ปริญญาเอก มจร.
พุทธสาวก นักศักษาปริญญาเอก มหาจุฬาฯ

ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา วันที่ 16 มิถุนายน


วันนี้เป็นครั้งแรกของ Prof. Dr. Peter Masefield ผู้บรรยายวิชานี้  เป้าหมายในการบรรยาย  ดังที่เราได้พูดคุยกับศาสตราจารย์ และบอกความประสงค์ของเราในการเรียนของเราคือ  "เราต้องการเพิ่มทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษ  โดยเฉพาะตำราภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาในทางพระพุทธศาสนา" ซึ่งท่านก็เห็นด้วยครับ

ภาษาอังกฤษท่านศาสตราจารย์นำมาบรรยายมีสองลักษณะครับคือ (หนึ่ง) อักษรโรมันแต่เป็นภาษาบาลี และ (สอง) อักษรโรมันที่เป็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นการแปลมาจากส่วนที่หนึ่ง

หนังสือที่จะใช้แหล่งอ้างอิงเพื่อใช้ในการบรรยายของท่านและท่านก็บอกว่าเป็นแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ  และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการทั่วโลกที่ศึกษาพระพุทธสาสนาคือ  หนังสือที่พิมพ์โดย Pali Text Society (PTS) นอกจากท่านจะให้แนวทางในการทำความเข้าใจแล้ว  ท่านยังจะให้วิธีการในการเขียนอ้างอิงถึงแหล่งดังกล่าวด้วย  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า  ถ้าจะอ้างงานตีพิมพ์ของ PTS มีวิธีในการอ้างอย่างไร

ที่กล่าวมาคือโครงสร้างการบรรยายวิชาที่ศาสตราจารย์นำเสนอครับ  ส่วนเนื้อหาที่บรรยายในวันนี้  ท่านได้เล่าความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของ PTS ทำให้ผมได้ทราบว่า  อังกฤษก็สนใจพระพุทธศาสนา  และศึกษาพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับหลาย ๆ ชาติในแถบเอเชีย  ในทัศนะผม  อาจกล่าวได้ว่า  อังกฤษศึกษามีวิธีการพระพุทธศาสนาแบบพุทธมากว่าชาติอื่น ๆ ในเอเชียด้วยซ้ำ  เหตุผลที่ผมตั้งข้อสมมติฐานเช่นนี้ (ขออนุญาตใช้วิธีการแบบ Syllogism นะครับ) ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า  "คนยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งเดียวที่เป็นวิทยาศาสตร์" วิธีการทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิธีการเดียวกับพุทธ  การศึกษาคัมภีร์ภาษาบาลีของ PTS มีการสืบค้นหาหลักฐานเปรียบเทียบ  ก่อนที่จะเลือกใช้ฉบับที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับ ไม่ปลงใจเชื่อง่าย ๆ  ซึ่งเป็นวิธีการแบบวิทยาศาสตร์  จึงทำให้ผมเห็นว่า  วิธีการของ PTS เป็นพุทธมากกว่าทางเอเชียที่เชื่อตาม ๆ กันมา  โดยมักจะไม่ตั้งคำถาม  หรือท่านอื่นเห็นอย่างไร  เชิญแลกเปลี่ยนครับ

PTS ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1881 ในช่วงแรกนั้นพิมพ์เป็นภาษาบาลี  จนกระทั่งในปี 1981 ได้มีการแปลและจัดพิมพ์คัมภีร์หลักเป็นภาษาอังกฤษจนครบทุกคัมภีร์ (ประเด็นนี้ผมไม่แน่ใจว่าผมจับใจความได้หมดหรือเปล่า เชิญท่านอื่นเพิ่มเติมครับ)

นี่คือเนื้อหาหลัก ๆ ที่พูดคุยกันในวันนั้นครับ

แล้วค่อยพบกันครั้งต่อไปครับ  อย่าลืมช่วยกัน "เพิ่มบันทัก" ใหม่ ในชุมชนของเรานะครับ  จะได้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีของชุมชนเราครับ
สวัสดิ์  พุ้มพวง

คำสำคัญ (Tags): #buddhist#pali#text#society#history
หมายเลขบันทึก: 34497เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท