มอ.นำการจัดการความรู่สู่พันธกิจหลัก


ด้านการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น มีการเพิ่มเติมการทำ workshop เพื่อแก้ปัญหาในประเด็นร่วม(หัวปลา)จะเชิญผู้เกี่ยวข้องและชำนาญในเรื่องนั้นๆมาร่วมแลกเปลี่ยน

              กระบวนการจัดการความรู้ใน มอ.ที่ผมเคยเล่ามาแล้วว่าเกิดในสายสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ใน 2 ปีแรก และในปีนี้มีแผนที่เชื่อมโยงสู่พันธกิจหลัก 4 ด้านของมหาวิทยาลัย

มีการจัดตลาดนัดการจัดการความรู้ ด้านวิจัยไปแล้ว(ปลายปี 48)ในชื่อ"ตลาดนัดการจัดการความรู้:การบริหารงานวิจัย" หัวปลาคือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นการบริหารงานวิจัย 3 level คือผู้บริหารงานวิจัย  นักวิจัย  และสายสนับสนุนด้านงานวิจัย  เพื่อการเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้พร้อมกันไปด้วย   หลังจากนั้น กระบวนการคล้ายๆตลาดนัดได้ถูกนำไปใช้เวที ลปรร. หลาย ๆ เวที  โดยกลุ่มคนที่ได้เข้ากระบวนการนำไปเผยแพร่และขยายผล 

กิจกรรมที่เข้าใกล้ พันธกิจหลักอีกอย่างคือ ด้านการเรียนการสอน การจัดให้มีขั้นตอนการ ลปรร.จากอาจารย์รุ่นเก่าสู่อาจารย์รุ่นใหม่ ในหลายทุกเวทีที่มีเป็นปกติอยู่แล้ว การปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ บรรจุช่วงการถ่ายทอดประสบการณ์ของอาจารย์รุ่นเก่าสู่อาจารย์ใหม่ และหลักสูตร "การสอนเบื้องต้น" อาจารย์บรรจุใหม่ต้องเข้าติวเข้มเรื่อง "การสอน" และเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างเพื่อนอาจารย์ใหม่ด้วยกัน  เราใช้อาจารย์รุ่นพี่ที่มีความเด่นในทักษะการเรียนการสอนมาทำหน้าที่เป็นครูต้นแบบให้อาจาย์รุ่นน้อการเรียนรู้เรื่อง  "วัฒนวิถีของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย"   "ความสุขที่พึงมีในอาชีพครู"  รวมถึง"จรรยาบรรณในวิชาชีพรู" "เทคนิคการสอน" "ฝึกปฏิบัติการสอน (Micro teaching)"กระบวนการของหลักสูตรรวมแล้ว 48 ชั่วโมง  เรียนรู้จากอาจารย์เก่าและเก่ง ถ่ายทอดสู่อาจารย์รุ่นน้อง ๆ  มีทีมอาจารย์พี่เลี้ยง
เกือบ 20คน ที่ร่วมรับผิดชอบ และจัดเวลาเพื่อการกินนอนด้วยกัน จากผลของการทำเช่นนี้อาจารย์รุ่นพี่ก็จะมี ความภูมิใจที่ได้ถ่ายทอด Tacit ของตนสู่คนรุ่นหลังและคนรุ่นหลังมีโอกาสได้รับเทคนิคแนวทางการสอนที่เป็นต้นแบบเพื่อการ เริ่มต้นชีวิตครูที่ดี เมื่อมีปัญหาใดๆ ในภายหลังก็ยังคงเป็นเครือข่ายการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องในด้านการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เห็นได้ชัดเจนขึ้น มีการเพิ่มเติมการทำ workshop เพื่อแก้ปัญหาในประเด็นร่วม(หัวปลา)จะเชิญผู้เกี่ยวข้องและชำนาญในเรื่องนั้นๆมาร่วมแลกเปลี่ยน เช่น  "workshop ร่วมคิดเรื่องการดูแลนักศึกษาอ่อน" แลกเปลี่ยนกันจนในที่สุดออกมาเป็นมาตรการการดูแลนักศึกษาที่อ่อน  จัดอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาพิเศษ ในเรื่องการปรับตัวการลงทะเบียนเรียน การมีเครื่องมือช่วยเรียน และในทุกๆ ครั้งของความคืบหน้า ท่านอธิการบดีก็จะเขียนเล่าเรื่องถ่ายทอดสู่ประชาคมใน อธิการบดีเล่าสู่ประชาคม  ด้วยตนเอง สำหรับพันธกิจการบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยังไม่เข้าไปเกี่ยวข้องเท่าไรนัก ซึ่งประเด็นนำสู่พันธกิจหลักข้างต้นจะมีการคุยกันในรายละเอียดกับท่านอธิการบดีในวันที่ 25 กรกฏาคม นี้

 

หมายเลขบันทึก: 34967เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เป็นกิจกรรมที่ดีเยี่ยมครับ
  • อาจารย์ใหม่จะรู้สึกดีไม่รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท