kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (ตอนจบ) : วิเคราะห์งานและวางแผนการทำงานผ่านประสบการณ์การเรียนรู้


เจ้าหน้าที่ที่เป็น Key person สำคัญในการดำเนินงานการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ที่ได้ และข้อสรุปที่ได้ นำไปต่อยอดความคิดในการจัดกิจกรรม เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามพึงประสงค์ต่อไป

ในการประชุมการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8  ที่จังหวัดน่านในครั้งนี้ นอกจากจะให้ความรู้ ไปดูงาน แถม ทพญ.นนทลี ยังให้เล่าสู่กันฟังเรื่องการทำงานในชมรมผู้สูงอายุที่ผ่านมาของแต่ละคน แล้ว ในวันสุดท้ายคือวันที่ 5 มีนาคม 53  ยังมีช่วงของการให้กลุ่มทั้ง 4 ซึ่งแบ่งตามจังหวัดคือนครสวรรค์ พิจิตร กำแพงเพชร และอุทัยธานี โดยการทำกลุ่มจะให้แนวทางเดียวกับกระบวนการสุนทรียปรัศนี ของอาจารย์อุทัยวรรณ (เชียงใหม่)  แต่ปรับกระบวนการให้เร็วขึ้นเนื่องจากมีเวลาน้อย

        เริ่มจากให้ทุกกลุ่ม ซึ่งรู้จักกันอยู่แล้ว เลือกประธานกลุ่ม เลขากลุ่ม และโฆษก กลุ่ม และเขียนใบแสดงตัวตนของกลุ่ม พร้อมรายชื่อ และสัญลักษณ์ของกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มทำชิ้นงานออกมาได้อย่างสวยงาม

 

สำหรับสัญลักษณ์กลุ่มนั้นตรงตามสัญลักษณ์ของจังหวัดเลยครับ นครสวรรค์จะเป็นวิมาน  กำแพงเพชรจะเป็นเพชร  พิจิตรเป็นจระเข้ และอุทัยธานีเป็นปลาครับ

หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์กิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ จากประสบการณ์ การเรียนรู้จาก ทพ.ญ.นนทลี และการศึกษาดูงาน  ตอบคำถาม และเขียนเป็นประโยคลงให้แผ่นกระดาษ

     จากนั้นนำมาติดใน model ของตนเอง โดยคำตอบของคำถามต่าง ๆ จะนำมาติดในบริเวณต่าง ๆ กัน ดังนี้

  • คำถามที่ว่า อะไรคือกิจกรรมหรือสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นในชมรมผู้สูงอายุ จะติดบริเวณฐานของ model
  • คำถามที่ว่า อะไรคือปัจจัยของความสำเร็จของการดำเนินงาน  จะติดบริเวณส่วนกลางของ model
  • คำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งจะควรจะเป็นความรู้ และความสามารถที่พึงมีของคนในชมรม จะติดบริเวณส่วนกลางของ model
  • คำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งที่ประชาชน หรือชุมชนจะได้รับ (ผลประโยชน์)  จะติดบริเวณส่วนยอดของ Model

        จากนั้นให้แต่ละกลุ่ม นำ model ที่ได้มาวิเคราะห์ กิจกรรมว่าในการจัดทำกิจกรรมการดำเนินงานการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุควรจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง และให้กลุ่มพิจารณาระยะเวลาและผู้รับผิดชอบของกิจกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานของจังหวัด  หลังจากนี้ก็จะเป็นการนำเสนอกิจกรรม

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมด น่าจะทำให้เจ้าหน้าที่ที่เป็น Key person สำคัญในการดำเนินงานการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ที่ได้ และข้อสรุปที่ได้ นำไปต่อยอดความคิดในการจัดกิจกรรม เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามพึงประสงค์ต่อไป

ขอบคุณครับ

 

หมายเลขบันทึก: 343448เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2010 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท