การนับเวลาทวีคูณ


การนับเวลาราชการ
              อีก 2 ประเด็นที่กรมบัญชีกลางหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาคือ การโอนย้ายข้าราชการพลเรือนมาจากข้าราชการประเภทอื่นและการนับเวลาราชการแบบทวีคูณ (เรื่องเสร็จที่ 264/2549)          ประเด็นที่สาม นายชั่งทอง  โอภาสศิริวิทย์ ข้าราชการ กทม.ซึ่งมิใช่ข้าราชการตามมาตรา 3 โอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนภายหลัง พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) 2539 ใช้บังคับ เช่นนี้นายชั่งทองจะเป็นสมาชิก กบข.โดยผลของกฎหมายหรือไม่           เห็นว่า มาตรา35 (2) ๓๕[๙ แห่ง พ.ร.บ.กบข.บัญญัติว่า ผู้ซึ่งโอนมาเป็นข้าราชการตั้งแต่วันที่บทบัญญัติหมวด 3 ใช้บังคับให้เป็นสมาชิก กบข. และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 36(1) และ(2) ประกอบกับมาตรา3 จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มิได้เป็นข้าราชการตามบทนิยามคำว่า "ข้าราชการ" ย่อมไม่อาจเป็นสมาชิกกองทุนตามมาตรา 36 ได้           เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายชั่งทอง ซึ่งเดิมรับราชการเป็นข้าราชการ กทม. อันมิใช่ข้าราชการตามบทนิยามคำว่าข้าราชการตามมาตรา 3 และได้โอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2543 ซึ่งเป็นวันที่บทบัญญัติหมวด 3 ใช้บังคับแล้ว           ดังนั้น นายชั่งทองจึงเป็นสมาชิก กบข.โดยผลของกฎหมายตามมาตรา 35 (2) นายชั่งทองจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.กบข.          ประเด็นที่สี่ กรณีที่มีการประกาศท้องที่สถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 จะก่อให้เกิดสิทธิแก่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการนับเวลาราชการระหว่างนั้นเป็นทวีคูณตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2494 หรือไม่ นั้น

          เห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าว แม้จะบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2495 ก็ตาม แต่กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ยังคงมีหลักการเช่นเดียวกัน คือ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจการบริหารราชการเป็นพิเศษเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสถานการณ์ฉุกเฉิน
         
ส่วนการกำหนดเงื่อนไขการประกาศที่แตกต่างกัน โดย พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กำหนดให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประกาศ ก็เป็นการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของประเทศและลักษณะการบริหารราชการที่เปลี่ยนแปลงไป

           
ดังนั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจึงอยู่ในความหมายเดียวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2494 ย่อมมีสิทธินับเวลาราชการที่ปฏิบัติการตามสั่งเป็นทวีคูณ

 มติชน (คอลัมน์ ข้าราษฎร)  9  มิ.ย.  49
หมายเลขบันทึก: 34137เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท