Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


พระครูปลัดวีระนนท์ วีรนนฺโท : เจ้าอาวาสวัดป่าเจริญราช พระวิปัสสนาจารย์ http://www.veeranon.com/

โดยฐาน  คือ  สติที่กำหนดฐานกาย กำหนดฐานเวทนา กำหนดฐานจิต กำหนดฐานธรรม

ที่เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาธรรม

การตามดูธรรมทั้งส่วนอกุศลและกุศลที่เกิดขึ้นในจิต

 

รู้ธรรมที่เกิดขึ้นในใจ รู้ธรรมที่คิดขึ้น

 

สภาวะที่เป็นบาปหรือสภาวะที่เป็นบุญ

 

สภาวะที่เกลียด สภาวะที่โกรธ สภาวะที่เกิดโลภ สภาวะที่เกิดหลง สภาวะที่เกิดโมหะ

 ความพอใจหรือความไม่พอใจตรงนี้ คือ  สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในใจ  

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราคงเคยได้ยิน

พระท่านสวดสาธยายพระมาติกา เรียกว่า

กุสลา ธมฺมา อกุสลา  ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา

ธรรมที่เป็นกุศลกับธรรมที่เป็นอกุศล ๖๖ บาทพระคาถา อยู่ในบทมาติกา ที่เรียกว่า สวดกุสลาธัมมา

ธรรมที่เป็นกลางๆ ไม่ไปทางบุญหรือไม่ไปทางบาปอยู่ตรงกลางเป็นพยากตาธัมมา

เป็นธรรมที่ให้เราพิจารณาเรียกว่า  ขันติอุเบกขาธรรม 

 

เมื่อธรรมที่เกิดขึ้นในใจได้แยบคายแล้ว เราพิจารณาธรรมนั้นให้รู้เท่าทัน เขาเรียกว่า

รู้เท่าเอาไว้ทัน รู้กันเอาไว้แก้  รู้เท่ารู้ทัน รู้กัน  รู้แก้ รู้จักตัว ใช้ตัวได้ ชี้ตัวออก บอกตัวเป็น เห็นธรรม”

 

ถ้ายังชี้ตัวไม่ได้และบอกตัวไม่ได้ว่า  ขณะนี้เราทำอะไรกันอยู่ เราก็เกิดความทุกข์

เป็นทุกขเวทนา เป็นธรรมที่ทำให้จิตสลดหดหู่และเศร้าหมองใจ

ฉะนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นแล้วสภาวธรรม องค์ธรรมที่เกิดขึ้นเขาเรียกว่า

องค์ธรรม ๘ ประการ โดยจิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นแล้ว เราจะกำหนด

สภาวะต่างๆได้ ลักษณะจิตจะบริสุทธิ์ สะอาด เบาสบาย

กำหนดอาการต่างๆ ได้ครบ พอจิตเบาสบายแล้ว จิตก็ผ่องใส

 

จิตนุ่มนวล...ควรแก่งานดูใจ

 

พอจิตผ่องใสแล้วทำให้เกิดเมตตา เราจะนึกถึงญาติพี่น้อง

คิดอยากให้คนโน้นคนนี้ได้มาปฏิบัติ อยากให้เขาได้บุญ

 

พอจิตมันผ่องใส จิตมันเบาโล่งสบาย เราจะนั่งได้ทั้งวัน

ขยันกำหนด ขยันเดิน  ขยันภาวนา

 

นี่คือจิตผ่องใสเกลี้ยงเกลา จิตไม่เศร้า จิตก็ตื่นตัวเบิกบาน

ตัวนี้คือเราเห็นพุทธะน้อยๆ เห็นสภาวธรรมน้อยๆ

 

ต่อมาเมื่อจิตโปร่งใส ไม่เศร้าหมอง จิตก็นุ่มนวล

เมื่อจิตมันนุ่มนวล ไม่ว่าจะเดินหรือจะคู้หรือจะเหยียดก็ดูงามตา ไม่กระโดกกระเดกเหมือนม้าดีดกะโหลก

นั่นคือ เขาเรียกว่า เป็นผู้มีศีลจารวัตรดี คือ ผู้มีศีลเป็นหลักประพฤติทั่วไป

อันจะต้องรักษาและพึงถือปฏิบัติชื่อว่า วัตรอันน่าเลื่อมใส

 

ตรงนี้พระย่อมเกิดขึ้นในใจของเราได้ โดยไม่ต้องบวชเป็นพระ

แต่พระเกิดขึ้นในใจ ต่อมาเมื่อใจนุ่มนวลต่อการงาน

การงานที่เรากระทำ คือ งานดูใจ

เปรียบเหมือนเอาแว่นส่องธรรมส่องใจ ดูว่าใจเรามันเป็นอย่างไร

พอใจนุ่มนวลควรแก่การงาน ใจก็ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ

อารมณ์ที่มากระทบกับอายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ตรงนี้เรียกว่าการพิจารณาดูสภาวธรรมที่เกิดขึ้นที่เรียกว่า  กายประพฤติด้วยการปฏิบัติ

ตามสติปัฏฐานสูตร หรือ สติปัฏฐาน ๔ ที่กล่าวในเบื้องต้น 

 

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

 

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

 

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน 

 

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

 

คือ

 

พิจารณารู้กายในกาย

 

การรู้สุข  รู้ทุกข์ในเวทนา

 

รู้จิตในจิต

 

รู้ธรรมในธรรม

 

โดยทั้ง ๔ ประการเป็นฐาน ๔ ฐาน ที่ต้องพึงระลึกรู้อยู่เสมอแห่งการประพฤติปฏิบัติ

 

ฉะนั้นโยคีผู้ประพฤติปฏิบัติต้องมีสติอยู่ในฐานทั้ง ๔ เป็นพื้นฐานของหลักภาวนา

ในการประพฤติปฏิบัติในกายยาว วา หนา คืบ  กว้าง ศอก

ซึ่งอยู่ที่สภาวะจิตที่รู้เท่าทันต่อสภาวะอารมณ์ ด้วยการมีสติควบคุมอยู่ในทุกสภาวะ

ทุกอิริยาบถไม่ว่า ยืน เดิน นั่ง นอน คิด  เหยียดขา คู้ขา เหยียดแขน คู้แขน

ทุกกิริยาอาการที่เรากำหนดรู้สภาวะแห่งจิต

แห่งการประพฤติปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ

 

จึงขออวยพรให้โยคีผู้ประพฤติปฏิบัติให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ และ

 

ขอให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ในปัจจุบันเร็วพลันเทอญ

ติดตามอ่านตอนต่อไปที่นี่ค่ะ

 

อิสระแห่งจิต

 

http://gotoknow.org/blog/mindfreedom

 

ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองค่ะ

  

หมายเลขบันทึก: 347914เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2010 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท