การฝึกอบรมในระบบการศึกษาทางไกล


อบรมทางไกล
การฝึกอบรมในระบบการศึกษาทางไกล                                             ทันดร  ธนะกูลบริภัณฑ์*บทนำ                บุคลากรหรือ คนนั้นเป็นปัจจัยที่กำหนดทุกอย่างในองค์กร ถ้าคนเก่ง คนมีความรู้ความสามารถ งานต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุประสงค์ขององค์กร ก็จะสำเร็จได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง ประหยัด มีประโยชน์สูงสุด  คนหรือมันสมองของหน่วยงานที่ต้องได้รับการพัฒนา เพราะหากมีแต่เงิน  เครื่องมือ อุปกรณ์พร้อมแต่คนไม่พร้อม การขับเคลื่อนหรือการพาองค์กรไปในทิศทางที่เจริญขึ้นกับทั้งต้องแข่งขันกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ปัจจุบันเป็นโลกแห่งความรู้บนฐานเศรษฐกิจ (Knowledge – Based Society) ไม่ได้                การฝึกอบรมนั้นเป็นแนวทางการพัฒนาคนที่ทำงานอยู่แล้วเป็นหลักให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น การจะพัฒนางานจำเป็นต้องมีการพัฒนาคน พัฒนาสมรรถภาพ(Competency)ของผู้ทำงาน ทุกองค์กรต้องการคนเก่ง  คนดี  คนมีความรู้  ความเข้าใจ  ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน หากผู้เข้ารับการอบรมได้นำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงาน การจะทำให้เกิดผล จำเป็นที่หน่วยงานผู้ประสงค์จะพัฒนาคน จะต้องวางแผนการฝึกอบรมให้ตรงต่องาน และของหน่วยงาน                เทคนิควิธีการของการจัดฝึกอบรมนั้นมีมากมายหลายแบบ ที่จัดกันอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการบรรยายและอภิปราย การมีบทบาทของผู้เข้าร่วม การจัดเฉพาะตัว การใช้โสตทัศนูปกรณ์ นั่นก็แล้วแต่ชนิด ลักษณะ   และประเภทงานการอบรมหลักสูตรและจำนวนผู้เข้ารับการอบรม                ระบบการอบรมทางไกล (Distance Training) เป็นการอบรมที่นิยมใช้กันอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเป็นการอบรมที่สามารถดำเนินการให้กับคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งเหมาะกับการดำเนินการของหน่วยงานที่มีคนในสังกัดที่มีการทำงานในลักษณะเดียวกันกระจายไปทั่วประเทศ เพราะมีลักษณะของงานที่เหมือนๆกันในการออกให้บริการประชาชน                สำนักการศึกษาต่อเนื่อง เป็นหน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช   ที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลให้บริการแก่ผู้สนใจศึกษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ในปีแรกมีผู้สมัครเข้าศึกษากว่าแปดหมื่นสี่พันคน นับเนื่องถึงปัจจุบันมีผู้สมัครเป็นนักศึกษาและผู้เรียน ประมาณ  3,000,000 คน   สำเร็จเป็นบัณฑิตไปแล้วกว่า 300,000 คนในหลายระดับการศึกษา   ดังนั้นในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่มีการกำหนดว่าจะต้องมีการบริการทางวิชาการแก่สังคม    ดังนั้น การจัดการฝึกอบรมจึงควรมีการดำเนินการให้สอดคล้องกับรูปแบบของการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย ทิศทางการพัฒนางานของสำนักการศึกษาต่อเนื่องในการฝึกอบรม                 ในระบบการศึกษาทางไกลที่มหาวิทยาลัยใช้อยู่นั้นการเจริญเติบโตทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต( Internet)การอบรม ทางไกลมีความเป็นไปได้ และมีแต่จะขยายตัวมากขึ้นตาม เทคโนโลยีที่สำคัญเช่น ดาวเทียม   เส้นใยนำแสง  ที่มีอยู่แล้วในประเทศ ที่ยังช้าอยู่เป็นเพียงแต่การเชื่อมโยงเป็นระบบที่มีผู้ให้บริการที่แตกต่างกันหากมีการปรับกฎหมาย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ในการให้บริการโทรคมนาคม  การเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  สำนักจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับระบบหรือพัฒนารูปแบบและกระบวนการให้บริการให้เป็นรูปแบบเดียวกับมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้บริการและควรเป็นการบริการวิชาการในรูปแบบเชิงหน่วยงานอิสระที่จะต้องดำเนินการเพื่อความคล่องตัวในทุกรูปแบบ  และระบบการศึกษาทางไกลที่บุคลากรมีความเคยชินและเข้าใจกันดีแล้ว  ดังนั้น  การฝึกอบรมทางไกล  จึงจะเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่จะต้องดำเนินการต่อไป  ตามสภาพความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  โดยมีแนวคิด    ทิศทางการพัฒนางานของสำนักดังนี้                1. ปรับรูปแบบเป็นหน่วยงานอิสระเชิงธุรกิจ                    ในการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป  สำนักจะก้าวเข้าสู่การเป็นหน่วยงานอิสระเชิงธุรกิจหรือเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ(SDU)ที่จะมีความคล่องตัวในการทำงาน  การบริหารงาน  การบริการ  การกำหนดอัตราค่าตอบแทบ  การบริหาร คน วัสดุ  ครุภัณฑ์ ที่ออกนอกระบบราชการ  มีการจ้างคนเข้าทำงาน  การฝึกอบรม  การจ้างบริษัทที่ปรึกษาหรือการเป็นเครือข่ายร่วมในการดำเนินการด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับหน่วยงานอื่น                2. การขยายงานเชิงรุก                    จากการที่สำนักแต่เดิมมาใช้วิธีการประชาสัมพันธ์จัดหลักสูตรและอบรมแต่เฉพาะในที่ทำการ  มหาวิทยาลัย รวมถึงการผ่านสื่อต่างๆมีการดำเนินการ  ตามสถานการณ์ที่มีการแข่งขันกันอย่างมากในหลายสถาบันการศึกษา  รวมทั้งบริษัทเอกชน  ดังนั้น  การทำงานแบบเดิมๆนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ดีอีกต่อไปในโลกยุคที่ต้องแข่งขัน  จึงจำเป็นที่จะต้องขยายงานเชิงรุกโดยการไปจัดอบรมในภูมิภาค  ระยะเริ่มต้นจะเป็นเครือข่ายในการหากลุ่มเป้าหมาย  รวมถึงกลุ่มที่เป็น In-house  สำหรับงานฝึกอบรมตามสถานประกอบการต่างๆ  และจะขยายไปเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับศูนย์บริการการศึกษาประจำจังหวัดและสถานที่จัดอบรมนั้นจะใช้บริการตามโรงแรมหรือสถานศึกษาที่มีศักยภาพและพร้อมในการให้บริการ                3. กลุ่มเป้าหมายของการฝึกอบรม                    ในการจัดบริการทางวิชาการในระยะสั้นนั้นกลุ่มเป้าหมายเน้นไปยังกลุ่มผู้มีงานประจำทำอยู่แล้วเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ  เพิ่มทักษะในการพัฒนาคน  พัฒนางาน  เป็นการสร้างคนเพื่อไปสร้างงานหรือเป็นการปรับเลื่อนวิทยฐานะของผู้มาเข้าอบรมทำให้เป็นผู้คิดเป็น  ทำเป็น  โดยปกติแล้วกลุ่มแรกที่มักจะเข้ามาพัฒนาตนเองมักเป็นข้าราชการที่เป็นนโยบายของรัฐที่กำหนดให้ทุกคนได้เข้ารับการอบรม  ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาคนด้วยการอบรมอาจแบ่งเป็น                    3.1 อบรมทั่วไป  (Public Training)  ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป  ไม่เป็นการเฉพาะผู้ใด  คนมาเข้าหลากหลายทั้งระดับความรู้และประเภทของงานที่ปฏิบัติอยู่  จะเข้ามาพัฒนาแนวคิด เทคนิควิธีการทำงานแต่มีความใกล้เคียงกันในงานประจำที่ทำอยู่                     3.2 In-house  Training  จะจัดให้กับบุคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ  ที่ทางเจ้าของหน่วยงานบริษัทจะเป็นผู้กำหนดตัวคนไว้แล้ว  จะเป็นการพัฒนาเฉพาะด้านตามกำหนด  อาจจะเป็นการขอให้ไปจัดโดยความเชื่อถือหรือการขอเข้าไปจัดจากการเห็นว่าน่าจะทำได้  จึงอาจรวมถึงเป็นโครงการความร่วมมือกับส่วนราชการหรือหน่วยงานเพื่อดำเนินการ                 ในปี  2550 เป็นต้นไป  กลุ่มเป้าหมายหลักที่สำนักการศึกษาต่อเนื่องจะไปดำเนินการเป็นกลุ่มIn-house  โดยหากลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อการฝึกอบรมที่เป็น   หน่วยงานภาครัฐ      รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน                4. การหารายได้และการใช้จ่ายเงินรายได้                    ในการดำเนินการในระบบรูปแบบพิเศษที่มหาวิทยาลัยกำหนดนั้น  ส่วนหนึ่งต้องดำเนินการเพื่อหารายได้คืนให้กับมหาวิทยาลัยเป็นค่าสถานที่ บุคคลและการใช้วัสดุเครื่องมืออุปกรณ์ของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ  ในขณะที่มหาวิทยาลัยกำลังประสบปัญหาเรื่องรายได้ที่มีน้อยลง  จำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับระบบการทำงานของสำนักให้พึ่งตนเอง  มีการวางระบบพัฒนาสื่อหรือเทคโนโลยีการฝึกอบรม  โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์สมัยใหม่  การเปิดหน้า Home page  ฝึกอบรมใน  Internet  การซื้ออุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่องาน                   สำนักการศึกษาต่อเนื่องจำเป็นต้องเป็นจุดขายหรือจุดทำรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย  โดยในการหารายได้นั้นอาจดำเนินการออกมาได้จาก                4.1  จัดการฝึกอบรมปกติ  (ระยะสั้น)  (Public Training)                4.2  การให้บริการเป็นที่ปรึกษา   (Consult)                4.3  การจัดอบรมทางไกล  (Distance Training)                4.4  การเป็นวิทยากรของบุคลากร                4.5  โครงการความร่วมมือฝึกอบรม  (Co-operation  training)                5. การจัดบริการทางวิชาการแบบให้เปล่า                    การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นที่ยอมรับของสังคม   และการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเป็นสิ่งหลักเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจัดตอบแทนให้กับสังคม  ดังนั้น  สำนักการศึกษาต่อเนื่องจึงมีแนวทางการดำเนินการบริการทางวิชาการแบบให้เปล่า  โดยการจัดฝึกอบรมในลักษณะร่วมจัดกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานหรือส่วนราชการอื่นที่มีวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายแล้ว  สำนักเข้าไปทำหน้าที่บริหารจัดการอันจะเป็นการสร้างภาพให้กับหน่วยงาน  เป็นการประชาสัมพันธ์ทางอ้อมให้กับการเป็นนักศึกษาในอนาคต  โดยประมาณว่าจะต้องดำเนินการปีละ 2 ครั้ง                                6. การจัดฝึกอบรมแบบนานาชาติ/หรือการประชุมนานาชาติ                    เพื่อการก้าวสู่ความเป็นสากลและเป็นการกระตุ้นการพัฒนาคนให้ต้องฝึกอบรมเพิ่ม  จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมหรือจัดประชุมนานาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี  โดยจะเริ่มจากกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน  เช่น  มาเลเซีย  สิงคโปร์  อินโดนีเซีย  ฟิลิปปินส์  ลาว  เขมร  พม่า  เป็นการขยายขอบเขตงาน  และจะทำให้สำนักเป็นหน่วยงานที่เป็นจุดขายของมหาวิทยาลัย                             7. การขยายงานไปยังภูมิภาค                    ในโลกยุคเร็ว  ทันที  ถูกต้อง  ใกล้ตัว  สำนักจะต้องพัฒนาระบบการให้บริการที่เป็นที่ถูกใจ  ตรงใจผู้ขอใช้บริการ  ดังนั้นเมื่อมีหลักสูตร  มีวิทยากร  มีสื่อประกอบ  มีเครื่องมือในการจัดการ  จำเป็นต้องขยายงานไปยังส่วนภูมิภาคตามจังหวัดที่มีกลุ่มเป้าหมายโดยประสานกับศูนย์วิทยพัฒนาและสถานที่เข้าร่วมมือกันหารายได้  แม้จะขาดทุนบ้างกำไรบ้างก็ต้องทำเพื่อการประชาสัมพันธ์งาน  โดยภาพรวมของมหาวิทยาลัยซึ่งการขยายงานไปในภูมิภาคนั้นต้องเข้าไปจับเข้ากับกลุ่มภารกิจต่าง ๆ  ตามนโยบายของรัฐบาลในการให้บริการประชาชน                                การเจริญเติบโตและความก้าวหน้าของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งนับวันจะมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดด ย่อมแสดงถึงจะเป็นสิ่งที่เอื้อต่อระบบการอบรมทางไกล เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่รวมการเรียนรู้ และการศึกษาอยู่ในตนเอง การใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่บทเรียน การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มข่าวสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น(CHAT) และส่งการบ้าน กระทำได้อย่างประหยัดในปัจจุบันสามารถใช้   E-mail ติดต่อกัน การเผยแพร่บทเรียนได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตในราคาที่ต่ำ และไม่ขึ้นกับระยะทาง ย่อมจะเปิดโอกาสให้เกิดการประชุมด้วยเสียง ( Audio Conference ) และการประชุมด้วยภาพและเสียงทางไกลพร้อมกัน (Video Conference )เมื่อมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานที่เป็นจริงได้ คงจะเป็นโครงการขยายงาน ของมหาวิทยาลัยไปในส่วนภูมิภาค ไปยังศูนย์วิทยพัฒนาและศูนย์ความร่วมมืออื่นๆได้บทสรุป                ปัญหาและอุปสรรคจะต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องที่มาช่วยกันพิจารณาหาทางที่เหมาะสมคุณภาพงานสำเร็จ  ในการใช้ต้นทุนที่ต่ำ ที่สำคัญที่สุดคงจะเป็นการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ การเลือกหลักสูตรสาขาวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศโดยส่วนรวม อีกทั้งการสร้างเนื้อหาหลักสูตรต้องที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของผู้ที่เข้าอบรมแล้วเกิดประโยชน์ทั้งหน่วยงานและตัวผู้รับอีกทั้ง ค่าใช้จ่าย อื่นๆ ที่นอกเหนือจากเทคโนโลยี อาทิ บุคลากร ที่มาทำหน้าที่ และที่สำคัญทีสุดคือ การมีองค์กรบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากล มีความคล่องตัวเป็นอิสระและสามารถช่วยหน่วยงานแม่ในการเพิ่มรายได้และสร้างภาพลักษณ์ที่เสริมระบบที่ดำเนินการอยู่          
หมายเลขบันทึก: 34633เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท