ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ชาญชัย ผู้เก็บ


การส่งเสริมความคิดเชิงสร้างสรรค์

ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์หมายถึง ความสามารถด้านหนึ่งของพุทธิพิสัยชั้นสูง เป็นการคิดหลายแนวทาง พัฒนาให้สูงขึ้นโดยอาศัยการเรียนรู้ และการจัดบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์โดยสังเขป ดังนี้
1) ความคล่องในการคิด หมายถึงความสามารถในการคิดหาคำตอบที่เป็นไปได้และไม่ซ้ำกันตามเงื่อนไขของคำถาม
2) ความยืดหยุ่นในการคิด หมายถึงความสามารถในการคิด
หาคำตอบได้หลายประเภทและหลายแนวทางที่เป็นไปได้ตามเงื่อนไขของคำถาม
3) ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่แตกต่างไปจากความคิดธรรมดา ในการตอบตามเงื่อนไขของคำถาม
วิธีการประเมินและเครื่องมือการประเมิน
1) วิธีประเมิน
1.1 ประเมินอย่างต่อเนื่อง ไม่แยกส่วนจากการเรียนการสอน
1.2 การเชื่อมโยงโดยตรงกับการเรียนรู้ ทั้งก่อนเรียน รหว่างเรียนและหลังเรียน
1.3 คำถามที่นักเรียนถามเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน
1.4 ใช้คำถามตามระดับการคิด และวัยของผู้เรียน ดังน้
1.4.1 ทักษะการคิดพื้นฐาน สำหรับ ช่วงชั้นที่ 1-2 เช่น เปรียบเทียบ แยกความแตกต่าง ยกตัวอย่าง อธิบาย เขียน แปลความ ตีความ ขยายความ จำแนก สรุปด้วยคำพูดตนเอง ฯลฯ
1.4.2 ทักษะการคิดชั้นสูง สำหรับช่วงชั้นที่
2-3 เช่น เชื่อมโยง แก้ปัญหา ทบทวน อภิปราย เตรียม เขียนแผนภาพ เขียนผังมโนทัศน์ วิเคราะห์ เสนอแนะ ทำให้เสร็จสมบูรณ์ กำหนด ประดิษฐ์ สร้าง ทำ ออกแบบ ผลิต พัฒนา จัดแบบใหม่ คิดสูตรใหม่ จัดนิทรรศการ เขียนความเรียง แต่งคำประพันธ์ แต่งทำนองเพลง โต้วาที กล่าวสุนทรพจน์ ทำการทดลอง โต้แย้ง สนับสนุน เลือก แสดงความคิดเห็น จัดอันดับ ตัดสิน วิจารณ์ ให้ข้อสรุป ฯลฯ
1.4.3 คำถาม ควรขึ้นต้นด้วย อะไร อย่างไร ทำไม เพราะเหตุใด
1.5 ประเมินความสามารถทั้งทางด้านความรู้ กระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.6 ให้อิสระทางด้านความคิด มีความคิดเป็นของตน
เอง

โดย นางเพ็ญศรี แซ่ลิ่ม นักศึกษามสธ รหัส 2452100866

ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์
ตอบ ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่
1. มีความคล่องในการคิด(Fluency) สามารถคิดได้เร็วมีปริมาณมากและไม่ซ้ำกัน
2. มีความคิดแปลกใหม่(Novelty) มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม
3. มีความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และนำไปใช้ประโยชน์ได้
4. มีความสามารถในการสังเคราะห์ (Synthesizing Ability) สร้างสรรค์สิ่งใหม่ไม่เหมือนใคร
5. มีความสามารถในการวิเคราะห์ (Analyzing Ability)คิดแยกโครงสร้างออกเป็นส่วน ๆ แล้วนำมารวมประกอบเกิดเป็นชิ้นงานใหม่
6. มีการปรับเปลี่ยนหรือนิยามใหม่ (Reorganization or Redefinition)
7. มีความคิดซ้ำซ้อน (Complexily)สามารถเชื่อมโยงความคิดที่หลากหลายและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดย ว่าที่ร้อยตรีประทีป เอกศิริ นักศึกษา มสธ รหัส 2472100409

หมายเลขบันทึก: 34155เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท