ทีม มสธ. ศึกษาดูงาน KM จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


อยากจะเห็นของจริงในพื้นที่ว่ามีการนำ KM ไปประยุกต์ใช้หรือบูรณาการกับเนื้องานปกติได้อย่างไร เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

        เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2549  ทีมงาน KM กรมส่งเสริมการเกษตร  ประกอบด้วย คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย  คุณอุดม รัตนปราการ คุณพิชฎา อารยานุรักษ์ และคุณนันทา ติงสมบัติยุทธ์ ได้มีโอกาสพาคณะเจ้าหน้าที่ของสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ประมาณ 25 คน ไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน  KM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องหนึ่งใน 18 จังหวัดของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้มีการนำ KM ไปบูรณาการในเนื้องานปกติ คือ โครงการส่งเสริมการผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน ในปี 2549 นี้ 

         โดยก่อนหน้าที่จะมีการศึกษาดูงานในครั้งนี้  ทางสำนักวิจัยและพัฒนา ของ มสธ. ได้เรียนเชิญคุณธุวนันท์ พานิชโยทัย ไปบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ KM ภาคทฤษฏีมาแล้ว และในวันนี้ก็อยากจะเห็นของจริงในพื้นที่ว่ามีการนำ KM ไปประยุกต์ใช้หรือบูรณาการกับเนื้องานปกติได้อย่างไร  เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น   ดิฉันขอเล่ากระบวนการของการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เพื่อการ ลปรร. ดังนี้ค่ะ

 

         ภาคเช้า  

  • ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ (มสธ.)  เวลา 08.00 น. ถึง สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ประมาณ 09.00 น.
  • เริ่มกระบวนการโดยการแนะนำทีมงาน KM กรมฯ  ทีมงาน kM สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และทีมของสำนักวิจัยฯ มสธ. 
  • ต่อจากนั้น คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย  เล่าเรื่อง แนวทางการดำเนินงานจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ภาพใหญ่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการวางแนวทางการดำเนินงาน KM ในปี 48-49
  • ต่อด้วย คุณจำลอง พุฒซ้อน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเป็นแกนนำทีมงาน KM ของสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่าเรื่อง การนำ KM ไปประยุกต์ใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นเนื้องานปกติของสำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งคุณจำลอง สามารถแปลงสู่การปฏิบัติและเล่าได้เห็นภาพชัดเจนดีมาก ทำให้คณะศึกษาดูงาน ได้เห็นภาพและเข้าใจกระบวนการนำ KM แปลงสู่การปฏิบัติได้ชัดเจนขึ้นมาก 
  • หลังจากนั้น เป็นการเปิดเวทีเพื่อซักถามและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนเป็นที่พอใจ 

              A1

     คุณธุวนันท์ พานิชโยทัย เล่าเรื่อง แนวทางการดำเนินงาน KM ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2549

              A2

    ทีม สำนักวิจัยและพัฒนา  สมธ. ตั้งใจรับฟัง KM อย่างลึกซึ้ง (Deep Listening)

               A4

        คุณจำลอง พุฒซ้อน เล่าเรื่อง การนำ KM ไปใช้ใน Foodsafty  ของ สนง.กษจ. พระนครศรีอยุธยา 

 

      ภาคบ่าย

  • เป็นการลงพื้นที่เพื่อดูของจริงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง  การจัดการความรู้ ของโรงเรียนเกษตรกรข้าวปลอดสารเคมี  ที่ ต. บางเพลิง อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา 
  • คุณอัมพวัน พรหมเกิดทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ของต.บางเพลิง ซึ่งเป็นคุณอำนวยในพื้นที่ เล่าความเป็นมาและกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรข้าวปลอดสารเคมี  โดยมีท่านเกษตรอำเภอบางปะหัน คุณพวงทอง สาตรสมัย และเกษตรกรในพื้นที่ที่ปฏิบัติจริง  ช่วยเติมเต็มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา  และได้เห็นภาพของการกระบวนจัดการความรู้ในระดับเกษตรกร  
  • ก่อนเดินทางกลับ คุณอุดม รัตนปราการ ทำหน้าที่ดำเนินการสรุปบทเรียน (AAR ) ของการศึกษาดูงานในครั้งนี้  

              A5

          คุณ อัมพวัน พรหมเกิดทอง คุณอำนวยในพื้นที่ เล่าเรื่องการจัดการความรู้ของโรงเรียนเกษตรกรข้าวปลอดสารเคมี   

               A7

        คุณพวงทอง สาตรสมัย เกษตรอำเภอบางปะหัน กับ Body Map  ผลกระทบจากการใช้สารเคมี

 

        ผลการ AAR   จากคำถาม 4 ข้อ สรุปได้ ดังนี้

        1. ท่านคาดหวังอะไรจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้

  • ได้เห็นรูปแบบของการจัดทำ KM
  • น่าจะมีความรู้ความเข้าใจ KM มากขึ้น
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่ปฏิบัติจริง
  • ผู้ปฏิบัติงานสามารถอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติจริงในพื้นที่ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

        2. สิ่งที่ได้เกินคาดหวัง

  • รู้และเข้าใจ KM  มากขึ้น เป็นรูปธรรม
  • นโยบายชัดเจน การจัดทำ KV สมรรถนะหลัก  ตารางอิสรภาพ
  • ได้เห็นรูปแบบ KM เกษตรกร
  •  เห็นการปฏิบัติในพื้นที่
  • การ Share  ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน
  • ได้เครือข่าย กรมส่งเสริมการเกษตร

           3. สิ่งที่ยังไม่บรรลุตามคาดหวัง

  • ถ้านำไปใช้จริง ยังไม่ชัดเจน ยังไม่แน่ใจ
  • ยังไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติของเกษตรกร

            4. สิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน

  • ได้แนวคิด KM เริ่มต้นได้ถูกทาง
  • การ Share ความรู้ แบ่งปันเพื่อนร่วมงาน เห็นคุณค่าของการ Share and Learn
  • การกำหนดสมรรถนะชัดเจนขึ้น
  • ได้เครือข่ายของความรู้ เป็นพี่เลี้ยง

              A8

                      Mindmap   AAR  การศึกษาดูงาน 

 

       บันทึกมาเพื่อ ลปรร. ค่ะ.......

    

      

 

 

หมายเลขบันทึก: 34571เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
คุณจี้ เล่าได้ครอบคลุมทั้งกระบวนจริง ๆ คะ มสธ.ได้มีความตั้งใจจะทำKM ทั้งมหาวิทยาลัย สำนักวิจัยฯโดยผอ.ดุสิต มีแนวทางจะให้ทุกฝ่ายจัดทำ จึงอยากจะดูหน่วยงานใกล้ ๆ ที่เริ่มทำแล้ว โดยคุณจำลองเป็นหนึ่งในทีมงานKMของจ.พระนครศรีอยุธยา สามารถเสนอตัวอย่างการจัดทำKM ในโครงการเกษตรปลอดภัยได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ทีมมสธ.คาดว่าจะนำไปปรับใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป
  • ดีมากครับทั้งกระบวนการนำเสนอและคุณบันทึกครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท