เสวนา วิถีพอเพียง:ชีวิต งานและภูมิปัญญา จากปราชญ์ชาวบ้านอีสาน ตอน 2


ขอเล่าต่อจากตอนที่แล้วคะ

ในช่วงนี้เป็นการอภิปรายในห้องประชุมคะ

               

              ลุงโชคดี   พ่อคำเดื่อง    พ่อผาย      อาจารย์ไพรัช

พ่อคำเดื่อง ภาษี  กล่าวว่าชีวิตเปลี่ยนแปลงจากการมีหนี้สินสู่ชีวิตใหม่ ไม่สามารถบอกได้ว่าจุดเปลี่ยนอยู่ตรงไหน  แต่เป็นการสะสม ใช้ธรรมะมาช่วย ที่สุดแห่งทุกข์คือการปฏิบัติธรรม เกิดมาทำไม เพื่ออะไร เกิดมาก็ต้องตาย ควรทำอะไรให้แก่โลก ต้องเข้าใจตนเอง พึ่งตนเอง อัตตานิ อัตตโน นาโถ อาชีพการเกษตรไม่เกี่ยวกับเรื่องเงิน เราปลูกพริก เราก็กินพริก หากเราไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ จะมีความอุดมสมบูรณ์ 100 ปีเราก็ใช้ไม่หมด นอกจากนี้ยังไม่เบียดเบียนคนอื่น พ่อคำเดื่องมีความคิดว่าการปลูกต้นไม้ 1 ต้น ได้กำไรถึง 10,000 % ปลูกต้นไม้เพาะกล้าเอง 1 บาทต่อต้น ใช้เวลา 3 นาทีปลูก เช่นต้นยางนา 10 ปีขายได้ 10,000 บาทได้ดอกเบี้ย 100 บาทต่อปี ลงทุนเพียงแค่ 1 บาทกำไร 10,000 %

พ่อผาย สร้อยสระกลาง เล่าให้ฟังว่าเดิมเป็นพระ รู้อดีต รู้อนาคต รู้คุณพ่อแม่ แม่ทำอาหารให้กิน พ่อให้ที่นาทำกิน ใช้ธรรมมะในการดำรงชีวิต ชีวิตไม่ทำบาป ร่างกายเราเป็นมรดก เราต้อง เฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน ไม่ใช่ หาอยู่หากิน จะทำอะไรให้มีการวางแผนก่อน ให้แนวคิด ไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ  อุดรูรั่ว มีถึง 285 รูรั่ว  จัดอบรมไม่ให้คิดเรื่องเงิน คิดแต่เรื่องที่มีความสุข ปิดรูรั่วของครอบครัว ไม่กินเหล้าเป็นอานิสงฆ์ มีการฝึกวิทยากรและขยายเครือข่ายทุก 7 กิโลเมตร มีการประชุมปราชญ์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือนสามารถเปลี่ยนให้นายก อบต.ใช้ปัญญาในการพัฒนาตำบลมากขึ้น จัดทำกองทุนเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม ช่วยกัน นำไปสู่การฟื้นฟูประเพณีสู่ขวัญนาค แห่นางแมวฯลฯ

ลุงโชคดี ปรโลกานนท์ เล่าว่าจบที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้านการเกษตร(พืชไร่) ตนเองเป็นผลผลิตคนรุ่นใหม่ในยุคนั้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ่อแม่ของลุงเป็นเกษตรกร ทำไปแล้วไม่สำเร็จ จึงต้องถอย ประสบการณ์สอนให้เข้าใจว่าที่เรียนมาไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ให้ลบออกไป จุดเปลี่ยนคือเมื่อเกิดความล้มเหลวแล้วไม่ถลำลึก ถ้าฐานทรัพยากรเช่นดิน น้ำ ป่า ไม่ดี ก็มีผลเช่นกัน ได้เรียนรู้จากพ่อผายว่าก่อนเดินไปข้างหน้า ให้ดูข้างหลังด้วย เดี๋ยวนี้คนอายุน้อยกว่า 30 ปี เป็นหนี้ เพราะไม่ได้ใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา ใช้อย่างอื่นเช่นยาเสพติด เหล้า ควรใช้สติในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเรื่องฐานทรัพยากรเป็นเรื่องใหญ่ ในอดีตเราไม่ได้เอาเรื่องเงินเป็นตัวตั้ง  จึงอยู่รอด จะเห็นได้ว่าต้นไม้เป็นฐานทรัพยากรที่ใกล้ตัว เชื่อมโยงสู่เรื่องอื่น ได้แนวคิดจากผู้ใหญ่วิบูลย์ชี้ทางและตอกย้ำ จึงลงมือปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไม่ถึง 10 ปีเจอทางออก ฟื้นป่า 2 หมื่นไร่อ.วังน้ำเขียวปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ลุงเพิ่งเข้ามามีบทบาทด้านการเกษตรเพียง 2-3 ปี มีการถอดองค์ความรู้ รักษาพื้นที่ป่าต้นน้ำ เฉลิมพระเกียรติ

อาจารย์ไพรัช ชื่นศรี  เล่าว่าเป็นครูมา 25 ปี เห็นข้อจำกัดหลายเรื่องของข้าราชการ ครอบงำโดยนักการเมือง จึงลาออก  ก่อนลาออกมีการทดลองลาออก 2 เดือน เมื่อลาออกแล้วจากที่ดิน 34 ไร่ แบ่งมา 5 ไร่ทำตามในหลวง(ทฤษฎีใหม่)เป็นลูกศิษย์พ่อผาย พ่อคำเดื่อง เข้าหลักสูตร วปอ.ภาคประชาชนเป็นวิทยากรอบรมชาวบ้านโดยหมออภิสิทธิ์ วาดฝันพื้นที่นาตนเองเป็นอย่างไร ทำในสมุดถึง 3 เล่ม ได้เงินจากครูบาสุทธินันท์มา 3.5 หมื่นบาทมาปรับปรุงกระท่อมเป็นที่เรียน จากการอบรมได้ความรู้มากมายจากชาวบ้าน ในปี 2550 ได้เงินจากญี่ปุ่นมา 1.7 ล้านบาท บูรณาการกับเกษตรจังหวัด (คุณสมบูรณ์ ซารัมย์)เกษตรอำเภอ ในการหาเกษตรกรเข้ามาอบรม เกษตรกรไม่เต็มใจมาแต่หลังการอบรมเข้ามากอดและให้กำลังใจ รู้สึกภาคภูมิใจมาก เราปลูกต้นไม้สัก 20 ปีก็ได้ให้ลูกหลานสร้างบ้านไม้สัก ปลดหนี้ได้ กิ่งเผาเป็นถ่านได้ ปราชญ์ร่วมกันคิดจะทำโครงการกล้วย ๆ แก้จน จากหลักสูตร วปอ.ภาคประชาชน 3 คืน 4 วัน เน้นให้รู้อริยสัจ4 พาไปดูพื้นที่พัฒนา 1-3 ปี 3-5 ปี 5-10 ปี ศูนย์ปราชญ์ ทำให้ผู้เรียนฉุกคิดได้และเปลี่ยนแนวคิดได้ร้อยละ80 กลับไปปลูกต้นไม้ถวายในหลวง เลี้ยงไส้เดือน ปลูกมะนาว พริก มะเขือ ผัก ในท่อส้วม(ใหม่) เก็บได้ตลอดปี ทำโครงการไร่นาป่าผสม ป่า 8 ไร่ มีสื่อวีดีทัศน์ในการปรับแนวคิด

กำลังเข้มข้นเลยนะคะ ขอเล่าต่อในตอนต่อไปคะ

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

11 มี.ค.53

 



หมายเลขบันทึก: 343477เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ร่วมกัน หยุดความรุนแรง หยุดทำร้ายประเทศไทย

1) จุดเปลี่ยน ทำให้เกิดการพัฒนา

2) ความสำเร็จ มาจากความกล้าทดลอง

3) หลักคิดของนักส่งเสริมฯ อยู่ที่ "สร้างการเปลี่ยนแปลงจากปัญหาของเกษตรกร"

  • ทางอิสาน มีปราชญ์ชาวบ้านเยอะ หลายสาขา เลยนะครับ
  • แต่ ไม่ทราบว่า จะสืบทอดต่อมาอีก มากน้อยแค่ไหน

คุณจือ คุณหนุ่มร้อยเกาะ

  • ขอบคุณคะ
  • เห็นด้วยคะ
  • นักปราชญ์เรียนรู้จากประสบการณ์ตนเองคะ
  • จะเล่าเรื่องมุมมองการสืบทอดต่อคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท