ระบบราชการไทย


ระบบราชการไทย

"ระบบราชการไทย"

เนื่องจากปัจจุบันส่วนราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อเป็นการมิให้ผู้อ่านและเยาวชนรุ่นหลังได้ลืมเลือนเกี่ยวกับระบบราชการไทยและทราบประวัติความเป็นมาของระบบราชการไทยในอดีต ผู้เขียนจึงขอนำมาเล่าสู่กันเพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับอดีตของระบบราชการไทย ดังนี้ค่ะ...

ความเป็นมา

ในสมัยก่อนระบบราชการของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) ซึ่ง David E. Hussey กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Corporate Planning ; Theory and Practice หน้า 124 ว่า ระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นในประเทศจีนโบราณ มีวิธีปฏิบัติกัน 3 แบบ คือ

1. สืบสายโลหิต - บิดา - บุตร

2. แลกเปลี่ยนสิ่งของแลกตำแหน่ง

3. สนับสนุนผู้รับใช้ใกล้ชิดให้ได้ตำแหน่งโดยที่ไทยได้มีความสัมพันธ์กับจีนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 1825 กุบไลข่าน จักรพรรดิ์ของจีนได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระองค์เองก็ได้เสด็จประพาสเมืองจีนถึง 2 ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. 1837 และ พ.ศ. 1843 จึงน่าจะได้ รับวัฒนธรรมระบบราชการมาจากจีน เพราะมีรูปแบบแห่งการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (ตอนต้น) ได้ทรงปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ก็ได้ใช้ระบบอุปถัมภ์ในราชการมาโดยตลอด เช่นเดียวกันและระบบนี้ได้หยั่งรากลึกลงในสังคมไทยจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ทรงวางรากฐานการเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรม คือ มีการสอบแข่งขันตามหลักสูตรที่กำหนดไว้

ระบบอุปถัมภ์ ไม่มีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่แน่นอน จะรับใครเข้าทำงานถือเอาความใกล้ชิด หรือพรรคพวกเป็นหลัก จึงมีชื่อเรียกระบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ระบบพรรคพวก" ซึ่งเป็นผลให้การบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการคำนึงถึงความเป็นพรรคพวกเป็นสำคัญ มิได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคลส่วนราชการต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยข้าราชการที่ไม่มีความรู้ความสามารถ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงได้มี การนำ "ระบบคุณธรรม" (Merit System) มาใช้ ระบบคุณธรรมจึงเข้ามามีบทบาทในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ เพราะระบบนี้ถือหลักความเสมอภาคแห่งโอกาส หลักความสามารถ หลักความมั่นคงและหลักความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ระบบคุณธรรมยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ที่มา : สำนักงาน ก.พ.

หมายเลขบันทึก: 348351เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท