การสร้างตัวตน "คนไทยพลัดถิ่น"


สิ่งเหล่านี้สะท้อนศักดิ์ศรีความเป็นคน ที่ยอมรับประวัติศาสตร์และรากเหง้าของตนเองอย่างภาคภูมิใจ และน่าจะมีคุณค่ากว่า สัญชาติไทยในแผ่นกระดาษ

เกือบอาทิตย์ที่ได้ลงพื้นที่จังหวัดระนอง เพื่อสำรวจชุมชนและสัมภาษณ์พี่น้องไทยพลัดถิ่นบางคน ที่จะเลือกเป็นตัวแทนนำเสนอปัญหาศักดิ์ศรี สิทธิและสถานะบุคคล ในงานวิจัยครั้งนี้ 

สิ่งหนึ่งที่เด่นชัด และมีความแตกต่างมาก หากเทียบกับประสบการณ์ทำงานด้านสถานะบุคคลกับพี่น้องชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง ก็คือ ความสำนึกในความเป็นคนไทยที่ไม่ยึดติดกับเวลาและพื้นที่ 

แม้พี่น้องชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงหลายต่อหลายคน ที่เดินทางเข้ามาอาศัยในประเทศไทยนับสิบๆ ปีแล้ว แต่เมื่อสอบถามพูดคุย อาจเพราะต้องการสัญชาติไทยตามกฎหมาย ส่วนใหญ่จึงมักพยายามยืนยันหนักแน่นว่า เกิดที่นี่ บนแผ่นดินไทยนี้ หลายคนยอมที่จะบอกว่าตนไร้รากเหง้า พ่อแม่ตายหมดแล้ว จะมีที่กล้าพูดความจริงก็เมื่อรู้จักเป็นการส่วนตัว  

ผิดกับพี่น้องไทยพลัดถิ่นชายแดนภาคใต้ที่เพิ่งได้มาพูดคุยกันไม่ถึงสัปดาห์นี้ ที่แม้จะกล้าบอกเล่าว่าพวกเขาและเธอเพิ่งเข้ามาจากประเทศพม่า มาอาศัยกับพี่น้องในฝั่งไทย แต่ก็ยืนยันหนักแน่นว่าไม่กลัว เพราะพวกเราเป็นคนไทย บรรพบุรุษเราอยู่ที่นี่ เราไม่ใช่คนพม่า  หลายคนที่มีสัญชาติไทย ก็กล้าที่จะบอกเล่าว่า ลูกของตนไปเกิดที่ฝั่งพม่า 

สิ่งเหล่านี้ สะท้อนศักดิ์ศรีความเป็นคน ที่ยอมรับประวัติศาสตร์และรากเหง้าของตนเองอย่างภาคภูมิใจ  และน่าจะมีคุณค่ากว่า สัญชาติไทยในแผ่นกระดาษ !!

หมายเลขบันทึก: 34988เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
งั้นก็ยกร่าง พ.ร.บ.คืนสัญชาติไทยให้คนไทยจากมะริดเสียซิจ๊ะ ต้องตี๋
ความกล้าหาญของชาวบ้านที่กล้าจะบอกเล่า "ความจริง" แก่นักวิจัยเป็นสิ่งสะท้อนความไว้เนื้อเชื่อใจกันได้เป็นอย่างดีอย่างหนึ่งครับ อันนี้ผมก็พลอยภูมิใจกับคุณสรินยาด้วย ส่วนตัวผม เห็นว่า การที่ชาวบ้านจะกล้าหรือไม่กล้านั้น ขึ้นอยู่กับกาละ เทศะ (space & time)และปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจ (power relation)ระหว่างบุคคลด้วย ถ้าผมเป็นตำรวจตรวจคนเข้าเมือง หรือเป็นนายอำเภอ หรือคนมีสีที่ชาวบ้านไม่รู้จัก ชาวบ้านเขาคงไม่บอกผมอย่างที่กล้าคุยกับคุณสิรินยา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีนะครับ ที่ชาวบ้านไม่พูดความจริงในทุกบริบท เพราะการพูดความจริงโดยไม่วิเคราะห์กาละเทศะและบุคคล แม้จะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในความเป็นมนุษย์ แต่ก็การเสี่ยงต่อการถูกย่ำยีบีฑา ตราบใดที่อีกฝ่ายที่รับรู้ มีอำนาจบดขยี้พวกเขาอยู่ ในความเป็นจริง นักวิจัยและนักพัฒนาหัวก้าวหน้า(รวมถึงนักพัฒนาแนวอนุรักษ์นิยม) ส่วนใหญ่ มักจะเป็นผู้กระตุ้นนำให้ชาวบ้านกล้าแสดงอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ รากเหง้าดั้งเดิมของตนอย่างสุดโต่ง ซึ่งเป็นดาบสองคมนะครับ หากแสดงออกไปโดยไม่พินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน การยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มีสองด้านครับ ด้านที่ทำให้ชาวบ้านตนเองภาคภูมิใจ และด้านที่เปิดช่องให้ฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่ามาหมายหัวชาวบ้านไว้เพื่อใช้เป็นจุดอ่อนบ่อนทำลายได้ด้วย ภายใต้บริบทนี้ จึงต้องระวัง มิให้ชาวบ้านแสดงอัตลักษณ์ประวัติศาสตร์รากเหง้าของตนโดยไม่วิเคราะห์เงื่อนไขด้านเวลา สถานที่ และบุคคลอย่างรอบคอบก่อนนะครับ เจตนาดีของเรา ถ้าไม่รอบคอบ บางทีผลมันก็ออกมาอีกอย่างได้เหมือนกัน ผมก็พลาดมาหลายครั้งแล้วครับ
¢Íº¤Ø³¤ÇÒÁàË繢ͧ¤Ø³ÂÍ´´Í¤èÐ ´Ô©Ñ¹¡çà»ç¹Ëèǧ㹻ÃÐà´ç¹¡ÒáÃеØé¹ãËéªÒǺéÒ¹µÃÐ˹ѡ¶Ö§»ÃÐÇѵÔÈÒʵÃì¢Í§µ¹ÁÒ¡à¡Ô¹ä»àªè¹¡Ñ¹¤èÐ à¾ÃÒÐàÁ×èʹԩѹÁͧã¹ÁØÁ¡ÒÃá¡é»Ñ­ËÒÊÔ·¸Ôã¹Ê¶Ò¹ÐºØ¤¤ÅµÒÁ¡®ËÁÒÂä·Â ¡çÍ´à»ç¹Ëèǧ¾Õè¹éͧä·Â¾ÅÑ´¶Ôè¹àËÅèÒ¹ÕéäÁèä´éÇèÒ ¡Òö١ãËé¤ÇÒÁÃÙéãËéàÃÕ¡Ãéͧ¡Òà "¤×¹ÊÑ­ªÒµÔä·Â" â´Â»¯Ôàʸªèͧ·Ò§¡Òà "á»Å§ÊÑ­ªÒµÔä·Â" ·Õè·Ò§ÃÒª¡ÒÃÁÕ¹âºÒÂÍÂÙèáÅéÇ 100% ¨ÐÂÔ觷ÓãËé¾Ç¡à¢ÒµéͧÃͤÍÂÊÔ·¸ÔµÒÁ»ÃÐÇѵÔÈÒʵÃì¢Í§¾Ç¡à¢ÒÍÕ¡¹Ò¹à·èÒäáѹ ËÃ×ͤÇèÐàÃè§á¡é䢻ѭËҢͧµ¹Çѹ¹Õé à¾×èÍ͹Ҥµ¢Í§ÅÙ¡ËÅÒ¹ÁÒ¡¡ÇèÒ ¤ÇÒÁ¨ÃÔ§¹èÒ¨ÐãËé¤ÇÒÁÃÙé¤ÇÒÁà¢éÒ㨷ÕèÃͺ´éÒ¹á¡èªÒǺéÒ¹ áÅéÇãËé¾Ç¡à¢ÒÁÕÍÔÊÃзÕè¨ÐàÅ×Í¡ªÕÇÔµ¢Í§¾Ç¡à¢ÒàͧÁÒ¡¡ÇèÒ¡ÒᴴѹãËéªÒǺéÒ¹äÁèÍҨᵡ¡Ãкǹ¡Òâͧà¤Ã×Í¢èÒ ´Ô©Ñ¹àͧ¡çàÃÔèÁäÁèá¹èã¨àËÁ×͹¡Ñ¹ÇèÒ ¡ÒÃãËéªÒǺéÒ¹ÃÇÁµÑǡѹà»ç¹à¤Ã×Í¢èÒ ¨ÐªèÇÂãËéªÒǺéÒ¹à¢éÁá¢ç§ËÃ×ÍäÁèÁÕÍÔÊÃÐ㹡ÒÃàÅ×Í¡ªÕÇÔµ¢Í§µ¹¡Ñ¹á¹ è!

ขอบคุณคำแนะนำของคุณยอดดอยมากค่ะ

ดิฉันเองก็กำลังเป็นห่วงประเด็นที่คุณเตือนอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะดาบอีกคมที่ดิฉันมองว่ามันกำลังหันไปหาชาวบ้านกลุ่มนี้ ที่ถูกกระตุ้นให้ชูประวัติศาสตร์ของตนแบบปฏิเสธกฎหมาย กลัวว่ามันกำลังไปสู่ทางตัน หรือไม่ก็ให้ชาวบ้านต้องรอคอยการ "คืนสัญชาติไทย" ตามที่พวกเขาเรียกร้อง โดยไม่รู้ว่าเมื่อไร??

พยายามเรียนรู้งานสร้างความเข้มแข็งให้ชาวบ้านของเอ็นจีโอ โดยการให้ชาวบ้านรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อเรียกร้องในสิ่งเดียวกันอย่างมีพลัง

แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีโอกาสคุยกับชาวบ้านบางคน ที่เป็นห่วงอนาคตของลูกหลาน แต่ไม่กล้าเลือกทางแก้ปัญหาให้ตัวเองที่ต่างไปจากข้อเรียกร้องของเครือข่าย ทั้งที่กฎหมายและนโยบายก็เปิดทางอยู่

บางทีก็สงสารชาวบ้านที่อยู่ในกองไฟ และอยากออกจากกองไฟให้เร็วที่สุด แม้จะมองเห็นทาง แต่ก็ไม่กล้ากระโดดออกมา กลัวถูกมองว่า นึกถึงแต่ตัวเอง !!

 

ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง คงยากนะครับที่การต่อสู้ใดๆจะไม่มีการสูญเสียเลย โดยเฉพาะเรื่องการต่อสู้เพื่อคนที่ถูกรังแก............... อันนี้ เป็นเงื่อนไขที่เจ็บปวด แต่ผมว่า ยิ่งเลี่ยงยิ่งเจ็บ ดังนั้น ถ้าคุณกับผมหรือใครต่อใครจะเลือกเดินทางสายนี้แล้ว การถูกด่าทอ รังเกียจ ต่อต้าน หมั่นไส้ ทำร้ายจากคนที่สูญเสียอำนาจและคนอีกมากที่ไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของเราย่อมเกิดขึ้น เป็นธรรมดา................. แต่ความเจ็บปวดเหล่านี้แหละครับ ที่ทำให้เราต่างเติบโตอย่างมีคุณค่า เข้าใจและปฏิบัติภารกิจชีวิตของทุกวันได้อย่างมีความหมาย .....................ผมไม่ได้ตั้งใจจะรบกวนความตั้งใจของคุณแม้แต่นิดเดียวนะครับ และไม่อยากให้คิดสงสัยสิ่งที่ตัวเองทำ มีปัญญาชนไม่มากหรอกครับ ที่เลือกเดินบนถนนสายนี้.............................ผมชอบพระราชดำรัสของในหลวงครับ ที่สอนให้เราหมั่นปิดทองหลังพระ สิ่งที่คุณสรินยาทำก็เป็นการปิดทองหลังพระนะครับ และกรรมดีก็เกิดขึ้น นับตั้งแต่วินาทีที่คุณคิดดีต่อผู้ยากไร้เหล่านี้อยู่แล้ว ผมคิดว่า ชาวบ้านเขารู้ว่าเรื่องสัญชาติมันยาก แต่คุณก็ได้ช่วยเขาแล้ว คืออย่างน้อย ก็ช่วยให้เขารู้สึกว่าชีวิตเขามีความหมายที่จะสู้ต่อไป เพราะมีคนกลุ่มน้อยๆอย่างพวกเราที่อยู่เคียงข้างพวกเขาครับ

ขอบคุณค่ะ

ดิฉันเองเคยมีประสบการณ์ตรงแบบแรงมากกับการช่วยชาวบ้านจับคอรัปชั่นเรื่องบัตรนี่แหละ ปรากฏว่าผู้เสียผลประโยชน์ปลุกม็อบชาวบ้านหลายร้อยคนมาประท้วง หาว่าพวกเราจะทำให้พวกเขาไม่ได้สัญชาติ

แต่แน่นอน อย่างที่คุณว่า ความเจ็บปวด ก็เป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้พวกเราเข้มแข็ง และชัดเจนในหนทางที่พวกเราเลือกเดินมากยิ่งขึ้น ....... ในแบบของเรา

ขอแลกเปลี่ยนด้วนนะค่ะ  จ่อจากพี่สรินยาละกัน

ว่าด้วยคำว่า   "  ต่างด้าว   "

คำๆนี้  ถ้าไปบอกให้กับพี่น้องเชื้อสายกะเหรี่ยงฟัง  ...เขาจะ......นิ่ง......และปฏเสธไปก่อนเลยว่า  ไม่เอา  ไม่เอา  เราไม่เอาต่างด้าว....และจะไม่ยอมทำความเข้าใจเลย.......เมื่อนุชอธิบายต่อจากคำว่าต่างด้าว....เป็นเรื่อง..สถานะ....................

"  สถานะต่างด้าว  "

ไม่เอา  ไม่เอา    เราไม่เอาต่างด้าว (ชาวบ้านพูด)......โดยที่อาจจะไม่เข้าใจในสำเนียงภาษาที่นุชพยายามสื่อสารว่า  สถานะต่างด้าวคืออะไร    ....นุชจำต้องหลอกพวกเขา....ไปว่า

จะทำวีซ่าให้เหมือนฝรั่งนะ................ฝรั่งก็เป็นต่างด้าวเหมือนกันนะ........................

จนกระทั่งวันนี้................พี่น้องกะเหรี่ยง......บางคนที่เชื่อได้ว่าเขาเกิดในประเทศไทยแท้ๆ......แต่ต้องมายอมรับ.....สถานะต่างด้าว.........เพียงเพราะเอกสารที่เขาถืออยู่....ดันมีทะเบียนประวัติเขียนว่า  เขาเกิดพม่า........

เมื่อนุชถามชาวบ้านว่ารู้ไหมว่าทำไมเขาเขียนว่าเกิดพม่าละ   ...พี่น้องตอบนุชว่า.....ก็เจ้าหน้าที่เขาไม่ได้ถามเลยนี่นา.....มารู้ทีหลังว่าเกิดพม่าก็ที่พี่นุชบอกเนี่ย......แต่ไม่นะ   แม่ผมบอกว่าผมเกิดตรงนี้ไงที่พี่นุชยืนอยู่........

 และวันนี้  ...ท่านรัฐมนตรีได้อนุมัติให้สถานะต่างด้าวกับชายผู้นี้แล้ว.......แต่อยู่ระหว่างการรอ...ไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว   ใบสำคัญถิ่นที่อยู่  และสำเนาทะเบียนบ้าน  (เอกสารหลายชิ้นที่ไม่รู้ว่าจะเข้าใจไหมว่าคืออะไร  อยู่ๆก็ต้องมาถือสมุดเล่มเล็กๆถึง 3 เล่ม ) และชายคนนี้จะต้องถือเอกสารที่ระบุว่าเขาเป็นคนต่างด้าว...ไปตลอดชีวิตของเขา 

เป็นความรู้สึก...แย่ที่สุดสำหรับตัวนุช  เป็นประสบการณ์ที่นุชต้องนำมาเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า....จะทำงานต่อไปได้หรือ  ถ้ายังอธิบายให้ชาวบ้านไม่เข้าใจ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท