อาสาสมัครเมือง


อาสาสมัครเมือง คำนี้ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน อาจจะฟังดูแล้วแปลกหูแปลกตาไปซักหน่อยแต่หากได้อ่านที่ผมจะเขียนให้อ่านแล้ว อาจจะคลายความสงสัยลงไปได้บ้างตามสมควร คำว่า อาสาสมัครเมือง เป็นคำที่ผมนั่งนึกเล่น ๆ กับ น้อง ๆ อาสาสมัครที่เคยมาร่วมงานกับ อิสรชน ในช่วงปี 2544 – 2545
ข้อเขียนนี้ ผู้เขียนมีความมุ่งหวังเขียนเพื่อบูชาบรมครูแห่งงานอาสาสมัครของผู้เขียน ศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ก่อตั้ง บัณฑิตอาสาสมัคร และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาสาสมัครเมือง

อาสาสมัครเมือง คำนี้ ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน อาจจะฟังดูแล้วแปลกหูแปลกตาไปซักหน่อยแต่หากได้อ่านที่ผมจะเขียนให้อ่านแล้ว อาจจะคลายความสงสัยลงไปได้บ้างตามสมควร คำว่า อาสาสมัครเมือง เป็นคำที่ผมนั่งนึกเล่น ๆ กับ น้อง ๆ อาสาสมัครที่เคยมาร่วมงานกับ อิสรชน ในช่วงปี 2544 – 2545 ช่วงที่ตระเวนจัดกิจกรรม ห้องสมุดสัญจร และ ละครหุ่นสัญจร ไปในที่ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร ทั้งที่อยู่ใกล้ความเจริญ และ ที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ แต่ยังอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หลาย ๆ คน อาจจะงง ๆ ว่า กรุงเทพมหานคร มีด้วยหรือ ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ขอยืนยันว่ามีครับบางที่ ทางเข้าโรงเรียนกันดารไม่แพ้โรงเรียนในชนบทเลยนะครับเรียกว่าฝนตกทีนึงก็ ตัดขาดโลกภายนอกไปเลย รถขับเคลื่อนสี่ล้อยังเข้าโรงเรียนนี้ไม่ได้ เข้าได้แต่ทางเรือ เพราะถนนหนทางที่จะเข้าไปแสนจะลำบาก

วันที่ผม พาน้อง ๆ อาสาสมัคร ไปตระเวนเยี่ยมโรงเรียนต่าง ๆ 50 โรงเรียน ก่อนจะลงทำงานจริง ๆ เรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย เพราะแต่ละที่ที่พากันไปนั้น ยังหลงเหลือความเป็นชนบทที่ยากจะหาได้ในเมืองใหญ่มหานครแห่งนี้ ความบริสุทธิ์แห่งความเป็นเมืองเก่ายังพอมีหลงเหลือให้ได้พบเห็น น้อง ๆ ที่มาสมัคร แรก ๆ ไม่เชื่อสายตาว่า ยังอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ เมื่อได้สัมผัส ถึงกับ ถอนตัวไม่ขึ้น ขอมาทำกิจกรรมแทบทุกค่ายทุกโรงเรียน ถ้าไม่ติดเงื่อนไขว่า ต้องสลับกันมาจัดกิจกรรมนะ

วันนึงมีโอกาสได้พูดคุย ถึงแนวคิดการมาเป็นอาสามัคร และแนวคิดอาสาสมัครของ อิสรชน จนได้ คำว่า อาสาสมัครเมือง ออกมา อาสาสมัครเมือง ในความหมายของ อิสรชน คือ..

ใครก็ได้ที่ มีวิถีชีวิตอยู่ในเมืองซึ่งอาจจะไม่ใช่กรุงเทพมหานครเพียงอย่างเดียวแล้วอยากจะใช้เวลาว่าง ๆ ของตัวเองทำอะไรดีดีเพื่อคนอื่นไม่ว่าคนอื่นนั้นจะมีชีวิตอยู่ในเมือง หรือชนบทก็ตาม และหลังจากนั้นอาสาสมัครเมืองของ อิสรชนก็ตระเวนจัดกิจกรรมไปเรื่อย ๆ ทั้งในเขตเมืองและชนบทที่ห่างไกล โดยยึดถือคติที่ว่า “สร้างสรรค์ พัฒนากิจกรรม เพื่อพัฒนาสังคม”
หมายเลขบันทึก: 34484เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2006 01:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท