หลักการจัดการ(ต่อ1)


ความหมายของการจัดการทรัพยากรบุคคล หมายถึง ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร มอบหมาย พัฒนาบุคคล และให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลผลิตหรือบริการขององค์กรเป็นสำคัญ

หน่วยที่ 7  การจัดการทรัพยากรบุคคล

ความหมายของการจัดการทรัพยากรบุคคล หมายถึง ศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กร มอบหมาย พัฒนาบุคคล และให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของผลผลิตหรือบริการขององค์กรเป็นสำคัญ

ประโยชน์ของการจัดการทรัพยากรบุคคล

  1. เปิดโอกาสให้คนมีงานทำ
  2. องค์กรได้คนดีมีความสามารถเข้าร่วมงาน
  3. บุคคลได้รับการพัฒนาความรู้ความสามารถ
  4. เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
  5. ทำให้ประเทศชาติมีรายได้จากการเก็บภาษี

บทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีต่อองค์กร มีบทบาทในการกำหนดนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล การให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้บริหารในระดับสูง บทบาทในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร การสร้างขวัญและกำลังใจ และบทบาทในฐานะผู้ควบคุม

บทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีต่อสมาชิกองค์กร มีบทบาทในการวางแผนทรัพยากรบุคคล ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับทิศทางการจัดการทรัพยากรบุคคล มีบทบาทด้านการจัดการตำแหน่งให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมแก้สมาชิกขององค์กร และมีบทบาทในการธำรงรักษาบุคลกรที่ดีให้อยู่กับองค์กรได้ตลอดไป

การจัดการทรัพยากรบุคคลโดยยึดหลักคุณธรรมมีองค์ประกอบ ดังนี้

  1. หลักความเสมอภาค
  2. หลักความสามารถ
  3. หลักความมั่นคง
  4. หลักความเป็นกลางทางการเมือง

การจัดการทรัพยากรบุคคลโดยยึดหลักอุปถัมภ์มีองค์ประกอบ เป็นการจัดการทรัพยากรบุคคลที่ตรงกันข้ามกับหลักคุณธรรม โดยมุ่งเน้นการยึดเอาพวกพ้องเข้ามาช่วยทำงาน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้การทำงานมีความราบรื่น

กระบวนการจัดการทรัพยากรบุคคล

  1. การวิเคราะห์งาน
  2. การวางแผนกำลังคน
  3. การสรรหา คัดเลือก และแต่งตั้ง
  4. การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
  5. การเลื่อนและย้ายตำแหน่ง
  6. ผลประโยชน์ตอบแทน
  7. การให้พ้นจากงาน
  8. บำเหน็จบำนาญ

ความหมายของการสรรหา คัดเลือก และบรรจุแต่งตั้ง

การสรรหา หมายถึง การหาแหล่งผลิตกำลังคน หรือการค้นหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ มีคุณวุฒิ ประสบการณ์และทักษะตามที่องค์กรต้องการ การสรรหาที่มีคุณภาพจะทำให้องค์กรมีโอกาสคัดเลือกคนที่ดีมีความเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์กรได้

การคัดเลือก ภายหลังจากที่ทำการสรรหาเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจทราบข่าวคราวเกี่ยวกับ  การสรรหาบุคคลแล้ว หน่วยงานจัดการทรัพยากรบุคคลจะต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง      ตรงกับความต้องการขององค์กรมากที่สุด โดยจะต้องเลือกเครื่องมือที่จะใช้ในการคัดเลือกที่เหมาะสม

การบรรจุและแต่งตั้ง คือ การมอบหมายงานให้บุคคลผู้นั้นปฏิบัติ ในการบรรจุและแต่งตั้งควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับงานตามคำกล่าวที่ว่า “Put  the right man in the right job

ความหมายของการเลื่อนและการย้ายตำแหน่ง

การเลื่อนตำแหน่ง คือ การแต่งตั้งให้บุคลากรไปดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในระดับ    ที่สูงขึ้น มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเพิ่มมากขึ้น

การย้ายตำแหน่ง คือ การแต่งตั้งให้บุคลากรไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่อยู่ในระดับเดียวกัน แต่อาจต่างหน่วยงานหรือแผนก

ความแตกต่างระหว่างบำเหน็จกับบำนาญ

บำเหน็จ คือ เงินตอบแทนที่จัดให้เพียงครั้งเดียว เป็นเงินก้อน ที่ผู้ซึ่งพ้นจากตำแหน่งจะรับในครั้งเดียว

บำนาญ คือ เงินตอบแทนที่จัดให้เป็นรายเดือน ตอบแทนให้จนกว่าบุคคลนั้นจะเสียชีวิต นิยมใช้ในหน่วยงานราชการ

 

 

หน่วยที่ 8  การอำนวยการ

                ความหมายของ “การอำนวยการ” คือ การมอบหมาย ชี้แนะ และติดตามตรวจสอบการทำงานของพนักงานให้ดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยจะต้องคำนึงถึงขวัญและกำลังใจของพนักงานด้วย

                องค์ประกอบของการอำนวยการ ประกอบด้วย การตัดสินใจ การสั่งการ การจูงใจ การสร้างขวัญและกำลังใจ การประสานงานและการสื่อสาร

                วิธีการที่ใช้ในการตัดสินใจ

  1. การตัดสินใจโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แยกแยะปัญหาออกเป็นปัญหาย่อย ๆ  แล้วจึงตัดสินใจ
  2. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา
  3. การตัดสินใจในการลองผิดลองถูก
  4. การตัดสินใจโดยใช้ประสบการณ์เดิม
  5. การใช้ความรู้สึกหรือญาณวิเศษในการตัดสินใจ

กระบวนการในการตัดสินใจ

  1. ค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล
  2. กำหนดทางเลือกในการตัดสินใจเอาไว้หลาย ๆ ทาง
  3. การคาดการณ์ล่วงหน้า
  4. ตัดสินใจเลือกแนวทางใดแนวทางหนึ่ง
  5. ติดตามประเมินผลของการตัดสินใจ

การตัดสินใจที่ดี ควรยึดหลักการคำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับส่วนรวมเป็นหลัก สามารถปฏิบัติได้ เป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิดกฎหมายและหลักของศีลธรรม ให้ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

การสั่งการ จำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ

1. การสั่งการแบบเป็นลายลักษณ์อักษร คือ การสั่งการที่มีการเขียนหรือบันทึกออกเป็นคำสั่ง สามารถตรวจสอบและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ เช่น คำสั่ง ประกาศ แนวปฏิบัติ การสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร อักษรที่นิยมใช้กันมากในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากมีจำนวนบุคลากรมากจำเป็นต้องสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้บุคลากรทุกคนเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

2. การสั่งการที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการสั่งการที่ไม่เป็นทางการ สั่งการด้วยคำพูด ไม่สามารถเก็บเป็นหลักฐานได้

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

ทฤษฎี X ตามความคิดของแมกเกรเกอร์ เชื่อว่าโดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนชี้เกียจไม่ชอบทำงาน ขาดความรับผิดชอบ คนส่วนมากไม่มีความคิดริเริ่ม ดังนั้นการจะสั่งการให้คนทำงานได้จะต้องไม่ใช้วิธีการบังคับ

ทฤษฎี Y เชื่อว่ามนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนที่ตั้งใจทำงาน มีความขยันขันแข็ง ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน มีความรับผิดชอบและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง ผู้บริหารที่เชื่อในทฤษฎี Y จะพยายามส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่ มีการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

วิธีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน

  1. การให้ความสำคัญและให้เกียรติแก่พนักงาน
  2. การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม
  3. การจัดหาสวัสดิการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน

องค์ประกอบของการสื่อสาร

1.   ผู้ส่งสารหรือผู้สื่อสารหรือต้นตอ (Sender , Source) หมายถึง ผู้เริ่มต้นในการส่งข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ

2.  ข่าวสารหรือเรื่องราว (Message) หมายถึง เนื้อหาสาระ ข้อมูล ความหมาย ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติที่ผู้ส่งสารต้องการจะสร้างความเข้าใจร่วมกันกับผู้รับสาร ให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกับผู้ส่งสาร

3. ช่องทาง (Channal) หมายถึง วิธีการหรือหนทางหรือวิถีทางที่จะนำข่าวสารหรือเรื่องราวส่งไปยังผู้รับสาร

4. ผู้รับสาร (Receiver) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือสถาบันที่เป็นเป้าหมายของการสื่อสารที่ผู้ส่งสารต้องการสร้างความเข้าใจร่วมกัน

5. การตอบสนองหรือข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ปฏิกิริยาได้ตอบหรือตอบรับที่ผู้รับสารกระทำภายหลังจากได้รับข่าวสารจากผู้ส่งสารแล้ว

การสื่อสาร มี 2 ประเภท คือ

1. การสื่อสารภายใน (Internal  Communication) หมายถึง การสื่อสารภายในองค์กรหรือสถาบันซึ่งเป็นการติดต่อกันของบุคคลภายในองค์กร บริษัท หน่วยงาน หรือสถาบัน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2. การสื่อสารภายนอก (External  Communication) หมายถึง การสร้างความเข้าใจร่วมกันกับบุคคลหรือองค์กรภายนอก ได้แก่ ประชาชนทั่วไป กลุ่มลูกค้า คู่แข่งขัน เพื่อให้ประชาชนภายนอกองค์กร รู้ เข้าใจและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการขององค์กร

 

 

 

 

 

 

หน่วยที่ 9  การควบคุม

                ความหมายของ การควบคุม หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดเอาไว้หรือไม่ และการปฏิบัติงานนั้นมีมาตรฐานในการทำงานหรือไม่

                วัตถุประสงค์ของการควบคุมงาน  การควบคุมงานช่วยสร้างมาตรฐานของงานในองค์กร ช่วยสร้างมาตรฐานในการควบคุม การควบคุมมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบวิธีการทำงานของพนักงานให้สามารถรักษาคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐาน เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน และยังสามารถใช้ใน   การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วย

                มาตรฐานการควบคุมงาน มี 2 ประเภท คือ

                1. มาตรฐานในเชิงคุณภาพ กำหนดเอาไว้โดยพิจารณาจากความยุ่งยากซับซ้อน ความรับผิดชอบ   การตัดสินใจ ผลกระทบของงาน ถือเป็นมาตรฐานในเชิงคุณภาพ

2. มาตรฐานในเชิงปริมาณ กำหนดโดยพิจารณาจากจำนวนผลงานที่ทำได้ สามารถนับจำนวนชิ้นงานออกมาได้ เช่น พิมพ์ดีด 8 หน้าต่อ 1 วัน เป็นต้น

การควบคุม มี 4 ประเภท ได้แก่ การควบคุมคุณภาพของงาน  การควบคุมปริมาณของงาน             การควบคุมด้านเวลา และการควบคุมด้านค่าใช้จ่าย

หลักในการควบคุม

  1. มีความเหมาะสมกับงาน
  2. มีความสอดคล้องกับความต้องการของงาน
  3. มีความยืดหยุ่น
  4. บ่งบอกข้อบกพร่องหรือปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้
  5. สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง

ประโยชน์ของการควบคุมต่อองค์กร เป็นเครื่องชี้วัดความก้าวหน้าขององค์กร ทำให้องค์กรมีเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับ

ประโยชน์ของการควบคุมต่องาน ทำให้รู้ว่างานที่ทำเป็นไปตามแผนงานหรือโครงการหรือนโยบายที่กำหนดเอาไว้หรือไม่ ทำให้รู้ความก้าวหน้าของงานที่ทำ ทำให้รู้ว่าวิธีการที่ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น ๆ เป็นวิธีการที่ถูกต้องหรือไม่ และทำให้รู้ว่างานที่ทำมีอุปสรรคอะไร

ประโยชน์ของการควบคุมต่อบุคคล เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน ส่วนในด้านผู้ปฏิบัติการควบคุมทำให้ผู้ปฏิบัติตระหนักถึงความรู้ความสามารถของตนเอง

กระบวนการในการควบคุม

  1. ศึกษานโยบายและแนวทางขององค์กรเกี่ยวกับการควบคุม
  2. ศึกษาแผนงานและโครงการที่องค์กรจะจัดทำ
  3. ศึกษาขั้นตอนและรายละเอียดของงาน
  4. กำหนดมาตรฐานของงาน
  5. การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  6. การรายงานผลการประเมินผล

เทคนิคและวิธีการควบคุมงาน

1. การควบคุมโดยกำหนดมาตรฐานของงาน เป็นวิธีการควบคุมที่มีรูปแบบกำหนดเอาไว้อย่างมีขั้นตอนสามารถตรวจสอบได้

2. การควบคุมโดยงบประมาณ เป็นการควบคุมโดยพิจารณาจากการใช้งบประมาณเพื่อดำเนินตามแผนงานหรือโครงการ

3. การควบคุมโดยวิธีตรวจเยี่ยม เป็นวิธีการควบคุมงานที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีรูปแบบตายตัว ดำเนินการโดยผู้บริหารอาจเดินดูหรือทักทายผู้ปฏิบัติงาน

4. การควบคุมโดยเรียงลำดับผลงาน วิธีการควบคุมงานวิธีนี้จะใช้หลักการในการพิจารณาปริมาณและคุณภาพของงานจัดเรียงลำดับตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับต่ำสุด

5. การควบคุมโดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องในองค์กร การประเมินวิธีนี้จะต้องประเมินโดยใช้เพื่อนร่วมงานเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานกันเอง

 

 

หน่วยที่   10  แรงงานสัมพันธ์และประกันสังคม

                ความหมายของ “แรงงานสัมพันธ์” หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เริ่มตั้งแต่การรับลูกจ้างเข้าทำงานจนกระทั่งลูกจ้างออกจากงาน

                กำหนดเวลาการทำงาน ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด           

1. กำหนดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

2. สำหรับงานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ทำงานได้ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ         42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3. ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน

4. นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่     น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

5. กรณีงานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

                วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน มี 3 ประเภท คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพรี และวันหยุดพักผ่อนประจำปี

                กำหนดการลาตามกฎหมายแรงงาน มี 6 ประเภท ได้แก่ การลาป่วย การลาคลอด การลาเพื่อทำหมัน การลากิจ การลาเพื่อรับราชการทหาร และการลาเพื่อฝึกอบรม

                ความหมายของค่าจ้าง คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยไม่คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

                ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชย ในกรณี

  1. กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด
  2. กรณีนายจ้างเลิกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงาน
  3. นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้งในสถานที่อื่นอันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง

ตัวอย่างงานที่ห้ามไม่ให้แรงงานผู้หญิงทำ

  1. งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์
  2. งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
  3. งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ

ความหมายของแรงงานเด็ก หมายถึง แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การจ้างแรงงานเด็กห้ามนายจ้างทำการจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้างโดยเด็ดขาด

กรณีนายจ้างฝ่าฝืนเกี่ยวกับการใช้แรงงาน มีบทลงโทษทางอาญา นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องถูกปรับขั้นต่ำไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน โดยการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการออมและเสียสละเพื่อส่วนรวมมีหลักการสำคัญที่มุ่งให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวในยามที่ไม้มีรายได้ รายได้ลดลงหรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นหรือสังคม การประกันสังคมจึงเป็นมาตรการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต โดยให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 8 กรณี ได้แก่

  1. กรณีเจ็บป่วย
  2. กรณีคลอดบุตร
  3. กรณีทุพพลภาพ
  4. กรณีเสียชีวิต
  5. กรณีสงเคราะห์ครอบครัว
  6. กรณีชราภาพ
  7. กรณีอุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน
  8. กรณีว่างงาน
คำสำคัญ (Tags): #หลักการจัดการ
หมายเลขบันทึก: 348311เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2010 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณนะค่ะ สำหรับข้อมูลดีๆๆแบบนี้นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท