การประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการ


การประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการ

การประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานราชการ

พนักงานราชการทั่วไป

                 แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการในกลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานวิชาชีพเฉพาะและกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ มีดังนี้

                 1. ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น ที่เป็นผู้มอบหมายงานและหรือผู้กำกับดูแลพนักงานราชการ โดยมีผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีก 1 ระดับ หรือ 2 ระดับเป็นผู้กลั่นกรองผลการประเมินของผู้บังคับบัญชาชั้นต้น

                 2. คณะกรรมการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีหน้าที่ในการกลั่นกรองการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เกิดความเป็นธรรมจากการใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน หัวหน้าหน่วยงานที่มีพนักงานราชการปฏิบัติงานอยู่หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการ และผู้ปฏิบัติงานด้านการเจ้าหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการ

                 3. ระยะเวลาการประเมิน ปีละ 2 ครั้งตามปีงบประมาณ ได้แก่ ครั้งที่ 1 (1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม) และ ครั้งที่ 2 (1 เมษายน ถึง 30 กันยายน)

                 4. องค์ประกอบในการประเมิน ประกอบด้วย ผลงาน และคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบหรือผลผลิตที่กำหนดในสัญญาจ้าง

                 5. สัดส่วนของผลงานและคุณลักษณะ มีสัดส่วนของผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

พนักงานราชการพิเศษ

                 แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานราชการพิเศษ มีดังนี้

                1. ผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานหรือโครงการ และหัวหน้าส่วนราชการ

                2. องค์ประกอบในการประเมิน ประกอบด้วย ผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายและคุณลักษณะในการปฏิบัติงาน โดยได้กำหนดสัดส่วนของผลงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

                3. ระยะเวลาการประเมิน ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดว่าจะประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานราชการพิเศษอย่างไร เช่น ประเมินเป็นระยะ ๆ เดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง ฯลฯ

 

 

ที่มา : สำนักงาน ก.พ.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 345533เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2010 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.อุไรวรรณ อยู่ชา ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการประเมินผลปฏิบัติงาน

เทคนิคการประเมินอย่างเป็นธรรม การนำ KPI มาใช้ประเมินผลได้ชัดเจนมาก โดยมี

กิจกรรมที่ทำให้เห็นถึงการประเมินด้วย KPI อาจารย์เก่งมาก ๆ สามารถทำให้ผู้บริหาร

ที่ไม่เคยให้ความสำัคัญกับการประเิมินผล ไม่สนใจแบบฟอร์มการประเมิน ใช้แต่

ความรู้สึกล้วน ๆ เห็นถึงความสำคัญ และเปลี่ยนพฤติกรรมการประเมินได้ ที่สำคัญได้

ช่วยกัน Comment แบบประเมินอีกด้วย อ.อุไรวรรณ น่ารักมาก คุยกับผู้บริหารได้ดี

ตอบคำถามได้ชัดเจน และนำประสบการณ์จริงของตัวเองมาถ่ายทอด ทำให้ผู้บริหาร

Buy-in กับการประเมินผลและเห็นความสำคัญ ดังนั้นจึงอยากแชร์ว่า ถ้าทำให้ผู้ประเมิน

Buy-in ได้ ความสำเร็จในการบริหารผลปฏิบัติงานมีแน่นอนค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณลลิตา...

  • ค่ะ แบบประเมินผลที่ดีในปัจจุบัน ต้องมาจากผู้ประเมิน + ผู้รับการประเมินร่วมกันทำขึ้นมาค่ะ...
  • เสมือนเป็นข้อตกลงร่วมกันค่ะ...ไม่เหมือนสมัยก่อนที่แบบประเมินจะมาจากส่วนกลาง ทำให้ได้ผลที่ไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไรค่ะ...
  • ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท