ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย


กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย 

                มีคนรักสุขภาพที่อยากออกกำลังกายไม่น้อยที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกายอาจเกิดจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเป็นความเชื่อของแต่ละคน  จึงขอยกตัวอย่างพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจผิดนั้นๆ มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งความเข้าใจผิดที่พบบ่อยๆ มีดังนี้ค่ะ

1. การออกกำลังกายทำให้กินมากขึ้น 

                การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพโดยทั่วๆไป ร่างกายใช้พลังงานไปไม่มาก จึงไม่ทำให้กินมากขึ้นอย่างที่กลัวกัน สำหรับคนที่ออกกำลังกายแล้วรู้สึกหิวและกินได้มาก ถ้ารู้จักเลือกชนิดอาหารก็ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด พบว่า การกินมากกินน้อยนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว ถ้าจับเอาคนขยันทำงานที่กินมากมานั่งเฉยๆ  ก็ใช่จะกินน้อยลง บางคนที่นั่งๆ นอนๆ ไม่มีอะไรทำกลับยิ่งกินมากขึ้นด้วยซ้ำ

                สิ่งที่พบเห็นกับผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แล้วหยุดออกกำลังกายมักพบว่า ร่างกายเรากลับอ้วนขึ้นได้ง่าย เพราะพฤติกรรมการกินหลังออกกำลังกายยังเหมือนเดิม ดังนั้น พลังงานที่เหลือใช้จึงกลายเป็นไขมันสะสม จนกลายเป็นบุคคลที่ดูอบอุ่น(อ้วน)นั่นเองค่ะ

2.การออกกำลังกายทุกชนิดป้องกันโรคหัวใจได้

                การออกกำลังกายที่จำเป็นต่อระบบหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตนั้น จะต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิคเท่านั้น ส่วนการออกกำลังกายแบบอื่นมักจะพัฒนาในระบบของโครงสร้าง ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท และไม่ใช่ออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวจะทำให้ป้องกันโรคหัวใจได้เราต้องไม่ลืมปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคหัวใจด้วยนะคะ

3. การออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อเป็นมัด

                จากความคิดนี้ทำให้ผู้หญิงกลัวว่า เมื่อออกกำลังกายไปแล้วจะทำให้แขนขาใหญ่โตแลดูน่าเกลียดความจริงการที่ผู้หญิงออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง   กระชับตัวทรวดทรงแลดูสวยงาม   การเคลื่อนไหวก็กระฉับกระเฉง    และมีความมันใจในตนเองมากขึ้นแต่ถ้าผู้หญิงต้องการสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่   (นักเพาะกายหญิง) ก็จะต้องอาศัยการฝึกที่หนักและใช้ฮอร์โมนเพศชายเป็นตัวกระตุ้น

4. ทำงานเหนื่อยแล้วไม่ควรออกกำลังกาย

                จากความคิดที่ว่า เราทำงานมาทั้งวันจนเหนื่อยแล้ว ถ้าไปออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายทำงานหนักมากจนเกินไปทำให้เหนื่อยและร่างกายทรุดโทรมเร็วมากขึ้นควรพักผ่อนดีกว่า  ความจริงการออกกำลังกายที่ทำอย่างเหมาะสมและเพียงพอ  จะช่วยผ่อนคลายความเครียดและความเมื่อยล้าต่างๆได้อย่างดีที่สุด

5.ก่อนการแข่งขันควรดื่มกลูโคส

                เพราะมีความเชื่อว่า   การดื่มกลูโคสจะทำให้มีพลังงานที่จะใช้ในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสามารถออกกำลังกายได้นานกว่าผู้ที่ไม่ได้ดื่มกลูโคส

                ความจริงการได้รับกลูโคสก่อนการแข่งขันหรือในขณะแข่งขันในขณะท้องว่างนั้นเป็นผลเสียเนื่องจากทำให้มีการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน  ที่มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ร่างกาย      เป็นเหตุให้ประสิทธิภาพการนำเอาไกลโคเจนจากกล้ามเนื้อและตับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานน้อยลง นอกจากนี้ความเข้มข้นของน้ำตาลที่สูงอาจมีผลทำให้เกิดอาการอึดอัด และจุดเสียดได้ค่ะ

 

และที่พบกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังปวดคอบ่อยครั้งเมื่อแนะนำการออกกำลังกาย

เค้ามักจะบอกว่า "หมอลุงก็เดิน วิ่งอยู่ทุกวันเลยนะ แต่ทำไมไม่หายปวดสักที"

ประเด็นก็คือว่าหากมีอาการปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งควรปรึกษานักกายภาพบำบัดในการแนะนำการออกกำลังกายเฉพาะส่วนต่อไป เพื่อลดปวด, คลายกล้ามเนื้อนะคะ

ที่จริงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการออกกำลังกายยังมีอีกมาก สามารถสอบถามมาได้นะคะ//กภ.นันทกร

 

คำสำคัญ (Tags): #การออกกำลังกาย
หมายเลขบันทึก: 348592เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2010 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตอนนี้เทรนผู้หญิงใส่เสื้อกล้าม Boxing เข้ารูป เพื่อโชว์กล้ามเนื้อต้นแขนที่ฟิตและแข็งแรงค่ะ เท่ดี ใช้วิธียกดัมเบลกระชับต้นแขนและใต้ท้องแขน ดูดีกว่า ท้องแขนยานเป็นหนังกลางแปลง

แล้วหัวใจเดาะ ช่วยได้ไหมคร๊าบ.../By Jan

หลายคนคงเข้าใจผิดอย่างที่กล่าวมานั่นแหละ ขอบคุณที่ทำให้ตาสว่าง / boss

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท