Appreciative Inquiry - Chapter 4 (4 - ลาโรง)


"trust costs less" ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย หากจะไว้วางใจใครสักคน

          สำหรับ AI บทที่ 4 นี้ เป็นช่วงท้าย จะลาโรงแล้ว เพื่อไปต่อบทที่ 5 เรื่อง การนำ Appreciative  Inquiry  มาใช้ในการพัฒนาองค์กร ซึ่งตีความโดย คุณนภินทร (หญิง) ศิริไทย  มาต่อกันเลยค่ะ

4)  การแก้ภาวะวิกฤติที่ขัดแย้ง
               คนในองค์กรทั่วไป มักตกอยู่ในภาวะวิกฤติในบางเรื่องที่มีความขัดแย้งในตัวของมันเอง ซึ่งงานการอาจผ่านพ้นไปได้ แต่ก็หลงอยู่ในวังวนของวิกฤตินั้น (คือปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกจุดที่ต้นตอ)  ...ไม่กล้านำปัญหามาพูด ...หมดแรง/กำลังใจที่จะทำงาน ซึ่งก็มักพบกันทั่วไปในหน่วยงานที่เริ่มต้นด้วย "ปัญหา" ก็ต้องเจอปัญหาต่อไป

                AI สามารถแก้ปัญหาได้ ด้วยการใช้เรื่องเล่าเร้าพลังและมโนทัศน์ พลิกสถานการณ์ให้ผ่านพ้นไปได้   มองอีกมุมของเรื่องที่เป็นปัญหา กำจัดสิ่งที่ไม่ได้เป็นปัญหาที่แท้จริงออกไป

                 เช่น ผู้เขียนถามว่า ทำอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันอย่างไม่ต้องกังวล-เกร็ง ซึ่งกันและกัน 

                 มีคนตอบว่า “การให้ความไว้วางใจในผู้อื่น มีโอกาส...ได้มากกว่าเสีย…”

                 แล้วก็มีอีกคนมาตอกย้ำว่า “ ไว้วางใจใครสักคน ไม่มีอะไรจะต้องเสีย –  trust costs less ”

                 ภาพความรู้สึก “การที่รู้สึกว่า ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย หากจะไว้วางใจใคร”  นำไปสู่ทางแก้ความขัดแย้งในองค์กร

 

5)  กระบวนการชื่นชม (Appreciative Process)
                   4 แนวทางที่พูดถึงไปแล้ว (การสร้างมโนทัศน์ร่วม, สมมติฐานเบนเข้าหาจุดหมาย, เสียงจากใจที่อยู่ภายในองค์กร และ การแก้ภาวะวิกฤตที่ขัดแย้ง) ล้วนเป็น AI ในกระบวนการ AR  (Action Research)

                 ในขณะที่ กระบวนการชื่นชม

                  -  เป็นเทคนิคของการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างให้เกิดผลกระทบส่วนบุคคลได้มาก

                  -  จะเกิดขึ้นโดยการให้ความสนใจกับ “สิ่งที่ต้องการ/จุดหมาย” แทนที่จะมองที่ “ตัวปัญหา”

                  – tracking คือ ตั้งใจค้นหาสิ่งที่ต้องการและเชื่อว่ามีอยู่

                  – fanning คือ การกระทำสิ่งใดๆ ที่ขยายผล หรือ ส่งเสริม ให้ค้นพบสิ่งที่ต้องการ

                  -  corrective feedback การปรับสิ่งต่างๆ ให้เป็นถูก(correct)-ดูด้วยสายตาที่เป็นบวก

                  -  “แยกแยะ” สิ่งที่เป็นลบ ออกจาก สิ่งที่เป็นบวก/สร้างสรรค์

                สรุปว่า ใช้ AI   ถาม “เรื่องดีที่สุด” ของคน  เรื่องอื่นเข้าจะเป็นอย่างไร ช่างเขาเถิด ปล่อยตามน้ำบ้าง แล้วชีวิตจะสบาย

หมายเลขบันทึก: 34857เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท