ขี้เทา


ทดสอบเขียนบันทึก

ผมเพิ่งจะรู้จัก "ขี้เทา"  ตอนที่มีลูกคนแรกนี่เอง

เหตุที่ได้รู้จักเนื่องจาก   ตอนเย็นประมาณ หกโมงเย็น  เมื่อพยาบาลนำลูกมาส่งให้ที่เตียงของคนไข้ (ในห้องรวม)      ตอนแรกเขาห่อ(มัด) ด้วยผ้าโรงพยาบาล    พอลูกสาวผมฉี่รด   ก็ต้องเปลี่ยนผ้าห่อตัว  หรือผ้าอ้อมนั่นเอง

ถึงตอนนี้พยาบาลบอกกับผมว่าให้ใช้ผ้าอ้อมของคนไข้เอง    ทางโรงพยาบาลมีให้เฉพาะผืนแรกเท่านั้น     ด้วยความที่ไม่มีประสบการณ์ผมก็ใช้ผ้าอ้อมที่เตรียมไปห่อตัวลูกสาวทันที

ซักพักใหญ่   ผมเห็นว่าลูกสาวเริ่มร้องไห้งอแง   เลยเดินไปถามพยาบาลที่เคาเตอร์อีกครั้งหนึ่งว่า    ผมเริ่มให้เด็กดื่มน้ำ  หรือนมได้หรือยัง?  (ด้วยความไม่รู้จริงๆ)     พยาบาลก็ถามกลับมาว่า   "ขี้เทาออกหรือยัง?    หากขี้เทาออกแล้วก็ให้ดื่มได้

ผมก็กลับไปแบบงง...งง  ว่าไอ้ "ขี้เทา"  นั่น  มันเป็นอย่างไร?

สักพักต่อมาลูกสาวผมร้องไห้งอแงอีกครั้ง    ญาติของเตียงข้างๆก็เข้ามาช่วยดู   เพราะเห็นผมเงอะๆงะๆอยู่พอสมควร     แกบอกว่าลูกสาวผมอึ  เขาก็เลยงอแง  ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่    ก็เลยเปลี่ยนผ้าอ้อมใหม่

ตอนนี้แหละครับที่ได้รู้จัก "ขี้เทา"  แบบใกล้ชิด    เพราะว่าตอนห่อผ้าอ้อมผมไม่ได้ใส่กระดาษทิชชู่รองข้างใน    ตอนซักก็เลยยากหน่อย

ขี้เทา  จะมีคุณลักษณะคล้ายกับ  น้ำมันจาระบี    เหนียวๆข้นๆ   ซักยากครับ   เสียดายตอนนั้นมือผมเลอะมาก   เลยไม่ได้ถ่ายภาพมาให้ดูของจริงๆครับ    เข้าใจว่า  คงมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จัก "ขี้เทา"  เหมือนกับผมเช่นกัน

 

คำสำคัญ (Tags): #my#way
หมายเลขบันทึก: 34148เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สรุปแล้ว "ขี้เทา" เป็นอึ (ของเด็กทารก) ชนิดหนึ่งรึป่าวคะ ?
  • แล้วเป็นภาษาของภาคไหนคะ  หรือว่าเค้าเรียกกันแบบนี้ทั่วประเทศ  เพราะไม่เคยได้ยินเลยค่ะ

ครับ...ถูกต้องครับ

ขี้เทา  คือ อึเด็กทารกครั้งแรก  ที่ออกมาจากท้องแม่ 

เข้าใจว่าแต่ถิ่น  แต่ละภาคน่าจะมีชื่อเรียกต่างกัน  แต่ที่ผมรู้จักเป็นชื่อนี้ครับ

     "ขี้เทา" เรียกชื่อนี้เช่นกันครับ
     ตอนเรียนหมออนามัย ช่วงไปฝึกงานที่ รพ.สะเดา จ.สงขลา รู้จักครั้งแรกตอนนั้นครับ พยาบาลพี่เลี้ยงขยายความว่าตอนเด็กยังอยู่ในท้องเขาจะกินน้ำคร่ำเข้าไปครับ

อ้อ ขี้เทาคืออึของทารกซึ่งคลอดออกมาเด็กปกติ จะถ่ายขี้เทาใน 48 ชั่วโมง

หากเกินกว่านี้ต้องประเมินภาะวะของทารก ว่าคลอดก่อนำหนด หรือเกินกำหนด

มีการพยาบบาลต่างๆ อีกมากมาย ต้องศึกษาจากหนังสือคู่มือการพยาบาลของเด็กและ

ทารก ค่ะ

มันเป็นชื่อสากลที่ใช้ในวงการวิทpาศาสตร์และสาธาณสุข เช่น แพทย์ พยาบาล เป็ต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท