ตัวอย่างโครงการ


ใช้สำหรับเป็นไกด์ลายน์ในการทำรายงานของนางสาวฐิติพร ศรีสุวรรณ
โครงการผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ  
หลักการและเหตุผล                        
          วัฒนธรรมการกินอาหารทางภาคใต้ มีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่าชาวภาคใต้นิยมกินผัก เมื่อไรก็ตามที่ชาวภาคใต้ชี้ว่าผักนี้กินได้เราจะประหลาดใจว่าผักที่เราเห็นนั้นบางชนิดมักมีกลิ่นฉุนจนไม่น่ากินแต่คนใต้กลับบอกว่าอร่อยเหลือเกิน จากการประชุมสัมมนาครั้งใดพืชผักที่เป็นยาบางครั้งไม่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ แต่ชาวใต้ก็นำมากินเป็นกลับแกล้มได้เสมอสิ่งนี้เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งและชื่นชม โดยเฉพาะถ้าได้ไปนั่งรับประทานอาหารชาวใต้ จะเห็นว่าน้ำพริกพร้อมผักพื้นบ้านเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้ชาวใต้สุขภาพดี แข็งแรง มีสติปัญญาดี เพราะได้รับอาหารที่มีคุณค่าจากผักเหล่านั้น (ผักพื้นบ้านภาคใต้ " สถาบันการแพทย์แผนไทย , 2452 )
              การรับประทานอาหารผักพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมทางการบริโภคอาหารของไทยสั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูกมาหลายชั่วอายุคน แม้กระทั้งพืชที่จัดเป็นพืชพิษที่ปรากฏในตำรา  พืชพิษของนักวิทยาศาสตร์  ชาวตะวันตกก็ถูกคนไทยนำมาบริโภคได้โดยปลอดภัย เช่น  ต้นบอน  ต้นอุตพิด  บุก และ กลอย เป็นต้น ( เกษม  พิลึก, ยิ่งยง ไปสุขศานต์วัฒนา และคณะ, 2534 ) ผักสด ผักต้นต่างๆ ที่ใช้จิ้มน้ำพริก ช่วยให้ได้เส้นใยอาหาร  วิตามิน เอ บี ซี  แคลเซียมและฟอสฟอรัส  ครบถ้วน  ส่วนพืชเส้นใยนั้น แก้อาการท้องผูกได้ด้วย ( .นพ.วีระสิงห์  เองมั่น , 2542 ) และเรายังพบว่าคนไทยสมัยก่อนบริโภค อาหารโดยคำนึงถึงประโยชน์ของอาหารทั้งในแง่ที่เป็นอาหารและยารักษาโรคควบคู่ไปด้วยนั้นคือ กินเพื่อแก้ไขหรือปรับธาตุทั้ง 4  ในร่างกายให้เกิดความสมดุลกันอีกด้วย ( ในสมัยก่อนคนเราคิดว่า ร่างกายประกอบด้วยธาตุ  4  ธาตุ คือ ดิน  น้ำ  ลมไฟ  การไม่สมดุลกันกับธาตุทั้ง  4  จะทำให้ร่างกายเกิดโรคหรือความเจ็บป่วยได้ )  เช่น  แกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม  แกงส้มมีรสเปรี้ยวจะบำรุงธาตุน้ำ รสเผ็ดบำรุงธาตุลม ดอกแคก้านเกสรมีรสขมจะแก้ไข้ ต้มยำมีส่วนประกอบของ ตะไคร้ พริก  หอม ข่า  ใบมะกรูด  ช่วยขับลมและระบบการย่อยอาหาร  มีเนื้อสัตว์ ต่างๆ สำหรับบำรุงธาตุดิน มีรสเปรี้ยวของมะนาวแก้ธาตุน้ำ เป็นต้น  ( .. เพ็ญนภา  ทรัพย์เจริญ , 2542 )
           ดังนั้นเพื่อเป็นการรณรงค์ให้บุคลากรของโรงพยาบาลหันมาเห็นประโยชน์ของอาหารพื้นบ้าน จึงทำได้โครงการ  อาหารพื้นบ้านปลอดสารพิษขึ้น ซึ่งการบริโภคอาหารพื้นบ้านเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างหนึ่ง คือ  ได้ความอิ่มเอมเป็นสุข  เกิดความผูกพนธ์กับถ้องถิ่นของตน มีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูง และมีผลดีในด้านการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง     รวมทั้งยังให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพืชพันธุ์ตามธรรมชาติอีกด้วย ดังนั้นหากเราไม่ศึกษาและฟื้นฟูภูมิปัญญาดังกล่าวนี้ไว้  การบริโภคอาหารพื้นบ้านก็อาจจะถูกลืม หรือถูกคุกคามจากการแพร่กระจายวัฒนธรรมการบริโภคอาหารแบบตะวันตกเข้ามาแทนที่และสูญหายไปในที่สุด 
วัตถุประสงค์
          1.    เพื่อเผยแพร่คุณค่าของผักพื้นบ้านการบริโภคผักพื้นบ้านฟื้นฟู วัฒนธรรม การบริโภคผักพื้นบ้านของบุคลากร
          2.    เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นของตัวเองหลังจัดทำโครงการผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ  
          3.    เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการได้แก่ความรู้เรื่องคุณค่าผักพื้นบ้านเจตคติต่อการบริโภคผักพื้นบ้านและพฤติกรรมการบริโภคผักพื้นบ้าน 
เป้าหมาย
        นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาได้ตระหนักถึงความสำคัญและเปลี่ยนแปลงการบริโภคผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน จำนวน 1 คน 
วัน  เวลา  สถานที่
                มิถุนายน-กรกฎาคม    2549    โรงพยาบาลละแม   .ละแม  .ชุมพร 
ทรัพยากรที่ต้องการ
          1.  นักศึกษาที่กำลังศึกษาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ 
          2.  งบประมาณ
         -      จัดหาผักพื้นบ้าน  ปลูกผักพื้นบ้าน       500     บาท  
วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน               
สาระสำคัญของกิจกรรม
           1.    ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ
           2.    วิเคราะห์โครงการ
           3.    เสนอโครงการต่ออาจารย์
           4.    ดำเนินการตามโครงการ.
       5.    วิเคราะห์การดำเนินการ
          6.    สรุปผลดำเนินงาน       
แผนการดำเนินงาน 
   ระยะเวลา/กิจกรรม ปี .. 2549 หมายเหตุ
มิ.ย . .
1.เขียนโครงการ 10-12      
2.เสนอโครงการต่ออาจารย์           1-2    
3.ดำเนินการตามโครงการ          3-21  
4.ประชาสัมพันธ์โครงการ     20  
5.ประเมินผล     22  
ผู้รับผิดชอบโครงการ       นางสาวฐิติพร      ศรีสุวรรณ 
แผนการประเมินผล
          1.    ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยการประเมินก่อนการดำเนินการ  ระหว่างการดำเนินการ และหลังการดำเนินการ
          2.    ปัญหาและอุปสรรค 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
          1.    นักศึกษาทราบถึงภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับองค์ความรู้และวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้าน
          2.    คาดว่าจะเป็นตัวอย่างแก่ผู้สนใจการบริโภคผักพื้นบ้าน และสามารถเป็นแนวทางการส่งเสริมฟื้นฟูวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้านให้เหมาะสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตของบุคคล 
          3.    นักศึกษามีความรู้เรื่องประโยชน์ของผักพื้นบ้านและข้อควรระวังในการบริโภคผักพื้นบ้าน                                                ……………………………….ผู้รับผิดชอบโครงการ(นางสาวฐิติพร  ศรีสุวรรณ)   

โครงการผักพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ

   

เสนอ

   ผศ.เผด็จ  นวนหนู
โดย  นางสาวฐิติพร  ศรีสุวรรณ
4904106102023  
วิชา 2500101 พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ศูนย์ชุมพร
คำสำคัญ (Tags): #สามัคคี
หมายเลขบันทึก: 34775เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท