สำนักการศึกษาต่อเนื่องกับการจัดการความรู้


การจัดการความรู้
                       สำนักการศึกษาต่อเนื่องกับการจัดการความรู้                                                          นายทันดร  ธนะกูลบริภัณฑ์*                เมื่อเอ่ยถึงคำว่า การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า KM ถ้าใครไม่รู้หรือไม่ได้ยินคงเป็นเรื่องแปลก หรือตกยุคแน่ ๆ เพราะคำนี้เป็นคำยอดนิยมในทุกส่วนราชการรวมทั้งเอกชนอีกด้วย โดยเฉพาะหน่วยราชการต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ สำหรับหน่วยงานกันทุกหน่วยเพราะเป็นกิจกรรมบังคับให้ทำหรือที่รู้ ๆ กันว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผล การปฏิบัติราชการ ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดไว้ในมิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์การ ของการประเมินผลการปฏิบัติราชการซึ่งในปี 2548 ได้กำหนดคะแนนถึง ร้อยละ 40 เพราะตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอโดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน  ดังนั้นในเรื่องการจัดการความรู้ ก.พ.ร. จึงถือได้ว่าเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการที่มีการจัดการบรรยาย การจัดทำเอกสารเผยแพร่และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่เผยแพร่ไว้ทางเว็บไซต์ในเรื่องนี้(KM)มีผู้รู้ผู้เล่นในเรื่องการจัดการความรู้มากมายหลายท่านทั้งนักวิชาการในต่างประเทศ รวมทั้งนักวิชาการไทย มีการผลิตตำราบทความที่หลากหลายที่ว่าด้วยเรื่องการจัดการความรู้ เพราะสังคมโลกทุกวันนี้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่ถ้าใครหยุดตัวเองเท่ากับวิ่งถอยหลัง ทุกคนต้องมีการปรับเปลี่ยนพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง มีปรับกระบวนทัศน์ การจัดเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เป็นไปตามการหมุนไปแห่งโลกแห่งยุคดิจิทัล  ดังนั้นหน่วยงานบริการต่าง ๆ  ทั้งภาครัฐและเอกชน จึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องเป็นบุคคลเรียนรู้( Learning Person )เช่นกัน   ถ้าจะมองย้อนไปในเรื่องประเด็นที่มาหรือการแพร่หลายของเรื่องการจัดการความรู้น่าจะเริ่มมาประมาณ   6 10 ปี ที่ผ่านมา โดยดูจากเอกสารหนังสือที่ GURU (ปรมาจารย์) แต่งขึ้นเผยแพร่แนวคิดออกขายและแปลเป็นหลาย ๆ ภาษา การเติมโตของ Web site  ต่าง ๆ เฉพาะค้นคำว่า การจัดการความรู้ ในSearch Engine คือใน Google(ไทย)  ก็จะพบมีถึงประมาณ  90,000 รายการ  ที่จะค้นหาได้ทั้งเรื่อง การจัดการความรู้ ซึ่งมีทั้งภาครัฐ เอกชนมากมายที่ได้ลงข้อความที่เกี่ยวกับเรื่อง การจัดการความรู้ หรือต่อไปจะใช้คำว่า KM และจากการค้นข้อมูลดังกล่าว Web site WWW.kmi.or.th  หรือ สคส. ที่เรียกชื่อเต็มว่า สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม   จะเป็นหน่วยงานที่ให้ข้อมูลเรื่อง KM ได้……………………………………………………………………………………..            *นายทันดร  ธนะกูลบริภัณฑ์  ศศ.ม. (รัฐศาสตร์    )เลขานุการสำนักการศึกษาต่อเนื่องอย่างชัดเจนและมากที่สุด ที่สามารถค้นได้  นั่นย่อมหมายถึงการเป็นต้นแบบก็ว่าได้ โดย ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช   เป็นผู้เขียนและลงข้อมูลไว้มากที่สุด ท่าน ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด และคณะนักคิด นักเขียนต่าง ๆ ก็มีบทความที่เกี่ยวกับ KM ที่ใช้เผยแพร่ไปยังหน่วยราชการอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะกลุ่ม  โรงพยาบาล  เช่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล    โรงพยาบาลบ้านตาก และกรมอนามัยที่มีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวกับKM แล้วลงเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์  เพราะในการดำเนินการในระยะต้นๆ นั้น กลุ่มที่ได้รับทุนเป็นกลุ่มด้านการแพทย์ ส่วนที่เป็นหน่วยงานที่จัดให้ข้อมูลทางด้านการบริหารราชการสมัยใหม่ก็คงต้องไม่พ้นต้องเป็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ( ก.พ.ร.) เพราะเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลการพัฒนาระบบให้ราชการไทยให้ปฏิบัติงานที่รวดเร็วทันสมัยและมีการบริหารงานเป็นสมัยใหม่  เป็นราชการไทยใสสะอาด และที่ลืมไม่ได้ก็ต้อง สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ที่มีวิทยากรหลาย ๆ ท่านที่ให้ความรู้ด้าน KM แก่ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงาน คือทั้ง สคส. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติต่างก็ให้ความร่วมมือกับ ก.พ.ร. ดำเนินการในเรื่องการจัด KM มาอย่างต่อเนื่อง    โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติมี      ดร.บุญดี  บุญญากิจ   เป็น GURUในเรื่อง KM มีข้อมูลหลากหลายที่ลงไว้ใน Website ให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าหาไปอ่าน    เพื่อทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้ทันยุคสมัยของการเป็นข้าราชการที่เป็น  I   AM   READY                 ทำไมต้องมีการจัดการความรู้ คนเรานั้นไม่จัดมันได้หรือไม่    มีอีกหลายคนที่ยังต้องทำความเข้าใจในเรื่อง การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  ในโลกยุคปัจจุบันที่กล่าวว่าเป็นโลกแห่งข่าวสาร (Information) ล้นโลก โลกยุค G 3  ยุคดิจิทัล โลกยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา จะว่ากันว่าทุกวินาทีก็ว่าได้ หลากหลายวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้   ยุคนาโนเทคโนโลยี เล็กแต่มีคุณภาพ  หน่วยงานต้องเล็กลงแต่มี คุณภาพงานมากขึ้น บริการประชาชนได้ดีขึ้นมากขึ้นด้วย และที่สำคัญต้องเร็วและถูกต้อง  ดังนั้นผู้เป็นมนุษย์เงินเดือนหากไม่พัฒนาตนเอง หรือทำตัวไม่ทันสมัย แน่นอนตกงานแน่ ๆ โลกนี้เต็มไปด้วย นวัตกรรม (Innovation)  การแข่งขันที่มีทุกอย่าง   การจะไปแข่งขันได้ก็ต้องมี ความรู้ (Knowledge)  มีการใช้ความรู้ เป็นตัวทำให้คิด ซึ่งมีผู้กล่าวว่า คุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งของคนหรือมนุษย์คือ  ความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอด   คนมีพัฒนาการของการเรียนรู้ ดังนั้น ความรู้นี่เองก่อให้เกิดการแข่งขันมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันทางสังคม    การชิงกันเป็นผู้ครองความรู้ ทำให้สังคมปัจจุบัน เป็นโลกยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  (Knowledge Based Society and Economy) ถ้ามองถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift)  ต้องใช้กระบวนการที่เรียกว่า การจัดการความรู้(Knowledge Management)    ที่นำไปสร้างและประยุกต์ใช้นั่นเอง                ถ้ากล่าวถึงองค์กรก็ต้องถือว่าการบริหารจัดการเป็นสิ่งที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดหรือเติบโต เป็นองค์กรที่มีชีวิต (Live Organization) เมื่อเป็นดังนั้น คน ในองค์กรนั้น ๆ จำเป็นต้องทำตัวเป็นคนที่พร้อมต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลง แต่จะปรับเปลี่ยนอย่างไรนั่นคือต้องเป็นคนที่รู้จักกับการจัดการความรู้ เพราะ คนนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในองค์กร หรือในการบริหารงาน                ความรู้มีการเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ทำให้หน่วยงานต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนา และคนในหน่วยงานต้องเป็นคนที่เป็นบุคคลเรียนรู้ (Learning Person) หนทางจะได้มาซึ่งความรู้นั้นมีหลากหลายวิธีการ มีเส้นทางหรือการค้นหาเข้าถึง (Access) ได้มากมาย เช่น การอ่านตำรา หนังสือ วารสาร ฟังข่าว ดูโทรทัศน์ และที่ยิ่งใหญ่สามารถค้นได้เป็นอนันต์ (Infinity) ไม่มีที่สิ้นสุด ก็ต้องเป็นการค้นผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกันไว้ทั่วโลกไว้ด้วยปลายนิ้ว นั่นคือทาง Internet นั่นเอง เพราะมีความมากมายเหลือคณานับของ Website ทุกภาษาในโลก ถ้ารู้ภาษากลางของโลก เช่น อังกฤษ    จีน   ฝรั่งเศส  ก็จะได้เปรียบคนอื่น ๆ ซึ่งในการค้นหา (Search) นั่น เครื่องมือที่ผู้มีความรู้ได้คิดไว้ให้ก็มีหลายชนิดที่จะหาได้ ผู้รู้ต่าง ๆ ได้จัดทำไว้ ผู้ใช้ก็เลือกให้เหมาะสมกับงานก็จะเป็นการพัฒนาความรู้ของตนได้                เมื่อกล่าวถึงเรื่องโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ในฐานะของสำนักการศึกษาต่อเนื่อง ที่ทำหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ การบริการทางวิชาการแก่สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเพราะถ้ามองในภาพของการเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมในรูปแบบการจัดฝึกอบรม ที่ในแต่ละปีมีหลักสูตรที่เพิ่มพูนความรู้เดิมเสริมเติมความรู้ใหม่ ประสบการณ์จากผู้รู้ผู้เล่นมากมายกว่า 60 หลักสูตรที่ดำเนินการ   จึงจัดได้ว่ามีความหลากหลายในความรู้ที่ถ่ายทอดไปให้คนทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าไปรับบริการได้นำไปใช้        ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องเป็นหน่วยงานที่ให้บริการต้องได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลในการแข่งขันกันได้ในเชิงธุรกิจ ทำให้การจัดการความรู้ยิ่งเข้าไปมีบทบาทที่สำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวคิดของการจัดตั้งและการให้บริการ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสำนักการศึกษาต่อเนื่องต้องมีความเข้าใจในเรื่อง KM ที่ชัดแจ้งปฏิบัติได้ รวมถึงการเป็นแบบอย่างหรือต้นแบบได้ด้วย การจัดการความรู้                ในเรื่องการจัดการความรู้ ต้องขอยกคำกล่าวของ GURU คือ Peter Drucker ในหนังสือ Post-Capitalist (1993) แม้จะนานกว่า 10 ปีแล้วก็น่าจะใช้ได้ดังนี้ “Knowledge is the new basic of competition in a  post-capitalist society”  แปลว่า ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความอยู่รอด หรือเพื่อการรักษาความเป็นเลิศให้ยั่งยืน               คำถามที่เราทุกคนเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นผู้กำหนดให้มีการทำ KM จะได้ยินเสมอ ๆ เช่น ทำ KM ทำไม  /  ทำ KM แล้วได้อะไร /  ทำ KM ทำไมทุกวันงานที่มีก็แย่แล้ว  / งานก็มากยังจะให้มาทำ KM อีก     คำพวกนี้เป็นความคิดเชิงลบ  บ้างพูด    ว่า KM เขาทำอย่างไร  /  KM ทำแล้วดีไหม  /  KM เป็นประโยชน์ต่องานมากไหม    ก็เป็นความคิดเชิงบวก ดังนั้นเพื่อเป็นการไขข้อข้องใจในเรื่อง KM หรือจะใช้คำเต็ม ๆ ก็บอกว่า การจัดการความรู้  (Knowledge Management)   ว่าเราจัดกิจกรรมนี้ทำเพื่ออะไร    สำคัญไฉน  ใครต้องทำบ้างจึงจะสำเร็จ

               

ก่อนอื่นก็ต้องตั้งข้อสมมติฐานก่อนว่าทุกคนรู้ว่าในการบริหารราชการสมัยนี้ หรือจะเรียกว่าสมัยใหม่ก็ว่าได้ มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและวิธีปฏิบัติที่การให้บริการต้องถูกใจประชาชน เร็วและต้องแข่งขันกันในด้านบริการเมื่อเข้าใจดังนั้น ก็ย่อมรู้ว่ามีความพยายามปรับเปลี่ยนการทำงานให้เป็นเลิศ ทั้งในระบบเอกชนก็ต้องมีการรับรองมาตรฐานการทำงานที่เรียกกันคุ้นหูว่าระบบ ISO ซึ่งมีมากหลายประเภท ในระบบราชการก็นำวิธีการต่าง ๆ มาใช้มีการรีเอ็นจิเนียริ่ง   TQM     5 ส    และอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นการพัฒนาระบบการทำงานทั้งสิ้น ปี 2541 มีการนำระบบมาตรฐานการจัดการภาครัฐ(PSO)               ถึง 12 ระบบมาใช้ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร มาถึงยุครัฐบาลคิดใหม่ทำใหม่ก่อให้เกิดการปฏิรูประบบราชการใหม่ มีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) (WWW.opdc.go.th) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการจัดการและพัฒนาส่วนราชการ

                การจัดการความรู้ในองค์กร ก็ต้องยกบทความของ ศ.นพ..วิจารณ์  พาณิช ผู้ที่เป็นปรมาจารย์(GURU) ด้าน KM เพราะทุกหน่วยงานส่วนใหญ่ใช้วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดจาก ศ.นพ.วิจารณ์ เป็นต้นแบบ ถือว่าท่านเป็น GURU ของ KM ก็ว่าได้ แล้ว KM คืออะไร                การจะให้คำนิยาม การจัดการความรู้ นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะแต่ละคนก็ต่างก็คิดต่าง ๆ กัน แต่นั่นก็ลงสู่จุดหมายเดียวกัน สรุปว่า เป็นการยกระดับความรู้ขององค์กรเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางต้นทุนทางปัญญาโดยเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวางมากเป็นการสร้างระบบและสภาพแวดล้อมที่เอื้อก่อให้เกิดการเรียนรู้  สร้างและแบ่งปันความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กร ที่จะให้เห็นชัดเจนก็ต้องเขียนเป็นรูปขององค์ความรู้ 2 ประเภท                Tacit Knowledge ฝังอยู่ในคน หรือกระบวนการขั้นตอนของงาน                Explicit Knowledge            อยู่ในรูปกระดาษหรืออื่น ๆ   การจัดการความรู้ นั้นเป็นกระบวนการ เป็นเครื่องมือ เป็นวิธีการที่จะเพิ่มคุณค่าของงานขององค์กร กลุ่มงานมีกิจกรรมมากมายที่ต้องดำเนินการในการทำ KM ส่วนสำคัญ คือ ต้องลงมือทำ จึงจะเข้าใจ หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านเราๆคุ้น ๆ เช่นไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็นทำนองนั้น การเริ่มดำเนินการการจัดการความรู้  ถ้าเริ่มต้นถูกทาง  ถูกวิธี ก็จะทำให้สำเร็จผล  ถ้าเริ่มไม่ดีหรือผิดทางไปก็ต้องมาตั้งต้นเดินกันใหม่  เป้าหมายของการจัดการความรู้นั้นก็ต้องเป็น  งานเป็นที่ตั้ง   ต่อมาคงต้องเป็นคน   และองค์กรที่จะต้อง  พัฒนาดำเนินการ แต่ที่เห็น ๆ อยู่คือ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546   กำหนดให้หน่วยงานต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย ก.พ.ร. ได้ออกเป็นเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการในมิติที่ 4 ที่ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการ เมื่อเป็นเช่นนี้ การจัดการความรู้จึงมีความจำเป็นที่ทุกคนในองค์กรต้องรู้และลงมือปฏิบัติ ต้องมีแผนงานการจัดการความรู้ ไม่ทำไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งแรกก็ต้องทำให้ทุกคนในหน่วยงานพร้อมใจยอมรับการทำ KM แล้วจะทำอย่างไรในเมื่อทุกคนต่างมีงานล้นมือกัน    เริ่มต้นที่ถือว่าสำคัญที่สุดนั้นต้องเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดขององค์กรที่ต้องรู้และให้การสนับสนุนทุกวิถีทางเห็นความจำเป็นของการดำเนินงานต่อไปก็มาสร้างกลุ่มหรือทีมงานที่ตั้งใจพร้อมอุทิศกำลังทั้งภายนอกและภายในในการดำเนินการเช่นก็เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจว่า KM  ไม่ใช่เรื่องใหม่  ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องที่ทุกคนนั้นทำแล้วแต่ยังขาดการจัดระบบ  ระเบียบและการค้นคืน  การบันทึกงานเพื่อเป็นความรู้ขององค์กร  หากคิดว่าง่ายก็จะง่าย  อย่างนี้ก็พอเห็นทางหรือแสงแห่งความสำเร็จมาแล้ว                 การจัดการความรู้เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ทำงานแล้วนำผลของงานมาบันทึก ประสบการณ์ เราต้องดึงเอาความรู้จากบุคลากรออกมาเข้าไปในแหล่งเก็บขององค์กรไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลหรือการบันทึกความสำเร็จของการทำงาน เรื่องนี้ก็มี Model หรือรูปแบบที่นิยมกล่าวถึงกันคือ ภูเขาน้ำแข็ง ตามแนวคิดของTomohiro Takanachi  ที่ความรู้มี 2 แบบที่เห็นได้เรียกว่าความรู้ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge มันมีอยู่ในเอกสารฐานข้อมูลเป็นความรู้ที่ลอกเรียนกันได้ สอนได้ เปรียบเหมือนที่ลอยอยู่เหนือน้ำแต่ประเภทความรู้ที่อยู่ในคน (Tacit  Knowledge) นี้ สอนไม่ได้ เป็นพรสวรรค์เฉพาะคน ยังไม่ได้เขียนหรือถ่ายทอดออก แต่ทำงานให้เกิดประโยชน์กับองค์กรได้ ดังนั้นถ้าดูในรูป จะเข้าใจขึ้นว่าแม้จะเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งซึ่งภูเขาน้ำแข็งนั้นส่วนที่พ้นน้ำจะมีเพียง หนึ่งส่วนเท่านั้นจมอยู่ใต้น้ำอีกเก้าส่วนส่วนที่อยู่ใต้นั้นยังมีอีกมากที่มีทั้งอธิบายได้ยังไม่มีการบันทึก  อธิบายได้ไม่อยากบันทึก   รวมทั้งอธิบายไม่ได้แต่จริงๆแล้วทำได้เพราะเป็นความสามารถเฉพาะตัว  

( 3 )

( 2 )
อธิบายได้แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก
( 1 ) )
Tomohiro Takanashi
อธิบายไม่ได้
อธิบายได้แต่ไม่อยากอธิบาย
ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน(Tacit Knowledge)
ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit Knowledge)
  และเมื่อเข้าใจเบื้องต้นแล้ว คงจะสรุปเพิ่มได้ว่า  การจัดการความรู้ หรือการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Transition) ของ Tacit  และ Explicit  ให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้เกิดความรู้องค์กร หรือจะตีความให้ตรงกับงานก็ต้องบอกว่า เป็นการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรที่กระจัดกระจายนำมาเข้าระบบ เพื่อพัฒนาตนเองและงาน  เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการปฏิบัติงานต่อไป และวิธีการที่จัดว่าได้ผลนั่นน่าจะเป็นการคว้ามากกว่าการค้น นั่นหมายความว่าถ้าเป็นเรื่องเดียวกันประเภทใกล้เคียง เขามีการทำไว้ดีแล้ว ก็นำมาปรับใช้ไม่ต้องไปคิดใหม่ หรือที่เรารู้กันในเรื่องการแบ่งปันและการปฏิบัติที่ดีเป็นเลิศ (Best practices)นั่นเองการนำประสบการณ์ในอดีตมาใช้ประโยชน์บนสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนเป็นที่ตั้ง (Chaos) แต่ก็ย่อมดีกว่าเริ่มต้นเองทั้งหมด                เมื่อได้รู้พื้นฐานและความสำคัญหรือความจำเป็นของการจัดการความรู้ แล้วมาหาทางประยุกต์เข้ากับงานที่เราปฏิบัติกันว่าเราจะทำอย่างไรในการจัดการความรู้ในองค์กรของเรา                สิ่งสำคัญที่สุดคือว่าภารกิจของสำนักการศึกษาต่อเนื่อง ทำหน้าที่จัดการการฝึกอบรม การหารายได้ให้กับมหาวิทยาลัย รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมก็ตาม  สิ่งที่ควรทำในการจัดการความรู้ ได้แก่1.       พัฒนาฐานข้อมูลวิทยากร2.       พัฒนากำหนดหลักสูตรที่เป็นชุดฝึกอบรม3.       กำหนดหน้าที่ของบุคลากรที่จัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติงาน4.       จัดทำฐานข้อมูลผู้ผ่านการอบรมและต้นสังกัด5.       พัฒนาคนของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ โดยการอบรมเสริมแนวทางการทำงาน ประเมินผลงาน6.       ส่งเสริมให้รางวัล ยกย่อง7.       หาแนวโน้มของความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้ว่าต้องการรับบริการอย่างไรที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวให้คิดเล็กน้อยเท่านั้น  ยังมีอีกมากที่จะได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามกระบานการจัดการความรู้ เพราะทุกคนมีทุน หรือต้นทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) กันทุกคน นั่นคือ ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ที่จะนำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานได้                เราต้องแยกว่าอะไรคือ ข้อมูล (DATA) สารสนเทศ (Information) และความรู้ (Knowledge) ที่จะรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านกระบวนการเพื่อเปิดเป็นปัญญา (Wisdom) ถ้าเข้าใจในกระบวนการนี้แล้ว เรามาเริ่มลงมือจัดการความรู้หรือการทำ KM กันดีกว่า และที่ต้องบอกก่อนก็คือควรนำเอาความรู้ที่มีการทดลองลงมือมาแล้วมาเป็นต้นแบบ    ก็ต้องยกให้ โดยใช้ข้อมูลของ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช   มาเป็นแนวทางการดำเนินการ  เช่น1.       ต้องมีการตรวจเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ว่าพร้อมแล้วหรือยัง2.       นำกลยุทธ์ด้านการจัดการความรู้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจมาเชื่อมโยงกัน3.       ออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้4.       ตรวจสอบองค์ความรู้และระบบที่มีอยู่5.       ออกแบบทีมจัดการความรู้6.       ทำร่าง ระบบความรู้ที่จะให้มีในหน่วยงาน7.       พัฒนาระบบการจัดการความรู้8.       ทำต้นแบบและทดลองใช้9.       บริหารจัดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน10.   
หมายเลขบันทึก: 34629เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท