เข้าร่วมประชุมสัมมนาการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลไกระบบแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม


ภาพถ่ายดาวเทียม

     หลังจากที่ดิฉันได้เห็นหนังสือจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กลุ่มงานวิชาการ เรื่องขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลไกระบบแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม ในวันที่ 19 มิถุนายน 2549 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มข. ดิฉันรู้สึกมีความสนใจที่จะเข้าร่วมประชุมสัมมนามาก เพราะต้องการทราบถึงความก้าวหน้าเทคโนโลยีในปัจจุบันในด้านที่ดิฉันไม่ค่อยจะมีความรู้ด้านนี้นัก จึงได้โทรไปสมัครเข้าร่วมประชุมสัมมนาดังกล่าว โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท สเปซ อิมเมจจิ้ง เซาธ์อิสท์ เอเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษํทที่ผลิตและให้บริการภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายภารกิจ อาทิเช่น การวางผังเมือง การทำแผนที่ภาษี การจัดทำขอบเขตพื้นที่ (Zoning) โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ การฟื้นฟูความเสียหายจากสาธารณภัย การวางแผนการใช้พื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ตลอดจนการบริหารทรัพยากร สภาพแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น จะจัดให้มีการนำเสนอข้อมูล รายละเอียดและการนำไปใช้งานในเรื่องดังกล่าว

     เมื่อถึงวันที่มีประชุมสัมมนาดิฉันไปก่อนเวลาเล็กน้อย หลังจากที่ดิฉันลงทะเบียนหน้างานแล้ว ก็ได้มีการพักทานกาแฟก่อนเริ่มประชุมสัมมนา ทำให้บรรยากาศในห้องรู้สึกผ่อนคลายลงมาก ไม่ซีเรียสอย่างที่คิด จากนั้นท่านวิทยากรคือคุณสามารถ ดวงวิจิตรกุล รองผู้อำนวยการบริษัทฯ ได้บรรยายแนะนำในเรื่อง "การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง" ซึ่งทำให้ดิฉันได้ทราบประโยชน์มากมายของภาพถ่ายดาวเทียม ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ได้อีกมาก โดยท่านวิทยากรได้เล่าให้ฟังว่าปัจจุบันดาวเทียมจะสามารถถ่ายภาพบนพื้นโลกได้ที่วัตถุมีขนาดตั้งแต่ 80 ซม. ขึ้นไป และต่อไปในอนาคตก็จะมีการพัฒนาความละเอียดขึ้นโดยอาจจะมีการถ่ายภาพวัตถุบนพื้นโลกที่มีขนาดตั้งแต่ 27 ซม. ขึ้นไป ซึ่งทำให้ดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ เพราะนั่นหมายถึงว่าในอนาคตดาวเทียมจะสามารถถ่ายภาพของมนุษย์หรือศีรษะมนุษย์ได้ด้วย โดยวิทยากรได้ทำการสาธิตให้ดูจาก Slide ถึงการถ่ายภาพจากภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งถ่ายจากเครื่องบิน จะเก็บภาพและรายละเอียดต่างๆ ได้ต่างกันมาก จากนั้นวิทยากรได้นำเสนอโปรแกรม Point Asia.com ซึ่งวิทยากรบอกว่าเป็นโปรแกรมที่ดีเหมาะสำหรับการนำเสนอ แต่ยังไม่เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน GIS นัก ถ้าจะวิเคราะห์ข้อมูลก็ควรจะใช้โปรแกรมเฉพาะทางด้าน GIS จะดีกว่า โดยวิทยากรได้ยกตัวอย่างการแสดงข้อมูลของเส้นทางคมนาคมใน กทม., การทำภาพ 3 มิติ, ใช้ในการติดตามรถติดตามยานพาหนะ และทางด้านการค้าต่างๆ รวมทั้งด้านอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ดิฉันมองเห็นประโยชน์มากมายที่จะสามารถนำเอาภาพถ่ายดาวเทียมไปประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ โดยหลังจากได้ภาพถ่ายดาวเทียมมาแล้ว จะมีการ Plot จุดบนแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม พร้อมกับ Link กับฐานข้อมูลที่ต้องการ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะ Plot จุดบนแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม แต่ดิฉันก็คิดว่ามันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ดิฉันเข้าใจคำว่าการประยุกต์ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมได้ดีขึ้นกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้กับงานในอนาคตต่อไป ซึ่งดิฉันคิดว่าคงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกเยอะค่ะ เพราะตอนนี้ก็ทราบมาแค่ Scope เท่านั้นเองค่ะ และถ้าทราบมากกว่านี้แล้ววันหน้าจะมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ

   

หมายเลขบันทึก: 34817เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

     ดิฉันขอแนะนำเว็บไซต์ที่น่าสนใจ เว็บไซต์หนึ่งนะคะ เป็นเว็บไซต์ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้นำเสนอผลงานทางด้านงานวิจัย ที่ได้จัดทำขึ้น โดยเนื้อหางานวิจัยจะเกี่ยวกับการนำเทีโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์และวิเคราะห์ข้อมูลในงานด้านต่างๆ ซึ่งอ่านดูแล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากค่ะ ถ้าท่านในสนใจก็เชิญเข้าไปดูได้ใน URL ที่ดิฉันให้ไว้ข้างล่างนี้นะคะ

  http://www.computer.kku.ac.th/research.htm

 

ขอบคุณมากครับสำหรับ งานวิจัย เป็นประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท