เทคนิคการตลาดของโรงสีชุมชน


โรงสีชุมชนไม่ได้ต้องการให้โรงสีรวย แต่ต้องการให้สมาชิกของ "โรงสีชุมชนไม่ต้องการให้โรงสีรวย แต่ต้องการสมาชิกของโรงสีชุมชนรวย"นี่คือสิ่งที่ชาวนาเป็นผู้รังสรรค์ด้วยมือของชาวนาเอง

"ตลาดข้าวสารของโรงสีชุมชน นั้นเหรอก็คือ"ตลาดที่อยู่ในสายตา"ก็คือตลาดในหมู่บ้าน / ในตำบล  นั่นแหละ " กำนันจันที  พิลึก กล่าวหลังจากได้เข้าร่วมประชุมในสภาข้าวต้มของกลุ่มแสงตะวันจังหวัดพิจิตร

จากข้อมูลของการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองของแต่ละตำบลในจังหวัดพิจิตร  พบว่าชาวนาส่วนใหญ่ทำนาแต่ซื้อข้าวสารกิน  บางตำบลมีข้อมูลซื้อข้าวสารกินมากกว่า  ห้าล้านบาท ข้อมูลเหล่านี้นี่แหละเป็นต้นเหตุให้ชาวนารวมตัวกันทำโรงสีชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวเปลือกของตนเองและเพื่อนสมาชิก


ข้าวสารของโรงสีชุมชนต่างจากข้าวสารของโรงสีเอกชนที่วางจำหน่ายตามห้างร้านต่างๆ       ก็คือข้าวสารของโรงสีชุมชนมีรสชาติของข้าวหุงสุก ตรงตามสภาพพันธุ์เดิมของข้าวและไม่มีการปลอมปน เขาเรียกว่า"ข้าวหัวเดียว"ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิก็จะมีกลิ่นหอม รสชาตินิ่มอร่อย  ถ้าเป็นข้าวขาวตาแห้งก็จะมีรสชาตินุ่มปากกินอร่อย แม้แต่กินข้าวเปล่า ๆ ก็อร่อย  ยิ่งเป็นข้าวขาวกอเดียว(ของอำเภอบางมูลนากนะ อร่อย มาก ๆ ) ข้าวเจ้าพิจิตรถึงได้มีชื่อเสียง พ่อค้า แม่ค้า ที่ขายข้าวแกง ส่วนใหญ่ชอบมาซื้อข้าวสารจากพิจิตรไปขายนะ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ตลอดจนภาคต่าง ๆ สีของข้าวสารของโรงสีชุมชน เม็ดจะไม่ใสมาก (เพราะว่าเวลาที่สีข้าวไม่ได้ขัดข้าวมาก )เวลาหุงแล้วทิ้งไว้ได้นาน ไม่บูดง่าย ๆ   มีราคาถูกกว่าข้าวสารจากตลาด ที่สำคัญที่สุดข้าวสารของโรงสีชุมชนมีคุณค่าทางอาหารมากกว่าข้าวสารที่จำหน่ายตามท้องตลาด 

ข้าวสารของเอกชนที่วางจำหน่ายกันตามท้องตลาดและห้างร้านต่างๆ ที่มีเม็ดใส สดสวย เงางาม ดูสะอาดตา  ขอบอกว่าเขาขัดข้าวเสียจนใสและพ่นน้ำเพื่อให้ข้าวเกิดเงาใส แถมอบข้าวด้วยสารเคมี อบเสียจนไม่กล้ากิน  เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (ถึงแม้สถานที่บรรจุจะถูกสุขลักษณะตามมารตฐานก็ตาม)  การที่เขาพ่นน้ำเพื่อทำให้ข้าวมีเม็ดใสสวย นั้นมันทำให้ข้าวที่เราหุงแล้วเนี่ย บูดเร็วมาก  

ข้าวสารของโรงสีเอกชนมีการปนข้าวมั่วกันไปหมด เช่น เอาข้าวชัยนาทซึ่งเป็นข้าวนาปรัง (เป็นข้าวที่แข็งมาก ๆ แต่มีเมล็ดยาวคล้ายข้าวหอมมะลิ)พ่อค้าก็นำข้าวเปลือกมาปนกับข้าวหอมมะลิ และสีมาขายให้เรากินในราคาข้าวหอมมะลิ 

ข้าวสารของเอกชนจึงไม่มีความมั่นคงในเรื่องของรสชาติ  ไม่เหมือนเดิม  ข้าวสุกจะแข็ง ๆ  กินไม่อร่อย   มีราคาแพง

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  บรรดาเถ้าแก่โรงสีชุมชนต่าง ๆ จึงมีปัญหาว่ามีข้าวสารไม่พอขายมีเท่าไหร่ก็ขายหมด  ผลิตไม่ทัน  ยกตัวอย่างเช่นที่อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก      โรงสีชุมชนของ    กลุ่มเกษตกรทำไร่ท่างาม โดยมีพ่อสุริทร์  อินจง  เป็นแกนนำ          ชูสโลแกนขายว่า คนวัดโบสถ์ต้องกินข้าววัดโบสถ์ เพราะโรงสีชุมชนที่ส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์พันธุ์หอมปทุม ไปฝากขายตามสถานที่ต่าง ๆ และที่สำคัญเวลาเกิดภัยธรรมชาติต่าง ๆในจังหวัดพิษณุโลก ข้าวของโรงสีชุมชน จะถูกซื้อไปแจกให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ นี่ก็เป็นเทคนิคการตลาดของโรงสีชุมชนอีกวิธีหนึ่ง

และที่บ้านห้วยตัดไม้ ตำบลหนองปลาไหล อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร  ผู้ใหญ่ศักดา  แก้วสระเสน และนายบุญถึง  แก้วทอง  นายก อบต.หนองปลาไหล ได้ปลูกข้าวพันธุ์หอมสุรินทร์จำนวน  ร้อยกว่าไร่  เขาเกี่ยวข้าวด้วยมือไม่ใช้เครื่องจักรเลย  จ้างเด็กนักเรียนในหมู่บ้านมาช่วยกันหอบข้าว  นวดข้าว ตากข้าวเปลือก นำข้าวเปลือกเอาใส่ยุ้งเก็บไว้  ปีละร้อยกว่าเกวียน  และก็ใช้โรงสีชุมชน  ทยอยสีข้าวสารขาย  ภรรยา ลูกสาว หลาน ๆ มาช่วยกันเก็บกากข้าว ฝัดข้าวสารให้สอาด ขายเป็นถัง ๆ ให้กับคนในชุมชน  นอกชุมชน  รวมทั้งข้าราชการในพื้นที่ทั้งไกล้และไกล  มาซื้อกันไป  ต่างก็พูดเสียงเดียวกันว่า ซื้อไปทีไร อร่อยเหมือนเดิมทุกครั้ง

เวลามีการประชุมประจำเดือนของอำเภอวังทรายพูน ผู้ใหญ่ศักดา  ก็จะเป็นโฆษณา   ขายข้าวสารของตนไปด้วย  นายอำเภอช่วยประชาสัมพันธ์ด้วย  พัฒนาชุมชน  กศน. เกษตร ช่วยกันเยอะ   เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้ว เป็นที่รู้กันในย่านนั้น

ภาระกิจของเครือข่ายกลุ่มแสงตะวันที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องก็คือให้ชาวนาได้รู้จักจัดการความรู้ด้วยวิธีการทำนาแบบใหม่ แบบต้นทุนต่ำ ทำนาขายข้าวสาร  ทำนาขายเมล็ดพันธุ์ข้าว   ให้ชาวนารู้จักทำการค้า  รู้จักการรวมกลุ่มแสดงพลังการต่อรอง และการร่วมกันทำวิสาหกิจชุมชนในที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3462เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2005 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากข้อมูลที่ได้อ่านนี้ดีมาก อยากให้ชุมชนของเรากลับมาเป็นเหมือนเดิมจัง แต่ก่อนมีโรงสีข้าวชุมชน แต่เดี่ยวนี้ไม่มีแล้วมีแต่เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในหมู่บ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท