เรียนรู้จากผู้เยาว์วัย จากภูสูงถึงห้างสรรพสินค้า


การสอนให้เด็กรู้จักสัมผัสธรรมชาติ และผู้คนที่หลากหลายชนชั้นวรรณะ หลากหลายฐานะ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม ด้วยความเชื่อมโยงและอ่อนโยน มิเพียงแต่จะเกื้อหนุนต่อการเติบโตทางความคิดของเด็ก มิให้ตกเป็นทาสของระบบทุน หากแต่ยังเป็นการเสริมสร้างระบบคุ้มครองเด็กในอีกรูปแบบหนึ่ง
วันนี้ทำไมไม่ไปโรงเรียน  เป็นหวัดยังไม่หายเหรอผมถามเด็กชายชาวไทใหญ่ไร้สัญชาติข้างบ้าน เขาก็ตอบว่า ยังไม่ไปครับ กลัวจะเอาเชื้อโรคไปแพร่ที่โรงเรียน  ........................................................................................................................................................ ผมอึ้ง กับคำตอบของเด็กชายวัยสิบสี่ปีผู้นี้ และมองเห็นด้านลึกที่เขามีจิตสังคม (Social mind)  ........................................................................................................................................................ แรกทีเดียว ผมคิดว่าเขาน่าจะไปเพราะมันเป็นสิทธิและหน้าที่ที่เขาควรจะไป เพื่อไปศึกษาหาความรู้ ซึ่งผมก็มองเขาว่าควรได้รับประโยชน์แบบปัจเจก แต่ในแง่ของความป่วยไข้นี้ ตัวเขากลับมองกว้างกว่า เพราะคิดเผื่อถึงคนอื่นด้วยกลังโรคจะแพร่ระบาด  ........................................................................................................................................................ ผมเองเพิ่งเริ่มทำงานกับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพื้นที่ปางมะผ้าได้ไม่นาน สิ่งสำคัญที่พบ ก็คือ เด็กๆให้ความรู้เราหลายเรื่อง ถึงจะเป็นเด็กที่เรียนไม่เก่ง ยากจน  ถ้าถามเรื่องวิชาเรียนก็ดูหัวทื่อๆ แต่พอถามชื่อแมลง ชื่อต้นไม้  แม่น้ำลำธารอะไรอยู่ตรงไหน เด็กจะบรรยายได้เป็นคุ้งเป็นแควอย่างออกรสชาติเลยทีเดียว   ........................................................................................................................................................ อันนี้เป็นเรื่องน่าสนใจมาก สำหรับผม  ก็คือเด็กรู้จักบ้านเกิดและสิ่งแวดล้อมของตัวเองผ่านวิถีชีวิตในวัยเยาว์ พวกเขามีความผูกพันกับ ดิน น้ำ ป่า สัตว์เล็กๆอย่างแมลง กุ้ง หอย ปู ปลา สิ่งของเครื่องใช้ ของเล่นที่พวกเขาทำมากับมือ นี่เป็นห้องเรียนชุมชนที่ใหญ่มาก  ........................................................................................................................................................ ผมค่อนข้างมั่นใจว่า หากวันข้างหน้า เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเขาคิดถึงสังคม ชุมชนบ้านเกิดของพวกเขา มโนภาพเหล่านี้จะผุดขึ้นมาอย่างชัดเจน และเป็นความรู้สึกที่ละเอียด สวยงาม เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ อย่างเวลาที่พวกเขากระโดดจากหน้าผาลงเล่นน้ำกับเพื่อน  ........................................................................................................................................................ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผมกลับสู่เมืองใหญ่ สถานที่สำหรับวันหยุดของเด็กๆก็มักจะเป็นศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ภาพของเด็กเล็กๆที่พ่อแม่เอานั่งในรถเข็นขณะไปจับจ่ายสินค้า ในชุดสวยงามนั้น น่ารักไม่หยอก แต่ในอีกด้าน ผมก็เห็นว่า การมาห้างสรรพสินค้านี่ก็เป็นห้องเรียนชุมชนของเด็กเมืองเหมือนกัน แต่เนื้อหาและคุณค่าทางจิตวิญาณต่างจากเด็กบ้านป่ามาก  ........................................................................................................................................................ คุณพ่อคุณแม่ที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ และพาคุณลูกออกไปช้อปปิ้งบ่อยๆด้วยความเคยชินนั้น อาจจะไม่เห็นว่าจะมีผลกระทบอันใดกับเด็กๆ แต่ผมเห็นว่า มันเป็นการปลูกฝังให้เด็กจดจำสินค้า เลียนแบบวิธีการใช้จ่ายเงิน ในขณะที่พวกเขาไม่ได้เรียนรู้ถึงวิธีหาเงินของพ่อแม่ว่ากว่าจะหาเงินมาได้นั้นยากลำบาก ........................................................................................................................................................ สิ่งที่เขาคุ้นตาก็คือ ภาพแห่งความสุขของการไปเดินห้าง จับจ่ายสินค้า และรับสื่อโฆษณาจากป้ายและแคมเปญต่างๆครั้งแล้ว ซึ่งเป็นความสุขที่ฉาบฉวย ครั้งเล่า  ........................................................................................................................................................ ผมคิดว่านี่เป็นอีกด้านของการบ่มเพาะนิสัยฟุ้งเฟ้อและติดวัตถุที่ผู้ใหญ่ในเมืองพึงระวัง ปัจจุบันพ่อแม่ส่วนหนึ่ง เริ่มเห็นว่าโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลเชิงลบต่อเด็กแล้ว แต่ยังไม่ใคร่มีใครเห็นอีกด้านของห้างสรรพสินค้าในฐานะที่เป็นสถานที่ปลูกฝังการบริโภคนิยม การแข่งขัน ประกวดประชัน  และให้ความหมายของการจับจ่าย มากกว่าการอยู่อย่างสงบ พอเพียง  ........................................................................................................................................................ มิเพียงเท่านั้น หากวันข้างหน้า เขาจะต้องกลับมามีส่วนพัฒนาชุมชนของพวกเขา เขาจะเชื่อมโยงกับประสบการณ์แบบใด ก็น่าจะมีคำตอบได้ไม่ยาก   ........................................................................................................................................................ แต่ด้วยวิถีชีวิตคนกรุงที่พ่อแม่ลูกจะพบปะกันพร้อมหน้ายากขึ้นเรื่อยๆ รัฐเองก็ไม่ได้สร้างพื้นที่ที่สะดวกสำหรับวิถีครอบครัวเช่นนี้ไว้อย่างเพียงพอ บริษัทข้ามชาติเข้าใจจุดนี้ดี การสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อตอบสนองประชาชนที่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กันดังกล่าวให้เกิดมีขึ้นในห้างจึงได้รับกระแสตอบรับจากผู้คนยุคใหม่เป็นอย่างดี และถูกขับเคลื่อนด้วยการสร้างภาพว่ามันเป็นสิ่งที่แสดงความศิวิไลซ์ โดยไม่ต้องตั้งคำถามใดๆ  ........................................................................................................................................................ เราจะหลีกหนีวิถีชีวิตดังกล่าวได้อย่างไร ผมเองก็คงเป็นแค่คนสะท้อนความหมายจากมุมมองนักวิชาการชายขอบ ด้านหนึ่ง ผมเห็นว่า การพาเด็กมาเหยียบดิน มาเยือนธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นในวิถีชีวิตที่รุมเร้าให้เด็กมีจิตใจหยาบกร้านอย่างทุกวันนี้ การสอนให้เด็กรู้จักสัมผัสธรรมชาติ และผู้คนที่หลากหลายชนชั้นวรรณะ หลากหลายฐานะ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม ด้วยความเชื่อมโยงและอ่อนโยน มิเพียงแต่จะเกื้อหนุนต่อการเติบโตทางความคิดของเด็ก มิให้ตกเป็นทาสของระบบทุน หากแต่ยังเป็นการเสริมสร้างระบบคุ้มครองเด็กในอีกรูปแบบหนึ่ง  ........................................................................................................................................................ และหากจำต้องพาพวกเขาไปห้างสรรพสินค้า ผู้ใหญ่เองอาจพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ก็คือสอนให้เด็กๆเรียนรู้ชีวิตทางสังคมในห้าง ชี้ให้เห็นถึงกลไกของการบริโภคนิยม และเชื่อมโยงถึงการทำงานของพ่อแม่ ไปจนถึงอีกหลายชีวิตในสังคมทั้งเมืองและชนบท กว่าสินค้าจะส่งมาถึงชั้นวางในห้องแอร์เช่นนี้ ........................................................................................................................................................ บางที เด็กๆอาจจะเริ่มเรียนรู้ บ่มเพาะความเข้าใจว่าไฟฟ้า และสาธารณปโภค สินค้าราคาถูกมากมายในห้าง มันวางอยู่บนการเบียดบังคนชนบท เด็กวัยเดียวกับพวกเขาที่ยากจนอยู่ในชนบทอย่างไรบ้าง หรือผู้ใหญ่บางคน อาจจะคิดอะไรได้มากกว่านี้อีกเยอะแยะ ตัวผมเป็นเพียงไม้ขีดไฟก้านน้อยๆ คอยแค่อยากจุดประกายให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เท่านั้นครับ
หมายเลขบันทึก: 34752เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประทับใจ บันทึกนี้มากค่ะ ดิฉันมีลูกสาว 2 คน อายุ 8 ขวบกับ 4 ขวบ  ด้วยความฉาบฉวยของการเป็นแม่ของตัวเองเมื่อเป็นแม่ใหม่ๆ ลูกคนโตจึงถูกเลี้ยงดูแบบคนเมือง  ผลพวงคือ "สำอาง"  ชอบซื้อของเล่นในห้าง ชอบเล่นบ่อบอลที่แสนสกปรก  "ตามความคิดเห็นของน้องสาว"  น้องสาวจะร้องยี้เมื่อพี่สาวรบเร้าพ่อแม่ ว่าขอไปเล่น สถานบันเทิงของเด็ก ที่อยู่ในห้าง น้องก็จะบอกว่า "แม่ไปเล่นทรายที่ทะเลดีกว่า" 

ล้วนเป็นสิ่งที่โดนปลูกฝังทั้งสิ้น ยืนยันได้ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับที่ให้กำลังใจ และถ้าเป็นไปได้ คุณเมตตาอาจจะลองคุยกับคนเป็นแม่และพ่อของครอบครัวอื่นๆดูนะครับว่ามองเห็นปัญหาเช่นเดียวกันนี้หรือเปล่า แต่ละคนอาจคิดต่างกันออกไป และแต่ละคนอาจมีวิธีการแก้ปัญหาต่างกันออกไป ซึ่งบทเรียนเหล่านี้มีประโยชน์มากถ้าช่วยถ่ายทอดกันออกไป อาจจะเป็น "เครือข่ายพ่อแม่เท่าทันสังคม"ที่มีกิจกรรมเชื่อมโยงกับนักวิชาการและนักพัฒนาสังคมก็ได้นะครับ ผมเองก็กำลังจะเป็นคุณพ่อมือใหม่ ก็ยังต้องเรียนรู้อีกมาก สักวันอาจต้องขอความรู้จากคุณเมตตาเช่นกันครับ

ตามหาคุณ ยดดอยอยู่หลายวัน เพราะตนเข้ามา comment ไว้ ติดตามความคืบหน้า แต่หาไม่เจอ หลายวันก่อน ได้มีดอกาสคุยกับผู้พัฒนาระบบ จึงทราบว่าใน v.2 นี้ เราต้อง login เข้าใช้ระบบก่อนเราจะกดเลขรหัส ครั้งเดีวแทน การที่เราต้องกดตัวเลข ซ้ำหลายครั้ง  และจุดสังเกตคือถ้าเรา login เวลาเรา ให้ความเห็นไปที่เรื่องใด มันจะเชื่อมโยงไปยังสิ่งที่เรา comment ไว้มาในศูนย์รวมข้อมูลของเราเอง ค่ะ
เป็น trick จริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท