ถาม-ตอบปัญหา EQA สมศ. (2)


<คำถามที่ 1 - 10>


คำถามที่ 11
ปีการศึกษาเริ่มนับจากเดือนไหนถึงเดือนไหน

ตอบ
    เริ่มตั้งแต่วันเปิดการศึกษาถึงวันปิดภาคการศึกษา ตามปฏิทินของมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย


คำถามที่ 12
เป้าหมายปีการศึกษา 2548 หมายถึงอะไร ไม่เข้าใจว่า มีข้อมูลปี 2548 แล้วทำไมถึงตั้งเป้าหมายของปี 2548 อีก หรือต้องการจะตรวจสอบว่าการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด ใช่หรือไม่ ?

ตอบ    การให้กรอกข้อมูลค่าเป้าหมายในปีการศึกษา 2548 เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพิจารณาว่าการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเกณฑ์ 1 ใน 3 ข้อในการให้คะแนนแต่ละตัวบ่งชี้ หากมหาวิทยาลัยดำเนินการได้เท่ากับหรือมากกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็จะได้ 1 คะแนนสำหรับตัวบ่งชี้นั้นๆ


คำถามที่ 13
ข้อมูลที่มีอยู่และใช้รายงาน กพร.เป็นรอบปีงบประมาณ จะใช้ตอบในบางตัวชี้วัดที่ สมศ.กำหนดเป็นปีงบประมาณได้หรือไม่

ตอบ    หากเป็นตัวบ่งชี้เดียวกันก็สามารถใช้ได้


คำถามที่ 14
นิสิตภาคพิเศษ หมายถึง นิสิตนอกเวลาราชการ และนิสิตนานาชาติด้วยหรือไม่

ตอบ    นิสิตภาคพิเศษ หมายถึง นิสิตภาคนอกเวลาราชการทุกหลักสูตรที่เปิดสอนนอกเวลาราชการ สำหรับนิสิตนานาชาตินั้น ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่ลงทะเบียนเรียน หากหลักสูตรนานาชาตินั้นเปิดสอนภาคนอกเวลา ก็ถือเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนเป็นนิสิตภาคพิเศษ แต่หากหลักสูตรนั้น เปิดสอนในเวลาราชการก็ไม่ถือว่านิสิตที่ลงทะเบียนเรียนนั้น เป็นนิสิตภาคพิเศษ


คำถามที่ 15
อาชีพอิสระ หมายถึงอะไร ขอบเขตแค่ไหน

ตอบ
    อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพสุจริตที่บัณฑิตทำและสามารถก่อให้เกิดรายได้เพื่อเลี้ยงชีพได้


คำถามที่ 16
ฐานข้อมูลระดับชาติได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ
   วารสารระดับชาติ   ได้แก่ วารสารที่ตีพิมพ์บทความจากนักวิชาการกลุ่มต่างๆ  จากสถาบันต่างๆ และคณะบรรณาธิการจะต้องเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวารสารและบรรณาธิการจะต้องมาจากสถาบันอื่นๆ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50


คำถามที่ 17
ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ วารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ วารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูลวารสารที่เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ เช่น ฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI)   ฐานข้อมูล Ei Compendex  ฐานข้อมูล INSPEC  ฐานข้อมูล ScienceDirect ฐานข้อมูล PUBMED  ฐานข้อมูล AGRICOLA (AGRICultural Online Access) ฐานข้อมูล ERIC (Education Database)   หรือฐานข้อมูล PUBSCIENCE เป็นต้น

วารสารระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลสากล ได้แก่ วารสารที่คณะบรรณาธิการ ต้องเป็นชาวต่างประเทศ อย่างน้อย 1 คน และวารสารต้องมีบทความวิจัยจากต่างประเทศลงตีพิมพ์ด้วย


คำถามที่ 18
จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนฯในรอบ 5 ปี นับซ้ำได้หรือไม่ เช่น ปี2547 ก็จะนับซ้ำย้อนหลัง 5 ปีใช่หรือไม่ หรือปี2548 ก็จะนับย้อนหลังไป 5 ปี ใช่หรือไม่

ตอบ ให้นับสะสมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ปี 2548 ให้นับรวมผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนฯในปี 2548, 2547, 2546, 2545 และ 2544

ตัวบ่งชี้  2.7 จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรือ อนุสิทธิบัตรในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

คำอธิบาย     จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยสามารถนับได้ทั้งการจดทะเบียนในประเทศและต่างประเทศ

ข้อมูลที่ต้องการ : จำนวนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรในปีการศึกษานั้น จำแนกในประเทศหรือต่างประเทศ ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การนับจำนวนการจดทะเบียนจะนับได้ต่อเมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้วเท่านั้น ไม่นับรวมกรณีอยู่ในระหว่างยื่นจดทะเบียน


คำถามที่ 19
จำนวนอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการ วิชาชีพในระดับชาติหรือนานาชาตินับซ้ำได้หรือไม่

ตอบ ไม่ได้ (ดูเอกสารประกอบ)

 

คำสำคัญ (Tags): #eqa
หมายเลขบันทึก: 34209เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ
  • ขอชื่อชม

ขอรบกวนเรียนถามคุณเจนจิตค่ะ

การพัฒนาดัชนี/ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายในของ NU  ปรับปรุงล่าสุด ใช้กรอบของ สกอ. ประกอบการพัฒนาด้วยหรือเปล่าคะ หรือเป็นการหลอมรวมจาก KPI ต่างๆคะ?

ขอบพระคุณค่ะ

 

ขอโทษนะคะ ขอตั้งคำถามใหม่ค่ะ 

1. ใช้กรอบของ สกอ. เป็นหลักในการพัฒนา KPI ประกันคุณภาพภายใน

หรือว่า

2.  เป็นการหลอมรวม KPI ของมาตรฐาน/เกณฑ์คุณภาพของสถาบันต่างๆในระดับชาติหรือระดับโลก ตามความเหมาะสม

ขอบพระคุณค่ะ

   การประเมินคุณภาพภายในของ ม.นเรศวร การประเมินในระดับคณะวิชาจะมีการประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (ใน SAR/CAR Form 2) คือ

Part A  เป็นการประเมินที่เน้นที่เน้นกระบวนการ (Process Approach ) ซึ่งเราได้แนวความคิดมากจากงานวิจัยของ ศ.ดร.อุทุมพร  จารมรมาน, สกอ., และอีกหลายๆ ที่  ทั้งในและต่างประเทศ 

 Part B เป็นการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ (Output, Outcome approach) ซึ่งมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของส่วนนี้จะมีความสอดคล้องกับการรับรองมาตรฐานคุณภาพภายนอก (สมศ). เป็นรายมาตรฐานและโดยรวมค่ะ

http://gotoknow.org/blog/nuqa-jr/24333

ขอบพระคุณคุณเจนจิตรมากๆเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท