km คือการทำสำเร็จแล้วจึงนำมาเล่า ไม่เอาความคิดฝันมาเล่า


แชร์เรื่องเล่าที่ทำมาด้วยกัน ไม่ได้เอาความคิดส่วนตัวมาแชร์
วันนี้ ท่าน ผอ.วิมล วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช และท่านรองฯ เกษร ธานีรัตน์ รองผู้อำนวยการ ได้นำทีม KM กศน.นศ. ไปเยี่ยมชม และติดตามงาน 2 แห่งด้วยกัน คือ ศบอ. ลานสกา และศบอ. พรหมคีรี ในภาคเช้าได้เข้าเยี่ยมชมที่ ศบอ. ลานสกา เป็นแห่งแรก ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากท่าน ผอ.เสียง หนูสุวรรณ ผู้อำนวยการ และทีมงาน กศน. ศบอ.ลานสกา โดยท่านผอ.เสียงได้กล่าวรายงานถึงการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ทั้งในสำนักงาน และงานในพื้นที่ พร้อมเอกสารประกอบอย่างครบถ้วนชัดเจน ต่อมาท่านผอ.วิมล วัฒนา ได้มอบนโยบายในภาพรวมของ กศน. ว่าควรจะปรับเปลี่ยนจากการศึกษาสายสามัญ ซึ่งมี ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ซึ่งเป็นหน้าที่การจัดการศึกษาในระบบอยู่แล้ว เป็นการจัดการศึกษาประชาชน ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการจัดการความรู้ นำเอาความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนมาตลอดชีวิต มาเทียบโอน และท่านยังได้กล่าวถึงการทำงานว่าให้ยึดหลักวิสัยทัศน์ของสำนักบริหารฯ คือจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทุกที่ ทุกเวลา อย่างทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชว่า นครฯ เมืองศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ เมืองเกษตรและท่องเที่ยว น่าอยู่ สู่สังคมพัฒนายั่งยืน โดยนำทั้ง 2 วิสัยทัศน์มารวมกันเป็นวิสัยทัศน์ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราชว่า กศน.ร่วมสร้าง นครฯ เมืองแห่งการเรียนรู้ จึงทำให้ของบประมาณผู้ว่า CEO ได้อย่างมากมายมหาศาล เพราะท่านผู้ว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช นายวิชม ทองสงค์ ท่านเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล อยากเห็นประชาชน ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงอนุมัติงบประมาณให้กับ กศน. นศ. หลายโครงการ ใน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการเรียนรู้ โครงการนครฯ เมืองแห่งการเรียนรู้ 2. ด้านเกษตร โครงการเกษตรอินทรีย์ การจัดทำปุ๋ยหมัก 3. ด้านความยั่งยืน โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครฯ การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญของ กศน. นศ. จะต้องนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการทำงาน คือก่อนทำอะไรต้องมีข้อมูลพร้อม ต้องรู้จริง โดยเฉพาะต้องมีการวางแผน ท่านรองฯ เกษร ธานีรัตน์ ได้กล่าวถึงการจัดการความรู้ โดยการนำโมเดลปลาทูมาใช้ว่า ส่วนหัวของปลาทู จะต้องทำวิสัยทัศน์ว่าทำเพื่ออะไร ส่วนตัวปลา จะต้องมาแชร์ความรู้กันในชุมชน ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดการข้อมูล วิธีศึกษา โดยการเล่าสู่กันฟัง ต้องคำนึงถึงการจัดคลังความรู้ และหาภูมิปัญญาเพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ส่วนหางปลา คือในส่วนของคุณกิจ จะต้องสร้างคลังความรู้เพื่อเชื่อมโยงไปยังเครือข่าย และส่งเสริมให้เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการจัดระบบการจัดเก็บข้อมูล ถ้าเราเอา 3 ส่วนมารวมกัน เพื่อดำเนินการร่วมกัน เพื่อรู้วิสัยทัศน์ว่าเป็นอย่างไร ส่วนที่จะได้จากคุณกิจ จะต้องนำมาพูดคุยกัน และท่านยังได้กล่าวว่าในการจัด KM ต้องเปิดใจยอมรับฟังทฤษฏีใหม่ๆ ที่ตัวเรา หรือคนอื่นค้นพบ เปิดตา คือการมองไกล มองกว้าง มองลึก ว่าจะนำส่วนไหนไปใช้ เปิดปาก คือนำสิ่งที่รับรู้มาเล่าสู่กันฟัง โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และท่านได้ยกตัวอย่างแดจังกึม ว่าเป็นคุณกิจที่ดี มีการจดบันทึกอาการของโรคต่างๆ อย่างดี สำหรับข้อควรระวัง คือ ควรแชร์เรื่องเล่าที่ทำมาด้วยกัน แต่ไม่ได้เอาความคิดส่วนตัวมาแชร์กัน ท่าน ผอ. วิมล ได้สรุปว่า การจัดทำ KM คือการทำที่สำเร็จแล้ว จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ไม่ได้เอาความคิดฝันมาเล่า ต้องทำ ต้องเรียน ต้องรู้ ต้องปฏิบัติจริง จึงนำเอาความจริงมาเล่า ส่วนในด้านของห้องสมุดท่านได้ให้ดิฉันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จึงได้นำเสนอหัวใจของการจัดห้องสมุดโดยให้ยึดหลัก 3 ส. คือ สว่าง สดใส สีสัน และจัดให้มีชีวิตชีวา (โดยการนำ KM มาจัดการความรู้บุคลากรในสำนักงานให้ร่วมคิด ร่วมทำ มีการแชร์ความรู้ ความคิดเห็น มีการดึงความรู้ความสามารถในตัวของแต่ละบุคคลออกมา เพื่อร่วมกันพัฒนาห้องสมุดให้สวยงาม โดยการทำงานเป็นทีมจะเกิดความรักความสามัคคี เกิดการเติมเต็มในส่วนที่ขาดให้กันและกัน จะเกิดความภาคภูมิใจร่วมกัน) และปรับการจัดห้องสมุดให้เป็นบริการแบบตามอัธยาศัยจริงๆ ไม่เน้นการจัดระบบทศนิยมดิวอี้ เพราะกลุ่มเป้าหมาย เรายึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการให้บริการ สำหรับการบริการก็เพิ่มการจัดกิจกรรม การบริการเชิงรุก โดยนำไปเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของสำนักฯ ได้ ทั้ง 5 ข้อ ท่าน ผอ.ได้สรุปเพิ่มเติมว่าการจัดห้องสมุดไม่ใช่จัดให้สวยงามอย่างเดียว เป้าหมายต้องให้ประชาชนได้อ่านหนังสืออย่างคุ้มค่าด้วย โดยบริการเชิงรุก นำหนังสือไปให้คนอ่าน ต้องพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ในด้านอาชีพ อ.บุญช่วย มานะศิริพันธ์ ได้แนะนำว่าต้องจัดอาชีพแบบมีจิตใจเป็นสาธารณะ เจ้าหน้าที่จะต้องลงไปหากลุ่มเป้าหมาย โดยทำตามแผนยุทธศาสตร์ ต้องใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่จัดแบบตามใจ ผอ. หรือเจ้าหน้าที่ และท้ายที่สุด อ.ชมภู ชุตินันทกุล หรือ เสธ.กั้ง คนเก่ง (โสดสนิท) ของ กศน. นศ. ก็ได้สรุปถึงยุทธศาสตร์ของสำนักฯทั้ง 5 ข้อ 1. ลุยถึงที่ เน้นเรื่องการจัดข้อมูล 2. ตอบโจทย์ในใจผู้เรียน เช่น จัดกิจกรรมต่างๆ ให้สอคล้องกับความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน 3. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด และ ศรช. เช่น นโยบายกรมเน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานศึกษาต้องกำหนดให้นักศึกษาไปใช้อย่างชัดเจน 4. เครือข่าย ต้องประสานทั้งภาคประชาชน เอกชน ท้องถิ่น และให้ขยายเพิ่มขึ้น 5. การบริการเปี่ยมคุณภาพ ควรเน้นตัวบุคลากรให้ปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม และยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าขณะนี้ นโยบายสำนักฯได้กำหนดให้เปิดช่องทางในการสื่อสาร คือโครงการประชานิเทศ ว่ามีการดำเนินการในเรื่องใดไปบ้าง และอีกส่วนหนึ่งคือการจัดการความรู้ในสำนักงานซึ่งมี 2 ส่วน คือ จัดกับบุคลากรในสำนักงาน และ จัดการความรู้ที่ไปดำเนินการกับภาคประชาชน ท่าน ผอ.วิมล ได้สรุปปิดท้ายว่า การทำงานให้ทำเป็นทีม ทุกคนมีส่วนสำคัญ งานของ ศนจ. อยู่ที่ ศบอ. งาน ศบอ. อยู่ในพื้นที่ เพราะฉะนั้นต้องร่วมกันดำเนินการจัดทำให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผลของการประชุมในภาคเช้านี้ท่าน ผอ. เสียง ได้กล่าวแสดงความขอบคุณ ว่ารู้สึกดีใจ ภูมิใจ ที่คณะมาเยี่ยม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนี้ จะนำคำแนะนำไปปรับปรุงงานในพื้นที่ และจะทำงานให้ดีที่สุด เพื่อนำภาระกิจที่ได้รับมอบหมายจาก ศนจ. นศ. ไปสู่ความสำเร็จ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่ และเพื่อความภาคภูมิใจ ของ กศน. ต่อไป ส่วนในภาคบ่าย ก็ได้เดินทางไปถึง ศบอ. พรหมคีรี โดยมีท่าน ผอ.วิรัช ศรีสุวรรณ และ คณะรอให้การต้อนรับ โดยได้กล่าวรายงานผลการปฏิบัติงานการจัดกิจกรรมทั้งในส่วนของสำนักงาน และในพื้นที่ ท่านผอ. วิมล และคณะก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการความรู้ในด้านต่างๆ เช่นเดียวกับในภาคเช้า โดยเน้นย้ำทิศทางการดำเนินงานของ กศน. สำหรับผลการจัดการเรียนรู้ในวันนี้ ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกด้าน มีการซักถาม โต้ตอบ มีการบันทึก จากการประเมินด้วยสายตา ได้เห็นถึงความแจ่มใส ยินดี มีความสุข มีขวัญ กำลังใจ ในการลงพื้นที่ โดยที่ ศบอ. พรหมคีรี สรุปว่าได้รับเทคนิคใหม่ๆ ในการทำงานร่วมกับเครือข่าย ทำให้มีแนวทางในการลงไปทำงานในพื้นที่ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น และคาดหวังว่าจะเกิดผลดีกับประชาชนอย่างแน่นอน ก็เลยทำให้วันนี้มีความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับค่ะ JJJ
หมายเลขบันทึก: 34864เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2006 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"ความฝันกับความจริงที่แตกต่าง " แต่ต้องใช้ความต่างบวกกับความใผ่ฝันเพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งไว้สำเร็จ มุมมองเป็นเรื่องที่ดี แต่การทำงานที่เกี่ยวเนื่องกับรูปแบบอันเดียวอย่างเดียวในท้องถิ่นไม่ใช่ การทำงานด้านพัฒนาจึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว  KM คือผู้ที่เรียนรู้ " ร่วมเรียนรู้กับชาวบ้าน " เรียกว่า " นักปฏิบัติการ" ภาคสนาม พระเอกคือ ชาวบ้านหรือชุมชน

1. ความฝันที่ต้องอยากจะทำ

2.ความจริงที่ได้ทำ

...เหตุผลทั้ง 2 ข้อ ยังคงอยู่ในท้องถิ่นตลอดไป.... การทำงานด้านการศึกษาก็เช่นกัน................................

ที่ไม่สำเร็จก็เล่าได้ครับ

เช่นผมเอาเรื่องที่ผมอกหักมาเล่าตั้งหลายเรื่อง

เผื่อเป็นอุทาหรณ์ให้คนอื่นไม่ต้องพลาดเหมือนผมไง

ผมขอมองต่างมุมครับ เพราะผมทำไปแล้วซะด้วยซิ จะให้แก้ตัวว่าอย่างไรละตรับ

หรือจะไม่ให้อภัยคนที่พลาดไปแล้วเลยหรือครับ

โหดจัง!!!!!!!!!

คิดถึงสาวเป้า  ส่งข่าวมาฝากชาวเชียรใหญ่บ้างเน้อ

บางครั้งการทำงานแค่เริ่มต้น  ก็เป็นความภูมิใจที่เรานำมาเล่าสู่กันฟังได้ ไม่ใช่หรือ ไม่จำเป็นต้องเป็นความสำเร็จ ถ้าจะบอกว่างานเสร็จ งานสำเร็จ เราก็ไม่มีเรื่องขำขันมาเล่าสู่กันฟังน่ะซิ 

คิดถึงน่ะ  ขอบอก

สวัสดีค่ะพี่เฉลิมลักษณ์...สบายดีนะคะ

กะปุ๋มมองว่า...บางครั้งความสำเร็จอาจซ่อนอยู่ในความสำเร็จ...ตรงนี้เราองหาให้เห็นแล้วนำมาเล่า แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นะคะ...

แวะมาทักทายค่ะ

(^___________^)

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท