เรื่องเล่าผ่านจอแก้ว "ร.ร.ตามอัธยาศัย"


"จริงๆแล้วผมคิดว่า KM ในสถานศึกษาน่าจะมีประโยชน์อย่างมหาศาลกับผู้เรียน และช่วยเพิ่มจิตวิญญาณความเป็นครูได้มากทีเดียว"

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมดูข่าวภาคค่ำทางช่อง 7 สี เนื่อหาที่ผมดูแล้วเกิดสนใจ คือสกู๊ปเรื่องการศึกษา โดยเฉพาะอะไรเกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการเรียนการสอนที่มีเรื่องการบูรณาการ และความแปลกใหม่ในรูปแบบการสอน....

...วันนั้นสกู๊ปที่นำเสนอคือ นำเสนอเรื่อง โรงเรียนตามอัธยาศัย แล้วรูปแบบการสอนก็ตามอัธยาศัยจริงๆครับ คือว่าครูและนักเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนหนังสือกันในห้องเรียน แต่มาตั้งวงเรียนกันที่ลานกว้างๆหน้องอาคารเรียน มีผู้ปกครองนั่งดูอยู่ใกล้ๆ ...

...บรรยากาศในการเรียนที่เห็นในทีวี คือ เด็กๆนั่งล้อมวงกันเรียนเป็นวงกว้างๆ โดยมีครูอยู่ตรงกลาง 1 คน (คอยตั้งคำถามและอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ) และมีครูอีกคนอยู่นอกวงอีก 1 คน (คอยดูให้คำปรึกษากับนักเรียนในวงเรียนนั้น) ได้ยินเสียงไม่ชัดว่าครูถามอะไรนักเรียน แต่ได้เห็นภาพนักเรียนไทยตัวเล็ก-ตัวน้อยยกมือกันอย่างพร้อมเพียง (จำได้ว่าภาพนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยที่ผมเรียนหนังสือในห้องเรียน เพราะกลัวว่าตัวเองจะตอบผิด)

...โรงเรียนตามอัธยาศัยที่ว่านี้อยู่ที่ อำเภอพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี มีครูใหญ่ชื่อ อ.บริบูรณ์ (ต้องขออภัยที่จำนามสกุลไม่ได้ครับ)..ประโยคหนึ่งที่อาจารย์บริบูรณ์ กล่าวสั้นๆ ในทีวี คือ       "ที่จัดการเรียนตามอัธยาศัยก็เพื่อต้องการให้นักเรียนมีความสุขกับสถานที่เรียนรู้ เมื่อมีความสุข ความรู้ก็จะบังเกิด สามารถคิดและจดจดจำในสิ่งที่ได้เรียนได้เป็นอย่างดี"

...ผมนึกถึง "การจัดการความรู้" ขึ้นมาทันที เพราะหลายๆครั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ Km มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อว่าอีกหลายต่อหลายแห่งก็น่าจะเป็นแบบนี้เช่นกัน

...หลังจากสกู๊ปสั้นประมาณ 1.30 นาที นั้นจบลง ผมนึกขึ้นมาในใจว่า "จริงๆแล้ว KM ในโรงเรียนนั้นมีมากมาย และมีลักษณะหลายรูปแบบ แตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคืออยู่ที่จิตวิญญาณของความเป็นครูว่าจะทุ่มเท โดยคิดสร้างสรรให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่ดีครบวงจร แล้วได้รับความรู้นั้นครบทุกมุมมอง ที่สำคัญสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตจริงได้ด้วย"

...ผมนำเรื่อราวที่ได้ดูมากับตา ฟังมากับหู มาเล่าสู่กันฟังครับ เพราะในความจริงแล้ว KM มีอยู่ทุกที่เพียงแต่ที่ไหนมีมาก มีน้อยก็เท่านั้น และอย่างไหนเรียกว่า Km จริง หรือ Km ปลอม..

...อย่างน้อยผมก็คิดว่าโรงเรียนน่าจะพัฒนาเรื่อง km ได้ดีและสามารถทำให้เด็กคิดเอง ทำเองได้หลายเรื่อง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีครับหากเกิด Km ในหลายๆโรงเรียน อย่างน้อยเด็กก็ได้อะไรมากกว่าการท่องจำตำราเหมือนที่สมัยผมเรียนหนังสือ

...และในความสนใจของผมก็หวังว่าจะได้เข้าไปติดตามดูรูปแบบการเรียนการสอนของ โรงเรียนตามอัธยาศัย นี้ในอนาคต เผื่อว่าจะได้เห็น Km ในบางมุมของโรงเรียน  ที่สำคัญคือความสามารถของนักเรียนเอง ที่จะทำให้ผมอดยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ในความสามารถของพวกเขาไม่ได้เลยสักครั้งเดียว.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3459เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2005 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเห็นการศึกษารูปแบบนี้..กระจายทุกที่  ทุกกลุ่ม  ทุกระดับ ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์/ตัดสินใจ/มีพลังในการสื่อสารกับคนอื่นได้.......
     ครูจะต้องเก่ง..ในการวางแผนการเรียนรู้ ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้พร้อมกับผู้เรียน ........คือ SHARE TO LEARN..LEARN TO SHARE

     ครูต้องทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก.....  ดีใจจังที่มีครูแบบนี้  อยากไปเป็นผู้เรียนจังเลย

      ผู้ปกครองเอง ก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิดนะคะ  ลองเชิญผู้ปกครองไปดูด้วยซีคะ  เราจะได้เปลียนวิธีเรียนรู้กันตั้งแต่ที่ บ้าน .. ขอบคุณที่นำมาเล่า ..ครู กศน.ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท