ปริญญาเอก มจร.
พุทธสาวก นักศักษาปริญญาเอก มหาจุฬาฯ

ประเด็นสัมนาพระไตรปิฎก วันที่ 15 มิถุนายน


ประเด็นใดที่จับยังไม่ได้ เชิญสมาชิกทุกท่านแลกเปลี่ยนครับ

สัมมนาพระไตรปิฎก
ดร.บรรจบ บรรณรุจิ 15 มิถุนายน 2549

พระไตรปิฎกถูกนักวิชาการตะวันตกจัดอยู่ในกลุ่ม "วรรณคดี" หรือหนังสือหรือ
เนื้อหาที่มีเนื้อหาควรแก่การยกย่องสรรเสริญ

ประเด็นที่จำเสนอวันนี้มาจากแผนภูมิที่อาจารย์พัฒนาขึ้น  เป็นแผนภูมิการวิเคราะห์
เพื่อนำไปสู่การสังเคราะห์

การศึกษาพระไตรปิฎกในทัศนะของ ดร. บรรจบ ครั้งแรกเน้นนั้น  เน้นเรื่องการ
วิเคราะห์หัวข้อธรรม  โดยครั้งนั้นท่านวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท โดยการไปนอนที่
แคมป์สนสองปีครึ่ง  เพราะเรียนเรื่องธรรมะ  เช่นเรื่องกรรม  ปฏิจจสมุปบาท
และท่านเห็นว่า  ปฏิจจสมุปบาทและอริยสัจจ์น่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน  แล้วเกิดคำถามว่า
จะเรียนอย่างไรจึงจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  โดยเริ่มที่กำเข้าใจตามรูปศัพท์ขององค์ธรรม
ทั้งสิบสองก่อน  แล้วมาทำความเข้าใจปัจจัย  ซึ่งท่านแสดงไว้ 24 ปัจจัย

เมื่อหาความสัมพันธ์ของทั้งสองได้แล้ว  ก็ต้องมาตั้งคำถามกันต่อไปว่า  จะเรียนอย่าง
ไรให้เข้าใจ  จึงนำไปสู่การนำไปสู่การเรียนแบบองค์รวม

อาจารย์ให้ความเห็นว่า  ปฏิจจสมุปบาท  และอริสสัจจ์  คือตัวเรา  ตัวเราคืออะไร  คือ
ขันธ์ห้า  ทั้งห้าสรุปให้สั้นเหลือสองคือ รูป นาม

เมื่อมนุษย์คือขันธ์ห้า  จึงเอาขันธ์ห้าเป็นตัวตั้งแล้วเชื่อมโยงมาสู่ปฏิจจสมุปบาท
กลายมาเป็นแผนภูมิที่นำเสนอในวันนี้  เพราะเรียนธรรมะ คือการเรียนในตัวเรานี่เอง

ในพหุธาตุกสูตร (พระไตรปิฎกเล่ม สี่)
ฉ ธาตุโร ปุริโส
ปฐวีธาตุ  ลักษณะอ่อนแข็ง  ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่อิงอาศัยกันเกิด
สสัมภารธาตุ  ธาตุที่ผสมกับธาตุอื่น  เช่น เส้นผม  เป็นสิ่งที่มีธาตุอื่นผสมอยู่  แต่เมื่อ
เส้นผมมีลักษณะของความอ่อนแข็งชัดเจนกว่าธาตุอื่น  ท่านจึงจัดอยู่ให้อยู่ในปฐวี

อาโปธาตุ ลักษณะเอิบอาบ  ซึมซาบ  เชื่อมประสาน
เรียกรู้ทั้งหมดว่า อวินิโภครูป  คือรูปที่ไม่สามารถแยกจากกันไม่ได้ 8
คือ ปฐวี อาโป วาโย เตโช (วัณโร คันโธ รโส อาชา เป็นคุณสมบัติของธาตุสี่)
เมื่อประกอบกันเป็นแปด จึงเกิดการเติบโต

วาโยธาตุ มีลักษณะพัดให้ไหว  ทำให้เคลื่อนไหว
สสัมภารวาโย  เพราะมีลักษณะการผสมระหว่างธาตุต่าง ๆ

เตโชธาตุ คือลักษณะร้อน อุ่น  เย็น ที่มีลักษณะอาศํยกันเกิดขึ้น
ทางวิทยาศาสตร์ใช้คำเดียวคือ temperature นำไปสู่ความเสื่อมโทรม
ของร่างกาย

เมื่ออิงอาศัยกันแล้วจะทำลายอย่างไร  คำตอบคือต้องทำลายทางความคิด  หรือการ
ปรุงแต่ง

อนุสัยติดตัวมาทุกภพทุกชาติ  ก่อนการปฏิสนธิ  อนุสัยตัวไหนเป็นตัวนำก็จะนำไป
สู่การเกิด  ในทางอภิธรรมเรียนว่า วิปากจิต  หรือผลของกรรม

แค่ช่วงของการรับรู้  ยังไม่นับว่าเป็นกรรม  ต้องผ่านการ "คิด" โดยจิต

"เด็กคือผ้าขาวที่บริสุทธิ์" เป็นคำพูดของโป๊ปในคริสตศาสนา

แต่พุทธเห็นว่า  มนุษย์มีกรรมเป็นแดนเกิด  มีเหตุปัจจัยที่ตอบได้ทั้งหมด  เริ่มต้น

นามรูป  อิงอาศัยกัน
นามธรรมเป็นตัวกำกับรูปนามอยู่
รูป คือร่างกาย
นาม คือเวทนา 1 สัญญา 1 สังขาร วัญญาณ หรือ เจตสิก 50
เจตสิก คือ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต พระพุทธเจ้าใช้คำว่า สังขารเป็นหลัก

ในภาษาไทย  คำว่าสังขาร  ใช้ไม่ถูกต้องจามเจตนารม  เพราะภาษาไทยนำไปใช้
เพื่อหมายถึงรูป  แต่ความจริงไม่ใช่  เพราะสังขารตามภาษาธรรมนั้นเป็นนาม

ภาษาธรรม สังขาร หมายถึงสิ่งปรุงแต่ง  หรือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง

"แสนโกฏิขณะชั่วลัดนิ้วมือ" เป็นสำนวนเชิงเปรียบเทียบ  ตามทัศนะของอาจารย์
เพื่อสื่อถือความเกิดดับที่เร็วมาก

ปฏิจจสมุปบาทสรุปได้เพียงสั้น ๆ ว่า "เมื่อเกิดการกระทบระหว่างอายตนะภายใจกับ
อายตนะภายนอกแล้วคิดอย่างไร"

"เซน เป็นเพียงการนำสติปัฏฐานไปพูดด้วยภาษาใหม่  เพื่อให้ดูดี"

ลำดับขั้นของกิเลส
จากอนุสัย ไปสู่ ปริยุฏฐานะ  ไปสู่นิวรณ์ และวิติกกมกิเลส (ขั้นแตกหักที่ต้องทำให้ได้)

สังคมไทยตีความ "กรรม" ในลักษณะลบอย่างเดียว  แต่ความจริง  "กรรม"


เป็นความหมายกลาง ซึ่งการตีความกรรมในสังคมไทยมีที่มาจาก "ไตรภูมิพระร่วง"
คือข้อสรุปของอาจารย์

"พระเจ้าตรัสสอนความจริงตามเป็นจริง"

พระพุทธเจ้าใช้ปฏิจจสมุปบาทในการค้นหาความจริง  โดยเริ่มจากชรามรณะว่าเป็น
แล้วย้อนกลับไปว่าอะไรเป็นสาเหตุ  จึงพบว่า  ชาติ  ภพ  อุปาทาน  ตัณหา ผัสสะ
เวทนา  สฬายตนะ  นาม-รูป  วัญญาณ  สังขาร  และอวิชชา

เนื้อหาทั้งหลายที่อธิบายในวันนี้  ผมตีความดังนี้ครับว่า  การที่ท่านอาจารย์  นำเรื่อง
ขันธ์หน้า  มาตั้ง  เพราะเป็นศูนย์กลางในการศึกษา พระพุทธศาสนา  ที่มุ่งที่การศึกษา
ภายในตัวเอง  ซึ่งเป็นเนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวถึงใน  เมื่อเราเข้าในหรือมีประเด็นเหล่านี้
โดยองค์รวมแล้ว  ต่อไปก็จะเป็นการไปค้นว่า  หัวข้อที่อภิปรายกันในห้องจะไปค้น
ได้จากส่วนไหนของพระไตรปิฎก

คอยติดตามกันต่อไปครับ  ผมจะตีความถูกหรือเปล่า

หากท่านใดจับประเด็นได้หรือตีความเป็นเช่นใด  เชิญแลกเปลี่ยนครับ
สวัสดิ์ พุ้มพวง

หมายเลขบันทึก: 34259เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท