Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรฉบับแรก : รัฐไทยสมัยใหม่เริ่มต้นโดยกฎหมายนี้ใช่ไหมหนอ ?


วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ก็คือ "ให้ทราบความแน่นอนว่า มีคนอยู่แห่งใด เท่าใด เพื่อประโยชน์ที่จะบำรุงความศุข แลรักษาการแผ่นดินให้เหมือนกับที่เปนอยู่ในประเทศทั้งปวง"

เอา พ.ร.บ.สำหรับทำบาญชีคนในพระราชอาณาจักร์ ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๒) มาอ่านอีกครั้ง กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแน่นอนว่า ในยุคนี้ ยังไม่มีรัฐสภา ทรงประกาศใช้กฎหมายนี้ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๘

วัตถุประสงค์ของกฎหมายฉบับนี้ ก็คือ "ให้ทราบความแน่นอนว่า มีคนอยู่แห่งใด เท่าใด เพื่อประโยชน์ที่จะบำรุงความศุข แลรักษาการแผ่นดินให้เหมือนกับที่เปนอยู่ในประเทศทั้งปวง"

หน่วยงานที่รักษาการตามกฎหมายนี้ ก็คือ (๑) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และ (๒) กระทรวงนครบาล

"บาญชีคนในพระราชอาณาเขตร์" มีอยู่ด้วยกัน ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) "บาญชีสำมะโนครัว" (๒) "บาญชีคนเกิดแลคนตาย" และ (๓) "บาญชีคนเข้าคนออก

สังเกตอีกนิดหนึ่ง กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นก่อนกฎหมายว่าด้วยสัญชาติไทย ซึ่งเริ่มใน พ.ศ.๒๔๕๖  และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งเริ่มใน พ.ศ.๒๔๗๐

หมายเลขบันทึก: 34589เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 04:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ชอบวิธีการที่อาจารย์นำเสนอค่ะ เพราะทำให้เรามองภาพย้อนกับปัญหารากฐานก่อน จึงนำมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไปเป็นลำดับ(แม้ว่าหนูยังมีความรู้น้อยนิดค่ะ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท