กระบวนการเรียนรู้ของนักปฏิบัติ community of practices(cop) DHF


“การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้ได้รับความปลอดภัยจากภาวะช็อค”
   COP  DHF

กระบวนการเรียนรู้ของนักปฏิบัติ community of practices(cop)

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้ได้รับความปลอดภัย 

  •   เนื่องจากจังหวัดสระบุรีได้จัดไห้มีเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันโดยจัดให้มีชุมชนนักปฏิบัติทั้งหมด 6 copคือ DM..CA..DHF..HI..ASTHMA..CVA                วันที่ 13 มิถุนายน 2549 ได้จัดให้มีการเรียนรู้ร่วมกันของจังหวัดสระบุรีทั้งหมด 13 โรงพยาบาลที่ห้องประชุมโรงพยาบาลศูนย์สระบุรีซึ่งนับเป็นครั้งแรกวันนี้กระผมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในcop โรคไข้เลือดออกวันนี้เราจะเรียนรู้ร่วมกันในประเด็น

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพื่อป้องกันภาวะช็อค

C=case

  • จังหวัดสระบุรีพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกระบาดทั้งปี โดยในปี นี้ตั้งแต่เดือนมกราคม2549 ถึงเดือนพฤษภาคม พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 228 รายไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และในทุกโรงพยาบาลในจังหวัดสระบุรีไม่พบผู้ป่วยภาวะช็อคและภาวะน้ำเกิน ซึ่งหากการดูแลรักษาไม่ดีพออาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากภาวะน้ำเกินและภาวะช็อคได้

A=actionประเด็นสำคัญ การป้องกันภาวะช็อคผู้ป่วยDHF”           

     เป้าหมาย เพื่อลดอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกินร้อยละ 0.2ของผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด              

  กระบวนการคุณภาพมีดังนี้1.การวัดความดันโลหิต

ให้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้             

  •    1.1ตำแหน่งที่พันคั๊พ ให้วัดจากต้นแขนถึงข้อศอก แล้วแบ่งเป็นสามส่วน พันคั๊พในส่วนที่สองของแขน            
  •     1.2 ควรเลือกชนิดของคั๊พให้เหมาะสมกับอายุผู้ป่วยและขนาดรูปร่างผู้ป่วยด้วย               
  •  1.3เวลาที่ใช้รัดคั๊พ หากในผู้ป่วยที่PLT ต่ำอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้             
  •    1.4ควรจัดท่าวัดความดันโลหิตให้เหมาะสมคือ นอนราบบนเตียงหงายท้องแขนขึ้น             
  •    1.5เลือกชนิดของเครื่องวัดความดันให้เหมาะสม เนื่องจากเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดdigitalไม่ไวต่อการเปลี่ยนของผู้ป่วย เพราะจะไม่ทราบว่าเสียงที่ได้ยินชัดเจนหรือเสียงเบาอย่างไร หากเป็นใน2-3วันแรกอาจใช้เครื่องวัดdigitalได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงควรใช้การวัดความดันด้วยมือจะทำให้ทราบผลแม่นยำกว่า

 2.การจับชีพจร          

       2.1 ตำแหน่งที่จับชีพจรควรเป็นที่ข้อมือ(ยกเว้นหากข้อมือบวม) ให้ยึดตำแหน่งที่คลำได้ชัดที่สุด          

      2.2การรายงานการจับชีพจร ควรรายงานเป็น 3 ระดับคือ         

  •        1.เสียงชัดเจน(full) 
  •  2. เสียงปานกลาง(medium)
  • 3.เสียงเบา(weak)               

2.3 สังเกตุอาการอื่นประกอบด้วย เช่น วัดtที่รักแร้บวกเพิ่ม0.5 ,การหายใจ เป็นต้น

3.การบันทึกurine output                

  •  3.1 ต้องมีการบันทึกปัสสาวะผู้ป่วย ทุก 4 ชั่วโมงโดยใช้แบบบันทึกvital signและเพิ่มบันทึก           urine ในช่องสุดท้ายและออกแบบขึ้นมาใหม่ก็ได้(มีตัวอย่างของสระบุรี.แก่งคอย.พระพุทธบาท)              
  •   3.2ชั่งน้ำหนักurine ด้วย โดย 1 กรัมเท่ากับ 1 ml

4.การตรวจlab            

    4.1เทคนิคการเจาะเลือดเจาะได้ 2 ตำแหน่งคือ                          

  •        =ปลายนิ้วมือ ห้ามใช้นิ้วชี้เพราะนิ้วชี้ต้องใช้หยิบจับของและมีbloodcirมาก                             
  •    =ผู้ป่วยเด็กเจาะที่ส้นเท้าด้านข้าง             

   4.2อุปกรณ์ที่ใช้เจาะ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม                           

  •      =เข็ม จะควบคุมความลึกลำบากใช้เบอร์ 25                                
  • =แลนเซท จะทำให้เกิดแผลกว้าง หากกลับมาเจาะนิ้วเดิมซ้ำอีกผู้ป่วยจะเจ็บมาก                           
  •      =ไม่เค้นบริเวณเจาะมากไป เพราะจะทำให้HCTสูงได้                         
  •        =ควรwarmผิวหนังก่อนเจาะให้confultionดีก่อนจึงค่อยเจาะ           

     4.3 เครื่องที่ใช้ปั่นhct ควรเป็นเครื่องเดิมกัน เพราะใช้คนละเครื่องผลที่ได้แต่ละครั้งอาจต่างกันได้ เนื่องจากการตั้งค่า  ของเครื่องไม่เท่ากัน

5.สังเกตอาการแสดง           

  •      5.1อาการกระสับกระส่าย             
  •    5.2 ผู้ป่วยมีอาการซึม               
  • 5.3มีอาการbleeding ปวดท้อง ท้องอืด ถ่ายดำ อาเจียน            
  •     5.4ห้ามใส่สายng tube เพราะอาจทำให้เกิดbleeding เพิ่มขึ้นได้

6.ใบส่งส่งผู้ป่วยเพื่อรักษาต่อ            

  •     ควรแสดงรายละเอียดที่สำคัญ เพื่อการรักษาต่อเนื่องได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น อาการ.การรักษาที่ให้ไปแล้ว เป็นต้น 

R=resouse               

 ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนรู้ในประเด็นการดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกเพื่อป้องกันภาวะช็อค               

  • 1.ทำให้ทราบแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงระบบการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ปลอดภัย           
  •      2.ทำให้มีแนวทางในการวางแผนดำเนินงานต่อไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทำให้ทราบว่า หน่วยงานเราขาดอะไรบ้าง และจะหาได้จากที่ใด               
  •  3.ทำให้ทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนได้ชัดเจนขึ้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน(เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ร่วมกันครั้งแรกในระดับเครือข่ายของผมครับ)              
  •   4.ได้ฝึกลองทำ AAR  หลังการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้ทราบผลงานและอุปสรรค เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานในเรื่องอื่นๆต่อไปได้         
  •        5.ทำให้ทราบว่ายังมีtacidในตัวบุคคลอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำให้ทราบpracticeต่างๆที่ไม่ต้องเสียเวลาศึกษาเอง และนำไปแก้ปัญหาในการปฎิบัติงานไห้ดียิ่งขึ้น            

    ปัญหาอุปสรรค             

  •    1.ขาดการประสานงานในประเด็นที่จะเรียนรู้ร่วมกัน เพราะทีมผมได้รับมอบหมายประเด็นภาวะน้ำเกิน แต่วันนี้ทีมเครือข่ายเรียนรู้เรื่องภาวะช็อค ทำให้ขาดการเตรียมความรู้และเตรียมknowlage             
  •    2.คุณกิจที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีจำนวนมากเกินไป ทำให้การแสดงความคิดเห็นไม่ทั่วถึง การกระตุ้นจากคุณอำนวยทำได้ยาก             
  •    3.สถานที่ ที่ใช้ในวันนี้กว้างมากเกินไป และมี2 กลุ่มทำให้ เสียงพูดไม่ค่อยได้ยิน ทำให้ขาดความสนใจได้ การเรียนรู้ที่ได้ไม่ต่อเนื่อง ควรเป็นห้องปิดและใช้ไมค์พูดน่าจะดีกว่า               

 แผนพัฒนาเรื่องต่อไป      

  •           เขียนแผนปฏิบัติการ(passion plan)ในประเด็นการดูแลภาวะช็อคผู้ป่วยDHF ส่งสสจ.วันที่16 มิถุนายน 2549 นี้และเครือข่ายการเรียนรู้ของจังหวัดสระบุรีจะนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งที่2 ในวันที่ 24-25 มิถุนายน 2549 โดยมีอาจารย์ไพฑูรย์ เย็นฉ่ำ ร่วมด้วยครับโดยแบ่งcop ตามวันดังนี้ครับ

วันที่ 24 มิถุนายน 2549(ทั้งวันช่วงบ่ายจะมีการสอนเรื่องเวบบล็อกด้วย)               

  •  1.CA ประเด็นสำคัญการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย                
  •  2.ASTHMA ประเด็นสำคัญการประเมิน….score”เตรียมข้อมูล.ความรู้.แบบรายงานต่างๆไปด้วย               
  • 3.DM ประเด็น การดูแลผู้ป่วย…..”

วันที่ 25 มิถุนายน 2549(ทั้งวันช่วงบ่ายจะมีการสอนเรื่องเวบบล็อกด้วย)  

  •               1.DHF ประเด็นสำคัญการป้องกันภาวะน้ำเกินเตรียมความรู้การประเมินภาวะน้ำเกิน.อาการแสดง,แบบรายงานต่างๆ,ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน               
  •  2.HI ประเด็นสำคัญการดูแลผู้ป่วยก่อนส่งต่ออย่างปลอดภัย           
  •      3.CVA ประเด็นสำคัญการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
หมายเลขบันทึก: 34624เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท