KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 88. กรรมการ


• ขอเสนอวิธีปฏิบัติหน้าที่กรรมการนโยบาย  หรือกรรมการ steering ของโครงการเชิงพัฒนา วิจัย หรือสร้างสรรค์    ที่เป็นวิธีทำหน้าที่กรรมการแนว KM   ซึ่งผมเขียนขึ้นจากประสบการณ์ และจินตนาการ    ไม่ทราบว่าจะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ 
• กรรมการเน้นการ “จับภาพ” ความสำเร็จน้อยใหญ่ของโครงการ ที่ผู้ดำเนินการโครงการยังไม่ชัด หรือไม่เห็น
• เน้นถามให้เกิด “เรื่องเล่า”    เพราะผู้ดำเนินการมักนำเสนอ (ทั้งโดยเขียนและพูด) แบบวิเคราะห์ ทำให้เห็นแค่ส่วนเสี้ยว ไม่เห็นภาพบูรณาการ ทั้งภาพเล็กและภาพใหญ่     การนำเสนอแบบเรื่องเล่าจะทำให้เห็นภาพบูรณาการ   ภาพเคลื่อนไหว  ภาพมีชีวิต ภาพมีชีวิตชีวา
• ถ้าไม่มีคนถาม    ผู้ดำเนินการมักรายงานแบบส่วนเสี้ยว เพราะนี่คือวิธีการรายงานตามแนวปกติทั่วไป
• เมื่อกรรมการถาม    จนเกิดการเล่าเรื่องความสำเร็จ    กรรมการควรชี้แนะวิธีการขยายผลความสำเร็จนั้นๆ
• ความสำเร็จแบบเดียวกันกับที่ค้นพบจากโครงการ อาจมีอยู่ในโครงการอื่น หรือในกิจกรรมอื่น    ถ้าได้เอามา ลปรร. กันว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร    ผ่านการฟันฝ่าอย่างไร    และได้มีการขยายผลอย่างไร เกิดผลอย่างไร    จะเป็นการสร้าง value-add ให้แก่สังคมอย่างมาก  
• กรรมการที่มีประสบการณ์สูง จะช่วยบอกว่าความสำเร็จทำนองเดียวกันอยู่ที่ไหน    หรือจะไปค้นหาได้อย่างไร
• ทั้งกรรมการ และผู้ดำเนินการโครงการต้องมี “จิตใหญ่” ไม่มองแค่ความสำเร็จของโครงการ แต่มองผลประโยชน์ของสังคม  และต้องมี “จิตบวก” (positive thinking) มองโครงการคู่แข่ง หรือมองโครงการที่ทำในบริบทอื่นแต่มี เรื่องราวของความสำเร็จ (success stories) เป็นภาคี (partner) ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคม

วิจารณ์ พานิช
๒๔ มีค. ๔๙

 

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 34092เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท