การพัฒนาโจทย์PARพืชปลอดภัยของตำบลคลองพิไกร


นำบทเรียนของการพัฒนาโจทย์วิจัยที่ได้จากการลงสนามจากตำบลคลองลานพัฒนา และตำบลนาบ่อคำ มาเป็นบทเรียนเพื่อถ่ายทอดสู่เพื่อนนักส่งเสริมทั้งสองท่าน คือคุณเสนาะ และคุณประสิทธิ์ เพราะพวกเราทุกคนล้วนมีประสบการณ์ที่ไม่มากนัก แต่ก็เรียนจากการทำงานหรือที่หน้างานจริงๆ นี่แหละ

          ภาคบ่าย ของวันที่ 2 มิถุนายน หลังจากที่ผมและคุณสายัณห์ ได้ไปร่วมกระบวนการพัฒนาโจทย์PARพืชปลอดภัยที่ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชรแล้ว  ได้เดินทางต่อไปที่อำเภอพรานกระต่าย แวะรับคุณประสิทธิ์ อุทธา ที่สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย แล้วก็มุงหน้าไปที่ตำบลคลองพิไกร ซึ่งได้นัดหมายกับคุณเสนาะยิ้มสบาย เพื่อนนักส่งเสริมอีกท่านหนึ่งที่ร่วมเป็นนักวิจัยและดำเนินการวิจัย PAR พืชปลอดภัย

          ในการที่ไปพบคุณเสนาะ และได้นำคุณประสิทธิ์เดินทางไปด้วยก็เพราะต้องการถ่ายทอดให้คุณประสิทธิ์ได้เรียนรู้ด้วย เนื่องจมากว่าขณะนี้พวกเรากำลังอยู่ระหว่าง การ ลปรร. กระบวนการวิจัย PAR พืชปลอดภัย โดยพวกเราจะพบกันเดือนละ 1 ครั้ง หลังจากนั้นก็ลงสนามไปหาทีมนักวิจัยชาวบ้าน และร่วมพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับชาวบ้าน แต่ที่เรามานี้ก็เพื่อจะมาร่วม ลปรร.และสร้างความเข้าใจให้กับทีมงานซึ่งเป็นนักส่งเสริมของเราในเบื้องต้นก่อน เพราะไม่สามารถมาร่วมเรียนรู้พร้อมๆ กับกระบวนการที่ดำเนินการกับเกษตรกรของตำบลนี้ได้  เนื่องจากช่วงเช้าคุณเสนาะก็ได้นัดหมายกับชาวบ้าน และตรงกันกับตำบลคลองนาบ่อคำ

  • คุณเสนาะนำเสนอผลที่ได้ร่วมเวทีกับชาวบ้านมาหลายครั้งแล้ว กำลังทบทวนข้อมูลให้กับทีมงานได้ ลปรร.

                                        49060302

 

          ผมและคุณสายัณห์ ใช้เทคนิคในการสร้างความเข้าใจและมองเห็นถึงกระบวนปฏิบัติเพื่อให้เกิดการผลิตพืชที่ปลอดภัย ดังนี้ครับ

  • ให้คุณเสนาะ  ยิ้มสบายเล่าถึงผลที่ได้จากการร่วมเวทีกับชาวบ้านทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมา
  • ให้เขียนถึงสิ่งที่ชาวบ้าน (เกษตรกรที่ปลูกผักที่เข้าร่วมงานวิจัย) บอกว่าจะทำ/ข้อตกลงร่วมกันว่าจะทำ ในกระบวนการผลิตเพื่อให้ผักปลอดภัยว่ามีอะไรบ้าง ลงบนกระดาษ
  • จัดหมวดหมู่หรือเรื่องที่เหมือน/คล้ายกันเข้าด้วยกัน(หากใช้บัตรคำจะง่ายมาก)
  • ให้คุณเสนาะใส่เลขโดยให้เรียงลำดับของกิจกรรมที่คิดว่าจะทำ ก่อน-หลัง
  • นำหัวข้อหลักๆ มาเขียนลงลนกระดาษแผ่นใหม่
  • อธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจ "กระบวนการ" ที่กลุ่มจะดำเนินการร่วมกันเพื่อมุ่งเป้าสู่พืชปลอดภัย

          ในวันนี้ผมและคุณสายัณห์ ได้นำบทเรียนของการพัฒนาโจทย์วิจัยที่ได้จากการลงสนามจากตำบลคลองลานพัฒนา และตำบลนาบ่อคำ มาเป็นบทเรียนเพื่อถ่ายทอดสู่เพื่อนนักส่งเสริมทั้งสองท่าน คือคุณเสนาะ และคุณประสิทธิ์  เพราะพวกเราทุกคนล้วนมีประสบการณ์ที่ไม่มากนัก แต่ก็เรียนจากการทำงานหรือที่หน้างานจริงๆ นี่แหละ แล้วจึงนำความรู้มาส่งต่อ/ถ่ายทอดสู่เพื่อนนักส่งเสริมอีกต่อหนึ่ง 

         แนวทางของแผนวิจัยของตำบลคลองพิไกรเป็นดังนี้ครับ

  1. การเจาะเลือด ก่อนและหลังการวิจัย
  2. การจัดตั้งกลุ่ม
  3. การจัดทำแปลงเรียนรู้(แปลงทดสอบ)
  4. ปรับปรุงดิน
  5. กิจกรรมการจัดทำสารสกัดชีวภาพ/สมุนไพรทดแทน
  6. การตรวจสารพิษตกค้างในผลผลิตผัก
  7. การตรวจแปลงผัก
  8. ศึกษาดูงานด้านการตลาด/ผักปลอดภัย
  9. การสร้างตราสินค้า
  10. การจัดการด้านการตลาด
  11. การสร้างเครือข่ายในระดับตำบล-อำเภอ

         นี่เป็นผลจากการแปลงข้อมูลที่ได้จากเกษตรกร มาปรับเป็นแผนดำเนินการฯ ซึ่งคุณเสนาะและคุณประสิทธิ์ก็จะได้นำกระบวนการนี้ ลงไปปฏิบัติและสร้างโจทย์ร่วมกับนักวิจัยที่เป็นเกษตรกรกันต่อไป หวังว่าทั้งสองท่านคงจะมีความรู้ใหม่ๆ มาเล่าสู่พวกเราในวันสรุปผลการลงสนามประจำเดือนต่อไป

วีรยุทธ  สมป่าสัก

 

หมายเลขบันทึก: 34380เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2006 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท