Highlight จากงานฉลองครบรอบ 1 ปี Gotoknow


ดังนั้นเด็กไทยที่จะเติบโตไปเป็นนักเทคโนโลยี ในอนาคต ควรเรียนรู้ประวัติของท่าน ทั้งสอง (ที่จริงแล้วท่านใช้ จินตนาการนั่นเอง)

       ด้วยวัตถุประสงค์ของผู้นำ สคส.ที่ต้องการให้กำลังใจ"ดร.จันทวรรณ & ดร.ธวัชชัย"ผู้สร้าง Gotoknow และติดตามความคืบหน้าในเนื้องาน รอบระยะเวลา 1 ปี      เหล่าทีมงาน สคส.จึงช่วยกันสร้างหวังเป็นจริง ในวันที่ 15 มิถุนายน 2549 นี้    โดยจัดให้มีการพบปะ ระหว่างกลุ่มผู้ใช้งาน กับผู้สร้าง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "ความต้องการใช้งาน กับ ความสามารถของเทคโนโลยีอันทันสมัย"

       บรรยากาศเป็นไปแบบเป็นกันเอง  ต่างได้สาระประโยชน์กลับไปถ้วนหน้า   นับเป็นการพัฒนาก้าวโต ทาง KM IT ซึ่งเราสามารถจับตาดูรูปธรรมที่จะเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป...

       สำหรับ Highlight ที่ผู้เขียน สกัด จากเวทีในห้องประชุม รวมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโต๊ะอาหาร แล้วนำประเด็นมาผสมผสานกัน เพื่อ Take Action ต่อไป มี 3 ข้อ ได้แก่

      1. Gotoknow Version 2 ผู้เขียนสนับสนุน ให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง "ทำไป พัฒนาไป" เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของคนไทย ให้เป็น KM ไม่เกิดการติดเทคโนโลยีเพราะต้องตั้งสติเรียนรู้ทุกครั้ง ว่ามีการปรับปรุงการใช้งานจุดไหน เป็นกลยุทธ์หนึ่ง ที่เรามีโอกาสวิ่งแซงหน้าเจ้าของต้นกำเนิดเทคโนโลยี

       2. ในกลุ่มผู้ใช้งานควรมีการจัดกลุ่มแบ่งระดับ เพื่อไปเชื่อมต่อ กับทีมผู้สร้างได้ง่ายขึ้น ไม่เป็นภาระของท่านทุกเรื่อง โดยกลุ่มผู้ใช้งานจะมีคนที่ให้คำปรึกษาการแก้ไขปัญหาเทคนิคการใช้งาน ตั้งแต่เบื้องต้น จนถึงระดับลึก จำแนกตามความสามารถของกลุ่มผู้ใช้งาน คนที่เป็นที่ปรึกษาเทคนิคระดับลึกสำคัญมาก เพราะต้องมีความสามารถสื่อสารเชื่อมโยงไปถึงทีมผู้สร้างได้ และเข้าใจข้อจำกัด ของเทคโนโลยีในเมืองไทยอย่างถูกต้อง สำหรับที่ปรึกษาระดับเบื้องต้น จัดให้ผู้ใช้งานกลุ่มที่อยู่ระดับลึกและสามารถสอนคนไม่เข้าใจคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ก็เพียงพอแล้ว วิธีการนี้อาจเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี KM ได้เร็วขึ้น เพราะการแบ่งกลุ่ม   จะพบว่า generation สาขาวิชาที่เคยเรียนรู้ หรือสายอาชีพเดิม จะเป็นปัจจัย ของคนไทย ในการใช้เทคโนโลยี

       3. ข้อ1.และข้อ2. อยู่ภายใต้เงื่อนไข " ศิลปิน 2 ท่าน " ที่ใช้ศิลปะทำงานเทคโนโลยี      ดังนั้นเด็กไทยที่จะเติบโตไปเป็นนักเทคโนโลยี ในอนาคต ควรเรียนรู้ประวัติของท่าน ทั้งสอง (ที่จริงแล้วท่านใช้ จินตนาการนั่นเอง)

คำสำคัญ (Tags): #km#เทคโนโลยี#gotoknow
หมายเลขบันทึก: 34282เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอขอบคุณอาจารย์กรวีร์               

ขอขอบพระคุณ + ขอบคุณอาจารย์ ทีมงาน และท่านผู้มีส่วนในการพัฒนา Gotoknow ทุกท่าน...

  • ชื่อ "สคส." ฟังดูดีนะครับ... เหมือนกับจะส่งความสุขให้คนไทย และคนที่มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อ "Gotoknow" นี่น่าสนใจเหมือนกัน
(1). Go2know ~ go to know = แสวงหาความรู้
(2). Go2No ~ go to no(where) = ไปไม่ถึงไหน

  • ขอขอบคุณ Gotoknow ที่มีส่วนช่วยให้สังคมไทยที่ไม่รู้จะไปทางไหน (Go2No) ก้าวไกล ไปสู่เส้นทางแห่งปัญหา (Go2Know)

         เรียนเสนอให้อาจารย์พิมพ์ไป กด Enter ไปครับ... ครูภาษาไทยท่านสอนว่า ถ้า 2-5 บรรทัดขึ้นย่อหน้าใหม่จะอ่านง่ายขึ้น บล็อกจะอ่านง่ายขึ้นถ้าย่อหน้าใหม่ทุกๆ 2-4 บรรทัด(ดีที่สุดที่ประมาณ 3 บรรทัด)

เพิ่งเดินทางกลับถึง KKU...ขอบคุณทาง สคส.มากนะคะที่จัดเวทีให้เกิดการ ลปรร. ระหว่าง user และ ผู้พัฒนาระบบ...บรรยากาศดีและอบอุ่น เป็นกันเอง...ก้าวย่างที่เดินต่อต่าง...ร่วมสานสรรค์...กันต่อไปคะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ตามที่มักจะมีการอ้างถึงกันอยู่เสมอว่าท่านไอสไตน์ บอกว่า "Imagination is more important than Knowledge"

ขอบคุณอ.กรวีร์ และฝากขอบคุณทีมงานสคส. ทุกคนที่ส่งความสุขมาให้นะคะ ขอบคุณทุกแรงใจที่ทำให้รู้สึกมีพลังและเรี่ยวแรงที่จะดำรง KM ภายใต้การใช้ Blog ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท