นายประยูร
นายประยูร ประยูร รักษ์กำเนิด

แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้


แหล่งเรียนรู้

  

แนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 

และเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้

                 นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์อย่างคุ้มค่า...   แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งที่มีข้อมูลข่าวสารความรู้ ประสบการณ์  สารสนเทศและเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนใช้ในการแสวงหาความรู้ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

เครือข่ายการเรียนรู้ 

             เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การเชื่อมโยงการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายอย่างคุ้มค่า

 ประเภทของแหล่งการเรียนรู้

                แหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมี  2   ประเภท   คือ   แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน   ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น

           1.  แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

            1.1 แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ  เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ   สิ่งมีชีวิต ฯลฯ

           1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดกลุ่มสาระ  ห้องสมุดเคลื่อนที่  ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ   ห้องโสตทัศนศึกษา   ห้องมัลติมีเดีย  เว็บไซต์    ห้องอินเทอร์เน็ต   ห้องเรียนสีเขียว   ห้องพิพิธภัณฑ์   ห้องเกียรติยศ   สวนพฤกษศาสตร์  สวนสมุนไพร  สวนวรรณคดี  สวนสุขภาพ   สวนหิน  สวนหย่อม   สวนผีเสื้อ   บ่อเลี้ยงปลา เรือนเพาะชำ   ต้นไม้พูดได้  ฯลฯ

          2.  แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน

               2.1    แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม   ป่า   ภูเขา   แหล่งน้ำ  ทะเล   สัตว์  ฯลฯ  

              2.2   แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น   เช่น     ชุมชน  วิถีชีวิต  อาชีพ    ภูมิปัญญา  ประเพณี  วัฒนธรรม   สถาบัน   โบราณสถาน  สถานที่สำคัญ  แหล่งประกอบการ  

 การเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

P

D

C

 

A

สำเร็จ

 

 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนา และใช้แหล่งการเรียนรู้ 

           การพัฒนาแหล่งเรียนรู้   เป็นงานที่โรงเรียนส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่แล้ว  ภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนก็คือ  การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีหลายช่องทาง   เพียงแต่การดำเนินการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ยังเป็นไปโดยไม่เป็นระบบ และกระบวนการที่ชัดเจน   แหล่งเรียนรู้บางแห่งจึงไม่ได้ถูกใช้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติก็ถูกละเลย ไม่ได้เข้าไปใช้ให้เกิดประโยชน์   ผู้บริหารโรงเรียนจึงต้องเป็นผู้นำการดำเนินการ สู่ความสำเร็จโดยกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งอาจบริหารจัดการได้ดังนี้

 1. ขั้นวางแผน  (Plan)

                1.1. กำหนดนโยบายการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

                โรงเรียนกำหนดนโยบายการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โดย ทำความเข้าใจนโยบายตามแผนหลัก   หลักสูตร  รวมทั้งแนวดำเนินการของโรงเรียนในฝัน    เพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาและใช้

แหล่งการเรียนรู้  โดยให้คณะครูมีส่วนร่วมในการกำหนด  

                1.2 .จัดตั้งคณะกรรมการสำรวจแหล่งการเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์สภาพความพร้อมในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน ซึ่งอาจประกอบด้วย

                    - ผู้บริหารโรงเรียน

                    - ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน ฝ่ายวิชาการ

                    - หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ

                    - หัวหน้างานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                    - ผู้เกี่ยวข้องที่โรงเรียนพิจารณาตามความเหมาะสม

                1.3. จัดทำแผนงานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

                     คณะกรรมการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ มีบทบาทหน้าที่สำคัญที่จะเป็นผู้สำรวจ วิเคราะห์ความพร้อม รวบรวมข้อมูลแล้วจัดทำแผนพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

                1.4. สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรของโรงเรียนและชุมชน

                      โรงเรียนดำเนินการสร้างความเข้าใจกับบุคลากรทุก ๆ ฝ่ายในโรงเรียนและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง   ได้แก่  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เครือข่ายผู้ปกครอง  เพื่อสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญมีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้

                1.5. ประชาสัมพันธ์โครงการ

                      โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้  เพื่อให้ครู อาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจตรงกัน 

เกิดความร่วมมือในการสนับสนุน ช่วยเหลือ เพื่อให้แหล่งการเรียนรู้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

 2. ขั้นการดำเนินงาน สร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้   ( DO )

             โรงเรียนอาจมีแนวทางการสร้าง พัฒนา ใช้แหล่งเรียนรู้ ได้ดังนี้

             2.1. จัดตั้งคณะผู้รับผิดชอบแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งอาจประกอบด้วย บุคลากร ดังต่อไปนี้

                    - รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

                    - หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

                    - หัวหน้างานห้องสมุด

                    - หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ ของโรงเรียน

                รับผิดชอบการดำเนินการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ตามความพร้อมที่ได้ดำเนินการสำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งในโรงเรียนและชุมชน    กำหนดแหล่งเรียนรู้และจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้

              2.2. สร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

ดำเนินการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ตามสารสนเทศที่มีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพ จัดระบบการใช้ สำหรับผู้เรียน และผู้สนใจ

              2.3. ผู้เรียนและผู้สนใจได้ใช้แหล่งการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า มีการรวบรวมข้อมูล

การใช้ เพื่อเป็นข้อมูลกำหนดแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่อไป

  3. ขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม   (CHECK)

                โรงเรียนกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการนิเทศ  ติดตาม  และประเมินการพัฒนาและใช้

แหล่งการเรียนรู้  อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  แก้ไข ปัญหาอุปสรรคในระหว่างการดำเนินการ

มีการประเมินทบทวนปรับปรุง  กระบวนการดำเนินการ ให้เกิดการพัฒนาและใช้ แหล่งการเรียนรู้

ตามแผนหลักและแนวดำเนินการของโรงเรียนในฝันที่โรงเรียนกำหนดไว้ ตามบริบทของโรงเรียนเอง

 มีการกำหนดวิธีการ และเครื่องมือประเมินผลการดำเนินการ  การสร้าง   การพัฒนาและใช้แหล่ง

การเรียนรู้  วิเคราะห์ผลการประเมินและสรุปผลการประเมิน 

 4. ขั้นสรุปและรายงานผลการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ (ACTION)

                การสรุปรายงานการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้  ควรรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ระหว่างดำเนินการ  และเสร็จสิ้นการดำเนินการ  เพื่อสรุปเป็นรายงานนำเสนอให้หน่วยงานต้นสังกัด

ทุกระดับและผู้เกี่ยวข้องทราบ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ ให้เกิดการใช้แหล่งการเรียนรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดต่อไป

                            แผนภูมิการสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 

สำรวจวิเคราะห์สภาพความพร้อมของแหล่งการเรียนรู้ภายในและ ภายนอกโรงเรียน

กำหนดแหล่งการเรียนรู้ จัดระบบสารสนเทศ

จัดทำแผนปฏิบัติการสร้างและ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้                                               

ทำความเข้าใจการใช้แหล่งการเรียนรู้

จัดทำและใช้แผนการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้

ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้

สรุป รายงานผล และเผยแพร่พัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 

 

                เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้   เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ อย่างคุ้มค่า เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมีอยู่ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

                เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน  เป็นการร่วมมือกันระหว่างแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ

 ที่มีอยู่ในโรงเรียน     เช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้  ห้องโสตทัศนศึกษา

 ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องอินเทอร์เน็ต  ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ  ห้องพิพิธภัณฑ์    อุทยานการศึกษา

 สวนสมุนไพร สวนหย่อม สวนวรรณคดี  สวนคณิตศาสตร์ ฯลฯ

                เครือข่ายแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน  โรงเรียนดำเนินงานประสานความร่วมมือใน

การจัดให้ผู้เรียนได้ใช้แหล่งการเรียนรู้ที่อยู่นอกโรงเรียน  เช่น  ห้องสมุดประชาชน  พิพิธภัณฑ์  สวนสัตว์  ศูนย์กีฬา  สถานประกอบการ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัด   อุทยานแห่งชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

 

                                                                               

 

 

แนวการดำเนินงานสร้างเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียน     

                1. สำรวจแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ทั้งในและนอกโรงเรียน

                2. จัดทำรายการข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้

                3. ประชุมกำหนดรายการความร่วมมือในการเป็นเครือข่าย

                                3.1 การสร้าง/ผลิตสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ

                                3.2 การจัดระบบการจัดเก็บสื่อ นวัตกรรม

                                3.3 การจัดระบบการให้บริการ

                                3.4 การแลกเปลี่ยนสื่อ นวัตกรรม   เทคโนโลยีสารสนเทศ

                                3.5 การยืมสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี ระหว่างแหล่งการเรียนรู้

                                3.6 การจัดระบบเชื่อมโยงเครือข่าย

                                                ฯลฯ

                4. ดำเนินการพัฒนาเครือข่าย

                5. ดำเนินการใช้เครือข่ายเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                6. ประเมินผลการใช้และรายงานผล

 

 

 

   การใช้สื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศจากแหล่งการเรียนรู้ 

                                      และเครือข่าย 

 

สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของผู้เรียน เพราะเป็นองค์ประกอบในการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  ซึ่งมาตรา 24 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในการจัดกระบวนการเรียนรู้  สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถ 

จัดบรรยากาศ   สภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

และ มีความรอบรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจ เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ   เมื่อสถานศึกษามีสื่อ และแหล่งการเรียนรู้แล้ว   ทำอย่างไรจะทำให้ผู้เรียน

เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

แนวปฏิบัติในการใช้แหล่งการเรียนรู้

สถานศึกษากำหนดนโยบาย

และมาตรการ

ครูผู้สอนวางแผนการใช้

ประสานงานกับแหล่งการเรียนรู้

นำผู้เรียนไปใช้

แหล่งการเรียนรู้

ประเมินผลการใช้

สถานศึกษากำหนดเป็นนโยบายและมาตรการให้ครูผู้สอนใช้สื่อและแหล่ง

การเรียนรู้ในการสอน

1.ศึกษาหลักสูตร

2.ออกแบบกิจกรรม

การสอนให้ผู้เรียนใช้แหล่งการเรียนรู้

3.กำหนดรายการสื่อ

 แหล่งการเรียนรู้ที่ใช้  ใบงาน

1.สำรวจแหล่งข้อมูล

2.จัดหาและเตรียมสิ่งที่จะใช้

3.แนะนำวิธีการใช้ที่จะทำให้ได้ข้อมูลความรู้

4.กำหนดเวลาการใช้แหล่งเรียนรู้

1.ไปใช้แหล่งเรียนรู้ตามเวลาที่กำหนดไว้

2.อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษา / แนะนำ

รายงานผลการใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  ตัวอย่างการใช้แหล่งการเรียนรู้ 

  • ·   การใช้แหล่งการเรียนรู้ภายใน  เช่น

                 -  โรงเรียนจัดนิทรรศการทางวิชาการของกลุ่มสาระฯ  หรือชุมนุมต่างๆ  แล้วให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม  โดยมีแบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 10 กิจกรรม

                 -   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ  ให้ผู้เรียนไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ของประเทศจากห้องสมุดหรือจากอินเทอร์เน็ต

       

  • ·   การใช้แหล่งการเรียนรู้ภายนอก  เช่น

-  กลุ่มสาระภาษาไทยให้ผู้เรียนเขียนสารคดีแนะนำท้องถิ่นตนเอง เรื่อง ของดีที่บ้านฉันหลังจากที่ได้เรียนเรื่องพระครูวัดฉลองแล้ว

                   -  ครูกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ  กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระศิลปะ และกลุ่มสาระ

การงานอาชีพฯ ให้ผู้เรียนไปใช้แหล่งการเรียนรู้จากงานส่งเสริม 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)

โดย เก็บรวบรวมข้อมูลด้านศิลปะการนำเสนอสินค้า อาชีพ ประเพณีวัฒนธรรม ความโดดเด่นของงาน

 ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงลงแผ่นพับเป็นภาษาอังกฤษ  กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ  ประเมินผลด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ประเพณี วัฒนธรรมและอาชีพ  กลุ่มสาระศิลปะ ประเมินผลด้านการออกแบบแผ่นพับ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ประเมินผลการใช้ภาษาในการนำเสนอ

                  -  กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ  กลุ่มสาระภาษาไทยและกลุ่มสาระศิลปะ นำผู้เรียนไปศึกษา

แหล่งการเรียนรู้จากสถานประกอบการเครื่องปั้นดินเผา  ผู้เรียนบันทึกรวบรวมข้อมูลลงใบงาน ขั้นตอนการจัดทำ พร้อมวาดภาพประกอบ ครูทั้ง 3   กลุ่มสาระร่วมประเมินผล

  • การใช้แหล่งการเรียนรู้  จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนตัวอย่างในจังหวัด

สุราษฎร์ธานีมีโรงเรียนสุราษฎร์ธานี  เป็นผู้ประสานงานกับโรงเรียน 3 โรงเรียนได้แก่  โรงเรียนวัดสมหวัง  โรงเรียนวัดบางใบไม้ และ  โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม  และร่วมกันจัดทำปฏิทินการดำเนินงานซึ่งแต่ละโรงเรียนมีจุดเด่นดังนี้

                -  โรงเรียนสุราษฎร์ธานี  มีความพร้อมด้านการจัดการเรียนรู้  โดยใช้ ICT

                -  โรงเรียนวัดสมหวัง  อยู่ในชุมชนที่ประกอบอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าว การทำเครื่องปั้นดินเผา  การรักษากระดูกแบบโบราณ

                -  โรงเรียนวัดบางใบไม้   เป็นโรงเรียนที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ  มีบ้านโบราณ  ฟาร์มจระเข้  การสอนลิงเพื่อการเกษตร

                -  โรงเรียนวัดเขาพระนิ่ม  ดีเด่นในเรื่องโครงการปลูกป่าชายเลน  ฟาร์มสเตย์

 การทำผ้าบาติกจากพืชทะเล และโบราณสถาน

 

 

 

 

 

            วิธีการดำเนินการสู่ความสำเร็จ 

                1. โรงเรียนสุราษฎร์ธานี   สำรวจแหล่งเรียนรู้และหาแนวทางในการร่วมพัฒนาและการใช้แหล่งการเรียนรู้

                2. จัดทำร่างโครงการนำเสนอโรงเรียนที่ร่วมโครงการ

             3. ประชุมผู้บริหารและผู้รับผิดชอบเพื่อวางแผนดำเนินการโดยการจัดทำปฏิทินปฏิบัติงาน  ตารางการเรียนรู้  ตลอดจนประสานการบริหารจัดการเกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

                4.  ดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้โดยโรงเรียนสุราษฎร์ธานี  ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้ง 3 โรงเรียน

ในวันเสาร์-อาทิตย์  โดยกำหนดเวลาการศึกษาครั้งละ 1 โรงเรียน แต่ละโรงเรียนใช้เวลา 2 วัน หลังจากนั้นจึงให้โรงเรียนทั้ง 3 โรงเรียน  มาศึกษาแหล่งเรียนรู้ ICT ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี รวม 2 วัน   และโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนที่ร่วมศึกษาแหล่งการเรียนรู้

  1. รายงานผลการดำเนินงานโครงการเป็นเอกสารและ เผยแพร่ผลงานทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เว็บไซต์ของโรงเรียน

 

 

       

 

ตัวอย่างแผนดำเนินงานการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้

ผลผลิต

บ่งชี้

เป้าหมาย

แนวการจัดกิจกรรม

ระยะเวลา

งบประมาณ/ทรัพยากร

ผู้รับผิดชอบ

1. โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

มีแหล่งต่อไปนี้พร้อมต่อการเรียนรู้

-ห้องสมุด

-ห้องปฏิบัติการต่างๆ

-ห้องโสตทัศนศึกษา

-ห้องคอมพิวเตอร์,อินเทอร์เน็ต

-ห้องพิพิธภัณฑ์

-สวนประเภทต่าง ๆ

ฯลฯ

มีแหล่งพร้อมต่อการเรียนรู้ตอบสนองผู้เรียนอย่างน้อย  5 แหล่ง

1.จัดบรรยากาศเอื้อต่อ

การเรียนรู้

2.จัดหาสื่อที่เป็น

ปัจจุบัน ทันสมัยสอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียน

3.จัดทำเครื่องมือสืบค้นข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว

4.จัดระบบการให้บริการสะดวกรวดเร็ว

ระบุวันที่จัดกิจกรรม

ระบุวัสดุ  อุปกรณ์

คน   เงิน

ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ

2. โรงเรียนมีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

มีการเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ภายในโรงเรียนกับแหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน  เพื่อความร่วมมือในการใช้แหล่งการเรียนรู้

มีความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียนอย่างน้อย 5 แหล่ง

1. จัดระบบความร่วมมือระหว่างแหล่งเรียนรู้แต่ละแห่ง

2. จัดระบบการใช้แหล่งเรียนรู้

ระบุวันที่มีการจัดกิจกรรม

ระบุวัสดุ  อุปกรณ์

คน   เงิน

ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ

 

 

ผลผลิต

บ่งชี้

เป้าหมาย

แนวการจัดกิจกรรม

ระยะเวลา

งบประมาณ/ทรัพยากร

ผู้รับผิดชอบ

3. นักเรียนทุกคนได้ใช้แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่า

นักเรียนมีผลการเรียนรู้ปรากฏเป็นชิ้นงาน โครงงาน รายงาน การอภิปราย ฯลฯ

นักเรียนทุกคนมีผลงานปรากฏเผยแพร่อย่างน้อย

 1 ชิ้น ที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้แหล่งเรียนรู้

1. กิจกรรมการเรียนรู้

    แบบบูรณาการ

2. กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน โครงการ

3. กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (P.L.)

4. กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

5. กิจกรรมการเรียนรู้

จากห้องเรียนธรรมชาติ

 สถานประกอบการ

ฯลฯ

ระบุวัน เดือน ปี ที่จัดกิจกรรม

ระบุวัสดุ  อุปกรณ์

คน   เงิน

ระบุชื่อผู้รับผิดชอบ

 

 

 


กรอบการตรวจสอบ ทบทวน ประเมิน และรายงานการใช้แหล่งการเรียนรู้ 

-          ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าของแหล่งการเรียนรู้ สถานประกอบการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง

-          ก่อนดำเนินการ   ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ แผนการเรียนรู้

-          ระหว่างดำเนินการ  ความสนใจ  ความตั้งใจ  ความมีวินัย

-          หลังดำเนินการ   แบบสอบถาม สัมภาษณ์ ผลงาน (รายงานหนังสือเล่มเล็ก)

-          คณะกรรมการ/ผู้รับผิดชอบ /หัวหน้ากลุ่มสาระ/ครู/ผู้แทนนักเรียน พิจารณา

       การใช้แหล่งการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

-          กลุ่มสาระที่มีการเรียนรู้จำนวนนักเรียนที่เรียนรู้ จำนวนแหล่งเรียนรู้ (ด้าน/สาขา)

-          จัดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แลกเปลี่ยนแนวคิด

-          การนำผลการประเมินของครู เจ้าของแหล่งการเรียนรู้ (ผู้เกี่ยวข้อง) นักเรียนแผนการเรียนจากแหล่งการเรียนรู้

-          เครื่องมือที่ใช้ ผลงาน งบประมาณ

 

-          มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประชุมคณะกรรมการ

       ผู้รับผิดชอบ

       -      หัวหน้ากลุ่มสาระ/ครู พิจารณาแนวทางการพัฒนา การใช้แหล่งการเรียนรู้เรียนรู้

     

-      ประเมินตามสภาพจริง ตรวจ / ดูผลงาน 

-      แหล่งข้อมูล  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียน ครู

      

ผู้ทำการ

ตรวจสอบ

 

ระยะเวลา

ตรวจสอบ

 

การดำเนินงาน

ตรวจสอบ

สรุป/

สะท้อนภาพ

นำผลปรับปรุง/

พัฒนา

ประเมิน

 

-          -     จัดทำรายงาน (สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมดีเด่น สิ่งที่ควรปรับปรุงพัฒนาผลงานดีเด่น แนวคิดและการพัฒนา)

      

สรุปรายงาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนภูมิการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้

สถานศึกษามีคณะทำงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้

 

 

1.แต่งตั้งคณะกรรมการ

2.กำหนดบทบาทหน้าที่

ความรับผิดชอบ

จัดทำแผนดำเนินงาน

(ดังตัวอย่างข้างต้น)

 

1.วิเคราะห์ความต้องการแหล่งเรียนรู้

2.กำหนดแหล่งเรียนรู้ที่สร้างและพัฒนา

3.กำหนดผลผลิต ตัวบ่งชี้ เป้าหมาย

4. กำหนดบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์

 

พัฒนาคณะทำงานคณะทำงาน

1.ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ

2.ให้ความรู้และทักษะ

   การปฏิบัติ

3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ปฏิบัติการคณะทำงาน

สร้างและ

จัดทำใหม่

พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่

1. ปรับปรุงสถานที่ ครุภัณฑ์

2.ทำโครงสร้างบริการแหล่งเรียนรู้

3.จัดบุคคลรับผิดชอบภาระงาน

4.จัดหาวัสดุ สื่อ

5.จัดระบบการจัดเก็บ การใช้

1.ระดมสรรพกำลังสร้างสถานที่และแหล่งเรียนรู้

2.สร้างและจัดทำสถานที่

3.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สื่อ

4.จัดระบบการจัดเก็บ

ระบบการใช้บริการ

 ร่วมกันกำหนด

1.ชนิดหรือประเภทของแหล่งเรียนรู้

2.แหล่ง สื่อการเรียนรู้

3.สื่อการเรียนรู้

 

ปฏิบัติการ

สร้างและจัดทำ

ใช้แหล่งเรียนรู้

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 341902เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2010 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

A น่าจะไม่ได้ย่อมาจาก Action นะครับ น่าจะใช้ Act.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท