ความคาดหวังและอนาคตของลูกศิษย์


อนาคต” “อาชีพ” “การทำงาน” “เงิน” “ความสำเร็จในชีวิต” อยากมีชีวิตที่ดีกว่า อยากมีงานที่ดีกว่า สบายกว่า อยากทำงานที่ได้เงินมากกว่า อยากประสบความสำเร็จในชีวิตสูงกว่า สูงกว่าเดิมขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงต้องกระตือรือร้นมาเรียน,ถ้าที่ไหนทำให้เขาได้ ถึงแม้ว่าจะเสียเงินเสียทองขนาดนั้น พ่อแม่ ก็ขวนขวาย กู้เงินขายทอง ส่งลูกส่งหลานไปเรียน ก็หวังแค่ว่าจะไม่ลำบากเหมือนกับตัวเอง,เพราะการตัดสินใจครั้งนี้ หมายถึง ชีวิตทั้งชีวิต

การจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้ทดลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ในห้องนั้นได้ความรู้ถึงแม้ไม่มากแต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย

การฝึกปฏิบัติ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพถึงจะได้ความรู้มากขึ้น ดีกว่าเรียนในห้องเฉย ๆ แต่ก็ยังไม่มากเท่าไหร่ เพราะเขาจะใช้ความพยายามยังไม่ถึงขีดสุด

เพราะอะไร?

เพราะว่าความพยายามของเขาแลกมาซึ่งคะแนนและเกรดเท่านั้น

ทำอย่างไงล่ะ ถึงให้เขาพยายามสุด ๆ ?

ต้องทำในสิ่งที่ต้องแลกมาได้ชีวิต เป็นความเป็นความตาย ต้องค้นหาความเป็นความตายของนักศึกษาให้ได้

อะไรคือความคาดหวังของนักศึกษาที่ตัดสินใจมาเรียนหนังสือ

“อนาคต” “อาชีพ” “การทำงาน” “เงิน” “ความสำเร็จในชีวิต”

ทำไมต้องเรียนหนังสือด้วย จบ ป.6 ม.3 ม.6 ปวช. ปวส. ไม่พอเหรอ ทำไมต้องมาเรียนปริญญาตรีอีกตั้ง 4 ปี ?

เขาอยากมีชีวิตที่ดีกว่า อยากมีงานที่ดีกว่า สบายกว่า อยากทำงานที่ได้เงินมากกว่า อยากประสบความสำเร็จในชีวิตสูงกว่า สูงกว่าเดิมขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงต้องกระตือรือร้นมาเรียน

เรียนที่ไหน ถึงจะทำให้เขาได้อย่างที่คิดหวังไว้?

เขาจะหาข้อมูลและตัดสินใจ

ใกล้บ้าน ประหยัด ไกลบ้าน เปลืองเงิน มหาวิทยาลัยเปิด มหาวิทยาลัยปิด มหาวิทยาลัยรัฐ มหาวิทยาลัยเอกชน เอกอะไร คณะไหน

ผลสุดท้าย เขาเรียนที่ไหน เรียนอะไร แล้วทำให้เขาได้งานที่ดี ๆ ทำ ทำแล้วได้เงินมาก ๆ ครอบครัวสบาย มีความสุข พ่อแม่หายลำบาก ถีบตัวเองจากจุดเดิมขึ้นมาได้ ถ้าที่ไหนทำให้เขาได้ ถึงแม้ว่าจะเสียเงินเสียทองขนาดนั้น พ่อแม่ ก็ขวนขวาย กู้เงินขายทอง ส่งลูกส่งหลานไปเรียน ก็หวังแค่ว่าจะไม่ลำบากเหมือนกับตัวเอง

ใกล้บ้าน แต่จบมาไม่มีงานทำก็ไม่มีประโยชน์

เพราะการตัดสินใจครั้งนี้ หมายถึง ชีวิตทั้งชีวิต เพราะนั่นอาจจะเป็นการเรียนการศึกษาในระบบครั้งสุดท้ายของชีวิต

จบแล้วต้องทำงานนะ ต้องใช้วุฒิจากที่นั่นหางานทำ

งานที่ได้นั้นจะชี้อนาคต ไม่เหมือนกับเรียน ม.3 ม.6 เรียนเพื่อไปหาที่เรียนต่อที่ดีกว่า เลือกเรียนต่อได้หลาย ๆ ที่

แต่การเรียนอุดมศึกษาเป็นการเรียนเพื่อหางานทำ เราเรียนมาตลอดชีวิต ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม อุดมศึกษา ทั้งหมดนี้ก็เพื่องาน ชีวิตการเรียน ตั้งแต่ 3 ขวบ จนถึงประมาณ 22 เกือบยี่สิบปี ก็เพื่อทำงาน

อีกสามสิบสี่สิบปีที่เหลือจะเป็นอย่างไร สามารถใช้เวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยกำหนดได้

เขาจะเลือกเสี่ยงกับชีวิตที่เหลือในมหาวิทยาลัยไหนดีกับชีวิตที่เหลือของเขา อันนี้แหละเป็นสิ่งที่น่าคิด

มิหนำซ้ำไม่ใช่ชีวิตของเขาคนเดียว ชีวิตของคนที่ส่งเขาเรียน พ่อแม่ พี่น้อง ญาติสนิท มิตรสหาย ความหวังของครอบครัว

4 ปีนี้กำหนดชะตาชีวิตของพวกเขา เราต้องบริหารความคาดหวังของทุก ๆ คนให้ประสบความสำเร็จ

หน้าที่ของใคร?

ผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐบาล ระดับกระทรวง ทบวง ผู้บริหารสถานศึกษา คนร่างหลักสูตร อธิการบดี คณบดี อาจารย์ พนักงานสายสนับสนุน เจ้าของหอพัก เจ้าของร้านข้าวหน้ามหาวิทยาลัย เจ้าของร้านถ่ายเอกสาร เจ้าของผับ เธค บาร์ ร้านซ่อมมอเตอร์ไซด์ ร้านขายเสื้อผ้า ร้านอินเทอร์เนทคาเฟ่ ร้านขายโทรศัพท์มือถือ ห้างสรรพสินค้า รถโดยสารประจำทาง อื่น ๆ อีกมากมาย

เป็นหน้าที่ที่จะทำต้องทำให้อนาคตของเขา อนาคตของครอบครัว ชุมชน และอนาคตของประเทศชาติเหล่านี้ให้มีอนาคต (ที่ดี) นี่แหละที่พวกเราและเขาต้องการ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

หมายเลขบันทึก: 34847เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าหลายคนคงยอมรับก็คือ การเรียนจบสายสามัญในระดับมัธยมศึกษา นั้นไม่เพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพในสภาพปัจจุบันนี้เลยครับ
  • จึงทำให้แนวโน้มในการเรียนต่อหลังจากจบมัธยมฯ สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็อาจจะคิดได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ
  • ถ้าคิดถึงด้านลบ นั้นก็มาหมายถึง คุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมฯ มีระดับต่ำ ไม่สามารถนำมาใช้ทำวิชาชีพได้เลย
  • โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า การส่งลูกหลานไปเรียนห่างไกลจากสายตาพ่อแม่  ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสียเช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นกับตัวของนักเรียนเอง และโชคชะตาครับ

เป็นความเกี่ยวเนื่องรวมถึงแนวนโบยว่ามีความจริงจังในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร...

*  ความคาดหวังของเด็กไทย คือ มีความฝันและความฝัน

* แต่ความเหลื่อมล้ำของสังคมก็มีส่วนสำคัญ

ความฝันและความหวัง

แนวนโยบาย

.......การเลือก "ทางเลือก" ของตัวเองคงมีได้หลายทางตามองค์ประกอบของชีวิต บางคนไม่ต้องเลือกเข้ามาอยู่ใน "ระบบ" แต่ก็สามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่การประกอบวิชาชีพได้ แน่นอนบางคนต้องการให้ "ระบบ" เป็นตัวหล่อหลอมปั้นแต่งชี้ทางให้กับเขา แต่บางคนอาจไม่มีโอกาส หรือ ตัดสินใจเลือกเองว่าจะไม่อาศัย "ระบบ" ซึ่งเราจะพบเห็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต (อาจจะระดับหนึ่ง หรือ สูงสุดในชีวิต) บางคนก็ไม่ได้เริ่มต้นจาก "ระบบ" ทั้งนี้อยู่ที่ตัวเรา....ตรงนี้ครูอาจารย์ทั้งหลายควรจะได้ชี้นำแนวทางให้แก่เด็ก โดยเฉพาะครูในระดับมัธยมศึกษา .......การได้รับปริญญา อาจเป็นเครื่องหมายรับประกันการได้มีโอกาสทำงานที่ดี...ได้รับเงินเดือนค่าตอบแทนสูง ๆ ในอนาคต แต่ไม่เสมอไป ตัวอย่างที่ได้กับตัวเอง คือทุกวันนี้ ดิฉันประกอบอาชีพข้าราชการ วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท เงินเดือนหมื่นกว่า ๆ ทำงานอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ ระเบียบวินัย และอะไรอีกหลายเรื่องที่ครอบเราอยู่..... แต่น้องสาวของดิฉันเลือกที่จะเรียนจบแค่ชั้นม.3 แล้วไปศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองในเรื่องการเย็บปัก-ออกแบบตัดเสื้อผ้าสตรี ทุกวันนี้ทำงานอยู่กับบ้าน เป็นนายของตัวเอง มีรายได้ดีกว่าดิฉันเท่าตัวค่ะ .......ก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะเลือกทางใดค่ะ...เลือกที่จะเข้าไปเสี่ยงใช้เวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัย รอคอยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาบริหารความคาดหวังของเราหรือไม่..............
ผมจบปริญญาโทมาสี่ปีกว่าแล้วครับ ทำวิจัยเป็นโครงการ สอนบ้าง เป็นอาสาสมัครฟรีก็หลายงาน รายได้บางเดือนก็สองหมืน บางเดือนก็ห้าหกพัน บางทีก็ตกงาน ก็ต้องมารับจ้างรายวันไป เมียบอกไม่เป็นไร ขอให้มีเวลาแก่ครอบครัวและทำงานอย่างมีความสุขก็เพียงพอแล้ว ........การเปรียบเทียบกับผู้อื่น มักนำมาซึ่งความทุกข์ไม่รู้จบครับ
เยี่ยมมากเลยครับคุณยอดดอย มีงานที่ดีและมีครอบครัวที่เข้าใจขอให้มีความสุขมาก ๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท