รายงานสด "ตลาดนัดความรู้" ครั้งที่ 2


สถานศึกษาเครือข่ายให้ความสนใจร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมพรั่ง

บรรยากาศตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นแล้วเมื่อตอนเช้าตรู่ของวันนี้ เริ่มต้นที่
มีการวอร์มอัพแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทบาทการเป็น"คุณอำนวย" "คุณกิจ" และ"คุณลิขิต"
(note taker) ซึ่ง สคส.ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้ท่านผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ
และ คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส มาเป็นวิทยากร facilitator ให้กับบุคลากรโรงเรียน
จิระศาสตร์วิทยา จำนวน 20 คน ในเวลา 7.30-830 น.

ต่อจากนั้นสมาชิกสถานศึกษาเครือข่ายได้เริ่มทยอยเข้ามาลงทะเบียน รับเอกสาร
และชมผลงานที่โรงเรียนต่างๆนำมาแสดงนิทรรศการ ที่อาคาร "จิระวิทยาคาร"
โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา

ได้เวลา 9 โมงตรง ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ได้เรียนเชิญท่านอาจารย์จิระพันธุ์ 
พิมพ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา กล่าวต้อนรับ  และแนะนำท่าน
ผู้มีเกียรติที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ เช่น ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ
คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส จาก สคส. อาจารย์ปราณีต  ศรีศักดา รอง ผอ.สถาบันพัฒนา
ผู้บริหารการศึกษา อาจารย์แก้วตา ไทรงาม ครูเชี่ยวชาญ อาจารย์วิภา  ปัญญานุวัฒน์
ครูเชี่ยวชาญ อาจารย์มนัส  เกิดแย้ม หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการฝึกอบรม
อาจารย์กรรณิการ์ บุญฤทธิ์ เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8 สถาบันฯ พร้อมทั้งแนะนำผู้แทน
จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, 2 รวมทั้งโรงเรียนที่มาร่วม
กิจกรรมครั้งนี้ 18 โรงเรียน รวมสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ 163 คน

เมื่อแนะนำพอรู้จักมักคุ้นกันแล้ว ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวดำเนินการในการจัด
กิจกรรมครั้งนี้ในลักษณะต่อยอดจากครั้งที่แล้ว ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องอาศัยยุทธศาสตร์
"การมีส่วนร่วม paticipation
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ share and learn
การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ learning Organization
ทุกคนต้องรู้จักให้และรับ give and take
และท้ายที่สุดจะทำให้ทุกฝ่าย win win"
ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
และชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน

กิจกรรมในภาคเช้าได้เริ่มแยกเข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KV (knowledge Vision)
ไปสู่ KS (Knowledge Sharing) เพื่อตกผลึกเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา KA
(Knowledge Assets) ในท้ายที่สุด

ภาคบ่ายกลุ่มต่างๆจะได้นำผลงานการระดมสมองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มใหญ่
อีกครั้งหนึ่งและในครั้งนี้ท่านวิทยากรจาก สคส.จะเติมเต็มวิธีการจัดการความรู้
ในเรื่อง "ธารปัญญา" และ "การสร้าง blog" ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สถานศึกษา
เครือข่ายในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ช่วงพักเที่ยงระหว่างรับประทานอาหารกลางวันพวกเราชาวสมาชิกตลาดนัดความรู้
ได้รับประทานอาหารร่วมกันในหอประชุม โดยปรับสภาพโต๊ะที่จัดประชุมกลุ่มย่อย
เป็นโต๊ะอาหาร เรียกว่าใช้พื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ระหว่างทานอาหารได้แอบสังเกตการณ์
ในแต่ละโต๊ะ พบว่าสมาชิกยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องราว สาระต่างๆอย่างต่อเนื่อง
พร้อมทั้งมีของฝากจากโรงเรียนคลองตะเคียนหมู่ 2 นำโรตีมะตะบะ ฝีมือนักเรียน
มาเสิร์ฟเป็นของหวานเพิ่มเติม  ซึ่งมีรสชาติเอร็ดอร่อยมาก  ปกติคนทั่วไปจะคุ้นเคยกับ
โรตีสายไหม แต่โรตีมะตะบะจะมีความนุ่มของเนื้อแป้งผสมกับความหอมหวานของน้ำตาล
ผสมเนยและไข่ไก่  ท่านใดไม่เคยลิ้มลองรสชาติ ขอท้าพิสูจน์ได้ที่ร.ร.คลองตะเคียน
หมู่ 2 อยุธยาได้เลยครับ (ผอ.สวัสดิ์ มีสมสาร) ฝากบอกมา 

ภาคบ่ายสมาชิกได้มีการนำผลงาน แผ่นชาทแผนผังความคิด (Mind Mapping)
ขึ้นติดบนบอร์ดและเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มต่างๆเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(Shop Share & learn)หมุนเวียนไปจนครบทุกกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มสมาชิก
จะเป็นผู้นำเสนอผลงานบรรยายสรุปประมาณ 5-10 นาทีและเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง
หรือสมาชิกกลุ่มอื่นสอบถามเพิ่มเติมจนเป็นที่พอใจ 

สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยจะมีกลุ่มครูและกลุ่มผู้บริหาร
ซึ่งแต่ละกลุ่มจะให้มีการคละกันทุกโรงเรียน ประกอบด้วย
               1. โรงเรียนจิระศาสตร์วิทยา
               2. โรงเรียนรอตเสวกวิทยา
               3. โรงเรียนเทคโนโลยีอยุธยา
               4. โรงเรียนเทคนิคพณิชยการอยุธยา
               5. โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยา
               6. โรงเรียนประชาศึกษา
               7. โรงเรียนแสนโกศิกนุสรณ์
               8. โรงเรียนศิริเสนาวิทยา
               9. โรงเรียนสุนทรวิทยา
              10. โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา
              11. โรงเรียนผดุงอาชีวะเสนา
              12. โรงเรียนบ้านคลองตะเคียน หมู่ 2
              13. โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
              14. โรงเรียนเทศบาลวัดแม่นางปลื้ม
              15. โรงเรียนเสริมมิตรวิทยา
              16. โรงเรียนวัดจันทร์สโมสร (กทม.)

              17. โรงเรียนวัดศรัทธาธรรม (สมุทรสงคราม)
              18 โรงเรียนวัดแก่นจันทร์ (สมุทรสงคราม)

 ผู้สังเกตการณ์
               1. สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต 1
               2. สพท.พระนครศรีอยุธยา เขต 2
               3. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วิทยากรสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
               1. ผศ.ดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ 
               2. คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส 

ในครั้งนี้ได้แบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 9 กลุ่ม ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 กลุ่ม
และครูผู้สอน 7 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 (ผู้บริหาร) กำหนดหัวปลาว่า
"การพัฒนาสถานศึกษาแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้" 
            การพัฒนาแบบองค์รวมเป็นการที่ทุกๆฝ่ายในโรงเรียนได้ร่วมกันพัฒนา
เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียน  มีแนวทางดังนี้
                1) ระดมทุน/ทรัพยากรเพื่อการพัฒนา จากผู้ปกครอง ชุมชน 
                2) พัฒนาบุคลากรให้ fit & firm ทั้งด้านความรู้ และสุขภาพกาย/จิตใจ
ควบคู่กันไป
                3) พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยจัดให้มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ดี
พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
อย่างเต็มศักยภาพ
                 4)จัดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ  โดยมีการวางแผน
กำหนดดัชนีชี้วัดมาตรฐานการศึกษา มีการตรวจติดตามประเมินผล และวิจัยพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง  มีการประกันคุณภาพภายในและประเมินภายนอก

แนวทางในการดำเนินงาน (How to) 
                    -มีกิจกรรม read & share ของครูผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียนทุกวัน
                    -สร้างเครือข่ายการเรียนรู้จากการอบรม ศึกษา-ดูงาน
                    -ประชุมแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ  ฝึกบุคลากรให้มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ
ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนา ฝึกการเป็นผู้นำ-ผู้ตามที่ดี
                    -ระดมความคิดจากบุคลากรและวิเคราะห์ SWOT เพื่อปรับปรุงแก้ไขและ
ส่งเสริมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 2 (ผู้บริหาร) กำหนดหัวปลาว่า
"การส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างมีความสุข"
            
การส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีแนวทางดังนี้
                 1) จัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามสภาพของสถานศึกษา
                      1.1 สำรวจความต้องการของสถานศึกษา
                      1.2 ศึกษาวัฒนธรรมของท้องถิ่น
                      1.3 เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม
                      1.4 จัดหางบประมาณสนับสนุน
                      1.5 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
                  2) ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีการวางแผนร่วมกัน
                      2.1 ให้ความรู้ หลักการการวางแผน
                      2.2 วิเคราะห์ SWOT
                      2.3 กำหนดกิจกรรม/ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                      2.4 สร้างทีมงาน
                      2.5 ลงมือปฏิบัติตามแผน
                  3) สร้างความตระหนักให้ครูทุกคน
                      3.1 มีการประชุมครูอย่างต่อเนื่อง
                      3.2 ให้ครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
                      3.3 ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในการทำงาน
                      3.4 เปิดเวทีแสดงศักยภาพและผลงานของครู/นักเรียน
                      3.5 เผยแพร่ผลงานสู่ชุมชน
                  4) ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
                      4.1 สำรวจแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                      4.2 เลือกแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
                      4.3 จัดหาวิทยากร/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่ผู้เรียน
                      4.4 ดำเนินการศึกษา/ ปฏิบัติกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้
                      4.5 ติดตาม ประเมินผลและรายงานผล
                  5) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการ
                       5.1 ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ลักษณะบูรณาการ
                       5.2 จัดตารางเรียนให้เอื้อต่อกิจกรรมการเรียนการสอน
                       5.3 จัดหาสื่อ/แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการเรียนการสอน
                       5.4 ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
                       5.5 ส่งเสริมการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริง
                  6) จัดเวทีแสดงศักยภาพสู่ชุมชน
                       6.1 มีการสำรวจ สอบถามสถานศึกษาในเขตพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรม
ร่วมกัน
                       6.2 วางแผนการจัดกิจกรรมแสดงศักยภาพของครูและนักเรียน
                       6.3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ นิทรรศการ/ผลงานของแต่ละ
โรงเรียน
                       6.4 มีการมอบเกียรติบัตร รางวัล (เหรียญทอง เหรียญเงิน -
เหรียญทองแดง) หรือการยกย่องชมเชยตามสมควร
                       6.5 มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานสู่ชุมชน/ สาธารณชน

กลุ่มที่ 3 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนา-
เต็มตามศักยภาพ"
             แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ผู้เรียน
ได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีดังนี้
                  1) มีการวางแผนร่วมกันของคณะครูและบุคลากรในโรงเรียน
เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                  2) การสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้แหล่งเรียนรู้และ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                  3) การสร้างความศรัทธาเชื่อมั่นในตัวผู้สอนที่พึงมีต่อนักเรียน ด้วยความรัก
ความเอาใจใส่ ต่อนักเรียนทุกคน
                  4) การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียน โดยสอดแทรกคุณธรรม-
จริยธรรมในทุกเวลาทุกสถานที่
                  5) มีการวัดผล ประเมินผลตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย
สอดคล้องและเหมาะสมกับผู้เรียน

 ยุทธศาสตร์การพัฒนาครูสู่ความสำเร็จ
                การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นจะประสบผลสำเร็จ มียุทธศาสตร์
การดำเนินงานดังนี้
                  1) สร้างจิตสำนึกให้เกิดในงานและสถาบัน โดยครูทุกคนทำกิจกรรม
ร่วมกันและผู้บริหาร/ หัวหน้างานลงมาทำงานร่วมกับครู
                  2) แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนเป็นระบบ
                  3) มีการติดตามงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
                  4) มีการประเมินผลงานโดยรวมและนำมาปรับปรุง พัฒนา
                  5) ประเมินผลงานของครูและบุคลากรเป็นรายบุคคลและเสริมสร้างขวัญ
กำลังใจแก่ผู้ที่มีผลงานเป็นไปตามเป้าหมาย

กลุ่มที่ 4 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ความสำเร็จของผู้เรียน"
             กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ-
อันพึงประสงค์  มีแนวทางดังนี้
                  1) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูโดยสร้างความรู้ ความเข้าใจ
และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนทุกคน
                  2) เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติ /ทดลอง
                  3) เน้นการจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และสนุกสนานกับการเรียนโดย"การเรียนปนเล่น"
                  4) นำประสบการณ์จริงและนวัตกรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ เข้าสู่
กระบวนการเรียนรู้ลักษณะบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ฝึกให้นักเรียนรู้จักตั้งคำถาม
/ค้นหาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหา
                  5) เน้นการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนได้เห็นแบบอย่างที่ถูกต้องดีงามและฝึกปฏิบัติตาม เช่น มารยาทการไหว้
การพูดจาที่สุภาพอ่อนโยน การรู้จักเข้าคิวขึ้นรถ-ลงรถ เป็นต้น                 

กลุ่มที่ 5 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"ทำอย่างไรครูจึงจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ดี"

                 ครูที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ดีมีแนวทางดังนี้
                 1) การเตรียมตัวของครู
                     1.1 สำรวจแหล่งการเรียนรู้ที่มอยู่ในท้องถิ่นและระดมความคิด
ในการเลือกแหล่งเรียนรู้ที่จะนำนักเรียนไปศึกษา
                     1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้แหล่งเรียนรู้
                     1.3 ร่วมกันวิเคราะห์วัตถุประสงค์การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                     1.4 ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องข้อมูลของแหล่งเรียนรู้นั้นๆ
หากเป็นข้อมูลเชิงลึก ควรหาวิทยากรหรือภูมิปัญญาในสาขานั้นๆมาให้ความรู้เพิ่มเติม
                     1.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ
                   ตัวอย่าง เช่น การทำแผนเชิงบูรณาการ
                          1. วิเคราะห์หลักสูตร
                          2. จัดทำโครงสร้างกำหนดการสอน
                          3. กำหนดสาระสำคัญของการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแหล่งเรียนรู้
                          4. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                          5. กำหนดจุดประสงค์ที่ครอบคลุม KAP 
                             (knowledge Attitude Process)
                          6. กำหนดสาระการเรียนรู้
                          7. กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล
                          8. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนที่กำหนดไว้
                      
1.6 จัดทำแบบประเมิน เช่น แบบสังเกต แบบสอบถาม ฯลฯ
                       1.7 ครูร่วมกันสรุปผลการจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้
                             เพื่อปรับปรุงพัฒนา โดยใช้กระบวนการ P D C A

                      2) ผู้เรียนได้รับประโยชน์อะไรจากการเรียนในแหล่งเรียนรู้
                        
2.1 ได้รับประสบการณ์ ความรู้โดยตรง
                        2.2 รู้จักกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการวางแผน ศึกษาค้นคว้า
                        2.3 เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
                        2.4 รู้จักการเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติจริง
                        2.5 สามารถคิดและทำงานอย่างเป็นระบบ
                        2.6 มีความสุขในการเรียนรู้

                     3) ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างไรในการจัดการเรียนรู้
                      
3.1 เป็นแหล่งการเรียนรู้
                       3.2 เป็นวิทยากร/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                       3.3 เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
                       3.4 มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้/ การพัฒนาหลักสูตร

                     4) ชุมชนได้อะไรจากโรงเรียนในการศึกษาแหล่งเรียนรู้/
                         ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                        
4.1 ได้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
                        4.2 ได้รับการยกย่องเกียรติคุณชื่อเสียง/ผลงานอย่างกว้างขวาง
                        4.3 ได้เป็นเครือข่ายการจัดการเรียนรู้

กลุ่มที่ 6 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"การพัฒนาครูสู่..มืออาชีพ"
            
การพัฒนาครูสู่การเป็น "ครูมืออาชีพ" เพื่อทำหน้าที่ในการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข มีแนวทางดังนี้
                       1) ครูต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถสูงขึ้น โดย
การเข้ารับการอบรม สัมมนา ศึกษา-ดูงาน และค้นคว้าหาความรู้  อ่านหนังสือ
อย่างสม่ำเสมอ
                       2) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ มีสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียน และผู้ปกครอง
เช่น การเยี่ยมบ้าน การแนะแนว การสอนเสริม ฯลฯ
                       3) เป็นผู้ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียนตลอดเวลา โดยครู
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
                       4) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนา
ศักยภาพผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ โดยมีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ
ของผู้เรียนตลอดจนความต้องการของสังคม 
                       5) ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
เช่น การทำโครงงาน การทัศนศึกษา การศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เป็นต้น
                       6) มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
รวมทั้งพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
                       7) เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นผู้นำ-ผู้ตามที่ดี

กลุ่มที่ 7 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"การจัดการเรียนรู้สู่เป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน-
ให้ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข"
             การที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ "เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข"
มีแนวทางดังนี้
                      1) จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
                          1.1 ครูมีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจหลักสูตร
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะบูรณาการ โดยการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา
ศึกษา-ดูงาน ศึกษาต่อ
                          1.2 มีการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และนำแผนไปสู่
การปฏิบัติ มีการนิเทศติดตามผล และมีการปรับปรุงพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
อยู่ตลอดเวลา
                       2) จัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์
                           2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Education)
เช่น การศึกษาเชิงสร้างสรรค์กับการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์ และ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
                           2.2 จัดกิจกรรมการแสดงเวทีศักยภาพ ด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ
                        3) จัดการเรียนรู้ทักษะการดำเนินชีวิต เช่น การป้องกันเอดส์
ยาเสพติด อบายมุขต่างๆ
                           3.1 จัดกิจกรรมชมรม ชุมนุมต่างๆ ให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่าง
ให้เกิดประโยชน์
                           3.2 จัดกิจกรรมดนตรี กีฬาต้านยาเสพติด
                           3.3 จัดกิจกรรมค่ายคุณธรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต
                           3.4 จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน พี่ช่วยน้อง
                           3.5 จัดกิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ
    

กลุ่มที่ 8 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"หลักธรรมนำการเรียนรู้"

เป้าหมาย  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม เป็นคนทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์
และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข 

แนวทางในการดำเนินงาน
                1) ครูทำเป็นตัวอย่าง  ในด้านการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมพื้นฐาน เช่น 
ความพากเพียรพยายามในการเรียนรู้
                2) เล่าสู่กันฟัง  เป็นการบอกเล่าเรื่องราวความสำเร็จ หรือแนวทางในการ
เรียนรู้ที่หลากหลาย
                3) ศึกษาดูงาน เป็นการไปเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น วัด โบสถ์คริสต์
และมัสยิด
                4) ประสานชุมชน  เป็นการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชน ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นในการเป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในการดำเนินชีวิต

กลุ่มที่ 9 (ครูผู้สอน) กำหนดหัวปลาว่า
"พัฒนาครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้...สู่โลกกว้าง"
                เนื่องจากครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้และประสานส่งเสริมให้ผู้เรียน
ได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้นครูจึงควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้
ความเข้าใจแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ
เป็นคนทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์  ดังนั้นสถานศึกษาจึงควรดำเนินการดังนี้
                1) เสริมสร้างความเข้าใจ  โดยการประชุมชี้แจงให้ครูทุกคนมีความรู้
ความเข้าใจบทบาทการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ "สู่โลกกว้าง" ซึ่งเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์/
โลกไร้พรมแดน
                2) ให้ความสำคัญ  โดยมีการแบ่งงาน มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
ให้ครูแต่ละคนอย่างชัดเจนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
                3) ผลักดันคุณภาพ โดยครูผู้สอนจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้
อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความพร้อมทุกๆด้าน
อย่างสมดุล
                

เมื่อกลุ่มย่อยนำเสนอผลงานครบทุกกลุ่มแล้ว สมาชิกได้กลับเข้ามาประชุมกลุ่มใหญ่
(big group) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสรุปประเด็นสาระสำคัญของการระดมความคิดแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ นำไปสู่ขุมทรัพย์ทางปัญญา KA (Knowledge Assets) 

ต่อจากนั้นคุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส วิทยากรจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้-
เพื่อสังคม( สคส.) ได้นำเสนอแนวทางการใช้เครื่องมือในการจัดการความรู้ ชุด
"ธารปัญญา" ประกอบด้วยเครื่องมือจัดการความรู้ ได้แก่ ตารางแห่งอิสรภาพ
ธารปัญญา บันไดแห่งการแลกเปลี่ยน ขุมความรู้ และพื้นที่ประเทืองปัญญา เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทาง"การสร้างบล็อก (blog)" โดยได้แสดง
ตัวอย่างของบล็อกเพื่อการจัดการความรู้ของไทย อาทิ Gotoknow ของ สคส.
และถือโอกาสเชิญชวนหน่วยงาน สถานศึกษาเครือข่ายเข้าร่วมเป็นสมาชิก
ตามความสมัครใจ                              

กิจกรรมสุดท้ายก่อนปิดตลาดนัดความรู้ ครั้งที่ 2 จะขาดเสียไม่ได้คือกิจกรรม AAR
(After Action Review) ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสสะท้อนความคิด
ถอดบทเรียนในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ยกตัวอย่างเช่น
            - ดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ กล่าวว่ากิจกรรมวันนี้มีประเด็นเป็นข้อสังเกตคือ
สมาชิกทุกกลุ่มทั้งกลุ่มครูและผู้บริหาร ได้ร่วมกันระดมสมองแลกเปลี่ยนเรียนรู้
พร้อมทั้งพยายามถาม How to (จะทำอย่างไร) อยู่ตลอดเวลา เช่น ครูจะสอน
สอดแทรกคุณธรรมได้อย่างไร  ผู้บริหารจะจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้
อย่างมีความสุขได้อย่างไร  พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า...
"KM:Knowledge Management
ไม่ใช่งานงอก แต่เป็นงานประจำ ต้องทำทั้งองค์กร
มีเครื่องมือวัดและประเมินผลได้"
             

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3428เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2005 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผมดีใจที่ทาง สพบ. มาร่วมครับ    เชื่อว่า สพบ. จะเข้ามาเป็นกำลังร่วมขับเคลื่อน KM ใน รร. ร่วมกับ รร. จิระศาสตร์วิทยาต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท