ทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษา/เทศบาล


ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองที่สร้างคุณค่าให้แก่วงการศึกษาไทย
สวัสดีครับชาว Blog และคณะผู้บริหารสถานศึกษาที่รักทุกท่าน
ผมมีความยินดีที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนความรู้กับลูกศิษย์กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาเทศบาล รุ่นที่ 16 ในวันนี้ ก็ขอใช้ Blog เป็นสื่อกลางในการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งผู้ที่สนใจที่มีมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาก็ขอให้มาแบ่งปันความรู้กันที่นี่
                                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

                                                 

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 34238เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
ยม "Blog ใหม่ ๆ ที่ ศ.ดร.จีระ ทำขึ้น ในเดือนมิถุนายนนี้"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /ท่านผู้บริหารสถานศึกษาและท่านผู้อ่านทุกท่าน  

 

ผมเป็นติดตาม Blog ของ ศ.ดร.จีระ เป็นประจำ โดยเข้าไปที่ http://www.chiraacademy.com/  ก็จะพบเว็ปหน้าแรก ของ ศ.ดร.จีระ และใช้หน้านี้เพื่อเข้าไปอ่านข้อมูลจาก Blog ต่าง ๆ ที่ ศ.ดร.จีระ ทำไว้ ซึ่งผู้สนใจหลายท่านอาจจะใช้วิธีการเดียวกับผม

  

อย่างไรก็ตาม ผมขอแนะนำ วิธีการที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลจาก Blog ของ ศ.ดร.จีระ อีกวิธีหนึ่ง คือ เข้าไปที่  http://gotoknow.org/blog/chirakm  ท่านผู้อ่าน จะพบ กับ Blog ใหม่ ๆ ที่ ศ.ดร.จีระ ทำขึ้น  

ในเดือนมิถุนายนนี้  ศ.ดร.จีระ ทำ Blog ขึ้นมาใหม่ หลาย Blog น่าสนใจ และมีคุณค่า ต่อ การสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางจริยธรรม และทุนอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี การที่ท่านเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ จาก Blog นี้ จะทำให้ท่านมีทักษะ ความชำนาญในการใช้ คอมพิวเตอร์มากขึ้นอีกด้วย ได้ทุนทาง IT และ ที่พลาดไม่ได้คือ Blog เทิดพระเกียรติในหลวง ทรงครองราชย์สมบัติ ครบ 60 ปี  ที่ ศ.ดร.จีระ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมเทอดพระเกียรติในหลวงของเรา เข้าร่วมถวายพระพร ใน Blog นี้ได้เป็นอย่างดี  ส่วน Blog อื่น ๆ มีปรากฏเป็นตัวอย่าง อยู่ตอนท้ายนี้  หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน

ขอโชคดี จงมีแด่ท่าน

สวัสดีครับ

ยม    

http://gotoknow.org/blog/chirakm 

*      เทอดพระเกียรติ 60 ปี ครองราชย์ ผมขอใช้ Blog เพื่อให้ลูกศิษย์ทุกท่านได้ถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรงตลอดไป มีต่อ » แก้ไข   ลบ ป้าย: uncategorized  km โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (12) สร้าง: พฤ. 08 มิ.ย. 2549 @ 11:37   แก้ไข: พฤ. 08 มิ.ย. 2549 @ 11:   

 

*      ทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษา/เทศบาล ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองที่สร้างคุณค่าให้แก่วงการศึกษาไทย มีต่อ »แก้ไข   ลบ ป้าย: ทรงพระเจริญ โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (0) สร้าง: พฤ. 15 มิ.ย. 2549 @ 14:43   แก้ไข: พฤ. 15 มิ.ย. 2549 @ 14:43    

 

*      HR for SMEs Clinic แบ่งปันความคิดเห็นกับชาว SMEs ผมได้ทำBlog นี้ขึ้นมา เนื่องมาจากเมื่อวันเสาร์ที่ 10  ที่ผ่านมา ผมและลูกศิษย์ Marketing Guru บางส่วนได้มาพูดคุยต่อยอดกันเรื่องของ SMEs ที่ Office ของผมที่ปิ่นเกล้า ซึ่งผมยินดีมาก มีต่อ »แก้ไข   ลบ ป้าย: เฉลิมฉลองในหลวงทรงคลองราชครบ  60  ปี โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (0) สร้าง: พ. 14 มิ.ย. 2549 @ 14:20   แก้ไข: พ. 14 มิ.ย. 2549 @ 14:20  

 

  *      Food Science/HR ร่วมสร้างสังคมการเรียนรู้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารได้ที่นี่ มีต่อ »แก้ไข   ลบ ป้าย: เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในกลุ่มผู้ที่สนใจเรื่องคนในแวดวงของวิทยาศาสตร์ โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (20) สร้าง: อ. 11 มิ.ย. 2549 @ 09:09   แก้ไข: อ. 11 มิ.ย. 2549 @ 09:09 

 

   *      Learning Mathematics วันพฤกัสบดีที่ 8 มิถุนายน ผมและมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้จัด Learning Forum เรื่อง "Lesson study in Mathematics" ซึ่ง Lesson study เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ที่ใช้กันในญี่ปุ่นมากว่า 100 ปี- มีต่อ »แก้ไข   ลบ ป้าย: Mathematics  in  Study  Lesson โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์   ลิงค์ที่อยู่ถาวร   ข้อคิดเห็น (2) สร้าง: ศ. 09 มิ.ย. 2549 @ 02:13   แก้ไข: ศ. 09 มิ.ย. 2549 @ 02:13

ยม บทความของ ศ.ดร.จีระ "คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน" จาก น.ส.พ. แนวหน้า เสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2549

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

  

เช้านี้ ผมขอนำเสนอบทความของ ศ.ดร.จีระ ที่เขียนไว้ใน น.ส.พ. แนวหน้า (17 มิ.ย. 49) ในบทความดังกล่าว ศ.ดร.จีระ เขียนเกี่ยวกับ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับบทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด การที่พระองค์ท่านทรงเน้นให้คนไทย สามัคคี  สุจริต มีคุณธรรม
มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป 

 

  

นอกจากนี้ อาจารย์ยังเขียนเกี่ยวกับ ภารกิจที่ท่านได้ทำประโยชน์ต่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหลายกิจกรรมหน้าสนใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ครับ  ท่านผู้อ่านสามารถ ติดตามสาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ ได้ทางรายการ ทีวี UBC 7 วันอาทิตย์ ช่วงบ่ายโมงโดยประมาณ และรายการวิทยุ”Knowledge for People”   ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น. สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. “คลื่นความคิด "   ซึ่งเป็นรายการที่ให้ทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาแก่ผู้สนใจได้ดีมาก

 

  

ท้ายนี้ ผมขอเชิญชวนท่านทั้งหลาย มุ่งมั่นทำความดี ถวายแด่ในหลวงของเรา และขอให้ความดีที่ท่านทำ จงส่งผลให้ท่านมีความเจริญด้วย ทุนทางศีล สมาธิ สติ ปัญญา นำพาความสุข ความเจริญมาสู่ท่านและครอบครัว

 

 

สวัสดีครับ

 

 ยม

 

  คนไทย : ทำเพื่อแผ่นดิน

โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์


 

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั้ง 64 ล้านคนปลาบปลื้มกับบรรยากาศการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครองราชย์ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


โชคดีได้เห็นภาพต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะในช่วงที่ราชวงศ์ต่าง ๆ 25 ประเทศ มาร่วม ถวายพระพรชัยมงคลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา

ผมคิดว่ามีหลายประเด็นที่ควรจะนำมาศึกษา วิเคราะห์ และสะท้อนเป็นบทเรียนที่มีคุณค่า อย่างยิ่ง
ประเด็นแรกคือ บทบาทของคนไทย 64 ล้านคน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด คำว่า ประชาชนคนไทย ของพระองค์ท่านคือ มีหน้าที่รับใช้บ้านเมือง ในฐานะประชาชน เพื่อรักษาชาติให้อยู่อย่างยั่งยืนและ ผาสุก และมองประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แม้แต่พระองค์ท่านเอง ยังทรงตรัสว่า พระองค์ท่านก็ เป็นประชาชนคนหนึ่งที่จะต้องทำหน้าที่ต่อชาติ ซึ่งผมว่ามีความหมายอย่างมาก ให้คนไทยหลายฝ่าย คิดว่า เราได้อะไรอย่างมากจากประเทศ บางกลุ่มก็ได้มากมาย แต่ต้องคิดให้รอบคอบ ว่าเราคืนอะไร ให้แก่ชาติ หากรับใช้ชาติ ชาติก็อยู่รอด
ประเด็นที่สองคือ เรื่องที่ท่านมีพระราชดำรัสในการออกมหาสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ เน้นให้คนไทย
- สามัคคี
- สุจริต
- มีคุณธรรม
- มีความเมตตาและหวังดีต่อกัน ไม่ใช่คนในชาติเป็นศัตรูกันเอง ร่วมช่วยกันจรรโลงบ้านเมืองให้ก้าวต่อไป


ผมคิดว่า เป็นประเด็นที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมากว่า 60 ปีที่ทรงครองราชย์
ที่ผู้อ่านคงเห็นด้วยกับผมว่า ระบบกษัตริย์ในโลกจะค่อย ๆ หมดไป ปัจจุบันมีอยู่เพียง 29 ประเทศ และอนาคตก็จะมีน้อยลง ในยุคที่โลกมีข่าวสาร มีประชาธิปไตย มีความเสมอภาค บทบาท ของกษัตริย์จะถูกเพ่งเล็งค่อนข้างมาก ว่าจะทำอะไรให้แก่ประชาชนและประชาชนได้อะไร


ในทางตรงกันข้าม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ได้รับการยอมรับ เป็นที่ชื่นชมและ เป็นที่รักทั้งในประเทศและนอกประเทศอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ และเป็นบทเรียนให้ระบบราชวงศ์อื่น ๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดี


โดยเฉพาะข่าวที่ออกไปทั่วโลก 2-3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะเป็น
- BBC
- CNN
- NHK
- CCTV
- AP หรืออื่น ๆ


นับว่าเป็นการสร้างเกียรติประวัติ ภาพลักษณ์และแสดงให้เห็นถึงความงดงามของ ประวัติศาสตร์ของไทย ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ให้โลกได้เห็นว่า ประเทศไทยก็มีอะไรที่น่าชื่นชม อย่างยิ่ง

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับชีวิตของเราคือ เราได้เกิดเป็นคนไทย เราทำอะไรเพื่อประเทศบ้าง เพื่อ จรรโลงระบบที่เป็นเลิศให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน สำคัญที่สุด เราทำอะไรเพื่อสนอง แนวทางและปรัชญาของพระองค์ท่าน


ผมจึงรายงานให้ทราบว่า สัปดาห์นี้มี 3 เรื่อง ที่เราทำและเป็นการเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน
เรื่องแรกคือ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ วปอ33 จัดการ ประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่องการสร้างสังคมการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริและปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง ในวันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2549 ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการจัดครั้ง ใหญ่ระดับรวบยอดและระดับชาติ เพราะหลายครั้งเราจัดที่ต่างจังหวัด และจัดเฉพาะภูมิภาค


มูลนิธิฯได้ริเริ่มและดำเนินการ มาโดยตลอดกว่า 4-5 ปี ซึ่งในวันที่ 16 มิถุนายนนี้ มีประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวปาฐกถานำ พร้อมกับบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น
- คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- คุณอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ดร. ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย
- พลตรีพิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4
- ดร. ณรงค์ โชควัฒนา
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น


ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลตัวอย่างอีกท่านหนึ่งที่เชิดชูและรับใช้ พระมหากษัตริย์และแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

 

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ รายการคิดเป็นก้าวเป็น ทาง UBC 7 ในวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 13.00-14.00 น. ผมและคุณพิชญ์ภูรี ได้สรุปประเด็นงานที่ได้ทำในช่วง 4-5 ปีที่แล้วได้ทำอะไรบ้างใน รายการ พบว่า เราได้ทำเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสืบต่อเนื่องกันหลายเรื่อง ซึ่งผู้อ่าน สามารถติดตามได้ทาง UBC 7


เริ่มตั้งแต่ การแนะนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการประชุมนานาชาติ Leadership Forum ติดต่อกัน 5 ครั้ง ได้เชิญตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมทุกครั้ง
 

เรื่องต่อมาคือ การเดินทางไปเชื่อมความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
- เขมร 4 ครั้ง
- พม่า 1 ครั้ง
- จีน 1 ครั้ง


ซึ่งเป็นที่มาของการทูตภาคประชาชน People to people diplomacy (PPD ) โดยใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง


เป็นความโชคดีในการทำงานของเรา ที่มีบุคคลที่สามารถถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึก ๆ ให้เพื่อนบ้านได้ทราบ เช่น องคมนตรีนายแพทย์เกษม วัฒนชัย และเลขาธิการมูลนิธิชัย พัฒนา ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


เรื่องทำรายการโทรทัศน์ 6 ครั้ง เกี่ยวกับศูนย์ศึกษาและการพัฒนา ตามแนวพระราชดำริของ พระองค์ท่าน 6 แห่ง คือ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สกลนคร
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นราธิวาส
ให้วิธีการศึกษาปัญหาและทำอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นปัญหาที่แท้จริง และนำเอาสิ่งเหล่านั้นมา วิเคราะห์ ให้เกิด wisdom


และสุดท้าย การที่มูลนิธิฯได้เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หลายแห่งในประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นแห่งแรกที่จังหวัดสมุทรสงคราม

 

ส่วนการเทิดพระเกียรติโครงการสุดท้าย คือ เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็นการ ประชุม workshop นานาชาติในระดับ APEC ที่ขอนแก่น ซึ่งเน้นการสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กไทยคิด และวิเคราะห์เป็น โดยทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นและผมในฐานะ เป็น Lead shepherd ถือว่าเป็นการ ยกย่องและเทิดพระเกียรติ ให้ตัวแทน APEC 13 เขตเศรษฐกิจได้ทราบถึงสัปดาห์แห่งการเฉลิมฉลอง มหามงคล และยกย่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็นบุคคลที่ใฝ่รู้และสนใจคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และนำเอาวิชาเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนา ชนบท


คนไทยต้องทำเพื่อแผ่นดินและทำเพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

 

จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181

กระผมได้ติดตามผลงานของท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รู้สึกประทับใจในการนำเสนอองค์ความรู้ในลักษณะการสื่อสารสองทางระหว่างครูกับศิษย์ที่อยู่ทั่วทุกสารทิศ นับว่าเป็นประโยชน์มาก และกระผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านด้วยคนครับ
ยม "รายการเจาะลึกประเทศไทย สัมภาษณ์ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศ ทาง ททบ.5 เสาร์ 24 มิ.ย.นี้ 8.30 น.

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  
 วันนี้ ผมทราบข่าวว่า เจ้าของรายการ เจาะลึกประเทศไทย ซึ่งออกอากาศทางทีวี ททบ.ช่อง 5 ทุกวันเสาร์ที่ 24 มิ.ย. นี้ เวลา 8.30 น. มาทำการสัมภาษณ์ ศ.ดร.จีระ เกี่ยวกับ ทุนทางความสุข ทุนแห่งความยั่งยืน เนื้อหาในรายการเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบรายละเอียดมากนัก แต่ผมเชื่อมั่นว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ได้ออกอากาศไปในรายการนี้ จะเป็นประโยชน์กับประชาชนเป็นอย่างมาก และถ้านักศึกษา ได้มีโอกาสชมรายการนี้ จะทำให้เข้าใจและนำองค์ความรู้ที่ได้จาก ศ.ดร.จีระ ไปบูรณาการใช้ในการดำเนินชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้เป็นอย่างดี   

ผมจึงเชิญชวน  ท่านผู้อ่านทุกท่าน ติดตามชมรายการนี้ รายการ เจาะลึกประเทศไทย ออกอากาศทางทีวี ททบ.ช่อง 5 วันเสาร์นี้ เวลา 8.30 น. หรือหากมีเครื่องบันทึกเทป วีดีโอหรือ CD,DVD  ผมแนะนำให้บันทึกไว้ ศึกษาทบทวนและแบ่งบันกันในสังคมแห่งการเรียนของเรา ชาวลูกศิษย์ ศ.ดร.จีระ ครับ

 
ขอให้ทุกท่านโชคดี

สวัสดีครับ 

ยม
น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
ยม "บทเรียนจากความจริง บทเรียน HRDS โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

  เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet  ดังที่เคยปฏิบัติ รายการแรกที่ผมค้นหาก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียน :  HRDS  ได้สาระน่าสนใจมาก ผมทำงานด้าน HRM, HRD เมื่ออ่านบทความนี้แล้ว ผมเชื่อมั่นว่าผมจะสามารถนำสาระจากบทความนี้ไปบูรณาการในการพัฒนาตนเอง และการทำงานให้ดีขึ้นได้เป็นอย่างดี

 

ในบทความเรื่อง บทเรียน : HRDS ศ.ดร.จีระ อาจารย์เขียนถึงสิ่งที่อาจารย์ได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และกล่าวถึง การไปพูดที่กระทรวงพาณิชย์ และที่อื่น ๆ อีกหลายแห่ง มีประเด็นน่าสนใจหลายประเด็น เช่น  

  • การไปบรรยายให้ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จันทบุรี
  • บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 
  • คำแนะนำของ ศ.ดร.จีระ ที่มีให้กับองค์กรที่ เชิญอาจารย์ไปบรรยาย ให้เอาจริง ให้เน้นคุณภาพ  เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's และวัดผล ให้เป็นรูปธรรม (เรื่อง ทฤฏี 4 L’s ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.chiraacademy.com/chiratheory.html )
  • การไปบรรยายที่กระทรวงพาณิชย์ สาระที่สนทนากับอธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร
  • การไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน
  • แนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ ให้ไว้ 1 เรื่องคือ HRDS  น่าสนใจมากครับ  อาจารย์เขชื่อมโยง พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้ากับ เรื่อง HRDS ได้เป็นอย่างดี  น่าสนใจมาก

รายละเอียดของบทความ บทเรียนจากความจริง เรื่อง บทเรียน :  HRDS ดูชื่อเรื่องจะเป็นฝรั่ง แต่สาระที่อาจารย์เขียนอ่านแล้วแบบไทย ๆ น่าเชิญชวนให้ติดตาม   ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้จากตอนท้ายของข้อความนี้ 

 

ท่านผู้อ่านสามารถติดตามสาระน่ารู้กับ ศ.ดร.จีระ ได้อีก นอกจากบทความใน น.ส.พ.แนวหน้าทุกวันเสาร์แล้ว  วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทาง ททบ.ช่อง 5 เวลา 8.30 น. ท่านจะได้พบ กับ ศ.ดร.จีระ ในรายการ เจาะลึกประเทศไทย ส่วนวันอาทิตย์ทาง UBC รายการโทรทัศน์ "สู่ศตวรรษใหม่" ออกอากาศครั้งแรกทาง สทท.11 ทุกวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือน เวลา 14.00 - 14.50 น.  และออกอากาศซ้ำทาง UBC News ช่อง 07 ทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 2 เวลา 13.05 - 14.00 น.  และรายการวิทยุ  "Knowledge for People”   ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00-19.00น.  สถานีวิทยุ F. M. 96.5 MHz. " คลื่นความคิด "  

 

 

  สุดสัปดาห์นี้ คนไทยเรายังคงมีความสุข ปิติยินดี กับไออุ่นจากการฉลองครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมขอเชิญชวนท่านร่วมเขียนถวาย เขียนการทำความดี ถวายพระพรแด่พระองค์ท่าน ใน Blog เทิดพระเกียรติ 60 ปี ครองราชย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ กรุณาเปิดให้บรรดาลูกศิษย์ ที่http://gotoknow.org/blog/chirakm  

 

สวัสดีครับ

ยม

น.ศ.ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (กทม.รุ่น 2)  

 

 

 

ยม "บทเรียนจากความจริง บทเรียน HRDS โดย ศ.ดร.จีระ"

เนื่องจากขัดข้องทางเทคนิค  บทความของอาจารย์จีระ ไม่ปรากฎใน blog ก่อนหน้านี้ ผมจึงนำมาวางต่อจาก blog ก่อนหน้านี้ ครับ

  

บทเรียน : HRDS[1]

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

ผมเขียนบทความนี้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จันทบุรี บางท่านอาจจะยังไม่เคยรู้จัก เป็นพระราชวังเก่าของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มีโรงแรมเล็กประมาณ 50 ห้อง มีห้องประชุมจัดสัมมนา ภายในยังมีสวนผลไม้ และมีอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สมกับทฤษฎี 4 L's Learning Environment ของผม


ผมพาเจ้าหน้าที่ระดับสูง C8 ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือสภาวิจัย มาฝึกเรื่องเตรียมภาวะผู้นำ ในวันที่ 22 - 23 มิถุนายน 2549 บุคลากรเหล่านี้ เป็นผู้มีมันสมองยอดเยี่ยม เพราะอาชีพการวิจัยเป็นอาชีพที่สำคัญ ผมได้ทำต่อเนื่องกันมา รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 โดยผมอยู่ 1 วัน 1 คืนเต็ม ได้รับความกรุณาและอบอุ่นแบบครอบครัวเดียวกัน การเรียนรู้ยุคใหม่ ผู้ฝึกกับผู้เรียนต้องช่วยกันแสดงความเห็นร่วมกัน นำเอาความรู้ใหม่ ๆ ไปใช้ หวังว่าจะปรับพฤติกรรมของผู้เรียนบ้างไม่มากก็น้อย


บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจะต้องเข้มแข็งและพัฒนาต่อไป เพราะ

- stake holders ข้างนอกมีมากมาย เช่น นักการเมือง , นักธุรกิจ , นักวิชาการ , ต่างประเทศ , สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป
- ของดีมีมาก แต่นำไปใช้ไม่เป็น เพราะขาดการประชาสัมพันธ์แบบมืออาชีพ
- Brand ยังไม่ชัดในสายตาคนทั่วไป
การอยู่ด้วยกันกับรุ่นแรก 60 ชั่วโมงได้ประโยชน์มากระดับหนึ่ง และรุ่น 2 อีก 40 คน ใน 60 ชั่วโมง คงจะได้อะไรมากขึ้นอีกไม่มากก็น้อย ผมบอกเขาว่า ต้องทำการพัฒนาแบบ
- ต่อเนื่อง
- เรียนในสิ่งที่ตัวเขาสนใจ นำไปใช้ และต่อยอด
- เรียนเพื่อสร้างสังคมการเรียนแบบ 4 L's
- เรียนกันเองเป็นทีม
- มีความคิดใหม่และนอกกรอบ
- work smart ไม่ใช่ work hard
ช่วงนี้ผู้อ่านที่ติดตามงานของผม จะเห็นว่ามีผู้สนใจเชิญผมหลายแห่ง สิ่งที่ผมขอองค์กรทุกแห่งที่เชิญคือ
- ให้เอาจริง
- ให้เน้นคุณภาพ
- เน้นวิธีการเรียนแบบ 4 L's
- วัดผล ให้เป็นรูปธรรม


นอกจากงานของสภาวิจัยแล้ว ผมภูมิใจที่มาเป็นแขกของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพราะคุณพ่อผม นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เคยเป็นรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ 2 สมัย กว่า 40 ปีแล้ว


ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าต่างประเทศ ย้ายไปอยู่จังหวัดนนทบุรี สถานที่สบาย ติดแม่น้ำเจ้าพระยา


อธิบดีราเชนทร์ พจนสุนทร ซึ่งรู้จักกันมานาน เห็นความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร พยายามสร้าง capacity building ให้ข้าราชการทุกระดับ เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะอธิบดีส่วนมากในระบบราชการไทย ใช้เวลาในการดูแลคนน้อยมาก อธิบดี รองอธิบดี และข้าราชการมีระดับ C8 , C7 ประมาณ 150 คน มาฟังการบรรยายของผม มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยผ่านการถาม/ตอบ ซึ่งผมเน้นเรื่อง Leadership กับ Innovation ว่า กรมการค้าต่างประเทศจะต้องเร่งรัดเรื่อง การทำงานเร็ว นอกกรอบ เพราะ
- การค้าต่างประเทศจะเปลี่ยนแปลงเร็ว และมีปัจจัยหลากหลาย
- จะต้องเปิดโอกาสให้ Ideas ต่าง ๆ เกิดขึ้น และ share กัน
- ระดมความคิดให้เป็น bottom up มากขึ้น
- ผู้นำต้องกระตุ้นให้เกิด Execution ในโครงการใหม่ ๆ เพราะภาระงานประจำของกรมมีมากมาย
ส่วนเมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน ผมไปบรรยายให้คณาจารย์และนักเรียนปริญญาเอกคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 35 คน ปรากฏว่าได้ความรู้มากมาย เช่น
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งมีภาควิชากว่า 10 ภาควิชายังทำงานไม่ข้ามศาสตร์ ต่างคนต่างทำ
- การวิจัยยังไม่บูรณาการเข้าหากัน ซึ่งจะต้องปรับการทำงานให้มากขึ้น


มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องทำงานเชิง paradigm shift และต้องพัฒนาวิธีการทำงานให้ผู้รับบริการได้ประโยชน์ตลอดเวลา


สัปดาห์นี้ ผมขอฝากแนวคิดไว้ 1 เรื่องคือ HRDS ทุกท่านน่าจะนำไปต่อยอด ซึ่งผมสร้างมาจากความปลื้มปีติของคนไทยทั้งชาติ ในช่วงมหามงคลเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ผมคิดว่าบทเรียนที่เราได้รับจากความรู้และ wisdom ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีมากมาย และมีคุณค่ามหาศาล แต่ถ้าจะสรุป จะได้ 4 เรื่องใหญ่ คือ HRDS

- Happiness พระองค์ท่านทรงเน้น คำว่าประโยชน์สุข คนไทยต้องมีความสุข จึงจะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่มองเงินเป็นเครื่องวัดความสุข ไม่ว่าจะทำงานหรืออยู่กับครอบครัว จะต้องเน้นความสุขก่อนเงิน คนที่เป็นนักธุรกิจ หรือนักการเมืองต้องเสียสละเพื่อคนอื่นบ้าง เรื่องความสุขจึงเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นจุดสำคัญของทุนมนุษย์ 8 K's ที่ผมได้พูดไว้
" ทำอะไรจงทำเพื่อความสุข ไม่ใช่ทำเพื่อเงิน "
คนรวยบางคนมีเงินทองมากมาย แต่ครอบครัวแตกแยก ลูกเกเร ความสุขก็ไม่ได้เกิดขึ้น
- Respect ผมคิดว่าพระองค์ท่านทรงมองมนุษย์เท่ากัน ให้เกียรติและยกย่องซึ่งกันและกัน ผมคิดว่า สำหรับประเทศไทย นายจ้างมองแรงงานคล้ายๆ กันว่าได้เงินจากฉัน ต้องทำงานให้ฉัน ไม่ได้ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
- Dignity เรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ก็สำคัญ การเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี จะทำให้คนมีความภูมิใจ และจะทำให้เขาได้มีความสำเร็จในชีวิตและงาน
- Sustainability นอกจากมีผลงาน (Performance) แล้ว คนเป็นจุดสร้างความยั่งยืน ไม่ว่ามาจากคุณธรรม จริยธรรม หรือมองระยะสั้นให้สอดคล้องกับระยะยาว ที่จะต้องสร้างขึ้นมา เพราะสังคมไทยต้องการความยั่งยืน


ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นบทเรียนที่บรรดาคนไทยหรือชาวต่างประเทศ ให้มองเรื่องคน ในแนวเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมองลึก และมักจะวัดในสิ่งที่วัดไม่ได้ (Intangible) และนำไปสู่ความสำเร็จ ท่านลองนำไปคิดดู ถ้าดี นำไปเป็นบทเรียนปรับตัวเองต่อไป

 
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181 
 

สวัสดีครับทุกๆท่านที่ติดตาม Blog ของผมซึ่งเป็นแหล่งแรกเปลี่ยนข้อมูลกัน วันนี้ผมดีใจที่ได้รู้จัก ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ  ซึ่งท่านก็ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ผมอีกคน ขอบคุณมากครับที่ให้เกียรติ ผมอยากทราบว่าท่านเป็น ดร.ด้านไหน และรู้จัก Blog อย่างไรครับ ช่วยกันออกความเห็นเยอะๆกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมยังมีรายการโทรทัศน์ สู่ศตวรรษใหม่ ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ “บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ” ของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของผม และช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ

                                               ขอบคุณ

                                            จีระ

 
ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 จากบทความของ ศ.ดร.จีระ จากหนังสือพิมพ์แนวหน้า บทเรียนจากความจริง เรื่อง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา  ผมอดที่จะขอขอบคุณพี่ พี่บุญญา หลีเหลด ซึ่งเรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยกันไม่ได้  พี่บุญญามีส่วน เป็นจุดเริ่มต้นทำให้อาจารย์ของพวกเรา ได้มีโอกาสทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ที่น้อยคนจะได้มีโอกาสเข้าไป ณ จุดนี้ ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ เช่น
  • เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต ประโยคนี้ มีความหมายกับชีวิตมาก และน้อยคนที่จะทำได้ดี  แต่ ศ.ดร.จีระ เป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจารย์น่าจะจัดอบรม ในเรื่องนี้ให้กับเยาวชนไทย ได้มีความรู้และเทคนิคเรื่องพวกนี้ เพราะคนเยาวชนไทย ส่วนมากเรียนแล้วมักจะเป็นลูกจ้างไปตลอดชีวิต ไม่มีอิสรภาพในชีวิตเพียงพอ ทำให้ขาดทุนทางความสุข เครียดกับงาน เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง
  • ตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป  ระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่งประโยคนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมองข้ามศาสตร์ มองนอกกรอบ เป็นเรื่องสำคัญ องค์กรใดก็ตามถ้าใช้เพียงศาสตร์เดียวบริหาร สั่งการ จะทำให้มีปัญหาตามมาได้  และผู้มีอำนาจ ผู้บริหารที่มีหลายศาสตร์จะมีความได้เปรียบในการบริหารจัดการ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มากยิ่ง ๆ ขึ้น
  • ศ.ดร.จีระได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน  ประโยคนี้ ผมประทับใจอาจารย์ตรงที่ อาจารย์มักจะใช้คำว่า แบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกัน  อาจารย์เป็นคนให้เกียรติผู้อื่นเสมอ แม้กระทั่งลูกศิษย์ของอาจารย์ ก็ได้รับเกียรติ ได้รับความรักกันทั่วหน้า สิ่งนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่นักบริหารที่เป็นเลิศพึงมี  มีความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์  
  • ผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึง อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ และทราบว่า ศ.ดร.จีระ ก็เป็นลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นแบบอย่างที่ดี ที่ซึบซับทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนอื่น ๆ จากอาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ อาจารย์ไม่ลืมครูอาจารย์ ทั้งยังสานต่อเจตนารมณ์ มุ่งมั่น ยึดมั่นทำความดี ต่อสังคมประเทศชาติ ตรงนี้ ตอกย้ำให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกศิษย์ ของอาจารย์จีระ ที่จะซึมซับคุณความดีเหล่านี้และนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างทีดีต่อไป
  • การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา  ประโยคนี้ย้ำว่า ในยุคปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และมีผลต่อการบริหารจัดการทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  จำเป็นที่จะต้องรู้ทันการเปลี่ยนแปลง และต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงให้ทันโลก มองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของโลก มาสูการปรับเปลี่ยนในประเทศ ในองค์กร ในชุมชน ระบบตุลาการศาลยุติธรรมโชคดีที่มีอาจารย์เข้าไปร่วมตรงนี้ เพราะอาจารย์มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความสุข ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ ถึงขั้นที่พร้อมจะแบ่งบันให้กับสังคมโลก
  • เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ประโยคนี้ ทำให้เห็นวิสัยทัศน์และแนวความคิดในการบริหารที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ มีวิสัยทัศน์เพราะการบริหารในสมัยนี้ และสมัยหน้า เน้น out put /out come ไม่ได้เน้นที่ วิธีปฏิบัติมากนัก หลายองค์กรจึงหันมาพูดถึงเรื่อง competencies กัน  ถ้าระบบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีตรงนี้ จะมีประโยชน์มากกต่อการบริหารและการพัฒนาการทำงาน  และจะเกิดผลดีต่อประชาชน และ ศ.ดร.จีระ ยังเน้นเรื่อง ทุนทางความสุข เชื่อมโยงกับการทำงานกับประชาชน ซึ่งแม้แต่ฝรั่งยังทำได้ยาก และมาขอเรียนรู้กับอาจารย์  เป็นข้อคิดที่ดีว่า การทำงานต้องควบคู่กันไปกับการทำความสุข  จะนำไปสู่ความสุขในการทำงาน

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้  ขอบคุณพี่บุญญา หลีเหลด อีกครั้ง ที่มีส่วนทำให้ผมได้เรียนรู้บทเรียนจากความเป็นจริงในเรื่องนี้  และหากพวกเราที่เรียน ป.เอก ทุกคน มีความคิดเช่น พี่บุญญา นี้ เมื่อเราจบ ป.เอก มาแล้ว เราจะทีมที่ช่วยประเทศชาติได้เป็นอย่างมาก

 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์ บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้คุณติดตามผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ 

 

เชิญท่านผู้อ่าน ติดตามอ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

 

 

สวัสดีครับ

ยม

น.ศ.ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยม " บทเรียนจากความจริง ขอบคุณ:สมาชิกวุฒิสภา โดย ศ.ดร.จีระ"

ขอบคุณ : สมาชิกวุฒิสภา[1]

โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ลูกศิษย์และผู้เกี่ยวข้องต่างประหลาดใจ เมื่อปรากฏชื่อผมเป็นผู้แข่งขันเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ กับคุณประมุท สูตะบุตร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และเป็นรุ่นพี่ที่เทพศิรินทร์ ซึ่งผมได้รับคัดเลือกด้วยคะแนน 108 ต่อ 49

 ผมจะเล่าให้ฟังว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอย่างไร ข้อสำคัญ บรรดาตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรมคาดหวังอะไร เขาพอใจการเลือกตั้งวิธีนี้หรือไม่ ประเทศได้อะไร


ก่อนอื่น ชีวิตของผม ที่คุณโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ได้สรุปว่า เป็นคนมีอิสรภาพ มีความสุข ไม่มีเจ้านาย มีความสมดุลในชีวิต มีคนให้เกียรติ (Respect) และใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี (Dignity) และชอบเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

เหตุเกิดขึ้นเพราะ ลูกศิษย์ผมซึ่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ชื่อคุณบุญญา หลีเหลด เรียนปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

คุณบุญญาพยายามอธิบายว่าสมาชิกวุฒิสภาต้องสรรหาตุลาการศาลยุติธรรมแทนท่านที่ลาออกไปสมัครเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

ผมจะทำอะไร ไม่เคยอยากเป็นหรือสมัคร และจะต้องมีตำแหน่งเพื่อทำงาน ในทางตรงกันข้าม ผมกลับหลีกเลี่ยงที่จะให้เสนอชื่อผมในตำแหน่งต่างๆ แม้กระทั่งการเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผมก็ไม่เคยอยากเป็น แต่มีบรรดานักเรียนเก่าหลายกลุ่ม มาขอให้ผมช่วย

 

ผมเห็นว่าสมาชิกวุฒิสภาอย่างคุณบุญญาเห็นคุณค่าของผม ผมจึงส่งใบสมัครไปแข่งขัน หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน ผมถูกเรียกไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีอยู่ 10 กว่าท่าน และผมก็ได้เรียนท่านไปว่า ผมมาสมัครเพราะลูกศิษย์ผม คุณบุญญาอยากให้ผมได้ช่วยระบบตุลาการ และมีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทางกฎหมาย กรุณาอย่าเลือกผมเลย

 

บรรดากรรมการสรรหาก็รับฟังและยังอยากให้ผมมีโอกาส ถามผมว่า ถ้าผมเป็น ผมจะทำอะไร

 

ผมได้บอกว่า ระบบตุลาการศาลยุติธรรม เป็นบุคลากรที่เก่งเรื่องกฎหมายและคุณธรรม แต่ปัจจุบันกฎหมายเป็นเรื่องเกี่ยวกับประชาชนทั่วไป แต่ประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายนัก ผมยังอยากให้ระบบตุลาการเป็นระบบที่ทรงคุณค่า และเป็นที่พึ่งของประชาชนส่วนใหญ่ได้

 

ดังนั้นความรู้ของระบบตุลาการต้องกว้างขึ้น ไม่ใช่มองเฉพาะตัวบทกฎหมาย แต่ต้องมีการมองศาสตร์อื่นๆ ด้วย ประชาชนจะได้มีที่พึ่ง สิ่งที่ผมถนัดคือเรื่องพัฒนาคุณภาพของผู้พิพากษาและพัฒนาบุคลากรที่ทำงานในระบบศาลให้เขาทำงาน มีคุณภาพมากขึ้น สร้างบรรยากาศในการทำงาน ดูระบบการบริหารและการทำงานเป็นทีม อาจจะต้องพัฒนาระบบการทำงาน ใช้ IT มีการทำวิจัยให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง Networking กับต่างประเทศและมหาวิทยาลัยมากขึ้น ให้มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งก็ทำได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

 

เพราะอย่างน้อย ผมได้รับเกียรติให้ช่วยเรื่องทรัพยากรมนุษย์เกือบทุกสาขา ถ้าจะมารับใช้ระบบตุลาการก็จะเอาประสบการณ์มาแบ่งปันกัน เพื่อให้ระบบตุลาการได้ทำงานสะดวก มีการมองกฎหมายในมิติของธุรกิจ เศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคม การเมือง หรือมุมมองอื่นๆ

 

หลังจากผมได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ได้ทราบว่า ผมได้คะแนน 10 จาก 12 ซึ่งเป็นคะแนนที่สูง ผมภูมิใจที่วุฒิสมาชิกส่วนใหญ่ เห็นความสำคัญ รู้ว่า ผมทำในสิ่งที่ผมพูด

 

หลังจากนั้น ผมลืมเรื่องนี้ไปเลย เพราะอาจจะไม่มีโอกาสได้ให้วุฒิสมาชิกทั้งคณะเลือก เพราะหากกรรมการสรรหาชนะ แต่อาจจะแพ้ที่คณะสมาชิกวุฒิสภาก็ได้ เพราะสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นอิสระอย่างที่รู้ๆ กัน และยิ่งไปกว่านั้น เวลาก็น้อยลงเพราะหมดวาระแล้ว

 

แต่วันนั้นก็มีวาระเรื่องนี้ และสมาชิกวุฒิสภา 108 ท่านกรุณาลงคะแนนให้ผม ซึ่งผมต้องขอขอบคุณอย่างมากที่ให้โอกาส

 

ในชีวิตการทำงานของผม ถือว่าเป็นความรู้สึกลึกๆ ว่า มีคนในสังคมไทยยังมองผมดี มีประโยชน์ เป็นที่พึ่งของประเทศได้ เพราะผมไม่ได้ lobby อะไรเลย ถ้าผมไม่ได้ พี่ประมุทก็ทำงานได้ดี เพราะพี่ประมุทมีประสบการณ์มากกว่าผม

 

เมื่อผมได้รับเลือก ต้องการเรียนว่า ที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาเป็น Block vote อะไรนั้น อาจจะไม่จริงทุกเรื่อง เพราะผมเองเป็นคนกลาง ไม่ได้เป็นคนของรัฐบาล อย่างน้อยผมมีจุดยืน และไม่ยอมรับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านก็ติดตามต่อไปว่า งานของผมจะเป็นอย่างไร แต่อย่าคาดหวังอะไรมาก เพราะตุลาการศาลยุติธรรมมีหน้าที่สนับสนุนให้ระบบบริหาร ระบบการแต่งตั้งของตุลาการให้มีความโปร่งใส ยุติธรรม

 

เรื่องที่น่าสนใจคือ ช่วงนี้มีคดีสำคัญที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง อยากให้ทุกอย่างผ่านไป โดยให้ความยุติธรรมยังอยู่ โดยไม่มีอิทธิพลเหนือระบบตุลาการยุติธรรม เพราะประเทศไทย จะต้องอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

 

ฉะนั้น การได้รู้จักระบบตุลาการศาลยุติธรรม จะเป็นการเรียนรู้ของผม ผมชอบเรียนรู้และคิดว่าจะศึกษาระบบตุลาการในต่างประเทศ และดูว่าในยุคโลกที่เปลี่ยนเร็ว และมีปัจจัยภายนอกมากระทบตุลาการศาลยุติธรรมไทยตลอดเวลา โดยเฉพาะการเมือง สังคมภาคประชาชน และธุรกิจ รวมทั้งเรื่องคดีต่าง ๆ ในระดับระหว่างประเทศด้วย เราจะสร้าง competencies เพิ่มเติมให้ผู้พิพากษา ให้มีความรู้ที่ทันสมัย ให้มีความสุขในการทำงานเชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น มีระบบเปิดมากขึ้น ใช้วิธีการต่างๆ ช่วยให้ข้อพิพาทต่างๆ ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งการเจรจา การประนีประนอมนอกศาล รวมทั้งทำงานร่วมกับระบบยุติธรรมอื่นๆ ไม่ว่าตำรวจ อัยการ หรือแม้กระทั่ง สภาทนายความ

 บรรดาผู้ที่เป็นที่รักของผม คงสนใจว่า ผมได้รับเลือกเพราะอะไร จะได้เข้าใจและช่วยส่งข้อมูลที่ดีๆ มาให้ผม ผมจะได้ทำงานให้ดีที่สุด และขอขอบคุณสำหรับความปรารถนาดีที่ส่งมาถึงผมมากมาย  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน   เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็ปของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ คนเราถ้าทำอะไร แล้ว ขาดไม่มีอารมณ์ที่ดี นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว


·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย  การบริหาราทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  ทำกับสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ  ·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart
 ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ  ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้   ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's ·         I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ·        I ตัวที่ 2 เน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
เรื่องนี้ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  มองไปทางไหน จะเห็นร่องรอยของการสอนเด็กนักเรียน แบบเก่า ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม   อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ไม่ได้มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในระดับผุ้ใหญ่เท่านั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็นในโรงเรียน สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR ในสถานประกอบการ ก็นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ลูกหลานพนักงานที่จะสามารถมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้ อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล ครับ

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้     ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  ยม น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.)
จากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์"
สร้าง Ideas ใหม่ๆ[1]ฟุตบอลโลกใกล้จะปิดฉากแล้ว ผมไม่ค่อยเขียนถึง เพราะมีเรื่องอื่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สร้างความ ปลาบปลื้มให้แก่คนไทย 64 ล้านคน
เมื่อจบงานพระราชพิธีไปแล้ว การเมืองร้อนเริ่มตึงเครียดอีกแล้ว ต้องอดทน และติดตาม ศึกษาต่อไป
มีบทเรียนมากมายจากการกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่เราสามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานของเรา
สัปดาห์นี้ ผมจึงเลือกเสนอ Ideas ใหม่ๆ 2-3 เรื่องเท่านั้นว่า ควันหลงฟุตบอลโลกทิ้งอะไร เป็นบทเรียน
-
เรื่องทุนทางอารมณ์ใน 5 K's ของผม หรือ Emotional Capital เป็นจุดหักเหในความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง การ เล่น 10 คนของอังกฤษยังเกือบชนะโปรตุเกส
Rooney
สมบูรณ์ทางร่างกาย หายจากบาดเจ็บทัน แต่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ กระทืบเท้า ใส่คู่อริ แค่วินาทีเดียวก็ต้องโดนใบแดง การควบคุมอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องฝึกใช้ใน การดำรงชีวิต ที่บางครั้งจะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาเดียว
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก วันนี้ฟุตบอลทีม ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย
อีกเรื่องหนึ่งคือ การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ มีการพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี
-
วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว
-
วัดจาก Human Development Index วัดจากคุณภาพของคน
ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีการกล่าวถึงกัน ระดับนานาชาติ ในระดับ APEC ในปีนี้และปีหน้าเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษาด้วย
ในฐานะที่ผมดูแลเรื่อง APEC HRD จะต้องเน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีความสุข ในภูมิภาค APEC มากขึ้น
ส่วนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ
- Head
และ
- Heart

Heart
คือ Feeling ความรู้สึกมาจากใจ มี Heart อย่างเดียวก็ไม่พอ จะต้องมี Head ด้วย
Head
คือการมองเป้าหมาย การมีข้อมูล การมียุทธวิธี เข้าใจ การเงิน การตลาด การ แข่งขัน ที่ทำให้ Heart ไปสู่ความสำเร็จ
ถ้ามี Head แต่ไม่มี Heart ก็ไม่สำเร็จ ลูกศิษย์หลายคนบอกว่า วิศวกร มี Head มาก แต่ ไม่มี Heart เลย
ให้ดูตัวอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นวิศวกร แต่มี Heart ที่เห็นคุณค่าของคน ให้การทำงานของ Heart และ Head ไปด้วยกัน
ผมยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's
- I
แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการคิดสร้างสรรค์และนอกกรอบ อาจารย์มหาวิทยาลัยกว่า 95% เป็นอาจารย์ที่ลอกตำรามาสอน และบางครั้งไม่เคยฝึกวิธีการสอน ให้เด็กมีส่วนร่วม และ Apply กับความจริง
-
ส่วน I ตัวที่ 2 ผมเน้น Imagination เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge
สู้ Imagination ไม่ได้ "
เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย
เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์ ปรากฏว่าให้เด็ก ส่ง Blog มาถึงผมว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้ นักเรียนสนใจส่ง Blog มากเกือบทุก คน และแสดงความตั้งใจ คิดเป็น ไม่ว่าคุณภาพของเด็กจะอ่อนอย่างไร ถ้าสนใจก็สามารถพัฒนา สมองได้
การสอนหนังสือยุคใหม่ จะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กสนใจ ซึ่งผมประทับใจมากที่เด็ก โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล กระหายจะได้ความรู้ และใน Blog ก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I's และทฤษฎี 2 R's ของผม จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์" (ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

 

ผมปรับปรุงข้อความที่ผมเขียนเกี่ยวกับ บทเรียนจากความเป็นจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากเมื่อเช้านี้รีบเขียนไป แล้วเห็นว่าน่าจะปรับปรุงข้อความบางส่วนโดยเฉพาะในส่วนที่ผมเขียนต่อจากข้อความของ ศ.ดร.จีระ ตอนท้ายนี้/สีฟ้า/ ส่วนที่ผมเขียนแสดงความคิดเห็น ผมทำสีดำไว้   มีดังนี้ครับ

 

เช้าวันนี้ วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549  ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง สร้าง Ideas ใหม่ๆ :  มีบทเรียนที่ อาจารย์เขียนเกี่ยวกับกีฬาที่น่าเรียนรู้ โดยเฉพาะฟุตบอลโลกที่สามารถนำมาปรับ ใช้ต่อชีวิตและการทำงานได้เป็นอย่างดี  ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม

 

   ·        ความ พ่ายแพ้ของอังกฤษ ส่วนหนึ่งมาจากการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของ Rooney ความจริง ส่วนหนึ่งเพราะขาด Emotional Capital  ประโยคนี้จะเห็นว่า ศ.ดร.จีระ สะท้อนให้เห็น อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญต่ออนาคต  ผมมีความเชื่อว่า คนเราถ้าทำอะไร แล้วไม่มีอารมณ์ที่ดี หรือมีอารมณ์มากเกินไป นอกจากจะเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาแล้ว โอกาสพ่ายแพ้ในชีวิต ย่อมมี การควบคุมอารมณ์ ความสมดุลทางอารมณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทุนมนุษย์ ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืนฯ จะมีความสมดุลทางอารมณ์ได้ดี  นักบริหาร นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือผู้เป็นบิดา มารดา ควรที่จะบริหารพัฒนาทุนมนุษย์ให้เกิดแก่สมาชิกในองค์กร สถาบันที่ตนเองเป็นผู้นำ อย่างมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน มีการติดตามประเมินผล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ถ้าปล่อยให้สมาชิกในองค์กร ไม่มีความสมดุลทางอารมณ์ จะทำให้ทุกอย่างพังพินาศในชั่วพริบตาได้



·        การที่นักฟุตบอลรุ่นเก่า เช่น Zidane หรือ Henry ถูกมองว่าแก่ และสู้พลังหนุ่มไม่ได้ ปรากฏความจริงว่า บางครั้งเราจะประมาทผู้อาวุโสไม่ได้ คนที่มีอายุ มากกว่า เราต้องยกย่อง อย่าดูถูกและประมาทเขา เพราะประสบการณ์ช่วยมาก  ชาติฝรั่งเศสเต็มไปด้วยผู้เล่นมีอายุ เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์เล่นฟุตบอล ผลคือได้เข้าชิงกับ อิตาลี ยุคนี้จึงต้องมองประสบการณ์และพลังหนุ่มให้สมดุลกัน สังคมไทยก็เช่นกันต้องยกย่อง ผู้สูงอายุด้วย

ประโยคนี้น่าสนใจ ผมจับประเด็นได้ว่า  ทรัพยากรมนุษย์ ยิ่งนาน ยิ่งเก่า ยิ่งมีมูลค่าเพิ่ม  ไม่เหมือนเครื่องจักร ยิ่งนานไปยิ่งเสียค่าเสื่อม ใช้งานไม่ค่อยได้ดีเรื่องนี้ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  คนที่มีประสบการณ์ คนเก่าแก่ สะสมทุนมนุษย์ไว้มากมาย จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความวิสัยทัศน์ ความสามารถของนักบริหาร หรือผู้นำเป็นอย่างมาก ว่าจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำให้คนเก่าแก่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้หรือไม่ 

 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มักจะมองข้ามคนที่ใกล้เกษียณอายุ มองข้ามทุนมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเขา  เท่ากับสร้างความสูญเสียคุณค่าในตัวคน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

 

·   การประชุม APEC Symposium on Socio-economic Disparity ที่กรุง โซล เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาพูดกันถึงช่องว่าง ระหว่างประเทศใน APEC และช่องว่างระหว่างกลุ่มประชาชนของประเทศใน APEC ซึ่งเป็นเรื่อง น่าสนใจว่า ปัจจุบันวิธีวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างมี 3 วิธี

- วัดจากรายได้หรือ GDP ต่อหัว

- วัดจาก Human Development Index  และ วัดจากคุณภาพของคน

ผมได้แสดงความเห็นว่า คนที่มีรายได้มากกว่า ไม่ใช่มีความสุขมากกว่าเสมอไป ควรจะ เริ่มวัดจาก Happiness ด้วย ปรากฏว่าที่ประชุมรับฟังอย่างสนใจ และเริ่มมองประเด็นเรื่อง Happiness Capital เน้นความสุข ความสมดุลด้วย ผมเห็นว่าเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เน้นความสุข ความสมดุล    

 

ประโยคนี้ ผมคิดว่า เป็นผลพวงจากการใช้ระบบทุนนิยม ในการบริหารสังคมโลก ทำให้เกิดผู้ได้เปรียบ ผู้เสียเปรียบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีการวัดความเหลื่อมล้ำของสังคม เป็นระยะ และควรมีมาตรฐานว่า ในแต่ละปัจจัยที่ใช้วัดความเหลื่อมล้ำนั้น ควรมีค่ามาตรฐานกำหนดไว้ เมื่อวัดออกมาแล้ว หัวข้อใดเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ควรมีสัญญาณเตือนภัย เรื่องพวกนี้ และมียุทธศาสตร์ในการแก้ไขและปัองกันภัยแห่งความเหลื่อมล้ำของสังคม ไม่ให้เกิดภัยแก่ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ของโลก

 

เรื่องการวัดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างของทรัพยากรมนุษย์ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะนำทุนตามทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์บางตัวมาวัด ด้วย อาทิเช่น ทุนทางความสุข Happiness capital ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ฯ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องความสมดุล ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ตรงนี้ สามารถนำมาใช้วัดช่องว่างระหว่างประชาชนในแต่ละจังหวัด ตำบล อำเภอได้  หรือนำมาใช้วัดช่องว่างระว่างประชาชนกลุ่มคนงานในแต่ละสถานประกอบการ แต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมากำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ย่อมได้ 

 

 ·        ได้รับเกียรติจากนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาจิตวิทยา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ไปบรรยาย 4 ชั่วโมง ผมแนะนำว่า การเรียนจิตวิทยา เป็นสิ่งจำเป็น แต่จะให้มีความสำเร็จในการทำงานจะต้องมี 2 H's คือ

- Head และ

- Heart  

 

ศ.ดร.จีระ มีงานได้รับเชิญไปสอนหลายแห่งมาก  ทั้งสถานบันการศึกษา องค์กรภาครัฐและเอกชน  อาจารย์มีโอกาสทำประโยชน์ให้กับสังคมมากมาย  เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำ เมื่อมีความรู้ เมื่อมีโอกาส ก็เผื่อแผ่เมตตา กับผู้อื่น  ผมได้มีโอกาสเรียนและใกล้ชิดกับ ศ.ดร.จีระ ทำให้ทราบว่า นอกจากท่านมีความรู้ มีประสบการณ์ มีอุดมการณ์ เหมือน ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ แล้ว ท่านยังมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ และให้โอกาส ให้ความรู้ กับศิษย์เสมอ

 

จากประโยคข้างต้น ผมเห็นว่า 2 H’s เป็นหัวใจสำคัญในการจะทำการงานให้สำเร็จ ต้องมีหัวคิด มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา(Head) และต้องมีทุนทางปัญญา ทางจริยธรรม ทุนทางความสุขต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ คือ Heart   ถือว่าเป็นหัวใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ก็ว่าได้  

 

 ·        ศ.ดร.จีระ ยังได้แนะนำทฤษฎีใหม่คือ 2 I's  

 o        I แรกคือ Inspiration คือการเรียนยุคใหม่ เด็กนักเรียนต้องถูกกระตุ้นจุดประกายให้ เกิดความสุข และHappy ที่ถูกกระตุ้นให้ไปสู่ความเป็นเลิศ

 

 o       I ตัวที่ 2 เน้น    Imagination   เพราะ ไอน์สไตน์ ( Einstein ) ได้พูดไว้เลยว่า
" Knowledge สู้ Imagination ไม่ได้ " เพราะคนไทยปัจจุบันไม่ชอบมีจินตนาการ เราเรียนแบบท่องจำ จึงเกิด Innovation ได้ น้อย  

 

ข้อความนี้ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึง แนวทางในการสอนเด็กของไทยเรา  ในอดีตเราสอนให้เด็กท่องจำ คนไหนท่องจำเก่ง คนนั้นคะแนนดี คนไหนคิดนอกกรอบ จะโดนข้อหาว่า นอกคอก ทำตัวไม่เหมือนคนอื่น ทำให้ผลผลิตของโรงเรียน ได้นักเรียนที่จบการศึกษา  ได้ทรัพยากรมนุษย์ ที่คิดในกรอบเท่านั้น และที่อันตรายมาก คือใครคิดไม่เหมือนตนเองคือคนไม่ดี ต้องขจัดออกไป พอโลกหรือสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปรับตัวให้อยู่รอด ไม่มีความคิดใหม่ ๆ มาพัฒนาชาติ ใครคิดใหม่ ๆ จะถูกวิจารณ์อย่างมาก  ประเทศเราไม่สามารถพัฒนาไปได้รวดเร็วนัก

 

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมไปเยี่ยมโรงเรียนแห่งหนึ่งในชนบท  มีการจัดสถานที่ให้เด็กเล็กไว้เล่นคือมีสวนเด็กเล่น กั้นคอกไว้ ข้างในมีพื้นเป็นทราย และมีล้อยางรถเก่าอยู่ สี่ห้าเส้น ผมถามว่านั่นคืออะไร  ได้รับคำตอบว่าเด็กชอบเล่นทราย จึงทำไว้ให้เด็กเล่น  ของเล่นภายในไม่ได้เอื้อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์นัก ปัญหามาจากผู้ใหญ่ที่ขาดความคิดสร้างสรรค์เพียงพอ กลายเป็นวัฐจักรแห่งความทางตันแห่งความคิดสร้างสรรค์

 

เรื่องการบริหารโรงเรียนของรัฐบาล โดยเฉพาะในชนบท  ยังมีการสอนแบบนี้อยู่มาก  นโยบายของรัฐ เกี่ยวกับบริหารการศึกษา การสอนเด็กนักเรียน  ไม่ได้เอื้อต่อการให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงประเทศชาติ เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ รัฐบาลก็น่าจะทุ่มเทสร้างคนเพื่อสร้างชาติให้ยั่งยืน Mega project ของรัฐ น่าจะมี Innovation ทางการศึกษาของเด็ก บ้าง  

 

 ·        เรื่องสุดท้ายคือที่โรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งผมไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย เตรียมตัวไปสู่โลกการทำงานให้เด็กมัธยมปลาย ประมาณ 40 คน  หลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรมซึ่ง เป็นนวัตกรรมของหลักสูตรสายสามัญ ต้องมีความรู้ที่กว้างและทันต่อเหตุการณ์  ให้เด็ก ส่ง Blog มาว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนแบบนี้  ใน Blog เด็กก็ถามว่า จะมาสอนอีก เมื่อไร แสดงว่าการให้ความรู้ที่ตรงประเด็นที่นำไปใช้ได้ ดีกว่าสอนไปโดยไม่มีเป้าหมาย น่าจะ เน้นทฤษฎี 2 I’s และทฤษฎี 2 R’s ของผม    

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ ให้ความรู้ และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลากหลายทั้งในระดับผู้ใหญ่ และเยาวชน  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้ยั่งยืน ต้องหยั่งรากลงไปพัฒนาถึงเด็กในโรงเรียน และถ้าจะลึกไปกว่านั้น ต้องพัฒนาตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ด้วย 

  

สิ่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดี รัฐบาลควรศึกษา นำไปเป็นแบบอย่างในการมุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน  HR Manager หรือผู้บริหารในสถานประกอบการ ต่าง ๆ ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับรากหญ้า ถึงระดับลูกหลานพนักงานที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขององค์กรได้อนาคต  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ ต้องคิดให้ไกล ไปให้ถึง ให้ยั่งยืนและสมดุล อย่างมียุทธศาสตร์ครับ

 


  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 – 19.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 ผมขอเชิญให้ท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ  เชิญท่านผู้อ่าน อ่านบทความ บทเรียนจากความเป็นจริง  สร้าง Ideas ใหม่ๆ ของ ศ.ดร.จีระ ได้จาก Blog ถัดไปนี้ 

     

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน  

 

ยม  

น.ศ.ปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี(รุ่น 2 กทม.) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท