ความเห็นต่อคู่มือปฏิบัติการ I AM READY


         อกพร. ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ฯ ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทยไว้ 8 ประการภายใต้คุณลักษณะ I AM READY คือ

Integrity                 ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี
Activeness           ขยัน  ตั้งใจ  ทำงานเชิงรุก
Morality                 มีศีลธรรม  คุณธรรม
Relevancy             รู้ทันโลก  ปรับตัวทันโลก  ตรงกับสังคม
Efficiency              มุ่งเน้นประสิทธิภาพ
Accountability       รับผิดชอบต่อผลงาน  ต่อสังคม
Democracy           มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย  มีส่วนร่วม   โปร่งใส
Yield                       มีผลงาน  มุ่งเน้นผลงาน

         เจ้าหน้าที่ของ อกพร. ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการ I AM READY สำหรับให้ข้าราชการนำไปใช้   โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ   ส่วนความหมายของแต่ละคำ  ข้อแนะนำสำหรับข้าราชการและกรณีตัวอย่าง   แยกสำหรับแต่ละคำ   ซึ่งหากมองในเชิงทฤษฎีเป็นคู่มือที่ดีมาก  น่าชื่นชมคณะผู้จัดทำ

         แต่ถ้ามองในเชิงปฏิบัติ   ผมมีความเห็นว่าคู่มือนี้มีประโยชน์น้อยเพราะในชีวิตจริงเรื่องราวไม่ได้เกิดเป็นข้อ ๆ   แต่เป็นภาพรวม (holistic) และหลายเหตุการณ์ถ้าอนุโลมตามบางข้อก็จะละเมิดข้ออื่น

         ผมมีความเห็นเรื่อยมาว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ข้าราชการต้องเน้นยุทธศาสตร์รุกจากฐานล่าง   และรุกจาก "ของดีมีอยู่" คือข้าราชการที่กระบวนทัศน์ดีอยู่แล้ว   มีพฤติกรรมปฏิบัติราชการดีอยู่แล้ว   กพร. ต้องจัดให้มีการค้นพบกรณีเหล่านั้นและนำมายกย่อง   และหาทางทำให้มีการยกย่องกันในทุกระดับ   พร้อมทั้งส่งเสริมให้ขยายผล  ขยายแนวร่วมออกไป

         ผมเชื่อในแนวทางเริ่มที่ฐาน   แต่สังเกตว่าเจ้าหน้าที่ของ กพร. ถนัดทำที่ยอด

         หากจับที่เรื่องราวดี ๆ ที่มีอยู่จริง   แต่ละเรื่องจะอธิบายได้หลายคำใน I AM READY   ไม่ใช่เรื่องละคำ

         ผมขอเสนอความเห็นต่อท่านธรรมรักษ์  การพิศิษฏ์  ประธาน อกพร. กระบวนทัศน์ผ่านบันทึกนี้ (เนื่องจากผมเข้าร่วมประชุมในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ไม่ได้)   ในความเห็นดังกล่าวข้างต้นและยืนยันความเห็นว่าหากยังเน้นคู่มือแบบแยกส่วน   และเน้นการดำเนินการแบบ top-down อยู่   ผลที่เกิดขึ้นจริงจะน้อย (ดังที่เห็นกันอยู่)

วิจารณ์  พานิช
 20 มิ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 34797เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

          เห็นด้วยกับท่านฯคะ แต่บางครั้ง บางโอกาส คนแปลความกลับมองในมุมกลับ" I am ready"ว่า ฉัน เสร็จแล้ว... หมดแล้ว..ซึ่งกำลังใจที่จะทำความดีต่อหมดแรงไปเรียบร้อยแล้ว... เพราะถ้าหากตราบใดผู้ประเมินยังใช้คน... คนที่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง..จะเอาเกณฑ์ไหนมาประเมินก็คน... คนเดิม อยู่ดี แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนะคะท่านฯ หากใช้ I AM READY มาประเมินอย่างยุติธรรมตามนัยแล้ว คนที่ทำความดีก็คงไม่หมอกำลังใจไปเสียก่อน ..ขอบคุณท่านฯ ที่ทำให้ Diamond เขียน Blog เป็น เข้าร่วมชุมชนเป็น พอได้มีเพื่อนคุยคอเดียวกัน เพราะมีโครงการKM .ของท่านฯพอเป็นที่มองโลกในแง่ดีและมุมบวกแม้มันจะเป็นลบบ้าง ก็ช่างเถอะนะคะ ต้องคิดเสมอว่าทุกอย่างเป็น Positive ๆๆๆๆ ++++++++

กราบเรียน ท่านวิชาญ พานิช

ผมรู้สึกดีใจที่มีคนเก่ง มองเห็นประเด็นดีๆ เสนอต่อ กพร. เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์

พัฒนา ปรับปรุง กระบวนการ I Am Ready โดยเฉพาะในเรื่องการเปลี่ยนแปลง

กระบวนทัศน์ข้าราชการต้องเน้นยุทธศาสตร์รุกจากฐานล่าง ผมเห็นด้วย 100% ครับ

เหมือนคำพูดของมหาตะมะคานทีที่ว่า "ของดีอยู่ที่บ้าน" กพร.กลับใช้วิธีเรียกเจ้าของบ้านไป แล้วพยายามทำให้เป็นข้าราชการในอุดมคติ มีกระบวนทัศน์เพื่อประชาชน ทั้งๆ

ที่ที่บ้านนั้นๆ ก็มีคนแบบนี้อยู่แล้ว ควรยกย่องและสนับสนุน เป็นตัวอย่าง เพื่อเกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในทุกๆๆๆ เรื่องดีๆ แต่อย่างว่า ก็น่าเห็นใจ กพร. ว่าถ้าทำอย่างนั้นอาจทำให้ผู้บริหารชั้นสูงขององค์การนั้นๆ ที่ใจไม่กว้างพออาจแปลความว่า ลูกน้องดีกว่าตนเองก็เป็นได้ นี่ล่ะคือตัวอย่างความคิดที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์จากยอดก่อนฐานล่ะมั้งครับ

ด้วยความเคารพ

กฤศณ์ศต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท