ตื่นตา ตื่นใจ กับ KM ศูนย์ 6 (ตอนที่ 5)


CoP ของคลินิกส่งเสริมสุขภาพที่ดูแล้วมีชีวิตชีวา ก็คือ เขาคุยกันสนุกสนานมากเลยละคะ เรียกได้ว่า คุยกันไป ก็ยิ้มกันไป หัวเราะกันไป เมื่อได้มาคุยเรื่องประสบการณ์ดีๆ ของกันและกัน

 

ในช่วงบ่ายของวันที่ 16 มิย.49 ... KM Team กรมอนามัย ได้เลยไปดู CoP ของกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ทำจริงให้ดู ตอน เรื่องเล่า การให้คำปรึกษาในเรื่องการออกกำลังกาย

กลุ่ม CoP นี้ประกอบด้วย Facitator 1 / notetaker 1 / ผู้ร่วมกลุ่มเล่าเรื่องอีก 6 ท่านนะคะ

CoP คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่นเราก็ได้สังเกตการณ์การพูดคุยในกลุ่ม

เรื่องเล่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่อง ประสบการณ์การให้คำปรึกษาของผู้เล่า + กับเรื่องที่ได้เรียนรู้จากผู้รับบริการ เช่น

  • การออกกำลังกายในกลุ่มวัยทองที่เหมาะสม คือ การเดินเร็ว aerobic ที่ไม่ต้องใช้แรงกระแทกมาก
  • ถ้าเรื่อง โภชนาการเกิน / อ้วน ก็เสริมการออกกำลังกายเพื่อการลดความอ้วน การควบคุมอาหาร
  • วิธีการแนะนำให้ผู้มารับบริการออกกำลังกายจากน้อยๆ ก่อน และค่อยๆ เพิ่มให้มากขึ้น
  • เคยมีผู้สูงอายุที่มารับบริการ ออกกำลังกายโดยการเดินทุกวัน และควบคุมอาหาร จดทุกวันว่าทานอะไร ท่านก็ดูแลตัวเองอย่างดีมาก เคร่งครัดมาก และสุดท้ายก็อยู่ในภาวะปกติ ควบคุมน้ำหนักได้ดี
  • เน้นการแนะนำการออกกำลังกายกาย ตามความเหมาะสม ตามวัย และสภาพของโรค

สุดท้าย Fa ได้นำสรุปความรู้ที่ได้รับของแต่ละคน ซึ่งก็คือ

  1. การแยกแยะ / ประเมินคนไข้ มาด้วยปัญหาอะไร วัยไหน เพื่อจะได้เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเขา
  2. อาชีพทำอะไร ที่บ้านทำอะไร ทำนา ทำไร่ ถ้าทำงานหนักอยู่แล้ว ก็อาจใช้วิธีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อมากกว่าการออกกำลังกาย เพื่อหาวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม และดูว่าคนไข้ยอมรับการออกกำลังกายแบบนี้หรือเปล่า ถ้าไม่ต้องการก็หาวิธีการอื่น
  3. มีการสาธิตจนเข้าใจ
  4. ติดตามผลที่เราได้สอนไปแล้ว รอบ 2 รอบ 3 เป็นยังไง เพราะว่าการออกกำลังกายที่เราให้ไปแล้ว ไม่ใช่จะเหมาะกับทุกคน บางคนอาจทำได้ บางคนอาจทำแล้วไม่ได้ผล

ซึ่ง อ.หมอสมศักดิ์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเชิงคำถามเพิ่มเติมไว้ว่า 

  1. เลือกเรื่องนี้ มาอย่างไร ? ...
    หัวปลา เลือกจากเรื่องที่คลินิกจะประเมิน ตามตัวชี้วัดที่ 5 และ 10 เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพวัยทอง และผู้สูงอายุ จึงเลือกเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยทอง และคิดองค์ประกอบจากเรื่องเคยทำผ่านมาแล้ว ที่ทำไปแล้ว 3 เรื่อง ได้แก่
    1. เรื่องตรวจเต้านม
    2. เรื่องทดสอบสมรรถภาพทางกาย
    3. เรื่องการตรวจเลือด
  2. แต่ละเรื่อง ได้มีการเล่าเรื่องโดยคนไข้ หรือเล่าจากประสบการณ์ที่พบจากคนไข้หรือเปล่า ? ... 
    ยังไม่ได้นำคนไข้มาเล่าจริง แต่เล่าจากประสบการณ์การทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น กรณีพี่สำเริง ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ ทำหน้าที่วัดส่วนสูง ... พอคนที่มาวัดก็สงสัยว่า ทำไมต้องวัดส่วนสูงทุกครั้ง เขาก็อธิบายไปว่า คุณมีอายุเยอะขึ้น ก็จะมีกระดูกบาง กระดูกพรุน ความสูงก็มีโอกาสเปลี่ยนไปได้ ซึ่งวันนั้นเป็นการเล่าอย่างจริงจัง คนไข้ก็ยกมือไหว้พี่สำเริง บอก ขอบคุณครับอาจารย์ ทำให้พี่สำเริงรู้สึกภูมิใจที่ได้รับเรียกว่าอาจารย์ ... ที่พูดได้เช่นนี้พี่สำเริงก็บอกว่า ก็ได้ยินจากหมอพูด ... สรุปว่า ก็เป็นนักขโมยความรู้จากหมอมาเผยแพร่ และก็ได้ประโยชน์ด้วย
  3. มีการลองเอาข้อสรุปเช่นนี้ไปใช้ต่ออย่างไร ? ...
    มีการนำเทคนิคที่เล่าของแต่ละคนไปใช้แล้ว เช่น วิธีเป่าปอด ที่มีการเล่าว่า ก็ต้องมีการเชียร์ เพราะต้องทำหลายครั้ง เวลาเขาเป่า ก็ออกเชียร์ เหมือนเชียร์เบ่งคลอด เลย ว่า ปู๊ด ด ด ... เวลาทำ CoP ก็จะถามเลยว่า พี่สำเริงได้เชียร์ไหม จักรกฤษณ์ได้เชียร์ไหม เขาก็บอกว่าไม่ได้เชียร์
    ... และพอทำ CoP เสร็จ ระหว่างเดินผ่านห้องทดสอบสมรรภาพ ก็ปรากฎว่า ทั้งพี่สำเริง และจักรกฤษณ์ ก็นำเอาไปเชียร์ ปู๊ด ด ให้ผู้รับบริการด้วย ... ก็เท่ากับว่าได้เห็นการเปลี่ยนแปลง ในวิธีการให้บริการคนไข้เพิ่มขึ้น

    คุณวาสนา ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่นอีกเรื่องเล่าวิธีการตรวจเต้านม โดยพี่วาสนา ... การพูดคุยกับคนไข้ ธรรมดาเป็นสิ่งที่เราตรวจไม่ได้ง่ายนัก ปกติก็ใช้วิธีคุยไปด้วย ตรวจไปด้วย แต่เทคนิคพี่วาสนา ... ก็จะทักทาย ว่า เป็นยังไงคะ เคยตรวจด้วยตัวเองไหมคะ ตรวจยังไง ที่บ้าน จับแขน คล้องแขนกันเดินเข้าไปให้ห้อง เคยตรวจไหมคะ ให้พ่อบ้านตรวจให้ก็ได้นะคะ ถ้าคนไหนอายมากๆ ก็เปิดตรวจไปด้วยกันได้เลย

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ที่ CoP คลินิกส่งเสริมสุขภาพ คิดว่าได้รับก็คือ

  • ตั้งแต่ทำ CoP มาก็รู้สึกว่า การทำงานที่ทำได้ เราก็บันทึกเป็นขุมความรู้ พอทำแล้วปุ๊บ ก็รู้สึกว่างานเรามีทิศทางที่แน่นอนมากขึ้น เพราะเราได้คุยกัน ... แต่ก่อนก็เป็นแบบที่ว่า ถ้าใครเข้ามาใหม่ ก็แนะนำ แนะนำแล้วก็ทำตามที่บอกไป พอมีแบบนี้ ก็ได้รู้สิ่งที่แต่ละคนทำ เช่น มีการเปิดนมตรวจกัน หนูก็ไม่รู้ พอได้คุยกันก็รู้ ว่า เออเน๊าะคนไข้ถึงว่า ขอตรวจกับป้า หรือตรวจกับคนนั้นคนนี้ (อ.หมอสมศักดิ์ก็ได้เน้นย้ำว่า อย่าลืมเอาของใครไปทำ ก็ต้องให้เกียรติเขาด้วยนะ เช่น วาสนาเทคนิค เป็นต้น)
  • มีพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรในการทำงาน เช่น การเชียร์การทดสอบสมรรถภาพเป่าปอด
  • คนทำงานมีความภูมิใจ เช่น กรณีวัดส่วนสูงของพี่สำเริง

นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์อ.หมอสมศักดิ์ เพิ่มเติมสุดท้ายให้เสริมประเด็น คือ

  • สุดท้าย เราต้องกลับมาถามกันว่า อะไรที่เราแลกกันแล้ว เอาไปใช้ต่อ และเอาไปใช้ได้ดี ใช้ง่าย หรือใช้ยาก ก็จะทำให้เทคนิคนั้นๆ มีหลักฐานมากขึ้น และนำไปใช้ได้ เพราะหลักสำคัญของการ ลปรร. นั้นก็คือ การนำเอาไปใช้ได้ และใช้ต่อกันไป ก็จะมีความชัดเจนขึ้นด้วย ใช้แล้วก็ต้องเอามาบอกกัน
  • และการไปแลกเปลี่ยนกับผู้รับบริการอีกรอบ และเอามาคุยกัน เช่น พูดแบบนี้นะ เขาจะเข้าใจ และหาวิธีพูดที่ทำให้ชาวบ้านเขาชอบ
  • การนำเอาคนไข้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

และที่สำคัญ บรรยากาศ CoP ของคลินิกส่งเสริมสุขภาพที่ดูแล้วมีชีวิตชีวา ก็คือ เขาคุยกันสนุกสนานมากเลยละคะ เรียกได้ว่า คุยกันไป ก็ยิ้มกันไป หัวเราะกันไป เมื่อได้มาคุยเรื่องประสบการณ์ดีๆ ของกันและกัน 

 

หมายเลขบันทึก: 34577เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท