ไปทำ KM กับชาวบ้าน


ชาวบ้านมีองค์ความรู้ที่มาจากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเยอะแยะ ซึ่งเราถ้าเรานำ KM ไปจับ จะมีคลังข้อมูลที่มหิมามาก ๆ

   ในช่วงเดือนมิถุนายน 2549 ได้รับการติดต่อจากจังหวัดสิงห์บุรี ให้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้กับชาวบ้าน เพื่อจัดการความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว  ซึ่งแบ่งงานออกเป็น 3 ครั้งคือ

   ครั้งที่ 1 วันที่ 30 พฤษภาคม 2549 เพื่อค้นหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการส่งเสริมและสนับสนุนชาวบ้านเพื่อจัดทำทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว 

     ซึ่งได้จัดกระบวนการโดยให้ชาวบ้านรวบรวมกระบวนการผลิตข้าวที่ได้ผล คือ การลงทุน  กำไร  และปัจจัยสนับสนุน โดยใช้ SWOT แบบชาวบ้าน

   ครั้งที่ 2  วันที่ 14 มิถุนายน 2549 เพื่อให้ชาวบ้านตัดสินใจเลือกทางเลือก โดยจัดกระบวนการนำเสนอทางเลือกที่เป็นไปได้ให้เป็นตัวอย่างภายใต้ข้อมูลของกลุ่มและชุมชน  หลังจากนั้นให้ชาวบ้านร่วมกันวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางเลือกในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว  แล้วมาร่วมกันจัดทำแนวทางการดำเนินงาน  ซึ่งแต่ละกลุ่มจะนำผลสรุปมานำเสนอที่ประชุมใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง

   ครั้งที่ 3 วันที่ 28 มิถุนายน 2549 เพื่อให้ชาวบ้านนำเสนอแผนงาน/โครงการที่จะจัดทำเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าว ส่วนผลจะเป็นเช่นไรนั้นค่อยนำมาเล่าสู่กันฟังนะค่ะ

   ป.ล.   วันหลังจะเขียนเล่าเรื่อง "ชาวบ้านเขาทำ SWOT กัน

              อย่างไร?" ให้ฟังนะค่ะ ซึ่งดิฉันและทีมงานเรียกกันว่า

              "ทำ SWOT แบบชาวบ้านค่ะ

                                                ศิริวรรณ  หวังดี

                         

หมายเลขบันทึก: 34852เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท