การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน


สถานศึกษานิติบุคคลหับหลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 สถานศึกษานิติบุคคลกับหลักการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการบริหารจัดการ (School Based Management : SBM) ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้

                1. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) ซึ่งหมายถึงการกระจายอำนาจและมอบอำนาจการบริหารจากส่วนกลาง และเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษา หรือจากผู้บริหารสถานศึกษาแก่บุคลากร ฝ่าย การกระจายอำนาจก่อให้เกิดความคล่องตัว ก่อให้เกิดความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ การมีส่วนร่วม รวดเร็ว และงานกระจาย

                2. หลักการบริหารตนเอง (Self-Management) ซึ่งหมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆในรูปองค์การคณะบุคคลหรือคณะกรรมการ ร่วมวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ ประเมินผล แก้ไขปัญหา กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และที่สุดได้แก่ เลือกวิธีปฏิบัติตามศักยภาพของโรงเรียนของตน

                3. หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Participation of stakeholders) ด้วยการนำบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย วางแผนดำเนินการ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ลักษณะการทำงานจะมีลักษณะการทำงานเป็นทีม โดยเริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา (School Board) โดยประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา คณะครู บุคลากรในโรงเรียน และผู้ทรงคุณวุฒิ มีหน้าที่ในการกำกับดูแล ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ทำให้การบริหารงานของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น

                4. หลักการมีภาวะผู้นำเกื้อหนุน เป็นภาวะผู้นำที่เน้นอำนวยความสะดวกให้การสนับสนุนในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา มากกว่าภาวะผู้นำแบบชี้นำและสั่งการแต่ผู้เดียว

                5. หลักการพัฒนาทั้งระบบ (Whole School Approach) มีการปรับโครงสร้างขององค์กรให้มีความยืดหยุ่น ตามขีดความสามารถของบุคลากรในโรงเรียน และขนาดของโรงเรียน ขนาดเดียวกันมีความพยายามปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรมีค่านิยมให้องค์กรมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นบุคลากรแห่งการเรียนรู้ และสร้างค่านิยมทำงานเป็นทีม

                6. หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability) เมื่อสถานศึกษาได้รับการกระจายอำนาจในการบริหารจัดการ ทุกฝ่ายที่ได้รับการกระจายอำนาจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้น พร้อมที่จะให้ตรวจสอบ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด มีคุณภาพ คุณธรรม ความโปร่งใส ฉะนั้นหลักการความรับผิดชอบ จึงหมายถึงขอบข่าย การบริหารจัดการ ข้อมูล และผลสัมฤทธิ์นั่นเอง

 

 

 

 

แนวคิด การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM)

                1. รูปแบบการบริหาร มีลักษณะเป็นคณะบุคคลหรือคณะกรรมการสถานศึกษา อันประกอบด้วย กลุ่มคนหลัก 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ครู และชุมชน ส่วนบุคคล 3 ฝ่าย ดังกล่าว กลุ่มใดจะเป็นหลักในการบริหารขึ้นอยู่กับแต่ละสถานศึกษาในความนิยมที่แพร่หลาย มักมอบให้ตัวแทนชุมชนเป็นหลัก

                2. ความหมายของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือการกระจายอำนาจการบริหารจัดการ การตัดสินใจสู่การปฏิบัติ นั่นคือ สถานศึกษา

                การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มุ่งคืนบทบาทสำคัญในการบริหารให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

                3. แนวคิดต่อความสำคัญของโรงเรียนที่บริหารแบบ SBM

                                - เป้าหมาย/ภารกิจของโรงเรียนชัดเจน ทุกคนรับรู้

                                - มีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ช่วยกันตรวจสอบและถ่วงดุล ทั้งจากภายในและภายนอก

                                - สนองความจำเป็น/ความต้องการของโรงเรียน

                                - การตัดสินใจในรูปแบบการกระจายอำนาจ แบบคณะกรรมการ

                                - มองผู้ร่วมงานด้วยทฤษฎี Y

                                - ภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน มีความรู้ ทักษะที่จำเป็น

                                - สร้างบรรยากาศการพัฒนาทั้งองค์กร

                                - ทำงานเป็นทีม

                                - ใช้เครื่องมือ/นวัตกรรมการบริหาร

                4. ประโยชน์ของโรงเรียนแบบ SBM

                                - โปร่งใส ตรวจสอบได้

                                - ครูมีขวัญกำลังใจ ภาคภูมิใจต่อองค์กร

                                - ตรงตามความต้องการของโรงเรียนและท้องถิ่น

                                - สร้างผู้นำ

                                - ประหยัด/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล.ด้วยการบริหารตนเอง

 

ทฤษฎีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ได้แก่

                1. ใช้ทฤษฎี Y ในการบริหารงานบุคคล โดยเชื่อว่า ทุกคนเป็นคนดี มีความสามารถ รับผิดชอบ และพัฒนาได้

                2. ทฤษฏีการบริหาร เน้นความหลากหลาย ความยืดหยุ่น กระจายอำนาจ ไม่หนีปัญหา บริหารงานเอง รับผิดชอบ ทำงานเป็นทีม หลักการทฤษฎีการบริหารที่มักกล่าวถึง ได้แก่ TQM , TQA BAC, OCC , PDCA , BM , RBM เป็นต้น

                เหตุผลที่เชื่อว่าหลักการหรือทฤษฎีดังได้กล่าว เหมาะที่จะนำมาเป็นแนวทางการบริหารโรงเรียนแบบ SBM เนื่องจาก หลักการหรือทฤษฎีเหล่านี้ ล้วนถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพตามภารกิจขององค์กร อันเป็นหน่วยปฏิบัติโดยตรง

หมายเลขบันทึก: 340881เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2010 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท