มั่นใจ!!!...สุขภาพชุมชนดีขึ้นแน่..จากพยาบาลพันธ์ใหม่


หากตนเองต้องไปเป็นพยาบาลในชุมชน ตนเองจะจัดการอย่างไร เพื่อสามารถให้การดูแลสุขภาพครอบครัวได้อย่างครอบคลุมกับปัญหา และความต้องการ คำตอบของเจ้าหน้าที่ที่ว่า "เจ้าหน้าที่ขาดแคลน ไปเยี่ยมผู้ป่วยทุกครอบครัวไม่ได้" คงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
จากการลงได้ไปสัมภาษณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่สุขภาพและประชาชนในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล ม.วลัยลักษณ์ นักศึกษาได้นำมาแรกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า หากตนเองต้องไปเป็นพยาบาลในชุมชน ตนเองจะจัดการอย่างไร เพื่อสามารถให้การดูแลสุขภาพครอบครัวได้อย่างครอบคลุมกับปัญหา และความต้องการ คำตอบของเจ้าหน้าที่ที่ว่า "เจ้าหน้าที่ขาดแคลน ไปเยี่ยมผู้ป่วยทุกครอบครัวไม่ได้" คงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ดังนั้นประเด็นแลกเปลี่ยน เรียนรู้ของนักศึกษาในวันนี้ คือ " ผ่าทางตัน...การจัดการสุขภาพของครอบครัว" นักศึกษาให้ความเห็นว่า " ชาวบ้านไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าความรู้สึก เอื้ออาธร ที่เห็นพยาบาลไปเยี่ยมเขาถึงบ้าน ตรงนี้เราน่าจะทำได้เลย” ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการทำMapping เพื่อให้ทราบว่า มีกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย อยู่ที่ไหน มีความรุนแรง หรือความช่วยเหลือมากน้อยเพียงใด พร้อมทั้งการเยี่ยมเยือนผู้ป่วยไปด้วย จากนั้นควร เจาะจง เลือกเยี่ยมกลุ่มที่จำเป็นก่อน เช่น มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือไม่มีผู้ดูแลเพื่อ ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน พร้อมกับการฝึกให้สามารถจัดการกับอาการ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองได้ "ตัวช่วยที่สำคัญของชุมชนคือเครือข่ายของชุมชนเอง เช่น เพื่อนบ้าน อสม. เพื่อช่วยเหลือดูแล และเป็นกำลังใจซึ่งกันและกันในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ"และให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่า ผู้ป่วย ครอบครัว หรือ กลุ่มที่ทำได้สำเร็จในการดูแลสุขภาพมาเล่าสู่กันฟัง นักศึกษายกตัวอย่าง ผู้ป่วยความดันที่ไม่สามารถลดระดับความดันของตนเองลงได้ หลังจากได้พูดคุยกับเพื่อที่มีปัญหาเดียวกัน ได้เริ่มมีกลุ่มมาคุยกัน กลุ่มนี้ได้ใช้ ผักคึ่นฉ้ายต้มดื่มนำกิน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันทำให้ระดับความดันลดลงได้ นักศึกษาอีกคน มองเห็นศักยภาพของเด็ก หรือกลุ่มเยาวชนที่น่าจะเข้ามามีส่วนร่วม ดูแลญาติของตนเองในครอบครัว และดูแลสุขภาพของเพื่อนบ้านได้ และมีอีกมากมายหลายแง่มุม ที่นักศึกษาได้เสนอแนวคิด ดังนั้นภาพในอนาคตของผู้ป่วยในชุมชน...ก็น่าจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง และมีความเข้าใจ วิถีชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น...จากพยาบาลพันธ์ใหม่เหล่านี้
หมายเลขบันทึก: 34937เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม
รู้สึกชื่นใจและชื่นชมกับพยาบาลสายพันธ์ใหม่ของวลัยลักษณ์จริงๆ ที่ให้การดูแลสุขภาพชาวบ้านด้วยความรักและความเอาใจใส่ มีมุมมองที่กว้างไกล ตั้งใจ จริงใจแก้ไขปัญหาสุขภาพ...เยี่ยมจริงๆ คะ
                                                ปิติกานต์ (OD มวล.)

     ชาวบ้านไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าความรู้สึก เอื้ออาธร ที่เห็นพยาบาลไปเยี่ยมเขาถึงบ้าน 
     ผมชอบตรงนี้ที่อาจารย์เขียนไว้ครับ เราทีมงานไตรภาคีฯ พบเช่นนี้ด้วยครับที่พัทลุง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท