AAR หลังการประชุมความเสี่ยง


หลังการทุ่มเททำงานหนักมากๆ แล้วมักจะอ่อนล้า ถ้าไม่รีบฟื้นฟูกลับมาทำให้สิ่งที่ร่วมด้วยช่วยกันทำที่ผ่านมาเนียนเข้าในงานประจำ จะทำให้การสู้ครั้งต่อไปหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นหลายเท่า

          การประชุมความเสี่ยงประจำทุกวันศุกร์ที่ 3 ของเดือน ในเดือนนี้ประชุมในวันที่ 16 มิ.ย.2549 (เวลา 14.00 - 16.00 น.) สรุปรวบยอด 2 เดือนเลยทีเดียว เนื่องจากเดือนที่แล้วมีวันหยุดราชการเยอะ  ดังนั้น ในวันประชุมที่กำหนดไว้เป็นประจำ  คณะกรรมการจึงติดการประชุมอื่นทั้งภายในและภายนอกจนมาประชุมกันไม่ค่อยได้

 

1. สิ่งที่คาดหวังให้เกิดขึ้นคืออะไร ?

    มีการทบทวนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และความเสี่ยงที่รุนแรงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งทบทวนระบบการรายงานเนื่องจากจำนวนความเสี่ยงลดลง

 

2. สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ?

     พบว่าความเสี่ยงด้านคลินิกที่เกิดขึ้น PCT แต่ละทีมได้มีการนำเข้าที่ประชุม PCT เป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ต้องใช้วิธีการติดตามรายงานผลเพื่อเป็นการกระตุ้นต่อไป สำหรับคำร้องเรียนยังมีเรื่องพฤติกรรมบริการและการรอรับบริการนานเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่วนปัญหาเรื่องรายงานความเสี่ยงที่มีจำนวนลดลงนั้น ที่ประชุมสรุปว่าเนื่องจากความอ่อนล้าจากการทุ่มเทพลังในการค้นหาความเสี่ยงก่อนการประเมินจึงทำให้ระยะนี้เนือยๆ ลงไป

 

3. ทำไมจึงมีความแตกต่าง ?

     เป็นไปตามที่คาด เพราะประธานเข้มแข็งในการควบคุมเกมส์ ถึงแม้บรรยากาศจะเนือยๆ ไปบ้าง

 

4. ได้เรียนรู้อะไรเพื่อว่าวันพรุ่งนี้จะได้ทำให้ดีขึ้น ?

     ได้เรียนรู้ว่าหลังการทุ่มเททำงานหนักมากๆ แล้วมักจะอ่อนล้า ถ้าไม่รีบฟื้นฟูกลับมาทำให้สิ่งที่ร่วมด้วยช่วยกันทำที่ผ่านมาให้เนียนเข้าในงานประจำ จะทำให้การสู้ครั้งต่อไปหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นหลายเท่า

 

      ท่านใดมีแนวทางหรือวิธีการกระตุ้นพลัง & กำลังใจที่ได้ผล ทั้งพลังในการทำงานเป็นทีมและกำลังใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริการที่ดี ช่วยกรุณาเสนอแนะด้วยนะคะ

 

คำสำคัญ (Tags): #rm
หมายเลขบันทึก: 34420เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2006 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เสนอให้ตัวแทนของการประชุมอาจจะเปลี่ยนกันมาเข้าบ้างและให้ตัวแทนแต่ละคนเสนอไอเดียของการพัฒนาการแก้ไขความเสี่ยง    อาจอาจจะเห็นความคิดใหม่ๆที่อยู่นอกกรอบที่เราคิดไม่ถึง

 ให้แต่ละหน่วยงานขึ้นเป้าหมายของความเสี่ยงที่จะทำให้สำเหร็จน่าจะเป็นการสื่อสารที่มีกรอบชัดเจนยิ่งขึ้น    เป็นแค่ความเสี่ยงเล็กๆก็น่าจะOK

ใช้KMsharingในหน่วยงานจะเป็นการเก็บที่มีความเป็นไปได้ค่ะ

สุดท้ายคือต้องถามคนที่เก็บและคนที่ทำงานจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท