าจ้าง เพราะพนักงานพิมพ์จะตันที่ 29,320 แต่เปลี่ยนเป็นพนักงานการเงินและบัญชี ค่าจ้างจะตันที่ 33,540 บาท โดยค่าจ้างจะต่างกันมากเลย แล้วยังเหลือเวลาอายุราชการอีก 11 ปีจึงจะเกษียณ อาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ สุดท้ายขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง และเป็นกำลังใจให้กับลูกจ้างทุก ๆ คน ขอบคุณค่ะ

เรียน อาจารย์

ผมได้โหลดเรียบร้อยแล้วครับ ขอบคุณมากครับและได้ศึกษาแล้วครับ

ตอบ...คุณตะวัน...

  • ถ้าส่วนราชการมีคำสั่งให้เราปฏิบัติงาน โดยมีทั้งหน้าที่พิมพ์เอกสาร และทำหน้าที่การเงินด้วย ก็สามารถทำได้ค่ะ...แต่ต้องให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานการเงินและบัญชีด้วยนะค่ะ ถ้าทำได้ ก็สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ...ขึ้นอยู่กับส่วนราชการว่าจะให้ปรับเปลี่ยนหรือไม่ ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูนะค่ะ...ถ้าเป็นไปได้ สอบถามที่กรมบัญชีกลางอีกครั้งค่ะ
  • แจ้งให้ฟังเกี่ยวกับกรณีของคุณเองค่ะ...เพราะตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชีค่าจ้างจะไปได้สูงกว่าพนักงานพิมพ์ค่ะ...

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ที่ให้รายละเอียดในการเปลี่ยนตำแหน่ง ได้อ่านข้อความในเว็ปไซด์ของอาจารย์แล้วในหลายข้อความที่อาจารย์ตอบมา ทำให้เข้าใจในหลายด้านๆ ในส่วนที่เราไม่รู้ก็ได้รู้ ดีมาก ๆ เลยค่ะ ก็ขอเป็นกำลังใจทุกข้อความที่เขียนส่งมา สวัสดีค่ะ

ตอบ...คุณตะวัน...

  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน...ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

  • อ่าน เรื่อง "ระเบียบและกฎหมายที่ลูกจ้างประจำควรทราบ" ได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/409887

 

สวัสดีคะ ขอรบกวนถามอาจารย์ว่ากรณีที่ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีตอนนี้เงินเดือนอยู่ทในระดับ 2 เมื่อเงินเดือนเต็มแล้วสามารที่จะไหลไปที่ระดับ 3 เลยได้หรือไม่คะ ปฎิบัติงานมาตั้งแต่ปี 2543 คะ และถ้าต้องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นพนักงานการเงินและบัญชีในระดับ 3 สามรถที่จะทำได้หรือไม่คะ ขอคุณคะขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงนะคะ

 ตอบ...คุณจิรัชยา...

  • ปัจจุบันเงินค่าจ้างจะอยู่ที่ ระดับ 2 เมื่อเงินเดือนเต็มแล้วไม่สามารถไหลไปที่ระดับ 3 ได้หรอกค่ะ เพราะปัจจุบันคุณอยู่ที่กลุ่มค่าจ้างกลุ่มที่ 1-2 เมื่อเงินเดือนเต็มแล้ว อยู่ที่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดูให้คุณ อาจจะดำเนินการสอบเพื่อเลื่อนระดับให้กับคุณก็ได้ ข้อสอบที่ใช้สอบอาจเป็นลักษณะของ กฎหมาย ระเบียบที่คุณปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินก็ได้ไงค่ะ...
  • ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบดูนะค่ะ...เพราะสมัยก่อน ทางส่วนกลาง หรือ กรม จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกให้กับคุณไงค่ะ...
  • แต่ถ้าปัจจุบันส่วนกลางมอบอำนาจมาให้ส่วนราชการดำเนินการเองแล้ว ก็ดำเนินการประกาศ ฯ แบบที่พี่บอกข้างต้นนั่นแหล่ะค่ะ...
  • เพราะกระบวนการในการปรับเปลี่ยนในแต่ละตำแหน่งต้องให้ชัดเจนค่ะ ส่วนราชการสามารถตอบคำถามใครต่อใครได้ ว่า ดำเนินการเปลี่ยนระดับให้กับลูกจ้างประจำได้เพราะเหตุใด ส่วนใหญ่ ก็จะทำการสอบ หรือให้ลูกจ้างประจำปฏิบัติงานให้คณะกรรมการได้ดูหรือตรวจสอบค่ะ...ไม่ใช่ปรับได้โดยอัตโนมัติ...สำหรับพนักงานพิมพ์ ก็ต้องดำเนินการพิมพ์ให้กับคณะกรรมการได้ตรวจสอบ ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดหรือไม่ค่ะ...

 

สวัสดีครับ มีเรื่องอยากสอบถามแทนแม่ของผมครับ ตอนนี้แม่ของผมตำแหน่ง พนักงานธุรการระดับ 1 เพิ่งเปลี่ยนมาจาก พนักงานตรวจทานข้อมูล เงินเดือน 15260 ทำงานด้านเลขานุการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องบอกว่าสามารถปรับเป็นระดับ 2 ได้ ณ ตอนนี้ จึงสงสัยว่าการเลื่อนระดับไม่ต้องรอให้ครบระยะเวลาที่กำหนดหรือครับ แล้วเงินเดือนจะปรับเพิ่มหลังจากได้ตำแหน่งระดับ 2 หรือไม่ จะใช้ฐานเงินเดือนอันไหนครับ ตามกลุ่ม 1/2/3/4 หรือปล่าวครับ

ตอบ...หมายเลข 83...

  • การปรับเป็นระดับ 2 นั้น ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 2 คือ แต่งตั้งจากผู้ดารงตาแหน่งเดิม หรือตาแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 1 ซึ่งปฏิบัติงานมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือ..........ตามไฟล์ด้านล่างนี้...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • ถ้าแม่คุณเข้าข่ายในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในข้างต้น ก็สามารถปรับเพิ่มได้ แต่ถ้าปรับเป็นระดับ 2 แล้ว ฐานค่าจ้าง จะอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้าง 1-2 แต่แม่ยังต้องรับค่าจ้างในกลุ่ม 1 ก่อนจนเต็มเพดาน ถึงจะเปลี่ยนมาฐานค่าจ้างกลุ่มที่ 2 ได้ค่ะ...
  • เป็นการขยายกลุ่มบัญชีค่าจ้างให้  แต่เงินค่าจ้างก็ไปรับที่กลุ่ม 1 จนเต็มเพดานค่ะ ถึงจะปรับเปลี่ยนไปที่กลุ่ม 2 เพราะผู้เขียนได้สอบถามที่กรมบัญชีกลางให้แล้วค่ะ...

ขอบคุณมากครับที่ให้ความกระจ่าง ในตำแหน่งของแม่ผม

ตอบ...หมายเลข 85...

  • ยินดีค่ะ...
ลูกจ้างประจำกลุ่มที่ 1

อยากทราบว่าทางราชการจะยืดขั้นเงินเดือนให้ลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงกลาโหมบ้างไหมค่ะเพราะเงินเดือนเต็มขั้นมา ๕ปี แล้วค่ะ

และเต็มขั้นอยู่ที่ ๑๒,๔๔๐ บาท

ตอบ...หมายเลข 87...

  • ไม่ทราบว่าลูกจ้างประจำของสังกัดกระทรวงกลาโหม ใช้ระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ค่ะ ถ้าใช้ ก็น่าจะปรับเปลี่ยนเหมือนเช่นที่ผู้เขียนบอกค่ะ...แต่ถ้าไม่ใช่ต้องสอบถามที่หัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่ดูนะค่ะ...เพราะต้องเข้าใจว่า บางครั้งกฎหมายราชการมีมากมายเหลือเกินค่ะ เกินว่าที่ผู้เขียนจะทราบหมดทุกเรื่องค่ะ...
  • ลองสอบถามหัวหน้าส่วนราชการดูนะค่ะ ว่าใช่หรือไม่ ถ้าใช่ แล้วถามว่า ตำแหน่งของคุณสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ หรือศึกษาในกระทู้ที่พวกเพื่อน ๆ ได้ถามมาก็ได้ค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป๊นลูกจ้างประจำมาประมาณ 12ปีและได้ปรับเปลี่ยนเป๊นพนักงานขับเครื่องจักรกลหนัก

หมวดฝืมือระดับกลาง อยากทราบว่าจะรับเงินเดื่อนเท่าไรครับ สุดท้ายขอให้อาจารย์มีสุขภาพเเข๊งเเรง

เเละเป๊นกำลังใจให้กับลูกจ้างทุกๆคน ขอบตุณครับ

ตอบ...คุณภคพล...

  • ตำแหน่งที่บอกมา คือ ตำแหน่งเดิม แต่ตำแหน่งใหม่ของคุณเมื่อเทียบแล้ว คือ ตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลหนัก รหัส 3504 กลุ่มช่าง ระดับ 1 ค่าจ้างของคุณอยู่ในกลุ่มที่ 2 - 3 คือ ระหว่าง 7,940-29,320 บาท ค่ะ แต่ถ้าคุณมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ในระดับ 2 ได้ แล้วทางส่วนราชการปรับเปลี่ยนให้ คุณก็จะได้รับ 9,700 - 31,420 บาท ค่ะ อยู่ในกล่มที่ 3...ลองศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/technic_compare_8.pdf
  •  http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbb2.pdf
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...

ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส.2 สำนักการลูกเสือและยุวกาชาด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

แต่ปัจจุบันขอมาช่วยราชการที่ กศน.จังหวัดขอนแก่น อยากจะหาตำแหน่งสับเปลี่ยน ไม่ทราบว่า

พี ๆ เพื่อน ๆ และน้อง ๆ คนไหนอยากจะสับเปลี่ยนตำแหน่งบ้าง ระหว่างกรุงเทพมหานคร กับ จังหวัดขอนแก่น

ถ้ามีใครต้องการและสนใจ โปรดติดต่อมายัง อีเมลล์ [email protected]

ผู้ช่วยบรรณารักษ์

เรียนถามอาจารย์บุษยมาส ดิฉันปฏิบัติงานในห้องสมุดโรงเรียนมัธยม 21 ปี บรรจุตำแหน่งนักการฯ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 ซึ่งตอนที่เปลี่ยนตำแหน่งไม่มีตำแหน่งตรงกับงานที่ทำ แต่ในบัญชีลูกจ้างประจะระบบใหม่ของสพฐ. มีตำแหน่งพนักงานห้องสมุด ถ้าจะเปลี่ยนเป็นพนักงานห้องสมุดระดับ 3 ซึ่งดิฉันมีคุณสมบัติข้อที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นี้เกิน 10ปี และมีคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและคณะกรรมการจัดกิจกรรมในห้องสมุดทุกปี

ตอบ...หมายเลข 92...

  • ให้ดูที่คำสั่งที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ ถ้ามีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานห้องสมุดได้ ก็ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ถ้าสามารถเปลี่ยนได้ก็ให้ดำเนินการได้ค่ะ...

เรียนถามอาจารย์บุษยมาศ

ดิฉันทำงานในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ตำแหน่งเดิมคือ พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์ ส3 ใช่ไหมค่ะและการดูบัญชีเลื่อนขั้นดูอย่างไรค่ะ ให้ดูที่กลุ่มที่ 1 พอเต็มขั้นแล้วเปลี่ยนมากลุ่ม 2 ใช่ไหมค่ะ เพราะที่ทำงานเขาดูที่กลุ่ม 1 ก่อนค่ะ ดิฉันเข้าใจถูกต้องไหม รบกวนอาจารย์ช่วยตอบด้วยค่ะ

เรียนถามอาจารย์ ว่าดิฉันตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 ตำแหน่งเดิม แต่อยากเปลี่ยนพนักงานการเงินและบัญชี เพราะทำงานด้านบัญชีมาเป็นเวลา 3 ปี ไม่ทราบว่าได้หรือไม่ แล้วถ้าเปลี่ยนแล้วจะในระดับใด ลดระดับ เป็นระดับ 2 ก่อนหรือว่าเป็นระดับ 3 เลย

ตอบ...หมายเลข 94...

  • คุณตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 3 เมื่อเทียบกลุ่มค่าจ้างอยู่ที่ 1 - 2  ถ้าปัจจุบันค่าจ้างของคุณยังไม่เต็มเพดานขั้นสูงของระดับ 1 คุณก็รับขั้นค่าจ้างระดับ 1 ไปจนเต็มเพดาน กลุ่มที่ 1 แล้ว จึงจะปรับไปเป็น ขั้นค่าจ้างในกลุ่มที่ 2 ค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 95...

  • ให้คุณดูที่รหัส 2101 คือ ตำแหน่งพนักงานการเงินและบัญชี ระดับ 3 ตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/support.pdf
  • ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่คุณต้องการเปลี่ยน ดูแล้วสามารถเปลี่ยนได้ค่ะ ถ้าทำงานการเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่คุณทำมาแล้ว 3 ปี ก็สามารถทำการเปลี่ยนได้ ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ + คำสั่งที่สั่งการให้คุณปฏิบัติหน้าที่การเงินด้วยนะค่ะ...
  • สามารถเป็นระดับ 3 ได้เลยค่ะ...ค่าจ้างก็จะไต่ไปเรื่อย ๆ ค่ะ...
  • ไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่ม แต่จะไปขยายเพดานของตำแหน่งใหม่ค่ะ

กรุณาร้องขอสิทธิให้คู่สมรสด้วยครับ อย่างน้อยก็ขอให้ใด้แก่ "คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่ ณ วันที่ลูกจ้างฯมีสิทธิรับบำเหน็จรายเดือน"ก็ยังดีครับ

ตอบ...หมายเลข 98...

  • ต้องคอยดูระเบียบที่ออกมาใช้บังคับให้ปฏิบัติก็แล้วกันนะค่ะ...
  • ถ้าประกาศใช้เมื่อใดจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบกันค่ะ...

เรียน...ลูกจ้างประจำทุกท่าน...

  • อ่าน "ส.ค.ส.2011 มอบแด่เพื่อนและสมาชิกที่อ่าน gotoknow ทุกท่าน" ได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas/414770

สวัสดีปีใหม่ค่ะ.....

เริ่มต้นปีก็มีเรื่องต้องเรียนถามเลย คืออยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ว่าในกรณีที่ขอเปลี่ยนตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ต้องมีการเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เพื่อใช้ประกอบในการขอปรับตำแหน่งดังกล่าวนะค่ะ..…♪♪♫♫

ขอให้อาจารย์มีความสุข สมหวัง ตลอดปีและตลอดไปนะค่ะ

ตอบ...คุณ kosorn...

  • การขอปรับตำแหน่งของพนักงานธุรการสิ่งที่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบต้องเตรียม คือ
  • การประกาศของส่วนราชการในการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานธุรการ 1 เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 เพราะเหตุที่ทำต้องแจ้งให้บุคลากรในสังกัดเราทราบว่ามีท่านใดที่จะประสงค์ปรับเปลี่ยน เพราะบางส่วนราชการจะมีเจ้าหน้าที่ตำแหน่งดังกล่าวหลายคนค่ะ...
  • ให้ศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งพนักงานธุรการ แต่ละระดับให้เข้าใจอย่างแจ้งชัดค่ะ เพราะแต่ละระดับจะมีบอกไว้ในสำหรับคำว่า "หรือ" ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่ง
  • ถ้ามีคนมาสมัครก็ขอให้ดูในคำสั่งของเขาที่เขาได้รับมอบหมายงาน ดูเวลาที่เขาได้รับคำสั่งให้ดูในคำสั่งว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อไร เพราะการสั่งให้ทำงานจะเป็นตัวกำหนดในเงื่อนของเวลา  ให้นับมาจนถึงปัจจุบันในวันสุดท้ายของการรับสมัครค่ะ
  • ควรจัดทำบัญชีรายละเอียดของรายชื่อที่มีผู้มาสมัคร วันที่รับสมัคร ลำดับที่เท่าไร ชื่อ-นามสกุลของผู้สมัคร ลายมือชื่อผู้สมัคร หมายเหตุ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานค่ะ
  • ดูวุฒิการศึกษาที่คนมาสมัครจบการศึกษาว่ามีวุฒิตรงหรือไม่กับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในแต่ละระดับ
  • บางระดับ เช่นระดับ 2 ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในแต่ละข้อ โดยใช้ข้อใดข้อหนึ่ง เพราะมีคำว่า "หรือ"
  • สำหรับกระบวนการดำเนินการ ถ้าจะให้ทราบว่า เขามีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด อาจใช้กระบวนการสอบคัดเลือกเข้ามาก็ได้ เช่น การสอบงานสารบรรณ 2 ฉบับ ที่ต้องใช้ในการทำงานด้านงานธุรการอยู่ในปัจจุบัน มาใช้วัดความรู้ความสามารถเขาก็ได้  หรือบางส่วนราชการอาจจะไม่สอบก็ได้ แต่ก็ต้องตอบให้สังคมทราบว่า ลูกจ้างประจำท่านนั้นมีความรู้ ความสามารถเหมาะสมและความชำนาญงานในหน้าที่เช่นไร มีหลักฐานอะไรบอกว่ามีความรู้ ความสามารถ ที่ผู้เขียนบอกให้สอบ นั่นคือ จะสามารถตอบสังคมได้ว่า ถ้าผ่านการทดสอบดังกล่าว ก็แสดงว่าลูกจ้างประจำท่านนั้น มีความรู้ ความสามารถ จึงสามารถทำข้อสอบและผ่านการทดสอบได้ เป็นแบบการวัดเชิงประจักษ์ไงค่ะ...หรืออาจมีการสอบสัมภาษณ์ด้วยก็ได้ค่ะ...
  • เมื่อสอบผ่าน ก็ประกาศการสอบขึ้นบัญชีได้ไว้ค่ะ จะติดไว้กี่ปี
  • เมื่อประกาศผลสอบได้ ก็เรียกบรรจุตามกระบวนการในการสอบคัดเลือกค่ะ...และก็ออกคำสั่งการปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้ค่ะ แต่ควรประสานงานกับ ก.พ. + กรมบัญชีกลางด้วยนะค่ะ...อาจเป็นการส่งคำสั่งให้ทราบค่ะ...
  • สำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง จะต้องทำอย่างไรนั้น...ผู้เขียนขอบอกว่าให้เตรียมตัว "อ่านหนังสืองานสารบรรณ หรือเรื่องที่ส่วนราชการต้องการสอบเพื่อคัดเลือกท่าน" เท่านั้นเองค่ะ...สอบให้ผ่านตามที่ผู้เขียนบอกข้างต้นค่ะ...
  • เพราะการสอบนั้น  เป็นการวัดความรู้ ความสามารถของท่านอีกเรื่องหนึ่งในการพัฒนาตนเองว่าท่านมีความรู้ ในเรื่องงานสารบรรณจริง ๆ มากน้อยเพียงใด...เขาเรียกว่า "รู้ลึกและรู้จริง" ค่ะ...งานสารบรรณ เห็นว่าง่าย ๆ แต่พอได้ปฏิบัติจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกค่ะ มีเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยเยอะมากค่ะ...
  • ต้องขอของคุณสำหรับคำอวยพรนะค่ะ...เช่นเดียวกันค่ะ...
  • ผู้เขียนก็น้อมขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองพิษณุโลก เช่น พระพุทธชินราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระสุพรรณกัลยา ฯลฯ จงดลบันดาลให้คุณและครอบครัวพบแต่ความสุข สมหวังตลอดปี 2554 และตลอดไปด้วยค่ะ...

ได้รับความกระจ่างมากเลย ก็ต้องขอขอบพระคุณอย่างสูงมากนะค่ะ แต่ถ้าในกรณีที่ตอนนี้อยู่ในตำแหน่งพนักงานบริการจะขอปรับเป้นเจ้าหน้าที่ธุรการนะค่ะ...ต้องมีการเก็บผลงานอะไรหรือไม่ หรือแค่ทำหนังสือขอปรับแจ้งเปลี่ยนตำแหน่งถึง สพม.แล้วทาง สพม.จะดำเนินการต่อให้เองค่ะ รบกวนอีกนิดน่ะค่ะ...ขอบคุณล่วงหน้ามากค่ะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • การที่เราจะขอเปลี่ยนตำแหน่งคงจะไม่ได้ ต้องปรึกษาที่ ผอ.และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ก่อนค่ะว่าจะดำเนินการให้หรือไม่ เพราะเป็นอำนาจของส่วนราชการค่ะ...ถ้าทำให้หรือตกลงกันได้ก็สามารถทำได้ค่ะ...ความจริงแล้ว ทาง สพม. ต้องทำการชี้แจงให้ลูกจ้างประจำรับทราบค่ะว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร...
  • อีกอย่างอาจทำบันทึกข้อความในการขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ว่าขอปรับเปลี่ยนเพราะเหตุใด การที่เป็นพนักงานบริการจะขอปรับเป็นพนักงานธุรการ ต้องมีคำสั่งว่าได้สั่งให้เราปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานธุรการด้วยนะค่ะ...ถ้ามีงานที่เกี่ยวกับตำแหน่งพนักงานธุรการ เช่น การทำงานธุรการ งานสารบรรณ รับ - ส่งหนังสือ จัดเก็บเอกสารของทางราชการ ก็สามารถขอปรับเปลี่ยนได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติตรงตามระดับตำแหน่งแต่ละระดับด้วยนะค่ะ...(ยึดคำสั่งมอบหมายงานเป็นหลักด้วยค่ะ)...แนบไปพร้อมกับบันทึกข้อความในการขอปรับเปลี่ยนค่ะ...
  • เวลาจะขอปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ขอให้ดูให้ดี ๆ นะค่ะ ว่าตำแหน่งใหม่ที่จะขอปรับเปลี่ยนนั้น ชื่อเต็ม ที่ถูกต้องของตำแหน่งนั้น คือ ตำแหน่งใด เพราะถ้าพิมพ์ผิดจะทำให้เกิดการสับสนและความวุ่นวายจะตามมาค่ะ...

ขอขอบคุณมากเลยค่ะ...ได้รับความรู้และกระจ่างดีจริงๆเลยค่ะ

แต่...แหม อาจารย์น่าจะมาเป็นบุคลากรที่ทาง สพม.10 บ้างนะค่ะ

เพื่อที่ทางลูกจ้างทางนี้จะได้รับความรู้และการช่วยเหลือที่ดีเยี่ยมจากอาจารย์...

เหมือนกับพวกพี่ๆลูกจ้างที่ มรภ.พิบูลสงครามเลย

อิจฉาพวกพี่ๆเขาจริงเลย.....

แล้วในแต่ละหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับผลประโยชน์ของลูกจ้าง จะมีใครที่สนใจและดูแลได้เท่าของอาจารย์นะ

ยังไงก้อขอให้อาจารย์อยู่ให้ความรู้กับพวกลูกจ้างไปนานๆ นะค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อ..และรำคาญ พวกลูกจ้าง เสียก่อนนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ◘◘ ♠♠ ♥♥♥

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...นี่คือ หน้าที่ของข้าราชการค่ะ ถ้าเรารู้ เราควรให้คำแนะนำ...ไม่ว่าจะอยู่สังกัดใด ถ้าเราเป็นคนไทย ใช้ระเบียบปฏิบัติเดียวกัน ถ้ารู้ ควรเป็นที่ปรึกษาให้ได้ค่ะ...
  • เพราะจะทำให้คนที่ไม่รู้ ไม่ทราบ ได้รับรู้ รับทราบและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องค่ะ...
  • จากที่เขียนบล็อกมา ทำให้ทราบว่า ส่วนราชการไทย ควรพัฒนาด้านความรู้ให้กับหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ อย่างแท้จริงในการให้ความสำคัญ สิทธิประโยชน์ของกลุ่มบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ อย่างมากจริง ๆ ค่ะ...
  • เพราะบางครั้ง มีลูกจ้างฯ ไปถาม แต่ก็ยังบอกไม่ได้ ไม่ทราบ ไม่รู้...ถ้าไม่ทราบก็ต้องศึกษา หาความรู้จากส่วนราชการอื่น...ไม่ใช่บอกปัด แล้วไม่ตอบทำให้ลูกจ้างเกิดความงง และจะกลายเป็นผลเสียในอนาคตได้ค่ะ...
  • อีกอย่างเท่าที่สัมผัสมา บางหน่วยงานไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของลูกจ้าง ฯ เลยค่ะ...เอาแต่ผลประโยชน์แต่ข้าราชการด้วยกัน ซึ่งมองดูแล้วไม่สบายใจสักเท่าไร
  • ความจริงทุกกลุ่ม ทุกส่วน ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันทั้งนั้นค่ะ แต่แตกต่างกันตรงที่อยู่ต่างกลุ่ม สวัสดิการที่แตกต่าง...แต่ความเป็นคนไม่ได้แตกต่างกันเลย
  • อย่างน้อยผู้ที่ทำงานด้านงานการเจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้าส่วนราชการ ต้องสนใจในเรื่องของคนในองค์กรทุกคนให้มาก ๆ กว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันค่ะ...ไม่ใช่ปล่อยปะละเลย จะทำให้เกิดปัญหาที่แคลงใจต่อไปในระยะยาวได้ค่ะ...
  • ตอนนี้ผู้เขียนก็ให้งานราชภัฏวิจัยเรียบร้อยก่อนค่ะ จะตรวจสอบดูลูกจ้างภายใน มรพส. บ้างว่ามีท่านใดที่จะพอปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้อีก...เพราะช่วงนี้งานเยอะจริง ๆ ค่ะ...
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

 

แล้วตำแหน่งชั้นล่าง ๆ อย่างคนที่ทำหน้าที่คล้าย ๆ กับนักการ(เขาเรียกว่าคนงานบริการรึเปล่าก็ไม่รู้นะครับ)คือกลางคืนนอนเฝ้า เช้า-เย็นทำความสะอาด กลางวันทำงานอย่างอื่นบ้าง รดน้ำต้นไม้บ้าง เขามีกำหนดค่าจ้างอย่างไรครับอาจารย์ ผมเข้าทำไหม่ เขาให้รวมแล้วได้ 4,800 เองครับ (ส่วนราชการเป็น กศน. ครับ) ถามแค่อยากรู้ไว้เท่านั้นเองนะครับ ชอบการตอบคำถามของอาจารย์ครับ

ตอบ...ลูกจ้างใหม่...

  • ก่อนอื่น ต้องขอทราบว่า คุณคือ ลูกจ้างประจำ ที่ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ ถ้าใช่ สงสัยเรื่องเงินเดือนของคุณนะค่ะว่า ทำไมได้รับเพียง 4,800 บาท เพราะในระเบียบเขาจะกำหนดขั้นต่ำไว้ที่ 5,080 หรือไงนี่แหล่ะค่ะ ให้ดูตามไฟล์ด้านล่าง ลองคลิกดูนะค่ะ รหัส พนักงานบริการ คือ 1117 ค่ะ เลื่อน curser ลงไปที่รหัสดังกล่าวนะค่ะ ทั้ง 2 ไฟล์ จะทำให้ทราบเรื่องขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ - ขั้นสูง และทราบหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบค่ะ ว่าต้องทำอะไรบ้างกับตำแหน่งที่เราเป็นอยู่ค่ะ...ถ้าสงสัยก็ถามมาใหม่นะค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/288/original_service.pdf?1285800424
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/530/099/original_general_job_8.pdf?1285769955

สวัสดีคะ...อาจารย์

หายไปนานกลับมาก็มีคำถามมารบกวนอาจารย์อีกแล้ว คือจะเรียนถามอาจารย์ว่า ในกรณีที่ขอปรับระดับกลุ่มงานจาก 1 เป็น 2(ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์) ตรงเหตุผลความจำเป็นควรจะเขียนอย่างไรถึงจะทำให้อ่านแล้วดูดีนะคะ และในกรณีที่ขอเปลี่ยนจากพนักงานบริการเป็นพนักงานธุรการและจากพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นช่างไม้ว่าควรจะให้เหตุผลที่จำเป็นอย่างไรที่ฟังแล้วดูดีที่สุด...อีกเหมือนกัน

ขอรบกวนอาจารย์อีกครั้งนะคะ....

สุดท้ายนี้ก็ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดๆๆๆๆไปนะคะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ถ้าจะปรับจากระดับ 1 เป็นระดับ 2 นั้น ให้ดูที่คำสั่งมอบหมายงานว่า ปัจจุบันได้ทำหน้าที่ขับรถยนต์อยู่หรือไม่ และให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งสำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ในระดับ 2 เข้าเกณฑ์ในข้อใดข้อหนึ่งที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งกำหนดหรือไม่ ถ้าได้ อาจจัดการดำเนินการสอบสัมภาษณ์ ตั้งเป็นรูปคณะกรรมการ ให้สังเกตพฤติกรรมของผู้ที่จะขอปรับว่ามีพฤติกรรม เห็นควรเลื่อนขึ้นในระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เช่น ให้ดูพฤติกรรมในด้านการให้บริการ ว่ามีน้ำใจช่วยเหลือผู้ที่ไปขอใช้บริการหรือไม่ เช่น การเปิด-ปิด ประตู การมีน้ำใจช่วยยกกระเป๋า พฤติกรรมในขณะขับรถยนต์  การพัฒนาตัวของลูกจ้างประจำที่จะขอปรับ ว่าดีขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ไม่สมควรปรับ แต่ถ้าดีมีน้ำใจหรือเรียกว่ามีจิตในการให้บริการ ก็ควรปรับให้ อาจทำการสอบโดยการสอบสัมภาษณ์ แล้วกระจายคะแนน แล้วแต่ส่วนราชการจะวัดเขาในด้านใดบ้าง เช่น การบริการ เจตคติ พฤติกรรมในด้านอื่น ๆ เป็นต้น ค่ะ...สำหรับแบบประเมินส่วนราชการต้องดำเนินการเองนะค่ะ...แล้วคะแนนประเมินผลออกมาต้องตอบสังคมหรือผู้อื่นได้ชัดเจนค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานบริการเป็นพนักงานธุรการ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าปัจจุบันเขามีคำสั่งในการทำงานด้านธุรการหรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ดูที่คุณสมบัติของตำแหน่งพนักงานธุรการด้วย ว่าได้หรือไม่ ให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งนะค่ะ เพราะมีคำว่า "หรือ" แต่ถ้ามีคำว่า "และ" ต้องใช้ทั้งหมดค่ะ ให้ตีความหมายของคำว่า "หรือ" กับ "และ" ดี ๆ ค่ะ...รู้สึกว่าตำแหน่งพนักงานธุรการ จะบอกชัดเจนว่า ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ต้องปฏิบัติงานในด้านนี้มาไม่น้อยกว่ากี่ปี...ในกระบวนการจัดการ อาจจัดให้มีกระบวนการสอบ เช่น อาจมีการสอบข้อเขียนเพื่อต้องการให้ทราบว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ต้องมีความรู้ในเรื่องธุรการจริง ๆ อาจสอบจากเรื่อง งานสรรบรรณ บอกเจ้าตัวให้รู้ล่วงหน้าว่าจะสอบเรื่องนี้ เขาจะได้ไปเตรียมตัวเพื่อมาสอบไงค่ะ...และอาจมีการสอบสัมภาษณ์ร่วมด้วยก็ได้ค่ะ...
  • สำหรับตำแหน่งพนักงานรักษษความปลอดภัยจะเป็นเป็นช่างไม้ ต้องดูว่าปัจจุบันเขาได้ทำงานช่างไม้หรือไม่ แล้วก็ต้องดูบริบทของส่วนราชการด้วยว่า มีตำแหน่งช่างไม้ไว้ทำอะไรให้กับส่วนราชการได้บ้าง เรียกว่า ต้องมีภาระงานที่ชัดเจนค่ะ ถ้ามีชัดเจน ก็ให้ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก เช่น ตั้งคณะกรรมการ อาจให้เขามีการสอบในภาคปฏิบัติ เช่น การทำเก้าอี้ แล้วให้เขาส่งชิ้นงานให้คณะกรรมการดู และอาจให้มีการสอบสัมภาษณ์ด้วย เพื่อที่ในขณะสัมภาษณ์ต้องบอกให้เขาทราบไปด้วยว่า การที่จะได้เลื่อนระดับให้สูงขึ้นนั้น เขาจะต้องมีการพัฒนาตนเองก่อนด้วย เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพของเขาไงค่ะ...
  • ศึกษาไฟล์คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ตามนี้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442
  • ขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...

ตอนนี้ทำงานตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ระดับ 1 ส มา 3 ปี แต่ทำงานในตำแหน่งคนงาน  มาแล้ว 21 ปี เพิ่งปรับเป็นพนักงานพิมพ์ อยากจะปรับเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 2 จบอนุปริญญา เข้าข่ายหรือไม่

ตอบ...คุณลูกจ้างสามหมอก...

  • ถ้าต้องการเปลียนเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 2 นั้น ให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานธุรการ ระดับ 2 รหัส 2108 ค่ะ...ตามไฟล์ด้านล่างนี้
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • คุณสมบัติให้ใช้ข้อใดข้อหนึ่งค่ะ เพราะมีคำว่าหรือ...
  • ถ้าคุณจบอนุปริญญา ต้อง ปวส. นะค่ะ...เพราะเข้าเกณฑ์ในข้อ 4 ก็สามารถปรับได้ค่ะ แต่งานที่ทำอยู่ต้องเป็นงานธุรการนะค่ะ...ไม่ใช่เป็นพนักงานพิมพ์อย่างเดียว...
  • ให้ปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องบุคคล ดูก่อนค่ะ...
  • กระบวนการดำเนินการ อาจมีการสอบ ขึ้นอยู่กับส่วนราชการค่ะ...

สวัสดีคะ...อาจารย์

       ต้องขอนุญาตเรียนถามอาจารย์ว่า ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชานแดนภาคใต้ พ.ศ.2550 มาใช้ประกอบการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณ เพื่อขอปรับระดับชั้นงานให้สูงขึ้นได้หรือไม่

ตอบ...ลูกจ้างใต้...

  • ให้ดูระเบียบดี ๆ นะค่ะ ว่าใช้ในกรณี นับเวลาการปฏิบัติงานทวีคูณ ในช่วงเวลาใด ใช้ในตอนเกษียณหรือไม่ เพราะการนับเวลาปกติ ส่วนมากเขาจะไม่ทำกัน จะนับให้ก็ต่อเมื่อเกษียณไงค่ะ...ลองศึกษาดูนะค่ะ เพราะผู้เขียนยังไม่ได้ศึกษาในเรื่องนี้ ช่วงนี้งานมากค่ะ...
  • แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนที่เคยผ่าน ๆ มา การนับเวลาทวีคูณ เขาจะนับให้ตอนเกษียณอายุราชการเท่านั้น สำหรับการขอปรับระดับชั้นงานนั้น ไม่นับค่ะ ให้นับในเวลาปกตินี้เท่านั้นค่ะ...

สวัสดีค่ะ...ทุกท่าน...

  • สำหรับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Valentine "วันแห่งความรัก"...
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ...
  • "รักและหวังดีต่อคนค่ะ"...
  • สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนต้องการมอบให้ พวกเราทุกคนค่ะ เลยมาชวนไปดูค่ะ...
  • อย่าลืมเข้าไปดูในค่ำคืนนี้นะค่ะ...แล้วจะตกตะลึงในความมหัศจรรย์ค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas2554/425785

เรียน ท่านผู้รู้ คุณบุษยมาศ

ด้วยความเคารพปัจจุบันข้าพเจ้ารับราชการ(ลูกจ้างประส่วนราชการ) ที่ท่าอากาศยานแห่งหนึ่ง....ของส่วนราชการ สังกัด กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม จบการศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา รัฐประศาสนศาสตร์ อายุราชการ 13 ปี เพิ่งเป็นพนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 1 ได้ 3 ปี และ ปัจจุบัน เป็นพนักงานพิมพ์ดี ชั้น 2 มาได้เข้าปีที่ 2 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น พนังงานพิมพ์ ระดับ 2 ข้าเจ้ามีความสงสัยหลายประการ ด้วยความที่ไม่ทราบว่าทำไม่ พนักงานพิมพ์ถึง มีชื่อเรียกเช่นนี้ ทำไมไม่มีชื่อเรียกเหมือนเจ้าหน้าบันทึกข้อมูล เพราะลักษณะงานมีความเหมือนกัน ที่สำคัญคือ มีการใช้ คอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นหลัก ทำไม่หลักการของส่วนราชการไม่ทำเหมือนขององค์อิสระ อย่างเช่น ระบบ ศาล คือ ปรับเปลี่ยน ตำแหน่งของลูกจ้างประจำในส่วนราชการของตนปรับเลี่ยนเป็นข้าราชการได้ เมื่อมีเวลาที่เหมาะนั้นเขาจะให้โควตาพิเศษ คือ คัดเอาจากบุคคลภายในก่อน ในอนาคตข้างหน้าไม่นานนี้ จะมีระบบแบบยืดหยุ่นมากกว่านี้ไหมครับ แล้วใครจะเป็นกำลังสำคัญเพื่อช่วยผลักดันระบบเหล่านี้ได้ ต้องทำหนังสือเสนอใครให้ช่วยเหลือได้ ต้องใช้หลักการอะไรเข้าช่วยเพื่อ ให้ลูกจ้างทั้งหลายได้เป็นข้าราชการ อย่างเสมอภาคในระบบราชการไทย

ขอแสดงความนับถือ

ผู้มีโอกาสน้อย

ตอบ...คุณกิติกุล...

  • การที่รัฐได้ปรับเปลี่ยนคำว่า "พนักงานพิมพ์ดีด" มาเป็น "พนักงานพิมพ์" นั้น เนื่องมาจากสาเหตุว่า สมัยก่อนมีการพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ดีดไงค่ะ ยังไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันรัฐได้ปรับให้เป็นพนักงานพิมพ์ โดยปัจจุบันแทบจะไม่มีเครื่องพิมพ์ดีดใช้เลยก็ว่าได้...สำหรับเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลนั้น จะทำงานในเชิงลึกกว่าพนักงานพิมพ์ พนักงานพิมพ์จะมีหน้าที่พิมพ์...ส่วนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลจะทำงานในด้านการบันทึกข้อมูล อาจทำงานในด้านการคีย์ข้อมูลต่าง ๆ ลงในโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นงานในเชิงลึกและกว้างกว่าพนักงานพิมพ์ค่ะ...
  • อย่าลืมว่า...ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ตั้งแต่ประเทศไทยได้กู้เงินจาก IMF...ซึ่งเงื่อนไขในการกู้เงินจาก IMF...ระบุไว้ว่า ถ้าประเทศไทยจะกู้เงินจากต่างประเทศได้ ประเทศไทยต้องลดอัตรากำลังข้าราชการที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ให้ได้...ถึงแม้การใช้หนี้ IMF. จะหมดไปแล้ว สำหรับปัจจุบัน ผู้เขียนก็ยังไม่ทราบว่าที่ประเทศไทยไปกู้เงินต่างชาติมาอีกนั้น จะมีข้อแม้ข้อนี้รวมอยู่ด้วยหรือไม่...จึงทำให้รัฐต้องลดอัตรากำลังของข้าราชการไงค่ะ เพราะงบประมาณค่าใช้จ่ายในเรื่องของเงินเดือนเป็นจำนวนค่อนข้างสูงค่ะ...
  • จึงทำให้ปัจจุบันในการให้อัตราเป็นข้าราชการมานั้น ในแต่ละส่วนราชการค่อนข้างทำได้น้อยมากค่ะ...ถึงให้อัตราข้าราชการมาก็มีอัตราส่วนที่น้อย ถ้าเทียบเป็น % ก็ยังน้อยกว่าข้าราชการที่เกษียณไปค่ะ...จึงเป็นที่มาว่า ทำไมไม่ให้ลูกจ้างประจำปรับเปลี่ยนเป็นข้าราชการ
  • อีกอย่าง...กลุ่มบุคลากรของรัฐ มีหลากหลายประเภท ค่ะ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้างชั่วคราว ...หน้าที่ของลูกจ้างมีหน้าที่สนับสนุนงานหลักคือ ข้าราชการไงค่ะ...และภารหน้าที่ของลูกจ้างประจำก็ยังไม่เท่ากับข้าราชการค่ะ ถ้าพูดถึงการวิเคราะห์งานในหน้าที่ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของข้าราชการและลูกจ้างประจำกันแล้ว...จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำไม ไม่ให้ลูกจ้างประจำปรับเป็นข้าราชการ...ถ้าจะปรับได้นั้น ต้องมีการวิเคราะห์ค่างานของแต่ละประเภท แต่ละตำแหน่งกันใหม่ค่ะ...
  • ในระบบการบริหารงานบุคคล สำหรับการเสมอภาคนั้น เป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ...เพราะขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ค่างานค่ะ...
  • สำหรับลูกจ้างประจำนั้น การจ้างของรัฐก็ต้องดูในเรื่องการบรรจุในครั้งแรกค่ะว่า รัฐจ้างมาเป็นลูกจ้างประจำด้วยวุฒิการศึกษาใด ต่อมาเมื่อเรียนจบนั้น ก็ไม่ใช่หมายความว่า สามารถนำวุฒินั้นมาปรับให้ขั้นค่าจ้างสูงขึ้นได้เลย...อาจมีบางตำแหน่งที่ต้องใช้วุฒิที่สูงขึ้นได้ แต่บางตำแหน่งก็ไม่ใช่ต้องใช้วูมิสูงขึ้นนั้นหรอกค่ะ...

มีปัญหารบกวนสอบถามอาจารย์อีกแล้วค่ะ...ว่าเอกสารประเภทสมุดลงเวลาการมาปฏิบัติราชการใช้เวลาในการเก็บกี่ปี หรือทำลายได้เลย รบกวนอีกแล้วนะค่ะ...0000

ตอบ...คุณ kesorn...

ขอขอบคุณอาจารย์มากๆๆ..เลยค่ะ

ตอบ...คุณ kesorn...

  • งานสารบรรณ ยังใช้ของปี 2526 และเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2548 ตามระเบียบสำนักนายภรัฐมนตร่ค่ะ...

ปัจจุบันนี้ลุกจ้างประจำคิดอัตราเงินเดือนเป็นเปอร์เซนต์หรือเป็นระบบขั้นค่ะ

 

 

ตอบ...คุณ [IP: 202.29.92.252] ...

 

 

 

เรียนสอบถามว่าเงินเดือน เม.ย.54 นี้ ลูกจ้างประจำได้รับ 5% และ 13 % เหมือนข้าราชการหรือไม่ เพราะที่อ่านเจอไม่เห็นมีพูดถึงลูกจ้างประจำเลย มีแต่ครูเท่านั้น.....

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ของข้าราชการเพิ่งจะประกาศในกฤษฎีกา ของลูกจ้างประจำคงต้องรอนะค่ะ เพราะพนักงานราชการก็ออกมาใช้แล้ว  อาจไม่เกินเดือนเมษายน 2554 นี้หรอกค่ะ ถ้ามีจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบนะค่ะ...

ขอบคุณมากค่ะ....  ขอให้เที่ยวสงกรานต์ให้สนุกนะค่ะ.....

สวัสดีค่ะ...คุณ kesorn...

  • สงกรานต์ว่าจะไปทำบุญให้แม่ที่วัดค่ะ...แล้วก็มาเก็บกวาดบ้านค่ะ...
  • ไปเที่ยวก็เท่านั้นค่ะ อายุมากแล้ว อยู่บ้านทำประโยชน์ให้กับที่อยู่อาศัยดีกว่าค่ะ
  • ขอบคุณนะค่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์........

แวะมาที่ไรก็มีปัญหาข้อข้องใจมาถามอาจารย์ทุกทีเลย คือจะสอบถามอาจารย์ว่าการใช้บัญชีเงินเดือนใหม่ตามกลุ่มที่ 1-4 เป็นอย่างไรค่ะ ตามบัญชีที่บวก 5% แล้ว คือ

กลุ่มที่ 1 เดิมเต็มขั้นที่ 18,190 + 5 % เป็นเต็มขั้น 19,100

กลุ่มที่ 2 เดิมเต็มขั้นที่ 22,220 + 5 % เป็นเต็มขั้น 23,340

กลุ่มที่ 3 เดิมเต็มขั้นที่ 36,020 + 5 % เป็นเต็มขั้น 37,830

กลุ่มที่ 4 เดิมเต็มขั้นที่ 64,340 + 5 % เป็นเต็มขั้น 67,560

หมายความว่าสิ้นเดือนพฤษภาคม 2554 ทุกคนใช้บัญชีเงินเดือนใหม่ + 5 % ใช่ไหมค่ะ

แล้วสมมุติว่าพอเดือนตุลาคม 2554 ได้ขั้นเงินเดือนจนเต็มขั้นในกลุ่มที่ 1 เต็มขั้นที่ 19,100 ตำแหน่งพนักงานบริการ ยังไม่ได้ทำเรื่องขอปรับระดับ เดือนเมษายน 2555 ได้อีก 1 ขั้น จะใช้บัญชีเงินเดือนที่ขั้นไหนค่ะ

แต่ถ้าในกรณีที่ทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ได้แล้ว เดือนตุลาคม 2554 ได้เต็มขั้น 19,100 พอเมษายน 2555 ได้ 1 ขั้น จะใช้บัญชีขั้นไหนกลุ่มไหนค่ะ งงกับคำถามไหมค่ะ คนถามก็จะงงเอง ถ้าอาจารย์ลำดับใจความแล้วไม่งง คลายข้อสงสัยให้หน่อยนะค่ะ รบกวนอีกตามเคย แต่ถึงอย่างไรก้็ขอขอบคุณอาจารย์อย่างมากเลยที่เป็นกูรูให้กับผู้ที่ไม่รู้อีกหลายๆคนและขอให้อาจารย์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนะค่ะ....ขวัญใจลูกจ้างทั้งหลาย

 ตอบ...คุณ kesorn...

  • การใช้บัญชีอัตราค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการใหม่ 5 % ตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/436348
  • ค่ะ เมื่อเลื่อนขั้นแล้ว ก็ปรับ 5 % ให้กับลูกจ้างได้เลยค่ะ...ตามไฟล์หนังสือข้างต้นค่ะ...
  • มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 ค่ะ...
  • ตำแหน่งพนักงานบริการ อยู่ในกลุ่มค่าจ้างที่ 1 ถ้าได้ 1 ขั้น ก็ได้ค่าตอบแทนพิเศษ 4 % ไงค่ะ สำหรับเต็มขั้นค่ะ
  • เมื่อทำเรื่องขอปรับระดับเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ได้แล้ว เดือนตุลาคม 2554 ได้เต็มขั้น 19,100 พอเมษายน 2555 ได้ 1 ขั้น จะใช้บัญชีขั้นไหนกลุ่มไหนนั้น ก็ให้ดูว่า ตำแหน่งพนักงานบริการ ระดับ 2 เทียบได้กับกลุ่มค่าจ้างใดค่ะ ใช่ขั้นค่าจ้างกลุ่มที่ 1-2 หรือไม่ ถ้าใช่ ก็เทียบกลุ่ม 2 ค่ะ ใช้อัตราค่าจ้างที่ใกล้เคียงกับ 19,100 บาท ถ้าไม่มีก็เทียบอัตราที่สูงกว่า 19,100 ในกลุ่มที่ 2 นิดหนึ่งไงค่ะ...คราวนี้อัตราค่าจ้างก็จะไปที่กลุ่มที่ 2 แล้วค่ะ...แล้วก็ปรับให้เขาด้วยว่าได้ 1 ขั้น หรือ 4 % ไงค่ะ ทำเหมือนครั้งก่อน ๆ ค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ...(พี่สงสัยว่า เป็นพนักงานบริการ ระดับ 1 แล้วปรับไปเป็นพนักงานบริการ ระดับ 2 ทำไมค่ะ ค่าจ้างก็ตันแล้ว ทำไมไม่ลองปรับไปเป็นตำแหน่งอื่น ที่ก้าวหน้ากว่า แต่ต้องเป็นงานที่ปฏิบัติด้วยนะค่ะ เช่น ทำหน้าที่อื่น แล้วค่าจ้างก็เปิดเพดานไงค่ะ)
  • ตำแหน่งพนักงานบริการ ตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/288/original_service.pdf?1285800424

ขอบคุณมากๆๆ เลยค่ะสำหรับคำตอบที่ช่วยคลายความสงสัยคะ... เมื่อไหรสงสัยแล้วจะเข้ามาถามใหม่นะค่ะ...

ตอบ...คุณ kesorn...

  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์ ผมพึ่งได้เข้ามาเป็นครั้งแรกคือมีข้อสงสัยที่จะเรียนถามท่านอาจารย์อยู่หลายประการดังนี้ครับ ๑.ผมมีพี่เป็นลูกจ้างประจำที่โรงเรียนในตำแหน่งพนักงานบริการ ทำงานมาแล้ว ๑๕ ปี เงินเดือน ๑๓,๐๐๐ ต้น ๆ จบปริญญาตรีหากไปสอบในตำแหน่งครูผู้ช่วยหากสอบติดจะต้องนับอายุราชการตำแหน่งใหม่หรือว่า นับเอาอายุราชการของพนักงานบริการไปด้วยครับ ๒.ในกรณีเดียวกันนี้หากทำงานต่อในครูผู้ช่วย ในปี ๒๕๕๔ จนอายุ ๖๐ ปี จะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญครับ และต้องเริ่มต้นเงินเดือนตำแหน่งครูผู้ช่วยใหม่หรือใช้เงินเดือนพนักงานบริการครับ

ตอบ...คุณทวีป...

  • การที่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการวันใด ก็เริ่มต้นนับวันบรรจุในวันนั้นค่ะ ไม่นับเวลาการเป็นลูกจ้างประจำนะค่ะ
  • สำหรับช่วงเวลาของการเป็นลูกจ้างประจำ ก็จะได้สิทธิ ตามระเบียบของลูกจ้างประจำค่ะ...เป็นคนละส่วนกันค่ะ...
  • การที่ทำงานในกรณีบรรจุเป็นครูผู้ช่วย ต้องดูอายุที่เหลือของคุณว่าจะเกษียณเมื่อไรด้วยค่ะ ถ้า 25 ปี ก็รับบำนาญค่ะ
  • ต้องเริ่มต้นเงินเดือนของการเป็นครูผู้ช่วยค่ะ เงินเดือนไม่สามารถนำมารวมกันได้ค่ะ เพราะเป็นบุคลากรภาครัฐคนละประเภทกัน ภาระงานก็แตกต่างกันค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ

การปรับฐานเงินเดือนร้อยละ 5% ข้าราชการบำนาญได้แต่ลูกจ้างประจำที่เกษียณในปี 2552-2553 ไม่ได้ทั้งที่ได้รับบำเหน็จรายเดือน กลับไม่ได้เพราะอะไรครับ

สวัสดีครับอาจารย์ ขอเรียนถามอาจารย์ครับว่า โรงเรียนที่ปรับเปลี่ยนตำแหน่งภารโรงไปเป็นพนักงานพิมพ์แล้วทางโรงเรียนจะขอลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งนักการภารโรงได้หรือไม่ครับ คือทาง สพป.ให้สำรวจข้อมูลโรงเรียนขาดภารโรงไป อาจารย์ว่าจะได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณ Luck...

  • คงต้องรอกฎหมายของลูกจ้างประจำก่อนกระมังค่ะ...เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นมีค่ะ เอาไว้จะถามกรมบัญชีกลางให้แล้วจะมาบอกนะค่ะ...

ตอบ...พนักงานพิมพ์...

  • ให้ศึกษาหนังสือจากทางเจ้าหน้าที่การเงินนะค่ะว่า ทางกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมา ยามและก็สามารถเบิกค่าจ้างให้ได้ด้วยค่ะ หนังสือที่แจ้งมาจะประมาณ 2 ปี แล้วกระมังค่ะ
  • เพราะในหนังสือฉบับนั้น มอบให้ส่วนราชการดำเนินการจ้างเหมา เช่น แม่บ้าน ยาม คนงาน แล้วทำเรื่องเบิกเพื่อของบประมาณการว่าจ้างมาค่ะ
  • ลองดูนะค่ะ...

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น (อบต.)ปรับเงินเดือน 5% แล้ว ไม่ทราบว่าส่วนของลูกจ้างประจำ จะปรับหรือไม่ครับ

ตอบ...ลูกจ้าง อบต.

  • ให้ดูมติ ครม. ว่าได้หรือไม่ เพราะถ้าข้าราชการเงินเดือนขึ้น ลูกจ้างประจำของส่วนท้องถิ่น ก็น่าจะขึ้นนะค่ะ... หรือไม่ก็สอบถามหัวหน้าส่วนราชการที่คุณสังกัดดูนะค่ะ...

เรียน อาจารย์อีกครั้งครับ ผมได้เปิดดูมิต ครม.แล้ว ไม่เห็นพูดถึงค่าจ้างประจำของลูกจ้างเลย และสอบถามบุคลากรผู้จัดทำเกี่ยวกับเงินเดือนแล้ว เขาบอกว่ายังไม่มีหนังสือสังการให้รอไปก่อน เรียน อาจารย์ต่อไปว่าถ้าไม่มีมติ ครม.ส่วนของลูกจ้างประจำก็คงหมดสิทธิ์ใช้ไหมครับอาจารย์ ช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างหยุบสภาด้วย หรือว่าอาจารย์มีอะไรที่จะชีแนะเพื่อเป็นขวัญและกำใจแก่ลูกจ้างประจำทั่งไปบ้าง

เรียน อาจารย์อีกครั้งครับ ผมได้เปิดดูมิต ครม.แล้ว ไม่เห็นพูดถึงค่าจ้างประจำของลูกจ้างเลย และสอบถามบุคลากรผู้จัดทำเกี่ยวกับเงินเดือนแล้ว เขาบอกว่ายังไม่มีหนังสือสังการให้รอไปก่อน เรียน อาจารย์ต่อไปว่าถ้าไม่มีมติ ครม.ส่วนของลูกจ้างประจำก็คงหมดสิทธิ์ใช้ไหมครับอาจารย์ ช่วงนี้ก็อยู่ระหว่างหยุบสภาด้วย หรือว่าอาจารย์มีอะไรที่จะชีแนะเพื่อเป็นขวัญและกำใจแก่ลูกจ้างประจำทั่งไปบ้าง

ตอบ...คุณลูกจ้าง อบต.

  • มีอีกวิธีหนึ่งค่ะ ให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลาง ดูนะค่ะ เพื่อเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางจะได้ชี้แนะได้บ้างค่ะ...ได้ผลอย่างไร แจ้งให้พี่ทราบด้วยในกระทู้นี้นะค่ะ เพื่อบอกให้เพื่อน ๆ ได้ทราบข่าวความเคลื่อนไหวไงค่ะ...
  • ปัจจุบัน การเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ มีหลากหลายสังกัดเหลือเกินค่ะ ไม่เหมือนสมัยก่อน การที่จะแจ้งอะไรให้ทราบก็ต้องให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนจึงจะนำมาแจ้งได้ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ...

เรียน อาจารย์ครับ ขอความอนุเคราะห์ช่วยกรุณาดู หนังสือ กค.0428/ว.46 ลงวันที่ 6/5/54 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอ้างและแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดให้ปรับค่าจ้างลูกจ้างประจำ 5% และหนังสือดังกล่าวโดยมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. เป็นต้นไปนั้น สือที่อ้างถึงได้รวมถึงลูกจ้างส่วนราชการทุกส่วน(ในความเข้าใจของผมนะครับ) ถ้าเป็นเช่นนั้น กรมส่งเสริมฯน่าจะหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการในความรับผิดชอบดำเนินการ อาจารย์ลองอ่านดูและช่วยชี้แนะด้วยครับจะได้กระจ่าง

ตอบ...ลูกจ้าง อบต....

  • ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 46 ลงวันที่ 6 พ.ค.2554  จะหมายถึงการปรับอัตราค่าจ้างลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนจะไม่ปัญหาสำหรับการแจ้งว่า คือ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ต่อมาเมื่อมี อบต. เกิดขึ้น ผู้เขียนยังสงสัยว่าลูกจ้างประจำของ อบต. ใช่ใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 หรือไม่ ถ้านิยามเหมือนกัน ก็ใช้ด้วยกันได้ แต่ถ้านิยามคำว่า ลูกจ้างประจำของส่วนราชการกับลูกจ้างประจำของ อบต. ใช้ระเบียบคนละฉบับ ก็ไม่ใช่ ให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูก่อนนะค่ะ ผู้เขียนเกรงว่าถ้าตอบไปแล้วผิด เพราะปัจจุบันกฎหมายมีมากมายเหลือเกิน...แต่ถ้าความหมายของลูกจ้างประจำของส่วนราชการหมายรวมถึงลูกจ้างประจำของ อบต. รวมอยู่ด้วยแล้วล่ะก็สามารถปรับค่าจ้างได้ค่ะ... (เนื่องจาก อบต. เพิ่งจะมาก่อตั้งหลังจากระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ)เพราะในความหมายของลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบนั้น มีสังกัดตามส่วนราชการ กระทรวง ค่ะ เลยไม่แน่ใจว่าหมายความรวมถึง ลูกจ้างประจำของ อบต.หรือไม่...อย่างไรแล้ว ขอให้สอบถามเจ้าหน้าที่งานการเจ้าหน้าที่หรืองานบุคคลดูก่อนนะค่ะ...
  • ถ้าได้ขอมูลอย่างไรแล้ว แจ้งให้ทราบด้วยนะค่ะ จะได้แจ้งให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

ตำแหน่งช่างไม้ ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างประปา ช่างคุรุภัณท์ระดับ3อยู่ในหมวดใด1 2 3 4

ตอบ...คุณพงศธร...

  • ให้คุณคลิกดูในกลุ่มงานช่างด้านบนในบล็อกนะค่ะ ถ้าอยู่ในตำแหน่งระดับครุภัณฑ์ ระดับ 3 น่าจะอยู่ในกลุ่มบัญชีค่าจ้าง กลุ่มที่ 2-3 นะค่ะ...
  • ลองคลิกดูนะค่ะ ในบล็อกนี้นะค่ะ...เรื่อง บัญชีกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างของลูกจ้างประจำ นี่แหล่ะค่ะ...

เรียน อาจารย์บุษยมาศ

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำอยู่ กทม อยากโอนย้ายได้เหมือนข้าราชการการจังเลยค่ะอาจารย์

จะเป็นไปได้ใหม่ค่ะ ว่าลูกจ้างประจำจะได้มีโอกาศโอนย้ายได้บ้าง ถ้าเป็นไปได้อาจาย์รบกวนหารือ

กรมบัญชีกลางให้หน่อยได้ใหม่ค่ะ และขอความกรุณาแจ้งความคืบหน้าให้ทราบด้วย เพราะลูกจ้างฯหลายคน

ก็คงอยากทราบความคืบหน้าเรื่องนี้มากเลยค่ะอาจารย์

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์

วันนี้มีเรื่องน้อยใจมาระบายให้อาจารย์ฟังค่ะ.. คือได้สอบถามติดตามเรื่องที่ทำหนังสือขอปรับเปลี่ยนสายงานและปรับระดับของลูกจ้างประจำไปยัง สพม.10 กับหัวหน้างานบุคคลากรเลยหล่ะ ได้รับคำตอบว่ายังไม่รู้เลยว่าเขากำหนดตำแหน่งอย่างไร แล้วเปลี่ยนได้หรือเปล่า เอาไว้ก่อนนะ..เพราะต้องทำเรื่องอื่นที่สำคัญก่อนคือเรื่องย้ายครู.. เรื่องปรับเปลี่ยนตำแหน่งและระดับของลูกจ้างไม่สำคัญเอาไว้ก่อน..ก็เลยถามว่าแล้วจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยส่งมาแล้วครั้งหนึ่ง ได้รับคำตอบจากท่านว่าหาย ให้ทำส่งใหม่ หัวหน้างานฯตอบว่า ไม่หายหรอกโยนทิ้งเองแหละเพราะยังไม่สำคัญ นี้คือคำตอบที่ระดับหัวหน้างานตอบ...ฟังแล้วได้แต่อึ้ง

ทำไมบุคคลที่ได้รับภาระหน้าที่และตำแหน่งในระดับแบบนี้ถึงได้ไม่มีความเป็นธรรมเลย บุคคลที่ทำงานแบบนี้น่าจะเป็นแบบอาจารย์ทุกคน ทุกที่ ทุกหน่วยงานน่ะ ผู้ที่อยู่ในระดับล่างจะได้อุ่นใจว่าเขาสามารถให้คำตอบ ให้คำปรึกษาได้ สงสัยทาง สพม.10 กว่าจะได้ปรับตำแหน่งกัน คงจะสุดท้ายหรือไม่ก็คงจะไม่ได้ปรับอีกตามเคย เหมือนที่ผ่านมา ..... แต่ถึงยังไงก็ขอให้อาจารย์อยู่เป็นขวัญใจของลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชาไปนานๆ...นะค่ะ

ตอบ...คุณ IDTHEE [IP: 161.200.36.236] ...

  • การโอนย้าย ขึ้นอยู่กับส่วนราชการค่ะว่าจะให้โอนย้ายได้หรือไม่...เพราะเห็นบางส่วนราชการก็ให้โอนย้ายได้ บางส่วนราชการก็ไม่ให้โอนย้ายค่ะ เหตุอาจมาจากการเสียอัตรากำลังไงค่ะ...ให้คุณปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูนะค่ะ...เพราะทางกรมบัญชีกลางจะมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องค่าจ้างค่ะ...

ตอบ...คุณ kesorn...

  • การทำงานเกี่ยวกับบุคคล เป็นงานที่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของบุคลากรของส่วนราชการ ทุกประเภทจะต้องมีความเทียมเทียมกันเพราะไม่เช่นนั้น ในอนาคตมีการขึ้นศาลปกครองได้ค่ะ เพียงแต่ผู้ใต้บังคับบัญชายังรู้กฎหมายไม่มาก ถ้าบางส่วนราชการไปพบเจอบุคคลที่เรียกว่า รู้กฎหมายมาก ๆ ถึงกับมีการขึ้นศาลปกครองได้ค่ะ เพราะในระดับ ม. มีมาแล้วค่ะ...
  • การทำงานบุคคล เท่าที่ผ่านมา จะเป็นการทำงานแบบงานประจำ คือ งานธุรการ แต่ในอนาคตเป็นการทำงานแบบเชิงรุก ต้องทำทุกรูปแบบที่จะให้ส่วนราชการอยู่รอดได้ค่ะ (นี่คือ การบริหารงานภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องบุคคลแนวใหม่)...ผู้เขียนยังคิดอยู่เสมอว่า ถ้าเจ้าหน้าที่งานบุคคลยังทำแบบนี้ ก็ไม่แตกต่างกับการทำงานแบบเดิม ๆ ไม่มีการทำงานแบบเชิงรุก ไม่เสาะหาความรู้ ไม่มีการพัฒนาตนเอง ยังคิดว่า ประเทศไทยจะไปถึงไหนกันหนอ...
  • แม้แต่ที่คุณ kesorn เล่ามา ก็เห็นใจทั้งคุณและเจ้าหน้าที่ แต่ถึงอย่างไรเจ้าหน้าที่ก็ต้องศึกษา เพราะส่วนราชการอื่น ๆ เขาปรับเปลี่ยนกันแล้ว ทำได้ก็ควรทำให้เพียงแต่จัดอันดับความสำคัญก่อนหลัง และไม่ควรจะตอบคุณแบบนั้น มีวิธีที่จะตอบให้ผู้มาติดต่อทราบอีกตั้งมากมายกับคำตอบ...ถ้าตอบแบบที่คุณว่า นั่นไม่ใช่ การเป็นข้าราชการที่ดี ความหมายของข้าราชการที่ดี คือ ข้ารับใช้แผ่นดิน แล้วเจ้าหน้าที่คนนั้นรับใช้แผ่นดินสมกับการเป็นข้าราชการหรือไม่
  • สำหรับผู้เขียนมีความตระหนักถึงตัวเองเป็นข้าราชการ ถึงจะมีตำแหน่งไม่ใหญ่โตมากมายนัก แต่ผู้เขียนก็สามารถบอกหรือพูดได้ว่า "ปัจจุบันผู้เขียนได้ทำหน้าที่ของการเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ได้อย่างเต็มภาคภูมิ มีข้าราชการที่คิดแบบที่ผู้เขียนคิดแบบนี้ กันสักกี่คน บางส่วนจะคิดแต่ผลประโยชน์สำหรับตนเองและพวกพ้องกันเสียมากกว่า...น่าเสียดาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทำให้กับประเทศตั้งมากมายตอนที่ท่านยังมีกำลังอยู่ และทรงสั่งสอนให้ข้าราชการทุกคนกระทำสิ่งที่ดี ๆ มีคุณประโยชน์ต่อแผ่นดิน แต่ที่เห็น ๆ บางคนก็เป็นแบบที่คนบอก บางคนก็ทำเพื่อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง แล้วในอนาคตประเทศไทยจะไปแบบไหน ลูก - หลาน ที่มาสืบสานงานต่อจะเป็นอย่างไร...
  • คงต้องขึ้นอยู่กับ "จิตใต้สำนึก" ของข้าราชการแต่ละคนแล้วละค่ะ...
  • เหตุที่ผู้เขียนต้องมานั่งตอบ มาบอก เพียงเพื่อ "ให้ทราบว่าโลกปัจจุบันเขาไปถึงไหนกันแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงต่อบ้านเมืองและระบบราชการมากมาย แต่บางคนก็มิได้ศึกษา แต่อยู่เพื่อรับเงินเดือนไปวัน ๆ ไม่สมกับตนเองได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งกันเลย ไม่คิดถึง คำว่า "ข้าราชการ" ที่ดีมากนัก น่าสงสารประเทศชาติจังค่ะ...
  • สำหรับผู้เขียนจะทำได้ก็อีกประมาณ 11 ปี ค่ะ เพราะถ้าเกษียณไปแล้ว ก็คงให้เด็ก ๆ รุ่นใหม่ มาทำแทนแล้วละค่ะ...
  • เป็นกำลังใจให้ก็แล้วกันนะคะ...(เป็นไปได้ให้ลองปรึกษา ผอ.เขต สิค่ะ)...
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอเรียนถามคุณบุษยมาศ

ทำไมช่างปูน ระดับ 3 เงินเดือน ยังใช้ขั้นวิ่งของกลุ่มที่ 1 และ 5 เปอร์เซ็นได้เมื่อไหร่

ตอบ...คนดอนทราย...

  • ช่างปูน ระดับ 3 จะอยู่ในบัญชีค่าจ้าง 1 - 2  ขั้นวิ่งต้องอยู่ที่กลุ่มที่ 1 จนกว่าค่าจ้างจะเต็มขั้นวิ่งของกลุ่มที่ 1 ก่อนค่ะ จึงจะไปอยู่ในบัญชีกลุ่มที่ 2
  • 5 % ขึ้นค่ะ คงต้องใจเย็นนิดหนึ่ง อย่างน้อยก็ได้รับตกเบิกค่ะ เพราะที่ ม. ของผู้เขียนก็เพิ่งจะดำเนินการเสร็จเหมือนกันค่ะ...เหตุที่ช้า อยู่ที่กระบวนการในการดำเนินการค่ะ + หนังสือสั่งการกว่าจะมาถึงเจ้าหน้าที่ได้ก็มีเวลาให้ดำเนินการน้อยด้วยค่ะ เรียกว่า ต้องรอนิดหนึ่งนะค่ะ แต่อย่างไรก็ได้รับตกเบิกเงิน 5 % กันค่ะ...(จะทำอะไรให้ได้ดั่งใจเราไม่ได้หรอกค่ะ...)

ผมเป็นลูกจ้างประจำสังกัดโรงเรียนมัธยมในจังหวัดร้อยเอ็ดอยากเรียนถามว่าผมจะสามารถเปลี่ยนไปสายงานอื่นได้หริอไม่เช่นพนักงานพิมพ์ดีดหรือพนักงานธุรการปัจจุบันผมจบ ป.ว.ส.และดำรงตำแหน่งช่าวลงครุภัณฑ์ชั้น3

ตอบ...คุณสุนทร มนตรี...

  • การที่จะเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับงานที่คุณได้ปฏิบัติ เช่น ถ้าเปลี่ยนเป็นพนักงานพิมพ์นั้น คุณก็ต้องพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้ อีกอย่างก็ต้องไปดูที่คุณสมบัติของพนักงานพิมพ์ในแต่ละระดับว่าจะเปลี่ยนได้หรือไม่ค่ะ...เพราะเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งไปแล้วจะมีผลตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานไงค่ะ ถ้าพิมพ์ไม่ได้ก็ไม่ควรเปลี่ยน แต่ถ้าพิมพ์ได้ก็จะเป็นไปตามคุณสมบัติของตำแหน่งค่ะ...
  • สำหรับพนักงานธุรการ คุณก็ต้องเคยได้ปฏิบัติงานสารบรรณมาพอสมควร เช่น สามารถร่างหนังสือโต้ตอบหนังสือราชการได้ การรับ - ส่ง หนังสือราชการ การเก็บรักษา การยืม การทำลายหนังสือในระดับหนึ่ง ให้ศึกษาคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของพนักงานธุรการด้วยนะคะ...
  • ทั้งนี้ ให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ + หัวหน้าส่วนราชการด้วยค่ะ...
  • สำหรับกรณีที่คุณยังไม่เคยทำหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น ส่วนราชการอาจกำหนดภาระงานให้คุณ แล้วทำการสอบคัดเลือกก็ได้ค่ะ...
  • การเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ไม่ใช่เป็นความต้องการของตัวเราเอง แต่มาจากการที่ตัวคุณเองได้มีการพัฒนาการทำงานในทางที่ดีขึ้น สามารถทำงานได้กว้างขึ้น ไม่ใช่ทำงานแบบเดิม ๆ แล้วก็ขอปรับเปลี่ยน คงไม่ใช่ แต่ถ้าคุณมีการพัฒนาตัวคุณเอง มีความรู้ ความสามารถในตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยน (เรียกว่า มีเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ) ส่วนราชการก็สามารถกระทำให้ได้ค่ะ...
  • 

ขอสอบถามหน่อยครับเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ คือปัจจุบันผมเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราช พึ่งเปลี่ยนตำแหน่งใหม่เป็นช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 เมื่อ 23 มกราคม 2552 ก่อนการปรับโครงสร้างใหม่ที่กพ.เวียนให้แต่ละกรมฯ ผมสามารถเปลี่ยนตำใหม่ใหม่ได้มั้ยคับ และการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่นั้นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ตำแหน่งเดิมกี่ปีครับ ถึงจะเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ได้ ตอนนี้ผมเปลี่ยนได้2ปีครึ่ง และตอนนี้มีโครงสร้างตำำแหน่งใหม่ ที่ผมกำลังทำเรื่องขอเปลี่ยนใหม่ จากช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 เป็น ช่างไฟฟ้า ชั้น 3 คุณสมบัติงานที่ผมทำนั้นสอดคล้องกับตำแหน่งใหม่ทุกอย่างรวมถึงวุฒิการศึกษาและประสบณ์การทำงานตรงทุกอย่างที่กพ.กำหนด ขอรบกวนคำถามแค่นี้ครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณนิคม...

  • การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ เป็นช่างไฟฟ้า ให้ดูที่ความประสงค์ของส่วนราชการด้วยนะคะว่า หน้าที่หลักที่ให้คุณได้ปฏิบัติปัจจุบันคือ ตำแหน่งใด และส่วนราชการต้องการให้คุณปฏิบัติงานอะไรส่วนใหญ่...การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่ด้วยค่ะว่าสำนักงาน ก.พ. แจ้งว่าอย่างไร....ถ้าระบุจำนวนปีก็ควรปฏิบัติตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุ ก็เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่ค่ะ...

กระผมขอเรียนถาม คุณบุษยมาศ อย่างนี้ครับ กระผมเป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ของส่วนราชการ กระทรวงศึกษาธิการ อยากถามว่า ตำแหน่งพนักงานขับรถ ทำไมเมื่อก่อน เงินเพดานสูงกว่าตำแหน่งทั่วไปมากเลย แต่เดี่ยวนี้ต่ำกว่าตำแหน่งอื่นมากเลย กระผมจะต้องทำอย่างไรครับ และ อีกอย่างกระผมไม่ค่อยจะได้ขับรถ นานๆ ขับที ส่วนมากจะ ทำงานโสตทัศนศึกษามากกว่าครับ  และก็ซ่อมบำรุง จำพวก ไฟฟ้า โทรศัพท์ เสียงตามสาย คอมพิวเตอร์ และงานระบบอินเตอร์เน็ตในโรงเรียน  งานเครือข่าย กระผมจบ ปวส. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  และ ปริญญาตรี  ด้านบริหารธุรกิจ แขนงวิชาการจัดการทั่วไป เพิ่งจบ 6 พ.ค. 54 นี้เอง  หากว่ากระผมจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็น"เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา" จะได้ไหมครับ และเพดานเงินเดือนจะอยู่ที่เท่าไรครับ ตอนนี้อยากทราบวิธีการมากเลยครับ ขอรบกวน คุณบุษยมาศ ช่วยชี้แนะหน่อยนะครับ ขออภัยด้วยนะครับยาวไปหน่อยครับ

เรียนคุณบุญยมาศ ครับ

ปัจจุบันผม ตำแหน่งช่างเครื่องมือกล ระดับ 2 ไม่ทราบอยู่ในกลุ่ม 1 หรือ 2 กันแน่ครับ (น่าจะอยู่กลุ่ม 2 แล้วหรือป่าวครับ)

แล้วทำไมประกาศเลื่อนขั้นเงินเดือน ณ ปัจจุบัน ของผมยังไปใช้ระดับขั้นเงินเดือนของกลุ่มที่ 1 อยู่ล่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณพล วงใหญ่...

  • ถ้าปรับเปลี่ยน น่าจะเป็นตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ นะคะ...เพราะทำเกี่ยวกับเรื่องโสตทัศนศึกษาได้ ให้คลิกดูที่ไฟล์ด้านบน กลุ่มงานช่างค่ะ สำหรับเงินค่าจ้างนั้น ก็อยู่ในไฟล์นั้นอยู่แล้วค่ะ ศึกษาให้ละเอียดนะค่ะ แล้วจะทราบว่าควรเปลี่ยนหรือไม่...

ตอบ...คุณสุรชัย...

  • ตำแหน่งช่างเครื่องมือกล ระดับ 2 นั้น อยู่กลุ่มบัญชีที่ 1-2 ค่ะ สำหรับการเลื่อนขั้นค่าจ้างนั้นจะต้องเลื่อนให้เต็มขั้นกลุ่มบัญชีที่ 1 ก่อน จึงจะสามารถเลื่อนไปยังกลุ่มบัญชีที่ 2 ได้ค่ะ ลองศึกษาที่รหัส 3314 ด้านล่างนี้ดูนะคะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442

เรียนถามอาจารย์บุยมาศ

ผมเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งช่างปูนระดับ 3 ต้องการย้ายจากโรงเรียนหนึ่งไปรงเรียนหนึ่งได้หรือเปล่า ถ้าได้แบบฟอร์มการย้ายเหมือนของครูหรือเปล่า ขอบพระคุณมากครับ

ตอบ...คุณคนดอนทราย...

คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

ตำแหน่งพนังงานขับรถยนต์ 1-2 ไปตันที่ 22,220 บาท (ตอนนี้อยู่ในกลุ่มนี้อยู่) สงสัยที่กลุ่มที่สามไปตันที่ 29,320 หากมีพนักงานขัยรถยนต์คนเดียวสามารถปรับขึ้นไปได้ไหมครับ บรรจุเมื่อปี 2530 หากนับเวลาราชการจะเกิน และจะมีข้ออื่นมาประกอบอีกไหมครับ ถ้าหากจะขอปรับสมมุติว่าตันแล้วที่ระดับ 2 เพราะดูในความเหมาะสมกับตำแหน่งระบุว่าแต่งตั้งจากชั้นสองปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า สามปีหรือแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและชำนาญงานด้านนี้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปึ

ตอบ...คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ ว่าทำได้หรือไม่ เพราะในสมัยก่อนจะต้องระบุว่าคนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีลูกน้องกี่คน แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันยังจะกำหนดการควบคุมลูกน้องอยู่หรือเปล่า...ถ้าดูในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งใหม่นี้ ไม่มีระบุไว้ เพื่อความชัดเจนให้สอบถามไปที่กรมบัญชีกลางนะคะ...
คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

อันนี้แหละครับปัญหา คุณสมบัติกรอบในตำแหน่งไม่ระบุ แต่หากถามไปกรมบัญชีกลางกลับระบุต้องมีลูกน้องในสังกัดแปดถึงสิบคน ผมว่ามันไม่ยุติธรรมนะครับอยู่โรงเรียน ทั่วประเทศนี่จะมีสักกี่โรงที่มีคนขับรถเป็นสิบๆคน ครับ มันก็สองมาตรฐานอีกนั่นแหละต้องเป็นคนที่อยู่สำนักงานเขต หรือไม่ก็ อบจ รพช สำนักงานเหล่านี้เท่านั้นหรือที่จะมีสิทธิ์กินเงินเดือนของกลุ่มที่สาม ทั้งๆที่ลักษณะงานเหมือนกันหรืออาจจะสบายกว่างานที่อยู่โรงเรียนด้วยซ้ำไป เพราะอยู่กันหลายคนคิวงานกว่าจะถึงกันบางคนว่างเป็นอาทิตย์ แต่อยู่โรงเรียนมีคนเดียว ทำทุกอย่าง ไม่ขับรถไปราชการต่างจังหวัด ก็ทำงานที่ห้องธุรการดูแลงานโสต งานครุภัณฑ์ ซ่อมไฟฟ้า ส่งหนังสือราชการ ฯลฯ แล้วแต่นายจะให้ทำ อยากฝากวิงวอนผูเกี่ยวข้องช่วยแก้ใขให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

นางสาวสมจิตร หอมวงศ์

ดิฉันเป็นลูกจ้างประจำของอบต. อยากทราบว่า ลูกจ้างประจำ ในอบต.ของดิฉันมีลูกจ้างประจำแค่คนเดียว จากการปรับเงินค่าจ้างประจำได้รับปี ละ 1 ขั้น ไม่ทราบว่าจะสามารถได้ 2 ขั้น หรือเปล่าค่ะ ลืมบอกไปค่ะ ดิฉันตำแหน่ง ผช.เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี จบป.ตรี ด้านบัญชีโดยตรง ตอนนี้กำลังจะขอปรับ เป็นนักวิชาการเงินและบัญชี (ลูกจ้างประจำ) ถ้าปรับแล้ว เงินค่าจ้างจะขึ้นหรือเปล่า ตอนนี้ดิฉันได้รับเงินค่าจ้าง 8,540.- ค่าครองชีพ 1500 ทำงานมา 9 ปีค่ะ ช่วยด้วยนะค่ะ

ตอบ...คุณคนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ที่ให้สอบถามไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนค่ะ เพราะกรมบัญชีกลางจะตรวจสอบในเรื่องของการปรับเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ ไม่อยากให้ทำแล้วเสียเวลาต้องมานั่งแก้ไขคำสั่งว่าไม่ได้ไงค่ะ...ทางกรมบัญชีกลางคงมีเหตุผลนะคะ อย่าเพิ่งด่วนสรุปความโดยที่ยังไม่ได้ฟังเหตุผลด้วยค่ะ...
  • ถ้าคุณสมบัติใหม่ไม่มีลูกน้องมาเกี่ยวข้องก็ไม่น่าจะต้องนำมาเป็นเกณฑ์นี่ค่ะ แต่ให้สอบถามเพื่อความถูกต้องอีกครั้งค่ะ...

ตอบ...คุณสมจิตร หอมวงศ์...

  • การเลื่อนขั้นค่าจ้างของลูกจ้างประจำ ถ้าใช้ระเบียบเดิมที่ไม่มี % เช่น ข้าราชการแล้วละก็ ก็ยังคิดเกณฑ์โควต้า 15 % มากำหนดในการคิด 2 ขั้นอยู่ค่ะ...
  • การปรับขั้นค่าจ้าง ถือว่าเป็นการขยายเพดานเงินค่าจ้าง ขั้นค่าจ้างก็ยังเท่าเดิมก่อนค่ะ ไม่มีการปรับพอก จนกว่าจะขยายจากกล่มบัญชี 1 ไปยังบัญชี 2 ค่ะ ก็ได้ประมาณ 200 - 300 กว่า ประมาณนี้ค่ะ...
  • การที่จะไปยังบัญชีกลุ่ม 2 นั้น ก็ต้องได้ขั้นค่าจ้างเต็มขั้นของกลุ่มบัญชี 1 ก่อนค่ะ...
คนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก

ขอขอบพระคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อพี่น้องชาวลูกจ้างทุกๆคน โดยเฉพาะตัวผมเอง ที่ท่านกรุณาเสียสละเวลามาตอบให้หายข้อสงสัย หากมีข้อสงสัยอีกจะขอรบกวนอีกในอนาคตข้างหน้านะครับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณคนสะเมิงเชียงใหม่ในหมอก...

  • ยินดีค่ะ ขอบคุณค่ะ...

กระผมอยากทราบว่า เงินอีก 8 % ลูกจ้างประจำจะได้รับเหมือนข้าราชการหรือเปล่าครับ ขอบคุณนะครับที่เป็นธุระสรรหา ข้อความมาใขให้กระจ่างแจ่มแจ้ง ขอบคุณมากๆนะครับคุณ บุษยมาศ

ลูกจ้าง สาธารณสุข

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นลูกจ้างของ ร.พ

ตำแหน่งเริ่มต้นที่ ผู้ช่วยเหลือคนไข้ ต่อมามีการสอบปรับตำแหน่ง ก็สอบเป็นพนักงานพิมพ์ดีด

ปัจจุบันเป็น พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 ซึ่งเงินเดือนตันที่ 18,190 บาท ตอนที่สอบเพราะอยากให้ตรงงานที่ทำ

เพราะทำงานด้านเอกสาร งานสารบรรณ และได้สอบถามกับการเจ้าหน้าที่ ได้คำตอบว่า ที่ ร.พ จะไม่มีตำแหน่งพนักงานพิพม์ดีดชั้น 3 เริ่มมีปัญหาตอนนี้เอง เพราะ พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 2 เงินเดือนจะตันน้อยสุด กว่าตำแหน่งอื่นๆ ตำแหน่งอื่นจะตันอยู่ที่ 22,220 บาท คิดไม่ออกจะทำอย่างไรดี ช่วยดิฉันคิดหน่อยค่ะ

ตอบ...คุณพล วงศ์ใหญ่...

  • สำหรับเงิน 8 % น่าจะเป็นส่วนของข้าราชการครู ของ สพฐ.มากกว่ากระมังค่ะ เพราะข้าราชการพลเรือนสามัญ, ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ก็ได้เพียง 5 % เท่านั้นค่ะ เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ ไม่สามารถได้อีก 8 % แล้วค่ะ...เพราะตามมติ ครม. ให้เท่านี้ค่ะ...

 

ตอบ...คุณลูกจ้างสาธารณสุข...

  • ให้ลองสอบถามไปยังกรมบัญชีกลางสิค่ะ...
  • ไม่รู้ว่าของสาธารณสุข ทำกรอบไว้หรือค่ะ...เพราะของ ม. ก็ไม่มีกรอบกำหนดไว้แบบที่คุณบอกนะคะ สามารถโตได้จนกว่าความสามารถของลูกจ้าง ฯ คนนั้นจะไม่สามารถทำได้เองไงค่ะ...
  • ถ้าตัน คงต้องปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นหรือเปล่า แต่ก็ต้องเป็นงานที่เราได้ปฏิบัติอยู่ด้วยนะคะ...

เมื่อวันที่ 9 ก.ค 54 ผมพิมย์ตกคำว่า..ให้ ผมจึงขอเรียน ผอ.ใหม่ว่า ผมอยากให้ลงตารางช่างไม้ชั้น3ด้วยนะครับ.ขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณทวี...

นักการภารโรงที่ จบป.ตรี

อยากทรบว่า ถ้านักการที่เป็นลูกจ้างประจำในโรงเรียนสกัด กทม จบ ป.ตรี จะได้ปรับตำ่แหน่งใหม่หรือไม่คับ และอีกคำถามว่าเงินเดือนจะเพิ่มหรือเปล่าคับ

ตอบ...นักการภารโรงที่ จบ ป.ตรี...

  • การปรับตำแหน่งจะไม่เกี่ยวกับการจบ ป.ตรีค่ะ ยกเว้นในบางตำแหน่งที่เราได้ปฏิบัติงานอยู่ หรือที่ทางส่วนราชการเปิดรับสมัครตำแหน่งใหม่ ต้องมีวุฒิ ป.ตรีค่ะ จึงจะนำวุฒิไปปรับเข้าได้ค่ะ
  • ปัจจุบันตำแหน่งนักการภารโรง ในส่วนราชการอื่น ๆ เขาก็ปรับเป็นตำแหน่งอื่นกันแล้ว เช่น เดิมตำแหน่งนักการภารโรง ถ้าทำงานธุรการของโรงเรียนได้ ส่วนราชการก็จะปรับให้เป็นพนักงานธุรการ หรือถ้าพิมพ์คอมฯ ได้ ก็จะปรับให้เป็นพนักงานพิมพ์ ฯลฯ กันค่ะ เพราะตำแหน่งดังกล่าวจะสามารถปรับเลื่อนระดับเป็นระดับ 1, 2 ,3 หรือ 4 กันได้ ซึ่งทำให้มีการเพิ่มขั้นค่าจ้างกันด้วยไงค่ะ...

ระบบตำแหน่งลูกจ้างประจำ กพ.มีผลบังคับใช้1เมย.53เกี่ยวกับขั้นวิ่ง5%ใช่หรือไม่ครับเพราะผมเลื่อนขั้นเงินเดือน5%แบบขั้นวิ่ง1เมย.54อย่างนี้ต้องย้อนหลังของปี53หรือไม่ครับ

ตอบ  คุณภารโรง ปวส.

  • ให้ดูว่า เดิมคุณอยู่ตำแหน่งใด ระดับใด เวลาปรับเปลี่ยนไปตำแหน่งใหม่ให้ดูว่า งานใหม่นั้น คุณได้ปฏิบัติอยู่หรือไม่ และส่วนราชการมีความจำเป็นด้วยหรือไม่ที่เมื่อปรับไปแล้วงานที่ปฏิบัติใหม่เป็นงานที่ตรงตามภารกิจของส่วนราชการนั้น ๆ ค่ะ
  • ถ้าเป็นอย่างที่บอกข้างต้น ก็สามารถปรับตำแหน่งใหม่ได้ ในระดับเดิมค่ะ...

ตอบ คุณ NA...

  • 5 % จะมีผลบังคับใช้ ณ 1 เมษายน 2554 เท่านั้นค่ะ ไม่มีผลย้อนหลัง

ท่านอาจารย์ครับ กระผมอยากทราบ ข้อ1.คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของรหัส 2401 พนักงานช่วยการพยาบาล 2402 พนักงานช่วยเหลือแพทย์และพยาบาล 2403 พนักงานช่วยเหลือคนไข้ 2403 ผู้ช่วยพยาบาล ข้อ2.การเลื่อนระดับทั้ง4รหัสนี้ครับ ข้อ3.การเปลี่ยนตำแหน่งเช่นจาก2403 เป็น 2404 หลักเกณท์ต้องทำอย่างไรบ้างครับ รบกวนท่านอาจารย์ส่งคำตอบมาที่ [email protected] ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆครับ

ตอบ...คุณ pn2546...

  • จากที่ถามในข้อ 1 ให้ศึกษาตามไฟล์ด้านล่างนี้ค่ะ
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/289/original_support.pdf?1285800428
  • ดูตามรหัสนะคะ...จะมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งด้านข้างขวามือค่ะ
  • ข้อ 2 การเลื่อนระดับ ก็เป็นไปตามระดับที่เรียงอยู่แล้วค่ะ
  • ข้อ 3 หลักเกณฑ์ในการปรับเปลี่ยนให้ศึกษาที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในตำแหน่งที่จะต้องการเปลี่ยนก่อน คือ ถ้าเดิมเราอยู่ระดับ 3 ของตำแหน่ง 2403 ถ้าเปลี่ยนไปตำแหน่ง 2404 ก็จะต้องไปอยู่ในระดับ 3 เช่นกัน แต่ต้องดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งด้วยค่ะ ว่าได้หรือไม่
  • ให้ปรึกษากับส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบค่ะ

5 % ยังไม่ได้เลยอะครับของเขต สพม 34เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน ที่อื่นได้กันรึยังครับ

ขอบคุณครับ

  • ที่ มรภ.พิบูลสงคราม ได้รับกันแล้วค่ะ...
  • ลองสอบถามไปที่ สพม.34 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ดูสิค่ะ ว่าเพราะเหตุดใด? ที่ยังไม่ได้รับ...เพราะเลยมา 4 เดือนแล้วนะค่ะ อย่างช้าก็ไม่น่าเกิน 2 เดือน...

จบ ป.ตรีบัญชี จะไปสมัครสอบนักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการของ สพฐ.ได้ไหมคะ

ตอบ...คุณฐาณิญา...

  • การจะสมัครได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ทาง สพฐ.จะเป็นผู้กำหนดค่ะ...ว่าวุฒิใดบ้างที่สามารถสมัครได้ ...

เป็นลูกจ้างประจำ ตั้งแต่ 1 กค 46 ตำแหน่งที่ได้รับ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี ทำไมไม่มีสิทธิปรับเงินให้สูงขึ้นและมีไม่สิทธิได้รับเครื่องราชฯ

เรียน คุณบุษยมาศ

กระผม เป้นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ ของกรมปศุสัตว์ ทำงานมาเป็นเวลา 31 ปีแล้วครับ อยากถามว่า ทำไม กพ.ถึงได้กำหนดเป็นตำแหน่ง สนับสนุน 1 ครับ ทำไมไม่ปรับให้เป้น ระดับ สนับสนุน 2 เลยละครับ เพราะทำงานมานานขนาดนี้แล้ว ความรู้ความสามารถ และประสพการณ์ คงไม่ต้องพูดถึง ว่ามีมากมายแค่ไหน ส่วนพนักงานเข้าและเย็บเล่ม ทำไมปรับให้ทันที่เลย ไม่เห็นต้องรอ เลยครับ ปรับได้เลย จาก 1 เป็น 2 ผมละงงจริง ๆ กับระบบ นี้ ครับ ช่วยตอบให้เข้าใจหน่อยครับ

ตอบ...คุณน้ำผึ้ง...

  • ผู้เขียนไม่เข้าใจคำถาม เกี่ยวกับเรื่อง สิทธิปรับเงินให้สูงขึ้น ขอให้แจ้งข้อมูลชัดเจนกว่านี้ได้หรือไม่ จึงไม่สามารถตอบให้ได้ค่ะ
  • การที่จะมีสิทธิได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับเครื่องราช ฯ ศึกษาในระเบียบดูนะคะ...คลิกที่สารบัญ(บน) ด้านขวามือ ของคุณ จะปรากฎ บล็อกที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้หลายเรื่องค่ะ...

ตอบ...คุณคนขับรถ...

  • ให้ศึกษาเรื่องการปรับเข้าสู่ตำแหน่ง ซึ่ง ก.พ. ได้แจ้งมาให้ถือปฏิบัตินะคะ...
  • การที่จะปรับเข้าสู่ตำแหน่งนั้น ไม่เกี่ยวกับการที่เราทำงานมานาน เพราะระเบียบเพิ่งจะออกมาให้ส่วนราชการได้ถือปฏิบัติคะ เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งนั้น ๆ...สำหรับตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ กับตำแหน่งพนักงานเข้าและเย็บเล่ม อาจมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไม่เหมือนกัน จึงทำให้การปรับเข้าสู่ตำแหน่งแตกต่างกัน ให้คุณศึกษาตั้งแต่เรื่องการปรับเข้าสู่ตำแหน่ง ตั้งแต่แรก ที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้ศึกษาด้วยค่ะ จะได้เข้าใจจากบล็อกต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้นำมาลงให้ หรือคลิกที่สารบัญ ด้านบนขวามือของคุณ จะมีเรื่องหลายเรื่องที่ผู้เขียนได้นำมาแจ้งให้ศึกษา (กรณีศึกษา ด้านล่างสุดของบล็อกจะเป็นเรื่องก่อน ด้านบนของบล็อกจะเป็นเรื่องล่าสุดค่ะ)

เรียนคุณบุษยามาศ

ผมเป็นช่างไม้ชั้น 3 ซึ่งสอบมาตรฐานฝีมือผ่านชั้น 2 ถ้าหากปรับเป็นช่างไม้ชั้น4 จะต้องสอบมาตรฐานฝีมือผ่านชั้น 3

หรือไม่ เพราะตอนนี้เป็นช่างไม้ชั้น 3 อยู่แล้ว หากจะปรับเป็นช่างไม้ชั้น 4 ใช้คำสั่งที่แต่งตั้งช่างไม้ 3 เป็นช่างไม้ 4 ได้หรือไม่

ตอบ...อ.ปง

  • ปัจจุบันเป็นตำแหน่งช่างไม้ ระดับ 3 หากจะปรับเป็นช่างไม้ ระดับ 4 นั้น ให้คุณดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง หน้า 31 ซึ่งมีทั้งหมด 4 ข้อ ให้คุณใช้คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง ข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อ (ข้อใดก็ได้ค่ะ เพราะใช้คำว่า "หรือ") ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับชั้นที่มีความสัมพันธ์กับหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณอาจใช้ ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 หรือ ข้อ 3 หรือ ข้อ 4 ในการเข้าสู่เกณฑ์ที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างไม้ ระดับ 4 ก็ได้ค่ะ...
  • http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/534/292/original_bbb1.pdf?1285800442

อยากได้บัญชีอัตราเงินค่าจ้างส่วนราชการ ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ (ที่โรงเรียนมีตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ชั้น 3) แนบไฟล์ทาง e-mail ให้ด้วยจักขอบพระคุณยิ่งครับ

ตอบ...คุณตะวัน ตลอดไธสง

  • ลองศึกษาไฟล์ด้านล่างนี้ดูนะคะ และค่อย ๆ ศึกษาค่ะ จากบล็อกด้านบนเป็นเรื่องใหม่สุดค่ะ...
  • http://www.gotoknow.org/blog/bussayamas46/436348

 

 

จิรัชยาพร ยิ้มประดิษฐ์

ขอเรียนถามนะคะ

เป็นลูกจ้างประจำ เพิ่งได้รับการปรับจากพนักงานพิมพ์ดีด 1 เป็น พนักงานพิมพ์สายสนับสนุน 2 คะ ถ้าเกษียณอายุราชการจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณคะ

เรียนบุษยมาศ

ลกจ้างประจำที่เกษียรณอายุราชการ ไม่ทราบว่าสวัสดิการต่างๆยังได้รับอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า ถ้ามี มีอะไรบ้าง

ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ

ตอบ คุณจิรัชยาพร + คุณคนดอนทราย

• ปัจจุบันเห็นมีแต่สิทธิ เรื่อง การรับบำเหน็จรายเดือน เรื่องเดียวนะคะ

• สำหรับเรื่องสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ อยู่ในระหว่างที่กระทรวงการคลังตรวจสอบข้อมูลค่ะ...

• ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงให้ลูกจ้างประจำได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของลูกจ้างประจำที่กระทรวงการคลังกำหนด ทุกกระทรวงใช้แนวทางเดียวกันหรือเปล่าคะ เช่น สพฐ.

ขอบคุณค่ะ ...พี่บุษ

ตอบ...คุณปรารถนา...

  • ลูกจ้างประจำของ สพฐ. ก็ใช้ระเบียบนี้จ้า...จึง...
  • สบายดีไหม?...
  • คิดถึงเสมอจ้า...

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕  ทุกท่านค่ะ

ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนระบบใหม่ ทำให้อัตราค่าเดินทางไปราชการในระดับพนักงานราชการ-ลูกจ้างประจำ

สามารถใช้บริการที่เบิกสิทธิได้มีอะไรบ้าง

ตอบ คุณโขมพัสตร์

เป็นระเบียบของทางงานการเงินเกี่ยวกับอัตราค่าเดินทางไปราชการค่ะ

ลองคลิกเข้าไปยังกรมบัญชีกลางดูสิค่ะ เกี่ยวกับสิทธิในการเดินทางไปราชการนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากพนักงานพิมพ์ ระดับ ส 3 เป็นพนักงานธุรการระดับ ส 3 ผ่านการประเมินจากต้นสังกัดแล้วค่ะ แต่ทางคณะกรรมการอยากได้เหตุผลที่ทำไมถึงต้องการปรับเปลี่ยนสายงาน ดิฉันอยากให้อาจารย์ให้ความกระจ่างกับดิฉันหน่อยค่ะ ปัจจุบันดิฉันทำงานด้านธุรการโดยตรงเลยค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

ตอบ คุณพนักงานพิมพ์

การที่คุณปรับเปลี่ยนเป็นพนักงานธุรการ ระดับ 3 นั้น เป็นเพราะคุณปรับเปลี่ยนให้ตรงกับสายงานที่คุณกำลังดำเนินการปฏิบัติอยู่ เพื่อให้ตรงสายงาน เพราะจะได้นำความรู้ ความสามารถที่มี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานมากกว่า พนักงานพิมพ์ ค่ะ เพราะถ้ายังเป็นพนักงานพิมพ์เช่นเดิม ลักษณะงานที่ปฏิบัติจะไม่ตรงกับสายงานที่ตนเองได้รับผิดชอบ ซึ่งเป็นไปตามภาระงานที่ส่วนราชการกำหนดให้ปฏิบัติค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ เข้ามาอ่านแล้วได้ความรู้มากๆ ดีใจกับพี่น้องลูกจ้างประจำที่มีอาจารย์ให้คำปรึกษาไขข้อข้องใจกับปัญหาต่างๆอยากให้กำลังใจอาจารย์ให้อยู่เป็นเสาหลักกับพวกเราที่ด้อยโอกาสหาผู้จริงใจให้คำปรึกษายากมากอาจเป็นเพราะเขาไม่รู้หรือเขาไม่ใส่ใจก็ไม่รู้นะ แต่สำหรับอาจารย์แล้วผมนับถือน้ำใจที่แสนงดงามนี้อย่างสูงขอใ้ห้อาจารย์คงไว้ซึ่งความดีงามตลอดไปเป็นข้ารับใช้แผ่นดินที่ทรงคุณค่าของประเทศไทยจวบจนฟ้าดินสลาย

ตอบ ช่างครุภัณฑ์ สท. 1

ขอบคุณค่ะ เป็นหน้าที่ของผู้เขียนอยู่แล้วค่ะ ในเมื่อรู้ ก็ต้องการให้ทุกคน ได้รู้เหมือน ๆ กับที่เรารู้ เพราะปัจจุบันเป็นโลกของการจัดการความรู้จริง ๆ อยู่ที่ใครจะอุทิศหรือสละเวลาให้กับประเทศชาติได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกของการเป็นข้าราชการจริง ๆ ค่ะ ผู้เขียนเพียงอยากเห็นการพัฒนาของประเทศเป็นไปอย่างจริงจัง การพัฒนานั้น ต้องมาจาก "คน" ก่อน ในเมื่อคนมีการพัฒนาแล้ว ต่อ ๆ ไป ก็จะพัฒนาตามกันมาเองค่ะ...

อีกอย่างการทำงานในปัจจุบัน ควรลดเรื่อง "อำนาจ" ได้แล้ว ควรทำงานที่เป็นไปตามภาควิชาการจริง ๆ คือ "การทำงานเป็นทีม"...การทำงานตามหน้าที่ ตามตำแหน่งที่ได้รับผิดชอบ ฯลฯ ข้อสำคัญ การทำงานภาคราชการ ต้องไม่เลือกปฏิบัติที่จะทำ ยิ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของคนในสังกัด ยิ่งต้องดูแลให้ทั่วถึง ไม่ควรเลือกปฏิบัติ เพราะเขาทำงาน เขาก็ต้องต้องการขวัญ กำลังใจ + ความสุขในการทำงานกันทุกคน อย่าลืมว่า!!!...คนเราที่เกิดมาเป็นมนุษย์ มีความต้องการเหมือนกันทุกคน...ไม่ควรแบ่งชนชั้นหรือศักดินาในการทำงานในส่วนของราชการค่ะ เพราะถ้าทำแบบนั้น ประเทศชาติจะไม่พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นค่ะ...

เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานภาครัฐทุก ๆ คนค่ะ...และขอขอบคุณสำหรับคำชมค่ะ

รบกวนเรียนถามอาจารย์ค่ะ   ดิฉัน  ลูกจ้างประจำของเทศบาล  ตำแหน่ง  เจ้าพนักงานธุรการ

วุฒิ  ป.ตรี   เงินเดือน  12810  มีสิทธิ์จะได้รับ   15000  หรือเปล่าค่ะ 

 

 

 

 

 

ตอบ คุณธัญญาพร...

สำหรับลูกจ้างของเทศบาลให้สอบถามที่งานบุคคลหรืองานการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดดูนะคะ เพราะปัจจุบันภาครัฐกระจายอำนาจให้แต่ละสังกัดแล้วค่ะ

เรียน คุณบุษยมาศ ค่ะ

        ดิฉันอยากสอบถามเกี่ยวกับมาตรฐานตำแหน่งแม่บ้านค่ะว่า แม่บ้าน 1 คน มีข้อกำหนดในการทำความสะอาด เป็นพื้นที่กี่ตารางเมตรต่อวัน สามารถดูมาตรฐานหรือข้อกำหนดนี้ได้จากที่ไหนได้บ้างค่ะ

ตอบ คุณสิริรัตน์

  • ไม่ทราบจริง ๆ ค่ะ ลองสอบถามไปยังสำนักงาน ก.พ.ดูสิคะ
  • แต่ตอนนี้ ตำแหน่งแม่บ้านถือว่าเป็นตำแหน่งเหมาจ่ายแล้วนี่คะ

ขอบคุณมากค่ะ เดี๋ยวดิฉันจะลองสอบถามสำนักงาน ก.พ. ดูค่ะ

ตำแหน่งแหน่งแม่บ้านเดิมอย๋ในหมวดฝีมือและตามระบบใหม่ตำแหน่งแม่บ้านตามระบบใหม่อยู่ในกลุ่มบรการพี้นฐานระหัสตำแหน่ง 1104และหน้าที่โดยย่อของตำแหน่งแม่บ้านระดับ1ก็ควบคุมดูแลการทำความสะอาดภายในและภายนอกสำนักงานรวมทั้งบริเวรสิ่งแวดล้อมของสำนักงานให้สะอาดสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดทำทะเบียนการอนุญาตใช้ห้องประชุมจัดบริการอาหารว่างอาหารระหว่างประชุมช่วยเหลือดูแลความเรียบร้อยของระบบต่างๆเช่น ระบบเครี่องเสียง ระบบไฟ เครี่องปรับอากาศเป็นต้น ประสาน รับ-ส่งหนังสือในงานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ตำแหน่งแม่บ้านระดับ2 หน้าที่โดยย่อ คล้ายๆกับแม่บ้านระดับ 1. อยากเรียนถามท่านอาจารย์วว่าตอนนี้หนูทำงานในตำ พรือไม่คะนักงานบริการระหัสที่1117จะขอเปลี่ยนเป็นตำแหน่งแม่บ้านดีห

อาจารย์ครับทำไมตำแหน่งแม่บ้านที่กพได้กำหนดหน้าที่ไว้ระห้สแหน่ง1104มีสองระดับมันเป็นตำแหน่งเดียวกันกับแม่บ้านจ้างเหมาหรือเปล่าตำแหน่งแม่บ้านที่กพ.กำหนดไว้เดิมอยู่ในกลุ่มฝีมือและปัจจุบัญอยู่ในกลุ่มบริการพื้นฐานแลกำหนดหน้าที่โดยย่อไว้ทั้งอัตราค่าจ้างชัดเจนมีคนสงสัยว่าเป็นพนักงานบริการระห้สตำแหน่ง1117ขอเปลียนเป็นตำแหน่งแม่บ้านได้หรือไม่อย่างครับ

ระหว่างตำแหน่งแม่บ้านระหัสตำแหน่ง1104ซึ่งอยู่ในหมวดฝีมือเดิมปัจจุบัญอยู่ในกลุ่มบริการพื้นฐาน และตำแหน่งพนักงานบริการเดิมอยู่ในหมวดกึ่งฝีมือปัจจุบัญอยู่ในกลุ่มบริการพื้นฐานนั้นตำแหน่งแม่บ้านมีสิทธิ์ได้รับเครื่องราชอิสราภรณ์แต่พนักงานบริการไม่มีสิทธิืไดรับเครื่องราชฯตำแหบ่งพนักงานบริการจะขอเปลี่ยนเป็นตำแหน่งแม่บ้านได้หรือไม่อย่างไร?เพราะหน้าทีโดยย่อที่กพ.กำหนดไว้ทั้งสองตำแหน่งไกล้เคียงกันและสามารถทำหน้าที่ได้อย่างกลมกลืนกัน ขอให้ท่านอาจารยืแดงความคิดเห็นด้วยครับ

เรียน คุณสม + คุณพากเพียร + คุณPakpian

      ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ที่คุณสังกัดอยู่นะคะ


ดิฉันรบกวนสอบถามเกี่ยวกับสมุดลงเวลาทำงานของข้าราชการครู  ว่ามีอยู่ในระเบียบสารบรรญหน้าไหนข้อไหน  ดังนี้คือที่โรงเรียนสมุดลงเวลาจะมีการพิมพ์ชื่อของข้าราชการครูไว้ทุกคนไม่ว่าใครจะมาตอนไหนก็ต้องไปลงตามลำดับของตนเองจึงไม่มีการเรียงเวลาว่าใครมาก่อนมาหลังตัวอย่างเช่นดิฉันมีชื่ออยู่ในลำดับที่๓๘  มา ๐๗.๐๐  ก็ต้องไปลงเวลาตรงหมายเลข๓๘เพราะชื่อของตนเองอยู่ลำดับนั้น  ในขณะที่คนลำดับที่ ๗  มาทำงานเวลา ๘.๐๐ ก็ลงเวลาที่ ลำดับที ๗  ได้สอบถามคำตอบที่ได้คือทำตามระเบียบสารบรรณทำให้เกิดความสงสัยว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือมีระเบียบแบบนี้ด้วยหรือ  ขอความกรุณาแนะนำหรือช่วยลงระเบียนสารบรรณที่ว่านี้ให้ทราบด้วย   ขอบพระคุณมากค่ะ

ตอบ คุณ nat sonlex

        การลงเวลาทำงานนั้น เป็นระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ มีประกาศให้ปฏิบัติไว้นานแล้วค่ะ คือ เริ่มทำงานก่อน 08.30 น. เลิกงาน 16.30 น. และให้มาก่อนประมาณ 15 นาที แต่สำหรับการลงชื่อเวลานั้น จริง ๆ แล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงชื่อให้หรอกค่ะ เว้นว่างไว้ คือ ถ้าใครมาก่อนก็เขียนชื่อ -  นามสกุลเต็ม แล้วก็ลงลายเซ็นต์ชื่อและเวลา (ตามความจริง) นะคะ คนต่อมา มาเวลาเท่าใดก็ลงชื่อ ต่อ ๆ กันไปค่ะ นี่คือ การปฏิบัติที่ถูกต้องและเป็นธรรมให้กับข้าราชการค่ะ ลองนำไปเสนอให้ ผอ.ร.ร. ทราบนะคะ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เป็นธรรมให้กับข้าราชการที่เขามาเช้าแต่ต้องไปเซ็นต์ชื่อเข้าทำงานหลังคนที่มาทำงานสายค่ะ ในระเบียบสารบรรณไม่มีหรอกค่ะ

มีประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณค่ะ

อยากทราบว่าเดิมเป็นลจ.ประจำ (ตำแหน่งจนท.การเงิน)  จะเปลี่ยนเป็๋นนวก.การเงิน  และนวก.คลัง  จะต้องดูว่าอยู่ในหมวดไหนค๊ะ

อยากเห็นน้องก้าวหน้า

          น้องของดิฉันเป็นลูกจ้างชั่วคราวของ รร. มา 5 ปี (ใช้วุฒิ ม3) และเพิ่งได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำที่ รร.เดิม มา 3 ปีกว่า ในตำแหน่งเดิม คือ พี่เลี้ยง  ในกลุ่มงานสนับสนุน รหัส 2318  ระดับ 1 เงินเดือนปัจจุบันอยู่ที่ 5,840 ค่ะ  (ตอนนี้น้องจบ ป.ตรี การจัดการฯ และเรียนต่อได้ ป.บัณฑิตวิชาชีพครูแล้วด้วย) ดิฉันอยากปรึกษา อ.บุษยมาศ ดังนี้ค่ะ

      1. น้องดิฉันอยากจะเปลี่ยนเป็นสายงาน ครูช่วยสอน ในกลุ่มงานเดียวกัน (รหัส 2324) ต้องทำอย่างไรบ้างคะ

           - ต้องปรับชั้นงานจาก  พี่เลี้ยง ระดับ 1 เป็น 2 ให้ครบ 5 ปีก่อนไหมคะ  หรือว่าจะเปลี่ยนเป็น ครูช่วยสอนได้เลยคะอาจารย์

      2. หากอาจารย์มีคำแนะนำที่ดีกว่านี้  ช่วยอนุเคราะห์คำแนะนำให้น้องของดิฉันด้วยนะคะ

                                                ขอบคุณมากๆ ค่ะอาจารย์ที่ให้โอกาสแก่ผู้น้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท