การจัดการความรู้ (ปัญญา) เพื่อความสุข


ความสุขหรือความทุกข์สัมบูรณ์จริง ๆ ไม่น่าจะมี แต่จะมีความสุขสัมพัทธ์หรือความทุกข์สัมพัทธ์มากกว่า ฉะนั้นความสุขกับความทุกข์ก็ต้องอยู่ด้วยกันเสมอ แต่จะหนักด้านใดด้านหนึ่ง หรือเท่า ๆ กันก็ได้, เส้นแห่งความพอ ทั้งนี้เส้นแห่งความพอสามารถขยับได้ เลื่อนขึ้นลงได้ โดยมีความรู้(ปัญญา)หรือความไม่รู้(กิเลส)เป็นเครื่องกำหนด

การจัดการความรู้ (ปัญญา) เพื่อความสุข

     ความสนใจของผมที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่คอยสงสัยว่าความทุกข์ (ซึ่งตรงกันข้ามกับความสุข)  ของคนแต่ละคนทำไมถึงไม่เท่ากัน มีเหตุหรือปัจจัยอะไรกำหนดบ้าง เช่นกรณีคนเป็นหนี้ 20,000 บาท แต่คิดฆ่าตัวตาย ในขณะที่อีกคนเป็นหนี้ 500,000 บาท กลับเฉย ๆ ในการแสดงออก
     จากข้อตกลงเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ที่สรุปไว้ว่า คนทั่วไปเมื่อเลือกตัดสินใจเอา หรือทำอะไรไปแล้ว นั่นเป็นเพราะได้ทำให้ความพอใจของตนเองสูงสุดแล้ว หรือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับตนเองแล้ว (Objective Decision Utility) ซึ่งเรียกว่าอรรถประโยชน์สูงสุด พร้อม ๆ กัน เขาก็ขาดโอกาสในการที่ไม่ได้เลือกทางเลือกที่เหลือ และทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสขึ้นในทางเศรษฐศาสตร์ ฉะนั้นค่าเสียโอกาสนี้ผมจะเรียกว่าเป็นความทุกข์ (ส่วนหนึ่ง) ได้ไหม
     และพอผมได้อ่านเรื่อง เศรษฐศาสตร์กับเรื่องความสุข ที่เขียนโดย ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ แห่งสถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยปรากฎอยู่ในเวปของ สปรส.และได้นำเสนอว่าความสุขคือที่สุดของความต้องการของคนทุกคน และผมก็เชื่อเช่นนั้นด้วย และก็เชื่อเพิ่มเติมว่าความสุขหรือความทุกข์สัมบูรณ์จริง ๆ ไม่น่าจะมี แต่จะมีความสุขสัมพัทธ์หรือความทุกข์สัมพัทธ์มากกว่า ฉะนั้นความสุขกับความทุกข์ก็ต้องอยู่ด้วยกันเสมอ แต่จะหนักด้านใดด้านหนึ่ง หรือเท่า ๆ กันก็ได้
     อีกประเด็นที่ท่านได้นำเสนอไว้คือ นักจิตวิทยาและนักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งไม่คิดว่าวิธีการและวิธีคิดของนักเศรษฐศาสตร์ถูกต้องเสมอไป ไม่คิดว่าสิ่งที่เราสังเกตได้จากการตัดสินใจเลือกกระทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งบอกถึงความพอใจหรืออรรถประโยชน์ได้ทั้งหมดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้เลือกแล้ว เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศ รวมทั้งขีดจำกัดความสามารถในการกรองข้อมูล (ความรู้ และการจัดการกับความรู้) บ่อยครั้งมนุษย์ตัดสินใจเพราะปัจจัยทางด้านอารมณ์ ซึ่งก็บางครั้งหาเหตุผลได้ยาก ประเด็นนี้เองทำให้ผมเริ่มเข้าใจว่าทำไมความทุกข์ของคนเราจึงไม่เท่ากัน ก็คงเป็นเพราะ “ความรู้ และการจัดการกับความรู้” ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
     ทำให้ขบคิดต่อไปว่าความสุขจะมากจะน้อยก็ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเปรียบเทียบ เพื่อจะได้ความสุขสัมพัทธ์สูงสุด และความทุกข์สัมพัทธ์ต่ำสุด ซึ่งจะขอเรียกในเบื้องต้นว่าเส้นมาตรฐาน และอยากจะเรียกว่าเส้นแห่งความพอ ทั้งนี้เส้นแห่งความพอสามารถขยับได้ เลื่อนขึ้นลงได้ โดยมีความรู้ (ปัญญา) หรือความไม่รู้ (กิเลส) เป็นเครื่องกำหนด หรืออาจจะมีอีกคงต้องขอนำประเด็นนี้เข้าสู่การถกกันต่อไป ดังรูป


หมายเลขบันทึก: 3436เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2005 02:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     ติดตามบทความสยามเสวนาเรื่อง "ความสุขที่แท้จริง" โดยอติชาต เกตตะพันธุ์ เมืองซานตาครูซ รัฐแคลิฟลอเนียร์ สหรัฐอเมริกา พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ครับ

     ขอปรับปรุง link ครับ จะได้ไม่ต้องหานานเกินไป

     ติดตามบทความสยามเสวนาเรื่อง "ความสุขที่แท้จริง" โดยอติชาต เกตตะพันธุ์ เมืองซานตาครูซ รัฐแคลิฟลอเนียร์ สหรัฐอเมริกา พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ครับ

     ขอเชื่อมต่อขุมความรู้เข้าไว้กับ มาฟังเกี่ยวกับความสุขที่แท้จริงกัน
     ขออนุญาต link ไว้ครับ เดี่ยวจะหาไม่เจอ “แผนที่ความสุข” ของหมอประเวศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท