อัตราและวิธีการกู้เรียน


ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
           เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 9 มิถุนายน ศกนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายพระพรให้ทรงพระเจริญสถิตในสิริราชสมบัติตราบนานเท่านาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ            เรื่องของทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต ยังเป็นเรื่องที่พูดกันไม่รู้จบด้วยความเป็นห่วงของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่ติดตามความก้าวหน้าการศึกษาของชาติมาโดยตลอด
            มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและของเอกชนเปิดภาคเรียนทุกแห่งแล้ว วันนี้บรรดานักศึกษาที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยปีที่ 1 ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาตรีต่อเนื่อง ภาคปกติหลายแห่งเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจากผู้เรียนปีที่ 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่รัฐบาลได้มีกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนกู้ยืมเรียนได้ในอัตราตามแต่วิชาที่เรียน          มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งกำหนดค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ใช้บังคับกับนักศึกษาที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2549 ดังต่อไปนี้            ค่าธรรมเนียมแรกเข้าประกอบด้วย ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 200 บาท, ค่าบัตรนักศึกษา 100 บาท,ค่าประกันของเสียหาย 1,000 บาท, ค่าประกันอุบัติเหตุ 550 บาท, ค่ากิจกรรมพัฒนานักศึกษา 1,400 บาท (แบ่งเป็น 1.งานพัฒนากิจการนักศึกษาประกอบด้วย ค่าตรวจสุขภาพ ค่าปฐมนิเทศ ค่าเสื้อกีฬา 2.งานเสริมวิชาการ ประกอบด้วย ค่าพัฒนาด้านบุคลิกภาพและจริยธรรม ค่าเสริมภาษา ค่าเสริมไอที), ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 1,500 บาท (เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ค่าคู่มือนักศึกษา ค่าเอกสารการมอบตัว) รวมเป็นเงิน 4,750 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษาเป็นลักษณะเหมาจ่ายมากน้อยขึ้นอยู่กับหลักสูตร           มหาวิทยาลัยที่นำมาเป็นตัวอย่างมี 6 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรการศึกษา 10,000 บาท, หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาวิทยุโทรทัศน์ และสาขาภาพยนตร์ 20,000 บาท, หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 25,000 บาท, หลักสูตรศิลปศาสตร์ และหลักสูตรบริหารธุรกิจ 17,500 บาท          ทั้งนี้ แต่ละหลักสูตรมีค่าใช้จ่ายที่เท่ากันคือค่าบำรุงการศึกษา ค่าห้องพยาบาล ฯลฯ ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษและค่าหน่วยกิต ในแต่ละหลักสูตรแตกต่างกัน กล่าวคือ หลักสูตรการศึกษา ค่าธรรมเนียมพิเศษ 2,800 บาท ค่าหน่วยกิต 4,300 บาท, หลักสูตรศิลปศาสตร์ กับหลักสูตรบริหารธุรกิจ ค่าธรรมเนียมพิเศษ 5,800 บาท ค่าหน่วยกิต 8,000 บาท, หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ฯ ค่าธรรมเนียมพิเศษ 6,800 บาท ค่าหน่วยกิต 10,300 บาท, หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ค่าธรรมเนียมพิเศษ 8,800 บาท ค่าหน่วยกิต 13,300 บาท            สำหรับวงเงินให้ทุนกู้เป็นไปตามอัตราค่าลงทะเบียนที่สถานศึกษากำหนดแต่ละกลุ่มวิชา แต่ต้องไม่เกินเพดานซึ่งมีอัตราสูงสุดแต่ละสาขาวิชาดังนี้ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ อัตราสูงสุด 60,000 บาท, วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกษตรศาสตร์ อัตราสูงสุด 70,000 บาท, สาธารณสุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ อัตราสูงสุด 80,000 บาท, แพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ อัตราสูงสุด 150,000 บาท            สำหรับผู้ที่เข้ารับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.วส.) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ไม่ทราบว่าถึงวันนี้พิจารณาเสร็จหรือยัง          นักศึกษาที่มีสิทธิขอรับทุนเงินกู้นี้จะต้องมีสัญชาติไทย เป็นนิสิต นักศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาตอบรับให้เข้าศึกษา โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้          1. ขอรับทุนได้เฉพาะค่าเล่าเรียน (อัตราค่าลงทะเบียนดังกล่าวครอบคลุมค่าใช้จ่ายประเภท ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บ ซึ่งไม่รวมค่าหอพัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักศึกษา-ทราบมาว่าในส่วนนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าสมควรจะให้กู้หรือไม่)
         
2. ขอรับทุนค่าเล่าเรียนได้ตามที่สถานศึกษาเรียกเก็บ แต่ไม่เกินเพดานของแต่ละกลุ่มสาขาวิชา          3. ขอรับทุนได้ตามจำนวนปีของหลักสูตร หากขอรับทุนเกินจำนวนปีของหลักสูตร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กองทุนกำหนด          4. ขอรับทุนเพื่อศึกษาในระดับ ป.วส. อนุปริญญา และปริญญาตรี ใบแรกจะได้รับสิทธิ์ขอทุนก่อนผู้ที่ขอรับทุนเพื่อศึกษาในระดับ ป.วส. อนุปริญญา และปริญญาตรีใบที่สอง          5. ในแต่ละปีการศึกษาขอรับทุนได้เพียงหลักสูตรเดียว          6. กองทุน จ่ายทุนเพื่อการศึกษาให้ผู้ขอรับทุนโดยโอนเข้าบัญชีของสถานศึกษา          7. ปีการศึกษา 2549 จะเริ่มให้ทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนในชั้นปีที่ 1 ป.วส. ปริญญาตรี และปริญญาตรีต่อเนื่อง และจะเพิ่มขึ้น 1 ชั้นปี ในปีการศึกษาต่อไป          การใช้ทุนคืนไม่ว่ากรณีใด ต้องผ่านช่องทางกรมสรรพากร และทุนนี้เป็นส่วนของผู้รับทุนเท่านั้น ไม่ผูกพันผู้อื่น หากถึงแก่ความตาย พิการ ทุพพลภาพไม่สามารถประกอบอาชีพได้ หรือเมื่อมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ แล้วยังชำระไม่หมด อาจให้หนี้เงินทุนที่เหลือเป็นอันระงับ          การชำระหนี้คืนเมื่อสำเร็จการศึกษา หรือเลิกศึกษาต้องชำระคืนเมื่อมีรายได้ 16,000 บาทต่อเดือนในอัตราร้อยละ 5 มีรายได้มากกว่า 30,001 บาทต่อเดือนในอัตราร้อยละ 8 และสูงกว่า 70,001 บาทต่อเดือนในอัตราร้อยละ 12          ถึงวันนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่ารัฐบาลมีเงินเตรียมไว้แล้วสำหรับปีนี้เพียงพอต่อความต้องการเรียนของนิสิตนักศึกษาแล้วหรือ สถาบันอุดมศึกษาทั้งหลายเตรียมพร้อมแล้วใช่ไหม ที่สำคัญคือคุณภาพทางการศึกษาจะเป็นอย่างไรในอนาคตอีก 4-5 ปีข้างหน้า วันนี้คงไม่มีใครตอบได้มติชนสุดสัปดาห์  9  มิ.ย.  49
หมายเลขบันทึก: 34138เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท